คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รับโอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7592/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: ความเสียหายและการคิดค่าเสียหายนับแต่วันรับโอน
ขณะที่จำเลยรับโอนที่ดินพิพาท จำเลยไม่ทราบว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ทั้งโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยรู้เห็นเป็นใจในการขอออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยมิชอบทับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อกระทรวงการคลังโจทก์ตั้งแต่วันที่จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาท แม้ก่อนฟ้องโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ แต่เนื่องจากขณะนั้นจำเลยยังไม่ทราบถึงสิทธิของโจทก์ว่าจะมีอำนาจขอเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทได้หรือไม่ ดังนี้โจทก์จะคิดค่าเสียหายนับแต่วันที่จำเลยรับโอนที่พิพาทหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองการทำประโยชน์ออกโดยไม่ชอบ สิทธิในที่ดินของผู้รับโอนตกเป็นของเจ้าของเดิม
คดีก่อนศาลได้วินิจฉัยคดีถึงที่สุดว่า โจทก์ยังคงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ไม่ใช่เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ฉะนั้นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของที่ดินพิพาทดังกล่าวเพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 มีสิทธิครอบครองและได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จึงเป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกไว้ดังกล่าวจึงไม่ชอบ ซึ่งอาจถูกเพิกถอนได้โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 61 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 6 ผู้รับโอนสิทธิต่อจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ในทำนองเดียวกันจำเลยที่ 7 ผู้รับโอนสิทธิครอบครองจากจำเลยที่ 6 ในที่ดินพิพาทย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 6ซึ่งเป็นผู้โอน การได้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง ต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อคดีก่อนศาลฎีกาฟังว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2926ของที่ดินพิพาทออกโดยไม่ชอบ ดังนี้ คดีนี้จำเลยที่ 7จะอ้างสิทธิใด ๆ ที่เกิดจากเอกสารที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่ คดีก่อนศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2926 ของที่ดินพิพาทเป็นการออกโดยคลาดเคลื่อนซึ่งอาจถูกเพิกถอนได้ตามกฎหมาย ดังนี้โจทก์ชอบที่จะดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตามสิทธิของโจทก์ในคดีก่อน โจทก์จะบังคับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ในคดีนี้ซึ่งไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโอนสิทธิครอบครองให้โจทก์ไม่ได้และการที่โจทก์ขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยที่ 7 ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วใส่ชื่อโจทก์ลงในหนังสือรับรองการทำประโยชน์แทนจะแปลว่าเป็นการขอให้บังคับให้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ก็ไม่ได้เช่นกัน ชอบที่ศาลจะยกคำขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ดังกล่าวเสีย คดีนี้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและพิพากษาให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 3,000 บาท แต่มิได้สั่งให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระต่อศาลในนามของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158 ย่อมไม่ถูกต้องศาลฎีกาจึงแก้ไขโดยพิพากษาว่าสำหรับค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นที่จำเลยทั้งเจ็ดจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้จำเลยทั้งเจ็ดชำระต่อศาลในนามของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, และความรับผิดของผู้รับโอนจำนอง
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดในสัญญาแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกัน และมีกำหนดชำระอย่างเดียวกันกับที่ระบุในสัญญาข้อ 2 (ภายในวันสิ้นเดือน) และสัญญาดังกล่าวไม่ได้มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ห้าและขอลดวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีลงจากวงเงินเดิมคงเหลือวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 1,700,000 บาท แล้วจำเลยเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายโดยวิธีถอนเงินสดบริการเงินด่วนเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นก็มีเพียงรายการที่จำเลยนำเงินสดเข้าฝาก และรายการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยแล้วนำไปทบกับต้นเงินในวันสิ้นเดือนเพื่อให้เป็นต้นเงินต่อไป จากนั้นก็ไม่มีการถอนเงินออกจากบัญชีอีกเลย และมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 ซึ่งปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์1,696,182.61 บาท ใกล้เคียงกับวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 1,700,000 บาทแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยกำหนดหักทอนบัญชีกันทุกวันสิ้นสุดของเดือน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเป็นอันเลิกกันในวันที่ 31ธันวาคม 2537 หาได้สิ้นสุดในวันที่ 7 เมษายน 2538 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยต่อไป
