พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2049/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาขายสุราในตลาดปกติ การปรับลดราคาโรงงาน และการคำนวณภาษีสรรพสามิต
จำเลยมีนักวิชาการสรรพสามิตชำนาญการเบิกความว่า จำเลยจัดทำประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าสุราที่ทำในราชอาณาจักร เพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2546 และประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดมูลค่าของสุราที่ทำในราชอาณาจักร เมื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี พ.ศ.2552 ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2552 โดยจำเลยดำเนินการศึกษากำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีสุราทั้งระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในตลาดสุราชนิดเบียร์ ผลการศึกษาปรากฏว่าวิธี Equal Ex - Factory Price เป็นวิธีการคำนวณหาราคาขาย ณ โรงงานสุราเพื่อเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีสุราที่เหมาะสมที่สุด ก่อให้เกิดความเป็นธรรมและเสริมสร้างยุทธศาสตร์ในการแข่งขันในระหว่างผู้รับใบอนุญาตทำสุราประเภทเบียร์ด้วยกันและเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค การแบ่งเบียร์เป็น 3 ระดับ เป็นการพิจารณาจากเป้าหมายทางการตลาดและการจัดวางตำแหน่งทางการตลาดของผู้ผลิตและผู้จำหน่ายกำหนดเอง และความแตกต่างของราคาแต่ละระดับ เป็นไปตามข้อเท็จจริงในท้องตลาด จำเลยมิได้กำหนดราคาขาย ณ โรงงานสุราตามอำเภอใจ และสำหรับเบียร์สด มีวิธีการจำหน่ายแตกต่างจากเบียร์บรรจุขวดหรือกระป๋องที่วางจำหน่ายในท้องตลาด เพราะเบียร์สด (ถัง) ต้องจำหน่ายเฉพาะที่ เนื่องจากต้องมีอุปกรณ์หัวจ่าย อีกทั้งมูลค่าเบียร์สดจะแตกต่างกันไปตามสถานที่ เช่น ร้านอาหาร หรือสถานเริงรมย์ ในการศึกษาหลักเกณฑ์จึงมิได้มีการนำเบียร์สดเข้าจัดกลุ่มหรือระดับ โจทก์มิได้โต้แย้งว่า หลักเกณฑ์การคิดคำนวณตามประกาศกรมสรรพสามิตดังกล่าวไม่ถูกต้อง โดยโจทก์คงกล่าวอ้างแต่เพียงว่า เพื่อเป็นการบรรเทาความเสียหายจากการจำหน่ายเบียร์สิงห์และเบียร์สดสิงห์ของโจทก์ และเตรียมรองรับภาวะเศรษฐกิจของโลกที่ถดถอยอันเนื่องมาจากวิกฤติการณ์ทางการเงินของโลก โจทก์จึงมีนโยบายปรับลดกำไรจากการขายเบียร์สิงห์และเบียร์สดสิงห์ ณ โรงงานของโจทก์ลง หากจำเลยประกาศกำหนดราคาขาย ณ โรงงานใหม่ตามที่โจทก์แจ้ง จะทำให้ราคาขายส่งและขายปลีกลดลงได้ต่อไป โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นได้ว่าหากปรับลดราคาเบียร์สิงห์และเบียร์สดสิงห์ ณ โรงงานของโจทก์ลงแล้ว จะมีความสัมพันธ์กับการลดลงของราคาขายเบียร์สิงห์และเบียร์สดสิงห์อย่างไร ยิ่งไปกว่านั้น ข้ออ้างของโจทก์ยังขัดแย้งกับพยานโจทก์ว่าราคาขายปลีกเป็นเรื่องของผู้บริโภคแต่ละรายจะเป็นผู้กำหนดเอง และข้ออ้างโจทก์ยังขัดแย้งกับหนังสือของโจทก์ เรื่อง การปรับราคาขาย ณ โรงงานสุราแช่ ชนิดเบียร์ ชื่อสิงห์ โดยราคาขายปลีกผู้บริโภคไม่มีส่วนสัมพันธ์กับราคาขาย ณ โรงงาน และข้ออ้างของโจทก์ในการประหยัดต่อขนาดหนึ่งพันล้านลิตร โจทก์ก็ไม่นำสืบให้เห็นว่าการประหยัดต่อขนาดทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงอย่างไร หรือโจทก์สามารถบริหารการจัดซื้อวัตถุดิบและควบคุมการผลิตให้มีประสิทธิภาพอย่างไร โจทก์จึงปราศจากพยานหลักฐานและเหตุผลให้รับฟังได้ว่า ราคาขายของเบียร์สิงห์และเบียร์สดสิงห์ ณ โรงงานสุราของโจทก์ที่จะปรับลดนั้น เป็นราคาขาย ณ โรงงานสุราในตลาดปกติตาม พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.2493 มาตรา 8 จัตวา (1) วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8819/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาขายสุราตามประกาศกรมสรรพสามิต ต้องพิจารณาจากราคาตลาดปกติ ไม่ใช่ราคาต้นทุน+กำไรที่แจ้ง
