คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ราคาของ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ปรับสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากร
ค่าปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ที่ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วนั้น หมายถึงปรับสี่เท่าของราคาของที่แท้จริงรวมกับค่าอากรที่ต้องชำระโดยไม่คำนึงว่าได้ชำระค่าอากรไปแล้วหรือไม่เพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ปรับสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากร โดยไม่หักค่าอากรที่ชำระแล้ว
ค่าปรับตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27ที่ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วนั้น หมายถึงปรับสี่เท่าของราคาของที่แท้จริงรวมกับค่าอากรที่ต้องชำระโดยไม่คำนึงว่าได้ชำระค่าอากรไปแล้วหรือไม่เพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469: ราคาของและค่าอากรที่ใช้คำนวณโทษ
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ซึ่งบัญญัติในเรื่องกำหนดโทษปรับไว้ว่า "สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว" นั้นคำว่า "ราคาของ" ตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึงราคาของที่แท้จริงไม่ใช่ราคาของที่สำแดงไว้ขาด ส่วนคำว่า "ค่าอากร" นั้นก็มิได้จำกัดไว้ว่าให้คิดเฉพาะค่าอากรที่ชำระขาดไปเช่นกัน จึงหมายถึงค่าอากรตามอัตราที่ต้องชำระโดยไม่คำนึงถึงว่าได้ชำระค่าอากรไปแล้วหรือไม่เพียงใด เพราะเป็นเรื่องกฎหมายบัญญัติให้นำราคาของกับค่าอากรมาเป็นหลักในการกำหนดอัตราโทษปรับมิใช่เพื่อให้ผู้กระทำผิดชำระค่าอากรแต่อย่างใด จึงจะแปลว่ากฎหมายมุ่งหมายให้คิดเฉพาะราคาของกับค่าอากรที่ยังขาดอยู่มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2310/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณโทษปรับคดีหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร: พิจารณาจากราคาของรวมค่าอากร และขอบเขตของคำว่า 'ค่าอากร'
พระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 บัญญัติถึงกำหนดโทษสำหรับความผิดฐานหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลไว้ว่า ฯลฯ สำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของ ซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ฯลฯ" บทบัญญัตินี้มิได้จำกัดว่า ค่าอากรนั้นให้คิดเฉพาะค่าอากรที่เสียขาดไป จึงย่อมหมายถึงค่าอากรทั้งหมดสำหรับของนั้น อย่างไรก็ดีคำว่า "ค่าอากร" ตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่หมายความรวมถึงภาษีการค้า อันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2310/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณโทษปรับฐานหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร: พิจารณาจากราคาของรวมค่าอากรทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะค่าอากรขาด
พระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 บัญญัติถึงกำหนดโทษสำหรับความผิดฐานหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากร โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลไว้ว่า 'ฯลฯ สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของ ซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ฯลฯ' บทบัญญัตินี้มิได้จำกัดว่า ค่าอากรนั้นให้คิดเฉพาะค่าอากรที่เสียขาดไป จึงย่อมหมายถึงค่าอากรทั้งหมดสำหรับของนั้น อย่างไรก็ดีคำว่า'ค่าอากร' ตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่หมายความรวมถึงภาษีการค้า อันเป็นภาษีอากรฝ่ายสรรพากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ศาลต้องพิจารณาโทษรวมไม่เกิน 4 เท่าของราคาของรวมค่าอากร
พระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 บัญญัติเรื่องโทษไว้ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว และมาตรา 27 ทวิ เป็นบทบัญญัติต่อท้าย และเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 แม้ในมาตรา 27 ทวิ จะมิได้บัญญัติถึงข้อความเจาะจงลงไปว่าความผิดครั้งหนึ่งๆ ด้วยก็ตามก็ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับมาตรา 27 ฉะนั้น ถ้าศาลจะปรับจำเลยเรียงตัวคนละ 4 เท่า ราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วก็จะเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ เกินกว่า 4 เท่า ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าวและมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า เมื่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับกฎหมายอื่น ให้ยกเอาบทพระราชบัญญัตินี้ขึ้นบังคับจึงเอามาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาบังคับไม่ได้จึงต้องปรับจำเลยรวมกันไม่เกิน 4 เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับโทษทางศุลกากร: ห้ามปรับเกินสี่เท่าของราคาของรวมอากร แม้จะแบ่งปรับเป็นรายบุคคล
กรณีที่พระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับสี่เท่าของราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยกันนั้น ถ้าศาลพิพากษาปรับจำเลยแต่ลำคน คนละสี่เท่าของราคาของซึ่งรวมค่าอากรด้วย ก็ย่อมเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เกินกว่าสี่เท่า อันเป็นการผิดข้อความที่บัญญัติไว้และกรณีเช่นนี้ย่อมจะนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31 ซึ่งให้ปรับเรียงตามรายตัวบุคคลมาใช้บังคับไม่ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ศาลปรับจำเลยแต่ละคนเกินสี่เท่าของราคาของ ซึ่งขัดต่อกฎหมาย
กรณีที่พระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับสี่เท่าของราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยนั้น ถ้าศาลพิพากษาปรับจำเลยแต่ละคนคนละสี่เท่าของราคาของซึ่งรวมค่าอากรด้วย ก็ย่อมเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ เกินกว่าสี่เท่า อันเป็นการผิดข้อความที่บัญญัติไว้และกรณีเช่นนี้ย่อมจะนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31 ซึ่งให้ปรับเรียงตามรายตัวบุคคลมาใช้บังคับไม่ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12464/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าปรับทางอาญาในความผิดศุลกากร: ราคาของและค่าอากรที่แท้จริง
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 บัญญัติว่า "สำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว" คำว่า "ราคาของ" หมายความถึง ราคาของที่แท้จริงไม่ใช่ราคาของที่สำแดงไว้ขาด ส่วนคำว่า "ค่าอากร" ก็มิได้จำกัดไว้ว่าให้คิดเฉพาะค่าอากรที่ชำระขาดไป จึงหมายถึงค่าอากรตามอัตราที่ต้องชำระโดยไม่คำนึงว่าได้ชำระค่าอากรไปแล้วหรือไม่เพียงใด เพราะเป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติให้นำราคาของกับค่าอากรมาเป็นหลักในการกำหนดอัตราโทษทางอาญาคือโทษปรับ มิใช่เพื่อให้ผู้กระทำผิดชำระค่าอากร ซึ่งเป็นเรื่องในทางแพ่งแต่อย่างใด จึงจะแปลว่ากฎหมายมุ่งให้คิดเฉพาะค่าของกับค่าอากรที่ยังขาดอยู่มิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8127/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าปรับในความผิดศุลกากร ต้องใช้ราคาของรวมค่าอากร ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และการจ่ายเงินรางวัลให้ผู้จับกุม
พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ มีระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วย ซึ่งค่าอากรดังกล่าวหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้นไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วย การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับจำเลยโดยนำภาษีมูลค่าเพิ่ม 6,370 บาท มารวมกับเงินค่าอากร 21,000 บาท เป็นเงิน 27,370 บาท ตามใบประเมินราคาของกลางมาคำนวณลงโทษปรับจำเลยด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ
ที่ศาลล่างทั้งสองให้จ่ายเงินรางวัลแก่ผู้จับตามกฎหมายโดยไม่ระบุให้ชัดแจ้งกับเป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งริบของกลาง และไม่ปรากฏว่าของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ จึงต้องจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบของราคาของกลางตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดฯ มาตรา 8 วรรคสอง ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุให้ชัดแจ้งด้วย