คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับเข้าทำงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกเจตนาการกระทำผิดหลายกรรมต่างกันในคดีช่วยเหลือคนต่างด้าวและรับเข้าทำงาน
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ ก. ว่า จำเลยได้ให้ความช่วยเหลือคนต่างด้าวโดยให้เข้าพักอาศัยอยู่ที่ที่พักคนงานภายในหมู่บ้าน พ. อันเป็นการช่วยเหลือซ่อนเร้นหรือช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุม และบรรยายฟ้องข้อ ข. ว่า จำเลยรับคนต่างด้าวซึ่งไม่มีใบอนุญาตเข้าทำงาน โดยรับเข้าทำงานเป็นคนงานก่อสร้างบ้านพักที่อยู่อาศัย โดยโจทก์หาได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยช่วยด้วยประการใด ๆ แก่คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายด้วยการรับคนต่างด้าวนั้นให้เข้าทำงานเป็นคนงานก่อสร้างบ้านพักที่อยู่อาศัยเพียงประการเดียวเท่านั้นไม่ แต่ตามฟ้องข้อ ก. กลับแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ช่วยคนต่างด้าวด้วยประการอื่น ๆ อีก นอกจากการรับเข้าทำงานโดยให้คนต่างด้าวนั้นเข้าพักอาศัยอยู่ที่ที่พักคนงานภายในหมู่บ้าน พ. ด้วย ฟ้องของโจทก์จึงสามารถแยกเจตนาของจำเลยในการกระทำความผิดตามฟ้องแต่ละข้อได้อย่างชัดเจน การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องข้อ ก. และ ข. จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานในคดีเลิกจ้าง: สั่งให้รับกลับทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายได้ แม้มิได้มีคำขอ
บทบัญญัติ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52 ที่ห้ามศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เป็นบทบัญญัติที่ใช้ในคดีแรงงานกรณีทั่วไป แต่บทบัญญัติในมาตรา 49 เป็นกรณีให้อำนาจศาลแรงงานเป็นพิเศษเฉพาะคดีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง โดยหากศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างไม่เป็นธรรมศาลแรงงานจะสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานก็ได้ แต่หากเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลแรงงานจะกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้แทนก็ได้ โดยให้ศาลแรงงานพิพากษาไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากทางพิจารณาว่านายจ้างกับลูกจ้างจะทำงานร่วมกันต่อไปได้หรือไม่ บทบัญญัติในมาตรานี้เห็นได้ว่า ศาลแรงงานไม่จำต้องมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ แม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะมิได้มีคำขอให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างรับโจทก์กลับเข้าทำงาน คงขอค่าเสียหายจากการเลิกจ้างมาเพียงอย่างเดียว ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าโจทก์กับจำเลยยังสามารถทำงานร่วมกันได้ ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิพากษาหรือมีคำสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแทนได้ กรณีกลับกันแม้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจะมิได้มีคำขอให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ คงขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานเพียงอย่างเดียว ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าโจทก์กับจำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลแรงงานก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แทนได้เช่นกัน ที่ศาลแรงงานกลางเห็นว่าโจทก์มิได้กระทำผิดวินัยใด ๆ มาก่อน ทั้งจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ จึงเห็นสมควรให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานต่อไป แม้โจทก์จะมิได้มีคำขอให้รับโจทก์เข้าทำงาน ก็เป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยมาตรา 49 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4149/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าวลักลอบเข้าเมืองและรับเข้าทำงาน ศาลพิจารณาเป็นกรรมต่างกัน
จำเลยรับคนต่างด้าวเข้าทำงานเป็นลูกจ้าง และนอกจากการรับเข้าทำงานแล้วจำเลยยังช่วยด้วยประการอื่น ๆ อีก โดยให้ที่พำนักและพักอาศัย ช่วยซ่อนเร้น และช่วยเหลือด้วยประการใด ๆ แก่คนต่างด้าวดังกล่าวเพื่อไม่ให้ถูกจับกุมและไม่ต้องรับโทษ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนพนักงานจากบริษัทเดิมสู่ อ.ส.ม.ท. จำเลยมีดุลยพินิจในการรับเข้าทำงาน ไม่ถือเป็นลูกจ้างหากไม่ได้รับการพิจารณา
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2520 ก็เพราะมีความจำเป็นจะต้องจัดกิจการสื่อสารมวลชนของรัฐให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นที่เชื่อถือแก่สาธารณชนตามนโยบายรัฐบาลซึ่งไม่เกี่ยวกับการเลิกบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด และไม่มีบทมาตราใดที่ให้จำเลยรับช่วงโอนกิจการของบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัดมาเป็นของจำเลย ส่วนมาตรา 37 เป็นเรื่องให้ดุลพินิจจำเลยในการรับพนักงานและลูกจ้างของบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด มาเป็นพนักงานของจำเลยตามที่เห็นสมควร มิใช่ต้องรับทั้งหมด โจทก์จึงยังไม่อยู่ในฐานะที่เป็นลูกจ้างของจำเลยในวันที่พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งจำเลยมีผลใช้บังคับ โจทก์จะมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยก็ต่อเมื่อจำเลยใช้ดุลพินิจรับโจทก์เข้าทำงาน เมื่อปรากฏว่าในการรับพนักงานและลูกจ้างของบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด มาเป็นพนักงานจำเลย โจทก์มิได้แสดงความจำนงขอเข้าทำงานกับจำเลย และจำเลยก็มิได้พิจารณารับโจทก์เข้าเป็นพนักงาน โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลย ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจสั่งให้รับกลับเข้าทำงาน หรือชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์มิได้ฟ้องประเด็นนี้โดยตรง
คำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ไม่มีงานทำและไม่มีรายได้เลี้ยงดูครอบครัวและมีคำขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างในระหว่างที่โจทก์ถูกเลิกจ้างจนถึงวันที่จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน โดยถือเสมือนว่ามิได้มีการเลิกจ้าง คำขอของโจทก์ถือได้ว่าโจทก์เรียกร้องค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ในระหว่างที่ ถูกเลิกจ้างโดยถืออัตราค่าจ้างเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าเสียหาย นั่นเอง มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เป็นบทบัญญัติในทางวิธีสบัญญัติ ที่ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาพิพากษาได้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริง ในทางพิจารณา ว่าการเลิกจ้างลูกจ้างนั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ข้อความที่บัญญัติไว้ก็ปรากฏชัดแจ้งว่า ในระหว่างการพิจารณาคดี ใน กรณี นายจ้าง เลิกจ้างลูกจ้าง เช่น ลูกจ้างฟ้องเรียกค่าชดเชย ถ้า ศาลแรงงาน เห็นว่า ข้อเท็จจริงในคดียังปรากฏว่าเป็นการเลิกจ้าง ไม่เป็นธรรมอีกด้วย ศาลแรงงานก็มี อำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้าง กลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นบทบัญญัติพิเศษที่ให้อำนาจ ศาลแรงงานที่จะหยิบยกเอาการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมขึ้นวินิจฉัยเอง โดยลูกจ้างมิได้ฟ้องเป็น ประเด็นมาโดยตรง ดังนั้นเมื่อศาลแรงงาน ใช้อำนาจตาม มาตรา49 ศาลแรงงานคงมีอำนาจพิพากษาให้นายจ้าง รับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจ ไว้ เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่าง ถูกเลิกจ้างจนรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ เพราะมาตรา 49 ไม่ได้ให้ อำนาจไว้ แต่คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาโดยชัดแจ้งว่า จำเลยเลิกจ้าง โจทก์โดยไม่ชอบ ด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยชดใช้ค่าจ้าง ใน ระหว่าง ถูกเลิกจ้างจนกว่าจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานซึ่งเป็น กรณี ที่ โจทก์ตั้งประเด็นข้อพิพาทมาโดยตรงว่า จำเลยผู้เป็นนายจ้าง ได้ ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงาน กลั่นแกล้งเลิกจ้างโจทก์โดยมิชอบ ด้วย กฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้รับค่าจ้างตาม สัญญาจ้างแรงงาน ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ เป็นการขอให้ ศาลแรงงาน พิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามสัญญาจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจ้างแรงงาน ซึ่งไม่มี กฎหมาย ห้ามมิให้โจทก์เรียกร้องค่าเสียหายในกรณีดังกล่าว โจทก์ จึง มีสิทธิ ฟ้อง เรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยได้ แม้โจทก์ เรียกร้องมาเป็นค่าจ้าง แต่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่า โจทก์เรียกค่าเสียหาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้เป็นค่าเสียหายได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะจ้างแรงงาน มาตรา 575 บัญญัติให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลา ที่ ลูกจ้างทำงานให้ โจทก์สามารถทำงานให้นายจ้างตลอดมา แต่จำเลย กระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานโดยได้เลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม เป็นเหตุ ให้ โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้ รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากจำเลย แม้โจทก์ไม่ได้ ทำงานให้จำเลยก็ตามพระราชบัญญัติ ญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะใช้ดุลพินิจบังคับ ให้ นายจ้าง รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อ ศาลแรงงาน พิพากษา ให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานแล้ว จึงไม่จำเป็น ต้อง วินิจฉัย เกี่ยวกับค่าเสียหายในกรณีไม่รับโจทก์กลับเข้าทำงานอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังมีข้อตกลงสภาพการจ้าง คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจสั่งให้รับกลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหาย
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้ลูกจ้างหยุดพักรับประทานอาหารตั้งแต่เวลา 9-10.30 นาฬิกา โดยไม่ได้กำหนดเวลาแน่นอนว่าลูกจ้างคนใดจะต้องหยุดพักรับประทานอาหารในเวลาใด ต่อมานายจ้างมีคำสั่งกำหนดเวลารับประทานอาหารแก่ลูกจ้างเป็นเวลาแน่นอน โดยแบ่งเป็นกลุ่มกลุ่มละ 30 นาที โดยกำหนดตามเวลาในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว เพื่อเป็นระเบียบในการทำงานโดยไม่ได้ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเวลาใหม่ ดังนี้ นายจ้างย่อมมีอำนาจออกคำสั่งให้ลูกจ้างปฏิบัติตามได้ ถือว่าเป็นอำนาจในการบริหาร หาใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จะต้องมีการแจ้งข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13 ไม่ ลูกจ้างมีหน้าที่คุมเครื่องปั่นด้าย ได้ละทิ้งหน้าที่ไปรับประทานอาหารก่อนเวลาที่กำหนดเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง โดยไม่มีผู้อื่นมาคุมเครื่องแทน เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยด้ายขาดและพัน เครื่อง ต้องหยุดเครื่องปั่นด้ายเพื่อต่อด้ายใหม่แต่ความเสียหายที่โจทก์ได้รับเป็นความเสียหายปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นจากความผิดพลาดในการทำงาน การละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างดังกล่าวจึงไม่ใช่ความผิดร้ายแรง โจทก์ไม่อาจเลิกจ้างได้โดยไม่เคยตักเตือนเป็นหนังสือมาก่อนตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 123(3) คำสั่งเลิกจ้างของโจทก์จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม บทบัญญัติมาตรา 41(4) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 หาได้จำกัดว่าคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีคำสั่งได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เพราะข้อความตอนท้ายบัญญัติให้อำนาจแก่คณะกรรมการสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งได้ตามที่เห็นสมควร คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จึงมีอำนาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานพร้อมทั้งชดใช้ค่าเสียหายด้วยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5833/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือสั่งจ่ายค่าเสียหาย กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์เสียหายและเสื่อมเสียชื่อเสียง ขอให้ใช้ค่าเสียหาย โบนัสเงินเดือน เงินบำเหน็จและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ย หรือให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งและเงินเดือนที่ไม่น้อยกว่าที่โจทก์ได้รับในขณะถูกเลิกจ้างเมื่อศาลเห็นว่าโจทก์กับจำเลยสามารถทำงานร่วมกันต่อไปได้และใช้ดุลพินิจสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งไม่ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตามฟ้องให้โจทก์อีกตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ซึ่งให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจสั่งให้จำเลยปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควร ไม่เป็นการพิพากษาไม่ครบตามข้อหาในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจสั่งให้รับกลับเข้าทำงาน หรือจ่ายค่าเสียหาย และการวินิจฉัยข้อเท็จจริง
โจทก์มีคำขอบังคับรวมมาสองทางคือขอให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระเงินต่างๆอันจะพึงเกิดแก่การเลิกจ้างด้วยแม้โจทก์มิได้ระบุให้แจ้งชัดว่าหากบังคับคดีไม่ได้ตามกรณีแรกก็ขอให้บังคับคดีตามกรณีที่สองแต่โดยผลของกฎหมายและตามสภาพแห่งหนี้ย่อมหยั่งทราบเจตนาของโจทก์ได้โดยง่ายฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานได้ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา49 จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินตามฟ้องเพราะโจทก์กระทำความผิดเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งศาลฎีการับวินิจฉัยไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจพิจารณาสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายแทนการรับกลับเข้าทำงานได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ขอให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ชอบแล้วดังนี้ ถือว่าจำเลยต่อสู้ว่าไม่ใช่เป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรม เป็นการปฏิเสธที่จะรับโจทก์กลับเข้าทำงานหาใช่เป็นการยอมรับไม่ ศาลจะสั่งให้นายจ้างรับกลับเข้าทำงานหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ ที่ให้อำนาจศาลที่จะวินิจฉัยว่าลูกจ้างกับนายจ้างสามารถทำงานร่วมกันต่อไปได้หรือไม่ด้วย ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลโดยต้องคำนึงถึงสภาพจากสถานประกอบการนั้น และความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างถ้าเห็นว่าไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ก็จะกำหนดให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้างแทนการบังคับให้รับกลับเข้าทำงาน ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางนำข้อเท็จจริงที่ฟังได้ในการพิจารณาว่าโจทก์จำเลยไม่อาจทำงานร่วมกันได้มาวินิจฉัยให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายให้กับโจทก์แทนการรับโจทก์กลับเข้าทำงาน จึงหาใช่เป็นเรื่องวินิจฉัยนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธินายจ้างเลือกปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์: รับกลับเข้าทำงาน หรือ จ่ายค่าเสียหาย
โจทก์อุทธรณ์ว่า คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นโมฆะ เพราะขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯนั้น เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง โจทก์ก็ยกขึ้นอุทธรณ์ได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มิได้ห้ามคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ในอันที่จะมีคำสั่งให้นายจ้างผู้กระทำการอันไม่เป็นธรรมใช้ค่าเสียหายให้ลูกจ้าง ดังนั้น การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จึงเป็นคำสั่งที่ชอบ และเมื่อคณะกรรมการดังกล่าวมีคำสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือมิฉะนั้นให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นั้นจำเลยจะปฏิบัติตามคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดยจำเลยซึ่งเป็นผู้ต้องปฏิบัติตามคำสั่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งนั้นอย่างใด หาใช่โจทก์เป็นผู้เลือกไม่
of 2