คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับเหมา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4413/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีโอนสิทธิรับเงินค่าจ้างก่อสร้าง แม้โอนสิทธิไปแล้วผู้รับเหมาก็ยังต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี
โจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ทำสัญญารับจ้างก่อสร้างอาคารกับหน่วยราชการ ต่อมาโจทก์โอนสิทธิและมอบอำนาจในการรับเงินแต่ละงวดทั้งหมดให้แก่บริษัท ว. และโจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ให้บริษัท ว. เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีและเป็นผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้ เมื่อโจทก์ยังเป็นคู่สัญญากับทางราชการ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 82 (1) โดยมีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทันทีที่ได้รับชำระค่าบริการ ตามมาตรา 78/1 (2) และอาจนำภาษีซื้อไปหักออกจากภาษีขายที่โจทก์เรียกเก็บจากทางราชการในกรณีที่โจทก์ได้รับเงินค่าจ้างจากทางราชการได้ ตามมาตรา 82/3 และ 82/4 การที่โจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงเป็นการเสียภาษีไปตามความรับผิดในการที่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นความรับผิดตามกฎหมาย เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงประเมินให้โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับได้ และการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์และของบริษัท ว. หาได้เป็นการซ้ำซ้อนกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5831/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทหุ้นส่วนรับเหมา: ไม่เป็นความผิดอาญาฐานยักยอก แต่เป็นผิดสัญญา
เดิมจำเลยที่ 2 เป็นคู่สัญญากับจังหวัดเพื่อขุดลอกหนองน้ำตามสัญญาจ้าง ต่อมาจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้รับช่วงงานขุดลอกหนองน้ำดังกล่าว โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกันรับงานนั้นเพื่อประสงค์จะแบ่งกำไรกัน โดยโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการดำเนินงาน งานที่รับช่วงมีมูลค่าประมาณ 3,100,000 บาท แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนงานงวดสุดท้ายประมาณ 1,300,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 4 รับทำแทน และโจทก์ยังไม่ได้รับส่วนแบ่งจากการเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่มูลเหตุเป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเข้าหุ้นกันรับช่วงงานขุดลอกหนองน้ำต่อจากจำเลยที่ 2โดยโจทก์มอบให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการดำเนินการขุดลอกหนองน้ำ จำเลยที่ 1ทำงานแล้วไม่ยอมแบ่งเงินให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากการเป็นหุ้นส่วนอยู่ครึ่งหนึ่ง กรณีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เรื่องที่จำเลยที่ 1ทำผิดหน้าที่ในการจัดการทรัพย์สินของโจทก์โดยทุจริต แต่เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งเรื่องหุ้นส่วนเท่านั้น คดีของโจทก์ย่อมไม่มีมูลเป็นความผิดอาญาฐานยักยอกตาม ป.อ.อาญา มาตรา 353 เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จึงไม่อาจเป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2031/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาจ้างและขอบเขตความรับผิดของผู้รับเหมา รวมถึงการหักกลบค่าจ้าง