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดจำนวนต้นเงินต่ำกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อเป็นผลจากการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้สั้นลงกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
จำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เพียงแต่เป็นผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์และโจทก์ชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันมีต่อโจทก์เฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจำนองในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองเท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันครั้งที่สามอีกเป็นเงิน56,000 บาท ทำให้ยอดหนี้จำนองรวมเป็นเงิน 1,700,000 บาท ก็เป็นการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้อันจำนองเป็นประกันเพื่อให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ โดยจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองตาม ป.พ.พ.มาตรา 746 ยอมขึ้นเงินจำนองในทรัพย์สินซึ่งจำนองอีกเพียง 56,000 บาท หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือลูกหนี้จำนองโดยตรงในหนี้จำนองทั้งหมด แม้บันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่สามจะมีข้อความว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวนหากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 1 ผู้จำนองทำไว้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6696/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีมูลหนี้-การรับโอนโดยไม่สุจริต-จำเลยไม่ต้องรับผิด
โจทก์รับโอนเช็คพิพาทจาก ส.โดยรู้ว่าเป็นเช็คที่จำเลยออกให้แก่ ส.ทนายความเพื่อให้ ส.ช่วยเหลือคดีที่จำเลยถูกฟ้องในความผิดฐานให้ที่พักแก่คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่ไม่มีมูลหนี้ในอันที่จำเลยจะต้องรับผิด โจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาโดยไม่สุจริต จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6696/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีมูลหนี้ & การรับโอนโดยไม่สุจริต จำเลยไม่ต้องรับผิด
โจทก์รับโอนเช็คพิพาทจาก ส. โดยรู้ว่าเป็นเช็คที่จำเลยออกให้แก่ ส. ทนายความเพื่อให้ ส. ช่วยเหลือคดีที่จำเลยถูกฟ้องในความผิดฐานให้ที่พักแก่คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่ไม่มีมูลหนี้ในอันที่จำเลยจะต้องรับผิด โจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาโดยไม่สุจริต จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9215/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนเช็คโดยมิได้สมคบกันฉ้อฉล และความรับผิดของผู้สั่งจ่ายต่อผู้ทรงคนปัจจุบัน
เมื่อวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาทจากจำเลยที่2โดยมิได้คบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่1แล้วคดีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยว่ามีหนี้ที่จำเลยที่1จะต้องชำระแก่จำเลยที่2ตามเช็คพิพาทหรือไม่เพราะเป็นข้อต่อสู้ที่อาศัยความเกี่ยวพันกันระหว่างจำเลยที่1ผู้สั่งจ่ายกับจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนจำเลยที่1หาอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงคนปัจจุบันได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา916ประกอบด้วยมาตรา989จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5382-5383/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักย้ายทรัพย์มรดก การรับโอนโดยไม่สุจริต และสิทธิในการเพิกถอนนิติกรรมของผู้รับมรดก
จำเลยที่2ไปรับโอนมรดกแต่ผู้เดียวและนำที่ดินทรัพย์มรดกซึ่งตกได้แก่โจทก์ทั้งสามและจ.ด้วยไปโอนให้แก่จำเลยที่1ซึ่งไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกจึงเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่าจำเลยที่2จึงถูกกำจัดมิให้รับมรดกเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1605ส่วนจำเลยที่1ไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกการกระทำของจำเลยที่1จึงไม่เป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่1รับโอนที่ดินจากจำเลยที่2โดยทราบว่าโจทก์ทั้งสามและจ.