พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านไม่ต้องรับผิดหนี้เงินประกันความเสียหายตามสัญญาเช่าเดิม
โจทก์ทำสัญญาเช่าบ้านจากจำเลยที่ 1 และได้วางเงินประกันความเสียหายอันเกิดจากการเช่าไว้แก่จำเลยที่ 1 โดยมีข้อตกลงในสัญญาเช่าว่า จำเลยที่ 1 จะคืนเงินดังกล่าวเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบ้านเช่าแล้ว ก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุดจำเลยที่ 1 ได้โอนขายบ้านให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้มอบเงินประกันความเสียหายให้แก่จำเลยที่ 2 ดังนี้ เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงและโจทก์ได้ขนย้ายทรัพย์สินออกไปแล้ว โจทก์จะฟ้องเรียกเงินประกันความเสียหายคืนจากจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เพราะการคืนเงินประกันความเสียหายเป็นเพียงสิทธิและหน้าที่อื่นตามสัญญาเช่าไม่ใช่สาระสำคัญเกี่ยวกับสัญญาเช่า จึงไม่ใช่หน้าที่ตามสัญญาเช่าที่ผู้รับโอนจะต้องรับผิดและปฏิบัติตาม จำเลยที่ 2ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์บ้านไม่จำต้องรับเอาความรับผิดที่จำเลยที่ 1จะต้องคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 569 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความใช้ยันผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ได้ แม้ไม่ได้จดทะเบียน เพราะเป็นการโต้เถียงสิทธิระหว่างผู้ได้ภารจำยอมกับเจ้าของภารยทรัพย์
ได้ภารจำยอมเป็นทางเดินมาโดยอายุความ ไม่ได้จดทะเบียนก็บริบูรณ์และใช้ยันผู้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์สามยทรัพย์อันมิใช่เถียงกันในการได้ทรัพยสิทธิอย่างเดียวกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่านา: สิทธิผู้เช่าตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา และความรับผิดของผู้รับโอนกรรมสิทธิ์
โจทก์ทำนาของจำเลย ค่าพันธุ์ข้าวปลูกโจทก์จำเลยออกกันคนละกึ่งส่วนค่าใช้จ่ายอย่างอื่นโจทก์เป็นผู้ออก ผลประโยชน์ที่ได้จากการทำนาแบ่งกันคนละครึ่ง โจทก์จะทำนาได้มากน้อยเท่าใดแล้วแต่ความสามารถของโจทก์ จำเลยมิได้กำหนดกฎเกณฑ์หรือสั่งการและควบคุมโจทก์ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวไม่อยู่ในฐานะนายจ้างลูกจ้าง
การที่จำเลยยอมให้โจทก์ใช้นาพิพาทของจำเลยเพื่อทำนาโดยจำเลยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นข้าวอันเป็นผลผลิตจากการทำนา เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้เช่านาพิพาทตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 แล้ว แม้การเช่าจะมิได้กำหนดเวลากันไว้ก็ตาม ก็ถือว่าการเช่านารายนี้มีกำหนดเวลา 6 ปีตามมาตรา 5 แห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องให้โจทก์เช่าจนครบ 6 ปี
แม้ว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการเช่านาจะยังไม่ถึงที่สุดเมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่สิ้นสุด และจำเลยขัดขวางมิให้โจทก์เข้าทำนาตามสิทธิ์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์จะอ้างว่าตนเข้าครอบครองนาพิพาทระหว่างรอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
เดิมโจทก์เช่านาพิพาทกับจำเลยคนหนึ่ง ต่อมาจำเลยคนนั้นโอนนาพิพาทไปให้จำเลยอีกคนหนึ่ง จำเลยผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยคนก่อนที่มีต่อโจทก์ผู้เช่านา ตามมาตรา 29 แห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยผู้รับโอนจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
แม้จำเลยคนหนึ่งจะไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งให้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมร่วมกับจำเลยอีกคนหนึ่งผู้ซึ่งจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
การที่จำเลยยอมให้โจทก์ใช้นาพิพาทของจำเลยเพื่อทำนาโดยจำเลยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นข้าวอันเป็นผลผลิตจากการทำนา เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้เช่านาพิพาทตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 แล้ว แม้การเช่าจะมิได้กำหนดเวลากันไว้ก็ตาม ก็ถือว่าการเช่านารายนี้มีกำหนดเวลา 6 ปีตามมาตรา 5 แห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องให้โจทก์เช่าจนครบ 6 ปี
แม้ว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมการเช่านาจะยังไม่ถึงที่สุดเมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่สิ้นสุด และจำเลยขัดขวางมิให้โจทก์เข้าทำนาตามสิทธิ์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์จะอ้างว่าตนเข้าครอบครองนาพิพาทระหว่างรอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
เดิมโจทก์เช่านาพิพาทกับจำเลยคนหนึ่ง ต่อมาจำเลยคนนั้นโอนนาพิพาทไปให้จำเลยอีกคนหนึ่ง จำเลยผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยคนก่อนที่มีต่อโจทก์ผู้เช่านา ตามมาตรา 29 แห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยผู้รับโอนจึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
แม้จำเลยคนหนึ่งจะไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งให้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมร่วมกับจำเลยอีกคนหนึ่งผู้ซึ่งจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความและการจดทะเบียน: การรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตไม่กระทบสิทธิภารจำยอมที่เกิดขึ้นแล้ว
จำเลยจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อสู้เพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปเพราะเหตุมิ ได้จดทะเบียน - ภารจำยอมหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 800/2502 ซึ่งตัดสินโดยที่ประชุมใหญ่)
นับแต่แต่ พ.ศ. 2485 มารดาโจทก์เข้าอยู่ในที่ดิน ของโจทก์และได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางสัญจรจำหรับรถ 3 ล้อเข้าออกบ้านสู่ถนนดินสอและเมื่อสามีโจทก์และโจทก์รับช่วงเป็นเจ้าของที่ดิน มารดาโจทก์ สามีโจทก์และโจทก์ ก็ได้ใช้ทางพิพาทนี้สำหรับรถ 3 ล้อ สัญจรเข้าออกบ้านโจทก์สืบต่อกันตลอดมาไม่ขาดสาย จนถึงปี พ.ศ. 2499 ซึ่งพิพาทกันเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าว ย่อมได้สิทธิในการจำยอมเหนือทางพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของจำเลยยาวตลอดตรอกพิพาทโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382, 1385, 1387 และ 1401 จำเลยจะปิดกั้นตรอกพิพาทแม้เฉพาะในส่วนที่ดินอยู่ในหน้าโฉนดของจำเลยหาได้ไม่ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390) การที่จำเลยปิดกั้นตรอกพิพาทเป็นเหตุให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในสิทธิภารจำยอมไม่ได้ ย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420)
นับแต่แต่ พ.ศ. 2485 มารดาโจทก์เข้าอยู่ในที่ดิน ของโจทก์และได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางสัญจรจำหรับรถ 3 ล้อเข้าออกบ้านสู่ถนนดินสอและเมื่อสามีโจทก์และโจทก์รับช่วงเป็นเจ้าของที่ดิน มารดาโจทก์ สามีโจทก์และโจทก์ ก็ได้ใช้ทางพิพาทนี้สำหรับรถ 3 ล้อ สัญจรเข้าออกบ้านโจทก์สืบต่อกันตลอดมาไม่ขาดสาย จนถึงปี พ.ศ. 2499 ซึ่งพิพาทกันเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าว ย่อมได้สิทธิในการจำยอมเหนือทางพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของจำเลยยาวตลอดตรอกพิพาทโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382, 1385, 1387 และ 1401 จำเลยจะปิดกั้นตรอกพิพาทแม้เฉพาะในส่วนที่ดินอยู่ในหน้าโฉนดของจำเลยหาได้ไม่ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390) การที่จำเลยปิดกั้นตรอกพิพาทเป็นเหตุให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในสิทธิภารจำยอมไม่ได้ ย่อมเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9698/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมในที่ดินจัดสรร: การใช้ถนนสาธารณะเพื่อเข้าถึงโครงการและการรับโอนกรรมสิทธิ์
จำเลยที่ 1 กับ ก. เป็นหุ้นส่วนในการจัดสรรที่ดินขายโดยใช้ที่ดินพิพาทเป็นถนนเข้าสู่โครงการ การที่จำเลยที่ 1 กับ ก. ใช้ถนนเป็นทางเข้าออกของหมู่บ้านจัดสรรถือเป็นสาธารณูปโภคซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 ให้ถือว่าตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร และให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไปที่จะบำรุงรักษาให้คงสภาพดังที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไป แม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 3 ให้ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 แต่พระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 มาตรา 43 ก็ยังคงมีบทบัญญัติเช่นเดิม จึงต้องถือว่าถนนดังกล่าวเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดิน จึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร ซึ่งมิอาจทำให้ภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกได้ การที่โจทก์รับซื้อฝากที่ดินจาก ก. แม้จะได้กรรมสิทธิ์จากการรับซื้อฝาก ภาระจำยอมดังกล่าวก็ย่อมตกติดไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฟ้องขับไล่: จำเป็นต้องอ้างเหตุผิดสัญญาการชำระเงินควบคู่กับการไม่รับโอนกรรมสิทธิ์
ฟ้องโจทก์บรรยายสภาพแห่งข้อหาที่เป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยว่า การที่จำเลยไม่มารับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์เป็นการผิดสัญญา มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเพราะไม่ชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด แม้จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การแต่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องสืบพยานเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ไปฝ่ายเดียวตามที่เห็นว่าจำเป็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง ประกอบมาตรา 193 ทวิ วรรคสอง ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยไม่ชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์นั้น เป็นการนำสืบข้อเท็จจริงนอกฟ้อง เมื่อฟ้องอ้างเหตุแต่เพียงว่าจำเลยไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด โดยมิได้อ้างเหตุว่าจำเลยไม่ชำระเงินตามสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุด จึงเป็นกรณีที่จำเลยไม่ใช้สิทธิรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญาจะซื้อจะขายจากโจทก์ มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ที่เป็นเจ้าหนี้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาเพราะการไม่ชำระหนี้ ข้ออ้างตามฟ้องจึงไม่มีมูลว่า จำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 อันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเสียหายตามฟ้องได้