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 สร้างระบบปรับอากาศไว้ ชำรุดบกพร่อง ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ มีการกลั่นตัว เป็นหยดน้ำตามส่วนต่าง ๆ ของระบบปรับอากาศ และหยด ลงทำให้ผ้าเพดานเสียหาย หัวจ่ายลมเย็นขึ้นรา นอกจากความชำรุดเสียหายเกิดจากความบกพร่อง ในการทำงานของจำเลยที่ 1 แล้วยังเกิดเพราะจำเลยที่ 2 ออกแบบก่อสร้างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาและวิธีปฏิบัติทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม เพราะจำเลยที่ 2 ออกแบบโดยไม่คำนึงถึงสภาพที่ตั้งของอาคารที่ก่อสร้างซึ่งอยู่ในเขตที่มีฝนตกชุกเกือบทั้งปี อากาศมีความชื้นสูงจำเลยที่ 2 ออกแบบความหนาของฉนวนที่ใช้หุ้มท่อต่าง ๆในระบบปรับอากาศไม่เพียงพอในการป้องกันมิได้เกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ เป็นคำฟ้องที่แจ้งชัดในสภาพของข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา คือความบกพร่องในการก่อสร้างของจำเลยที่ 1 และความบกพร่อง ของการออกแบบของจำเลยที่ 2 แล้ว ทั้งโจทก์ได้บรรยายความ เสียหายที่โจทก์ต้องซ่อมแซมและจ้างผู้อื่นซ่อมแซมเป็น ยอดความเสียหายที่ขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ชดใช้แก่โจทก์ เป็นการบรรยายคำขอบังคับไว้ชัดแจ้งแล้วเช่นกันคำฟ้องโจทก์จึงไม่ใช่คำฟ้องเคลือบคลุม ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีข้อตกลงเรื่องความชำรุดบกพร่องไว้ในสัญญาว่า หากงานก่อสร้าง ที่จำเลยที่ 1 รับจ้างทำและจำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกแบบ และควบคุมเกิดความชำรุดบกพร่องภายใน 1 ปี นับแต่ วันส่งมอบและโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซ่อมแซมแก้ไขแล้ว แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ซ่อมแซม แก้ไขหรือซ่อมแซมแก้ไขแล้ว แต่ไม่เรียบร้อย โจทก์มีสิทธิจ้างผู้อื่นซ่อมแซมแก้ไขแทนได้ และจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องรับผิดชอบในค่าจ้างที่โจทก์ต้องจ่ายให้แก่ ผู้อื่นนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ปฏิบัติตามข้อตกลง ย่อมถือว่าเป็นการผิดสัญญา โจทก์ย่อมฟ้องได้ตามข้อสัญญา กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่จะนำอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600 และ 601 มาใช้บังคับ เพราะบทบัญญัติแห่งมาตราทั้งสองใช้บังคับ เฉพาะกรณีที่ไม่มีข้อตกลงในสัญญาเป็นอย่างอื่น กรณีในคดีนี้เป็นเรื่องมิได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความ ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติเรื่องอายุความทั่วไป 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้มาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2346/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหน้าที่เรียกรับเงินจากผู้รับเหมาช่วงตรวจรับงาน เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
ขณะเกิดเหตุจำเลยได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับการจ้างเหมาต่อเติมอาคารที่ทำการสถานีอุตุนิยมวิทยา1หลังและปรับปรุงต่อเติมบ้านพักแถวเรือนแฝด1หลังผู้เสียหายเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดและได้รับจ้างเหมาดังกล่าวก่อนมีการทำสัญญาจ้างจำเลยขอยืมเงินผู้เสียหายจำนวน5,000บาทและในวันที่20พฤษภาคม2530ผู้เสียหายได้จ่ายเงินให้แก่จำเลยอีกจำนวน15,000บาทการที่จำเลยทราบอยู่แล้วว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดซึ่งจำเลยเป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับการจ้างอยู่ด้วยย่อมอาจทำให้เสียความเที่ยงธรรมได้และการที่ผู้เสียหายยอมให้จำเลยยืมเงินดังกล่าวก็เพราะไม่อาจปฏิเสธได้การกระทำของจำเลยส่อไปในทางทุจริตและเป็นความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการตามมาตรา85แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2518ว่าด้วยเรื่องบริจาคทั้งต่อมาเมื่อมีการออกเช็คสั่งจ่ายค่าจ้างเหมาจำนวน123,453บาทและจำเลยได้นำเช็คไปขึ้นเงินสดที่ธนาคารระหว่างรอรับเงินผู้เสียหายได้ตามไปที่ธนาคารและขอให้โอนเงินตามเช็คเข้าบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายจากนั้นจำเลยได้ตามผู้เสียหายไปที่บ้านเพื่อขอใบรับเงินจากผู้เสียหายจำเลยได้เรียกร้องเงินจากผู้เสียหายอีกจำนวน29,000บาทโดยหักจากเงินที่ขอยืมไปจำนวน5,000บาทและให้ผู้เสียหายจ่ายให้จำนวน24,000บาทจึงเกิดการโต้เถียงกันขึ้นในที่สุดผู้เสียหายก็ยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยเพียง15,000บาทพฤติการณ์ที่จำเลยรับเงินจากผู้เสียหายดังกล่าวสืบเนื่องมาจากการที่ผู้เสียหายรับจ้างเหมาต่อเติมอาคารที่ทำการสถานีอุตุนิยมวิทยาที่จำเลยเป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับการจ้างอันเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยการที่จำเลยเรียกร้องจากผู้เสียหายดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายบ้านจัดสรรไม่ใช่การรับเหมา แม้มีสัญญารับเหมาควบคู่กัน รายได้ต้องเสียภาษีการค้า
ผู้ซื้อที่ดินจาก ฉ. ได้ซื้อบ้านที่โจทก์ปลูกลงในที่ดินนั้นพร้อมกันด้วยและโจทก์ได้จัดเตรียมแบบแปลนสำหรับปลูกบ้านในที่ดินทุกแปลงไว้เหมือนกันทุกหลังกับได้สร้างบ้านตัวอย่างขึ้นไว้ให้ผู้ซื้อได้ดูเป็นตัวอย่าง อีกทั้งโจทก์ได้ลงมือปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินเป็นการล่วงหน้าไปก่อนที่ผู้ซื้อจะได้ตกลงทำสัญญาซื้อที่ดินกับ ฉ. และทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างกับโจทก์ แสดงว่าโจทก์ลงมือปลูกสร้างบ้านขึ้นเพื่อขายมาแต่ต้น อันเป็นลักษณะของการขายตามตัวอย่าง หาใช่เป็นการรับจ้างทำของไม่ ยิ่งกว่านั้นบ้านที่โจทก์ปลูกสร้างลงในที่ดินของ ฉ.โดยได้รับความยินยอมจากฉ. นั้นย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อผู้ซื้อประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้าน จึงตกลงทำสัญญาจะซื้อที่ดินและบ้านจาก ฉ. และโจทก์แต่โจทก์กลับจัดให้ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อที่ดินจาก ฉ. และทำสัญญาว่าโจทก์รับเหมาก่อสร้างบ้านให้ผู้ซื้อที่ดินจาก ฉ. โดยใช้สัมภาระของโจทก์ขึ้นไว้แทน ซึ่งไม่ตรงต่อความเป็นจริง ดังนี้ รายรับที่โจทก์ได้จากการโอนกรรมสิทธิ์บ้านให้แก่ผู้ซื้อจึงเป็นรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) โดยขอหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรตรงตามจำนวนเงินในสัญญาจ้างเหมาผู้อื่นปลูกสร้างบ้าน เป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปจริง ถือได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินได้หักค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ตามความจำเป็นและสมควรเป็นการถูกต้องแล้ว ส่วนที่โจทก์ขอหักค่าใช้จ่ายตามราคาประเมินของกรมโยธาธิการนั้น เป็นเพียงราคาจากการประเมินมิใช่ค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปจริง จึงมิใช่ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรอันจะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 335/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับเหมาและผู้ว่าจ้างต่อความเสียหายจากงานก่อสร้างที่ไม่มีสัญญาณเตือน
จำเลยที่ ๑ รับเหมาก่อสร้างปรับปรุงถนน ขณะถนน กำลังก่อสร้างจำเลยที่ ๑ ไม่จัดให้มีสัญญาณไฟเตือน ทั้ง ๆ ที่มีข้อสัญญากับ กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ ๒ ผู้ว่าจ้างไว้ และจำเลยที่ ๒ ได้ เตือนหลายครั้งแล้ว จำเลยที่ ๑ ย่อมคาดได้ ว่าหากไม่มีสัญญาณไฟเตือนให้เห็นอย่างชัดเจนก็อาจเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายได้การที่ อ. ไม่เห็นเกาะกลางถนนที่กำลังก่อสร้างและขับรถยนต์ขนเกาะกลางถนนจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ ๑
กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ ๒ ในฐานะ ผู้ดูแลถนน ในเขต กรุงเทพมหานคร ย่อมมีหน้าที่ควบคุมจัดให้มีเครื่องหมายและสัญญาณจราจรในบริเวณก่อสร้างหรือซ่อมแซม ถนน แม้จะจัดให้จำเลยที่ ๑รับเหมาก่อสร้างไปแล้ว จำเลยที่ ๒ ก็ยังมีหน้าที่ติดตั้ง เครื่องหมายเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่การจราจร เมื่อจำเลยที่ ๒ ควบคุมแล้วยังมีข้อบกพร่อง จำเลยที่ ๒ ก็ต้อง รับผิดเช่นเดียวกับจำเลยที่ ๑
ความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดคราวเดียวกัน เมื่อจัดซ่อมไปแล้วหากตรวจ พบภายหลังว่ายังมีส่วนชำรุด ที่ยังมิได้ซ่อมหลงเหลืออยู่ ก็ยังจัดซ่อมต่อไปอีกได้ จะอ้างว่ามีสิทธิซ่อมเพียงครั้งเดียวไม่ว่าซ่อมแล้วจะดี ดัง เดิม หรือไม่ก็ตามหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2336/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับเหมาต่อความเสียหายจากการประมาทของลูกจ้างและผู้รับเหมาช่วง รวมถึงการฟ้องหุ้นส่วนผู้จัดการในฐานะส่วนตัว
จำเลยเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างอาคาร คนงานก่อสร้างได้กระทำการโดยประมาท เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย จำเลยต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่เกิดขึ้นด้วย คนงานซึ่งถือว่าเป็นลูกจ้างของจำเลยในทางการที่จ้างได้ทำโดยประมาท จะอ้างว่าคนงานของผู้รับเหมาช่วงเป็นผู้กระทำเพื่อให้พ้นความรับผิดหาได้ไม่
หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดถูกฟ้องให้รับผิดเป็นส่วนตัวได้ไม่เป็นฟ้องผิดตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2426/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญารับเหมา: ผู้รับเหมาต้องส่งมอบงานตามคุณภาพที่กำหนด แม้จะได้รับคำแนะนำแหล่งวัตถุจากผู้ว่าจ้าง
จำเลยทำสัญญากับโจทก์รับจ้างเหมาขุดขนลูกรังและทรายกองรายทางตามคุณภาพ และลักษณะซึ่งกำหนดไว้ในประกาศเรียกประกวดราคา และจำเลยต้องส่งตัวอย่างไปให้โจทก์วินิจฉัยก่อน แต่ตัวอย่างที่จำเลยส่งไป โจทก์วินิจฉัยแล้วแจ้งว่าใช้ไม่ได้ ให้นำทรายหยาบแม่น้ำผสมด้วย แม้ตัวอย่างนั้นจำเลยจะนำไปจากแหล่งที่โจทก์แนะนำในประกาศประกวดราคา ประกาศนั้นก็ระบุไว้แล้วว่าการระบุแหล่งวัตถุเป็นการแนะนำ ผู้รับจ้างจะถือเป็นเหตุเพื่อปัดความรับผิดใด ๆ ของตนไม่ได้ การสืบแสวงหาวัตถุตามสัญญา เป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างที่จะต้องจัดหาตามคุณภาพและลักษณะที่กำหนด เมื่อจำเลยประกวดราคาได้และได้ทำสัญญากับโจทก์ดังนี้แล้ว จำเลยจึงจะอ้างเอาความเข้าใจหรือความเชื่อในลักษณะและ คุณสมบัติของวัตถุที่โจทก์แนะนำและข้อแนะนำให้เอาทรายหยาบแม่น้ำผสมว่าไม่ต้องรับผิดตามสัญญาหาได้ไม่
จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งลูกรังและทราบให้มีคุณภาพและลักษณะตามสัญญา แต่จำเลยเอาลูกรังและทราบที่มีลักษณะไม่ถูกต้องส่งไปให้โจทก์วิจัย แม้จำเลยจะได้รับแจ้งผลการวิจัยว่าใช้ไม่ได้ก่อนสิ้นกำหนดสัญญาเพียง 5 วัน เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานวิเคราะห์ของโจทก์ได้กลั่นแกล้งให้ล่าช้าหรือกระทำการโดยไม่สุจริต จำเลยจะอ้างเป็นเหตุสุดวิสัยว่าทำการขนให้ไม่ทันหาได้ไม่
ข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยส่งตัวอย่างวัตถุไปให้โจทก์วิจัยก่อน เป็นแต่ข้อหนึ่งในสัญญาที่จำเลยต้องปฏิบัติก่อนส่งลูกรังและทรายให้โจทก์ตามสัญญา มิใช่เงื่อนไขแห่งสัญญา
ข้อสัญญาที่ว่าถ้าปรากฏว่าผู้รับจ้างส่งวัตถุไม่ถูกต้องตามคุณภาพและลักษณะตามสัญญาผู้รับจ้างจะต้องนำวัตถุที่ถูกต้องมาปลี่ยนให้จนเป็นการถูกต้อง โดยผู้รับจ้างจะคิดยึดเวลาเอากับผู้ว่าจ้างไม่ได้นั้น เป็นข้อสัญญาที่กำหนดไว้เพื่อให้ผู้ว่าจ้างได้รับวัตถุตรงตามสัญญา ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9931/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่างานรับเหมา: กรณีทำเพื่อกิจการของลูกหนี้
คดีนี้โจทก์และจำเลยต่างเป็นผู้ประกอบการค้ารับจ้างก่อสร้าง จำเลยรับจ้างก่อสร้างถนนและสะพานจากกรมทางหลวงแล้วจำเลยนำงานก่อสร้างสะพานไปว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอีกต่อหนึ่ง งานก่อสร้างสะพานเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยซึ่งเป็นผู้รับจ้างจากกรมทางหลวงอยู่ด้วย กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้ประกอบการค้ารับจ้างก่อสร้างเรียกเอาค่างานที่ได้ทำให้แก่จำเลยเพื่อกิจการของจำเลย เข้าข้อยกเว้นไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้ายที่ว่า เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมมีกำหนด 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5)