เป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริตจำเลยที่3ถึงที่5เป็นบุตรของจำเลยที่1มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมโดยการยกให้โดยเสน่หาของจำเลยที่1จึงเป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทนโจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300 จำเลยที่3ถึงที่5ขายที่ดินให้จำเลยที่6หลังจากโจทก์ที่3ได้อายัดที่ดินไว้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยกรรมการของจำเลยที่6ทราบเรื่องแล้วถือว่าจำเลยที่6รับโอนโดยไม่สุจริตโจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิให้เพิกถอนการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300ได้เช่นกัน ผู้ที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่บุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1755จำเลยที่1และที่3ถึงที่5ไม่ใช่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกทั้งจำเลยที่2ถูกกำจัดมิให้รับมรดกจำเลยที่2จึงไม่อยู่ในฐานะทายาทการที่จำเลยที่1รับโอนที่ดินจากจำเลยที่2แล้วให้จำเลยที่3ถึงที่5ถือกรรมสิทธิ์รวมจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1และที่3ถึงที่5เป็นบุคคลซึ่งชอบจะใช้สิทธิของทายาทจึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์จากการครอบครอง vs. สิทธิผู้รับโอน: บุคคลภายนอกคดีพิสูจน์สิทธิที่ดีกว่าได้ แม้ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
การที่ ด.และ ค. ซึ่งเป็นตาและยายของจำเลยที่ 1 ปลูกบ้านในที่พิพาทเพราะคนทั้งสองซื้อที่พิพาทมาจาก บ.และ ผ.เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทคนเดิม หาใช่เพราะ บ.และ ผ.อนุญาตให้คนทั้งสองอยู่อาศัยไม่ และจำเลยทั้งสองได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันโดยสืบทอดมาจากตายายและบิดามารดาของจำเลยที่ 1 มานานหลายสิบปี ที่พิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองโดยการครอบครองตามกฎหมาย แม้ ส.บุตรของบ.และผ.ได้ขอจดทะเบียนการได้มาซึ่งที่พิพาทโดยการครอบครองตามคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วก็ตาม ส.ก็หามีสิทธิดีกว่าอันจะเป็นเหตุให้มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองไม่เพราะ ส.มิใช่ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสองเมื่อ ส.ผู้โอนไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสอง โจทก์ทั้งสี่ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเพราะโจทก์ทั้งสี่ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีไปกว่า ส.ผู้โอน
แม้คำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่า ส.ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองตามกฎหมายก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลภายนอกคดีสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า เมื่อจำเลยทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองตามกฎหมาย คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลยทั้งสอง ตามป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรค 2 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนเช็คพิพาทด้วยคบคิดฉ้อฉลทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 2 ปลูกบ้านและได้ออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับลงวันที่ล่วงหน้า มอบให้จำเลยที่ 2 เป็นค่าจ้างปลูกบ้านงวดที่ 4เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับเช็คพิพาทแล้วก็ทิ้งงานไป จำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้แนะนำจำเลยที่ 2 ให้รู้จักกับจำเลยที่ 1 ทราบ และให้ช่วยติดตามจำเลยที่ 2ให้ด้วย ดังนั้นการที่โจทก์รับเช็คพิพาทจากจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าเช็คดังกล่าวเป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้จำเลยที่ 2 เป็นค่าจ้างสร้างบ้านงวดที่ 4 และจำเลยที่ 2 ได้ทิ้งงานไปไม่สร้างให้เสร็จตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามเช็คพิพาทให้จำเลยที่ 2 การรับโอนเช็คพิพาทของโจทก์จากจำเลยที่ 2เป็นการรับโอนด้วยคบคิดกันฉ้อฉล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินตามเช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนเช็คพิพาทด้วยเจตนาฉ้อฉล โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินตามเช็ค
จำเลยที่1ได้ทำสัญญาจ้างจำเลยที่2ปลูกบ้านและได้ออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับลงวันที่ล่วงหน้ามอบให้จำเลยที่2เป็นค่าจ้างปลูกบ้านงวดที่4เมื่อจำเลยที่2ได้รับเช็คพิพาทแล้วก็ทิ้งงานไปจำเลยที่1ได้แจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้แนะนำจำเลยที่2ให้รู้จักกับจำเลยที่1ทราบและให้ช่วยติดตามจำเลยที่2ให้ด้วยดังนั้นการที่โจทก์รับเช็คพิพาทจากจำเลยที่2ซึ่งโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่าเช็คดังกล่าวเป็นเช็คที่จำเลยที่1จ่ายให้จำเลยที่2เป็นค่าจ้างสร้างบ้านงวดที่4และจำเลยที่2ได้ทิ้งงานไปไม่สร้างให้เสร็จตามสัญญาจำเลยที่1จึงไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามเช็คพิพาทให้จำเลยที่2การรับโอนเช็คพิพาทของโจทก์จากจำเลยที่2เป็นการรับโอนด้วยคบคิดกันฉ้อฉลโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินตามเช็ค
of 4