พบผลลัพธ์ทั้งหมด 559 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม ห้ามฎีกาในประเด็นที่รับสารภาพในชั้นศาล และการใช้ดุลพินิจลงโทษคดีพนัน
โจทก์บรรยายฟ้องโดยระบุไว้ชัดเจนว่าจำเลยคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ และยอดเงินทุนหมุนเวียน 4,480,100 บาท เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการเล่นพนันและเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด และเมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การ จำเลยได้ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ เพราะมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8320/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาวุธปืน การรับสารภาพ และการลดโทษเหมาะสมกับพฤติการณ์
ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาและสอบถามจำเลยเรื่องทนายความกับอ่านอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นได้บันทึกคำให้การจำเลยไว้ เมื่อปรากฏว่าความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนปืนของเจ้าพนักงานประทับและกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง, มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีฯ ส่วนฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินห้าปีฯ และฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 100 บาท เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาได้โดยไม่ต้องสืบพยานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่เสียไปแม้โจทก์จะยังมิได้ลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7566/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่รับสารภาพแล้ว และการพิพากษาความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าว
จำเลยอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพว่า คนต่างด้าวที่จำเลยให้ความช่วยเหลือเป็นคนต่างด้าวที่นายจ้างนำไปขึ้นทะเบียน จึงมีสิทธิที่จะประกอบอาชีพในราชอาณาจักร เป็นการอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบความผิด เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ได้ แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (6) ประกอบมาตรา 215 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยให้ความช่วยเหลือคนต่างด้าวจำนวน 18 คน ให้พ้นจากการจับกุมแม้เอกสารแนบท้ายอุทธรณ์จะรับฟังได้ว่าคนต่างด้าวจำนวน 4 คน เข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับอนุญาต และขณะเกิดเหตุยังอยู่ภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว ฯ มีผลทำให้การกระทำของจำเลยเกี่ยวกับคนต่างด้าวอีก 4 คน ดังกล่าว ขาดองค์ประกอบความผิดตามฟ้อง แต่ยังคงรับฟังได้ว่าคนต่างด้าวอีก 14 คน ที่จำเลยให้ความช่วยเหลือนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยจึงยังมีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7566/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่รับสารภาพแล้ว และการพิสูจน์สถานะคนต่างด้าวเพื่อยืนยันความผิดฐานช่วยเหลือ
จำเลยอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพว่า คนต่างด้าวที่จำเลยให้ความช่วยเหลือเป็นคนต่างด้าวที่นายจ้างนำไปขึ้นทะเบียน จึงมีสิทธิที่จะประกอบอาชีพในราชอาณาจักร เป็นการอุทธรณ์ว่าการกระทำของจำเลยขาดองค์ประกอบความผิด เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ได้แม้ว่าจะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 186 (6) ประกอบมาตรา 215 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยให้ความช่วยเหลือคนต่างด้าวจำนวน 18 คน ให้พ้นจากการจับกุมแม้เอกสารแนบท้ายอุทธรณ์จะรับฟังได้ว่าคนต่างด้าวจำนวน 4 คน เข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับอนุญาต และขณะเกิดเหตุยังอยู่ภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 มีผลทำให้การกระทำของจำเลยเกี่ยวกับคนต่างด้าว 4 คน ดังกล่าว ขาดองค์ประกอบความผิดตามฟ้อง แต่ยังคงรับฟังได้ว่าคนต่างด้าวอีก 14 คน ที่จำเลยให้ความช่วยเหลือนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จำเลยจึงยังมีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพและสิทธิในการคัดค้านรายงานสืบเสาะ ศาลไม่ต้องสืบพยานเพิ่มเติมหากคำรับสารภาพชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจจำเลยเนื่องจากศาลชั้นต้นรับฟังตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่าจำเลยกระทำความผิดตามคำฟ้อง แต่ต้องการทราบข้อเท็จจริงเพื่อนำมาประกอบดุลพินิจว่าสมควรกำหนดโทษแก่จำเลยสถานใด เพียงใด และเพื่อกำหนดวิธีการหรือเงื่อนไขอันสมควรและเหมาะสมที่จะปฏิบัติต่อจำเลย ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะรับฟังรายงานและความเห็นของพนักงานคุมประพฤตินั้นได้ แต่ถ้าศาลชั้นต้นจะใช้รายงานและความเห็นดังกล่าวเป็นผลร้ายแก่จำเลย ศาลชั้นต้นต้องแจ้งข้อความที่เป็นผลร้ายนั้นให้จำเลยทราบ เมื่อจำเลยคัดค้าน พนักงานคุมประพฤติมีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบประกอบรายงานและความเห็นก่อน และจำเลยมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างได้ตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญาฯ มาตรา 13 คดีนี้จำเลยแถลงว่ารายงานการสืบเสาะและพินิจในส่วนที่จำเลยใช้มือฉุดดึงร่างกาย ดึงกางเกงขาสั้น และกางเกงชั้นในของผู้เสียหายลงมาบริเวณหัวเข่านั้น ไม่เป็นความจริง ส่วนข้อความอื่น ๆ เป็นความจริงทุกประการ เท่ากับว่าเมื่อศาลชั้นต้นแจ้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยคัดค้านรายงานการสืบเสาะและพินิจเฉพาะส่วนดังกล่าวซึ่งเห็นว่าเป็นผลร้ายแก่จำเลยเป็นการคัดค้านตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ดำเนินการคุมประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญาฯ มิได้หมายความจำเลยให้การปฏิเสธ ทั้งยังปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาอีกว่าจำเลยรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ คดีนี้มิใช่คดีที่กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าไปขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณา ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาโดยไม่จำต้องสืบพยานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เมื่อคำให้การรับสารภาพของจำเลยชอบด้วยกฎหมาย และศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปตามนั้น กระบวนพิจารณาและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5281/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่รับสารภาพ และยืนยันโทษฐานกระทำชำเราเด็ก
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี โดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม จำเลยฎีกาว่า จำเลยกระทำชำเราด้วยความยินยอมของผู้เสียหายที่ 2 จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้วและเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา จึงมิใช่ข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่จะไม่ต้องรับโทษในความผิดที่กระทำโดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 277 วรรคสี่ แห่ง ป.อ. นั้น จะต้องได้ความว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 ยินยอมให้กระทำ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอมแล้ว แม้ภายหลังศาลจะอนุญาตให้จำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 สมรสกัน ก็ไม่เข้าเงื่อนไขในอันที่จะไม่ต้องรับโทษตามบทบัญญัติดังกล่าว
การที่จะไม่ต้องรับโทษในความผิดที่กระทำโดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 277 วรรคสี่ แห่ง ป.อ. นั้น จะต้องได้ความว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 ยินยอมให้กระทำ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอมแล้ว แม้ภายหลังศาลจะอนุญาตให้จำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 สมรสกัน ก็ไม่เข้าเงื่อนไขในอันที่จะไม่ต้องรับโทษตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4841/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจนฐานความผิด ทำให้ศาลไม่สามารถลงโทษตามฟ้องได้ จำเป็นต้องมีการสืบพยานเพื่อพิสูจน์ฐานความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยประกอบกิจการให้บริการฉายหรือให้เช่าเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ โดยได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนและมิได้รับยกเว้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ มาตรา 6 วรรคหนึ่ง และ 20 วรรคสอง ซึ่งเป็นคนละฐานความผิดและมีบทกำหนดโทษแตกต่างกัน ตามคำฟ้องแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียว การที่จำเลยให้การรับสารภาพตลอดข้อหาจึงเป็นคำรับสารภาพที่ไม่สามารถรับฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดในข้อหาใด โจทก์ต้องนำพยานเข้าสืบเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใด เพื่อศาลจะได้นำข้อเท็จจริงที่ได้ความมาปรับบทลงโทษได้ แต่โจทก์มิได้นำสืบ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยไม่ได้
การที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับและตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ ตามมาตรา 19 วรรคสอง และมาตรา 19 วรรคสี่ ครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพโจทก์ก็หาจำต้องสืบพยานแต่อย่างใดไม่ ฎีกาของโจทก์มิได้มีข้อความโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบเพราะเหตุใด ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 และ ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับและตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ ตามมาตรา 19 วรรคสอง และมาตรา 19 วรรคสี่ ครบถ้วนแล้ว เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพโจทก์ก็หาจำต้องสืบพยานแต่อย่างใดไม่ ฎีกาของโจทก์มิได้มีข้อความโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบเพราะเหตุใด ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 และ ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา และการแก้ไขฟ้องที่ส่งผลต่อการรับสารภาพของจำเลย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้อง โดยขอแก้ไขบทลงโทษ ซึ่งเป็นการแก้หรือเพิ่มเติมฐานความผิดความผิดก่อนที่ศาลชั้นพิพากษาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง, 164 เมื่อจำเลยไม่ค้านและศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง หากจำเลยเห็นว่าที่จำเลยรับสารภาพไปจะทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การได้ เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำร้องดังกล่าวแสดงว่าจำเลยรับสารภาพโดยมิได้หลงต่อสู้ในฐานความผิดที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้น ศาลล่างทั้งสองย่อมลงโทษจำเลยตามคำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมได้
ความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม โดยไม่ได้รับใบอนุญาติตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 70 มีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 120,000 บาท ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด คดีนี้สำหรับความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ที่ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม โดยไม่ได้รับใบอนุญาติตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 70 มีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 120,000 บาท ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด คดีนี้สำหรับความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานดังกล่าว ที่ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อสิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา, การแก้ไขฟ้อง, ล้มละลาย, และการรับสารภาพของจำเลย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องโดยขอแก้บทลงโทษจาก พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21, 40, 42, 65, 66, 70 ทวิ เป็นมาตรา 21, 40, 42, 65, 66 ทวิ, 70, 71 ซึ่งเป็นการแก้หรือเพิ่มเติมฐานความผิดก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง, 164 เมื่อจำเลยไม่ค้านและศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง จำเลยย่อมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การได้ เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำร้องดังกล่าว แสดงว่าจำเลยรับสารภาพโดยมิได้หลงต่อสู้ในฐานะความผิดที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้น ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามคำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมได้
กฎหมายล้มละลายเพียงบัญญัติมิให้บุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีในทางแพ่งด้วยตนเอง หรือก่อหนี้สินขึ้นอีกในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์ มิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย ทั้งจำเลยกระทำความผิดก่อนจะถูกพิทักษ์ทรัพย์และไม่เกี่ยวข้องกับการถูกพิทักษ์ทรัพย์ในภายหลัง ศาลจึงพิพากษาลงโทษปรับจำเลยได้
ความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 70 มีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 120,000 บาท ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2544 จึงเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ 12 กันยายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำความผิด จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)
กฎหมายล้มละลายเพียงบัญญัติมิให้บุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีในทางแพ่งด้วยตนเอง หรือก่อหนี้สินขึ้นอีกในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์ มิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย ทั้งจำเลยกระทำความผิดก่อนจะถูกพิทักษ์ทรัพย์และไม่เกี่ยวข้องกับการถูกพิทักษ์ทรัพย์ในภายหลัง ศาลจึงพิพากษาลงโทษปรับจำเลยได้
ความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 70 มีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 120,000 บาท ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2544 จึงเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ 12 กันยายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำความผิด จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาต้องระบุชัดเจนถึงความเป็นเจ้าของรถ หากคำฟ้องไม่ชัดเจน แม้จำเลยรับสารภาพก็ลงโทษไม่ได้
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ฯ มาตรา 7 วรรคแรก บัญญัติว่าภายใต้บังคับมาตรา 8 เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัท และมาตรา 37 บัญญัติว่า เจ้าของรถผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 7 หรือมาตรา 9 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แสดงว่า การกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ ไม่จัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยตามมาตรา 37 ประกอบมาตรา 7 นั้น จะต้องได้ความว่า ผู้กระทำความผิดเป็นเจ้าของรถ แต่ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยเป็นเจ้าของรถคันที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายแต่อย่างใด คำฟ้องของโจทก์ในความผิดดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษในความผิดฐานดังกล่าวได้