คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับเหมาช่วง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาการรับเหมาช่วงและการเพิกถอนมอบอำนาจ ไม่เข้าข่ายความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญารับเหมาก่อสร้างชุมสายเคลื่อนที่กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย แม้โจทก์เป็นผู้ก่อสร้างชุมสายดังกล่าวจนเสร็จ แต่โจทก์ก็เป็นเพียงผู้รับงานก่อสร้างมาจากจำเลยที่ 1 อีกทอดหนึ่งเท่านั้น จำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะคู่สัญญากับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยโดยตรง แม้จำเลยที่ 1 จะได้ทำหนังสือมอบให้โจทก์เป็นผู้ติดต่อและรับเงินค่าก่อสร้างจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย แล้วต่อมาจำเลยที่ 1 เพิกถอนใบมอบอำนาจที่ให้โจทก์เป็นผู้รับเงินค่าก่อสร้างจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และมอบอำนาจให้จำเลยที่ 4 รับเงินนั้นไปจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยแล้วก็ตาม ก็เป็นเพียงการไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงกันไว้เท่านั้น ส่วนที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าต่อมาโจทก์สืบทราบว่า จำเลยทั้งห้าได้สมคบกันโดยเจตนาทุจริตเป็นเรื่องที่บรรยายเพื่อให้ครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงไม่ทำให้คดีผิดสัญญาทางแพ่งกลับกลายเป็นคดีอาญา การกระทำของจำเลยทั้งห้าตามฟ้องโจทก์ไม่มีมูลเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายได้จากการรับเหมาช่วงและการจ่ายเงินแทนผู้เช่า: กำหนดระยะเวลาประเมินภาษี
บริษัทโจทก์มีวัตถุประสงค์รับเหมาก่อสร้างทำสัญญารับปรับปรุงที่ดินปลูกสร้างอาคารเรียกเก็บเงินจากผู้เช่า โจทก์จ่ายเงินแก่ผู้รับช่วงจากเจ้าของที่ดิน 30,100,000 บาท เป็นเงินที่โจทก์จ่ายเงินที่เก็บจากผู้เช่าบางส่วน แล้วโจทก์ให้ผู้เช่าชำระเงินจำนวนนี้แก่ผู้รับช่วงจากเจ้าของที่ดินเอง เท่ากับโจทก์รับเงินจากผู้เช่าไปจ่ายนั่นเอง โจทก์จึงมีรายรับ 30,100,000 บาท ซึ่งต้องเสียภาษีการค้า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการค้าว่าไม่มีรายรับ จำเลยประเมินเรียกเก็บได้ในกำหนด 10 ปี ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 88ทวิ(2) ไม่ใช่ 5 ปี ตาม มาตรา 88 ทวิ(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับเหมาช่วงร่วม: การแบ่งงานและขอบเขตความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก
บุคคลสองคนทำสัญญาเป็นผู้รับจ้างร่วมกันในการวางท่อประปาตามถนนให้แก่กรมโยธาเทศบาลและยอมรับผิดชอบร่วมกันและเป็นรายตัวสำหรับบรรดาข้อสัญญาทั้งมวล แต่ผู้รับจ้างสองคนนั้นแบ่งงานกันทำ โดยคนหนึ่งเป็นผู้จัดหาวัสดุ และอีกคนหนึ่งเป็นผู้ดำเนินงานวางท่อประปา ถึงแม้ผู้รับจ้างคนที่ดำเนินงานวางท่อประปาจะกระทำละเมิดขุดท่อระบายน้ำของเทศบาลเสียหาย แต่ผู้รับจ้างทั้งสองก็มิใช่ลูกจ้างนายจ้าง หรือตัวแทนตัวการซึ่งกันและกัน ผู้รับจ้างอีกคนหนึ่งซึ่งมิได้ร่วมกระทำละเมิด จึงหาจำต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดนั้นด้วยไม่ เพราะมิใช่ความรับผิดชอบตามสัญญาต่อผู้ว่าจ้าง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยหรือคนงานของจำเลยขุดถนน เป็นเหตุให้ท่อระบายน้ำของโจทก์เสียหาย จำเลยให้การว่า จำเลยมิได้ขุดหรือให้คนงานของจำเลยขุดถนนเป็นเหตุให้ท่อระบายน้ำของโจทก์เสียหาย ดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบว่า บุคคลอื่นเป็นผู้ทำให้โจทก์เสียหายได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า จำเลยไม่จำต้องรับผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนรับเหมาช่วง หน้าที่ส่งมอบเงินให้ตัวการ และความรับผิดชอบค่าปรับ
บริษัทจำเลยยอมให้โจทก์ยืมชื่อไปทำการประมูลเมื่อโจทก์ประมูลได้ บริษัทจำเลยยังถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของงานอยู่ทั้งในการให้โจทก์เอาชื่อบริษัทจำเลยไปประมูลบริษัทจำเลยคิดเอาผลประโยชน์จากโจทก์ ดังนั้นการที่บริษัทจำเลยทำสัญญารับเหมากับการรถไฟจึงเป็นการออกหน้าเป็นตัวการ ทำสัญญาแทนโจทก์โดยแสดงตนต่อการรถไฟว่าบริษัทจำเลยเป็นคู่สัญญา แท้จริงแล้วเป็นเพียงทำสัญญาแทนโจทก์เท่านั้นเมื่อบริษัทจำเลยเป็นเพียงตัวแทนโจทก์ จึงไม่มีสิทธิเอางานนี้ซึ่งเป็นของโจทก์มาทำสัญญาเป็นผู้จ้างให้โจทก์ผู้เป็นตัวการกลับกลายเป็นผู้รับจ้างแม้โจทก์ลงนามในสัญญารับเหมาช่วง ก็หามีผลทำให้โจทก์กลับกลายเป็นผู้รับจ้างไปไม่บริษัทจำเลยยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อโจทก์ในฐานเป็นตัวแทนของโจทก์เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จ การรถไฟรับมอบงานและจ่ายเงินให้บริษัทจำเลยรับมาจำเลยจึงมีหน้าที่ส่งเงินนั้นให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 การที่บริษัทจำเลยรับเงินที่โจทก์ทำงานเสร็จจากการรถไฟถือว่ารับมาแทนโจทก์บริษัทจำเลยไม่ส่งมอบเงินนั้นให้โจทก์ โจทก์ไม่สามารถทำงานงวดต่อไปได้เป็นเหตุให้บริษัทจำเลยถูกการรถไฟปรับจึงเกิดจากความผิดของบริษัทจำเลยเอง บริษัทจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนเงินที่ถูกปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812เมื่อบริษัทจำเลยเสียค่าปรับให้การรถไฟไปแล้วจึงเรียกคืนจากโจทก์ไม่ได้
โจทก์ซึ่งเป็นตัวการและบริษัทจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตกลงกันว่าโจทก์ทำงานงวดใดเสร็จ ก็ให้บริษัทจำเลยส่งมอบงานนั้นแก่การรถไฟผู้ว่าจ้าง เพื่อขอรับเงินตามสัญญา แต่ตามสัญญากำหนดการจ่ายเงินไว้เป็นงวดๆ เมื่อทำเสร็จและการรถไฟรับมอบงานแล้ว การคิดผลประโยชน์ให้บริษัทจำเลยจึงคิดให้เมื่อโจทก์รับเงินมาแต่ละงวดหาได้คิดให้ในคราวเดียวกัน จำนวนรวมกัน 5% ของเงินที่ประมูลไม่ดังนั้น เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จงวดที่ 1 ได้รับเงินมาเพียงงวดเดียวก็ต้องเลิกทำ เพราะบริษัทจำเลยเป็นต้นเหตุ ไม่มอบเงินให้บริษัทจำเลยจึงเรียกเอาได้เฉพาะ 5% ของเงินงวดที่ 1 ที่ได้รับมาแล้ว จะเรียกเอา5% ของเงินที่ยังไม่ได้รับมาจากการรถไฟหาได้ไม่
หนี้เงินซึ่งอีกฝ่ายหนึ่งยังมีข้อต่อสู้อยู่ จะหักกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเหมาช่วงและการไม่มีตัวแทน: จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบหนี้ที่บริษัทรับเหมาช่วงก่อไว้
จำเลยทำสัญญารับเหมาก่อสร้างกับผู้มีชื่อแต่ไม่ได้ดำเนินการเอง ได้จ้างบริษัทอื่นรับเหมาช่วงไปทำแทน เมื่อบริษัทอื่นดังกล่าวไปก่อหนี้สินเกี่ยวกับการก่อสร้างนั้น โดยจำเลยมิได้เกี่ยวข้องด้วย จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดฐานะตัวการแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการ-ผู้รับเหมาช่วง: ความรับผิดในหนี้จากการรับเหมาช่วง
จำเลยทำสัญญารับเหมาก่อสร้างกับผู้มีชื่อ แต่ไม่ได้ดำเนินการเอง ได้จ้างบริษัทอื่นรับเหมาช่วงไปทำแทนเมื่อบริษัทอื่นดังกล่าวไปก่อหนี้สินเกี่ยวกับการก่อสร้างนั้น โดยจำเลยมิได้เกี่ยวข้องด้วยจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดในฐานะตัวการแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของคู่สัญญาก่อสร้างที่จ้างเหมาช่วง โดยอาศัยหลักตัวการตัวแทน แม้จะผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญารับเหมาก่อสร้างจากกรมทางหลวง ตามสัญญาจำเลยจะนำไปทำสัญญาจ้างเหมาช่วงไม่ได้ จำเลยผิดสัญญานำไปให้บริษัท บ. รับเหมาช่วง ความรับผิดขั้นสุดท้ายต่อกรมทางหลวงยังอยู่ที่จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาโดยตรง สัญญาข้อ 9 จำเลยรับว่า ผู้รับจ้างช่วงเป็นตัวแทนของจำเลย บริษัท บ. จึงเป็นตัวแทนจำเลยในการทำงานโดยมีจำเลยเป็นตัวการ เมื่อบริษัท บ. ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะตัวการ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 633/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีรับเหมาช่วงและการหักรายจ่าย
การคำนวณรายได้และรายจ่ายเพื่อหากำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นจะต้องนำรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นหักด้วยรายจ่ายที่เกี่ยวกับรายได้นั้นตามมาตรา 65 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ต้องนำรายได้ที่โจทก์ได้รับจากการสร้างถนนมารวมเป็นรายรับของโจทก์และต้องนำรายจ่ายที่บริษัท ศ. ซึ่งได้รับมอบจากโจทก์ให้เป็นผู้ดำเนินการแทนได้จ่ายไปตามโครงการก่อสร้างถนนมาคิดคำนวณเป็นรายจ่ายของโจทก์ด้วย
โจทก์ไม่ได้เป็นผู้ก่อสร้างถนน แต่โจทก์ให้บริษัท ศ. รับช่วงไปทั้งโครงการ โจทก์จึงนำรายจ่ายของบริษัท ศ มาหักได้เท่านั้น ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างของโครงการดังกล่าวเป็นรายจ่ายของโจทก์เองและเป็นรายจ่ายต้องห้าม ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายต้องห้ามดังกล่าวจึงเป็นภาษีซื้อต้องห้ามไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5 (3) แห่งประมวลรัษฎากร
แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะคำนวณเบี้ยปรับทุกฐานความผิด แต่ให้เรียกเก็บในกรณีความผิดฐานเดียวกันเพียงอนุมาตราเดียว จึงไม่เป็นการเรียกเก็บเบี้ยปรับซ้ำซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญารับเหมาช่วง: สิทธิฟ้องร้องต่อศาล แม้มีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการที่ไม่ผูกมัด
ตามสัญญารับเหมาช่วงพร้อมคำแปล ข้อ 22.5 ของสัญญาทั้งสองฉบับระบุว่า "หากการวินิจฉัยสุดท้ายของผู้รับเหมาไม่ได้รับการยอมรับจากผู้รับเหมาช่วง ผู้รับเหมาช่วงอาจจะดำเนินการตามกลไกการระงับข้อพิพาทที่ระบุไว้ตามความในข้อย่อย 22.7 ของสัญญารับเหมาช่วงนี้ แต่ไม่ผูกพันว่าต้องทำเช่นนี้เสมอไป" เช่นนี้ตามตอนท้ายของสัญญาข้อ 22.5 ดังกล่าวหาใช่เป็นการบังคับให้โจทก์จำต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนเสมอไปไม่ แต่มีความหมายไปในทางให้โอกาสโจทก์นำข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดหรือฟ้องต่อศาลทางใดทางหนึ่งก็ได้ ดังนั้น โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลได้โดยไม่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก่อน