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดฯ มาตรา 13 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลพิจารณาสั่งให้มีการปรับปรุงกระบวนพิจารณาให้เหมาะสมกับการพิจารณาคดีในศาลภาษีอากรกลาง ซึ่งศาลภาษีอากรกลางสั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องโดยคำนึงถึงประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว
การออกประกาศกรมสรรพสามิตฯ เป็นการกระทำของอธิบดีกรมสรรพสามิต ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในการใช้อำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ที่มีผลกระทบต่อสถานภาพแห่งหน้าที่ของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 5 ส่วนหนังสือของสำนักงานสรรพสามิตฯ เป็นเพียงหนังสือแจ้งเตือนให้โจทก์ทราบว่ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีเพิ่มเท่านั้นไม่ใช่คำสั่งที่มีผลเปลี่ยนแปลงสิทธิหน้าที่ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์แต่อย่างใด จึงไม่เป็นคำสั่งทางปกครอง
ข้อความตามหนังสืออุทธรณ์ของโจทก์แสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์ทราบอยู่แล้วว่าจำเลยออกประกาศกรมสรรพสามิตดังกล่าว รวมทั้งรายละเอียดและเหตุผลเป็นอย่างดีอยู่แล้ว เหตุผลในการประกาศกำหนดราคาสุราตามประกาศกรมสรรพสามิตฯ โจทก์รู้อยู่แล้วโดยไม่จำเป็นต้องระบุในประกาศกรมสรรพสามิตอันเป็นคำสั่งทางปกครองฉบับนี้อีก ต้องตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 37 วรรคสาม (2) มีผลให้ไม่ต้องนำบทบัญญัติที่ต้องจัดให้มีเหตุผลตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ ดังนี้ แม้ประกาศกรมสรรพสามิตฯ ไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ ก็ไม่เป็นเหตุให้เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่สมบูรณ์ จึงเพิกถอนไม่ได้
เมื่อศาลชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบแล้ว คู่ความมีสิทธิคัดค้านได้ และเมื่อศาลชี้ขาดคำคัดค้านแล้วคำชี้ขาดดังกล่าวให้อยู่ภายใต้บังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 226 คดีนี้ ศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอให้กำหนดประเด็นเพิ่มเติม ศาลภาษีอากรกลางไม่กำหนดให้ เป็นการชี้ขาดคำคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาท จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์ต้องโต้แย้งไว้จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์อ้างว่า ประกาศกรมสรรพสามิตฯ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.สุราฯ มาตรา 8 จัตวา (1) วรรคสาม ปัญหานี้ ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของคู่ความก่อนว่าราคาขาย ณ โรงงานปกติเป็นเท่าใด จากนั้นจึงวินิจฉัยข้อกฎหมาย อุทธรณ์ข้อนี้เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ข้อกฎหมายและไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อไม่มีประเด็ให้ต้องวินิจฉัยในศาลภาษีอากรกลาง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 24 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225
การออกประกาศกรมสรรพสามิตฯ เป็นการกระทำของอธิบดีกรมสรรพสามิต ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในการใช้อำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ที่มีผลกระทบต่อสถานภาพแห่งหน้าที่ของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งทางปกครองตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 5 ส่วนหนังสือของสำนักงานสรรพสามิตฯ เป็นเพียงหนังสือแจ้งเตือนให้โจทก์ทราบว่ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีเพิ่มเท่านั้นไม่ใช่คำสั่งที่มีผลเปลี่ยนแปลงสิทธิหน้าที่ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์แต่อย่างใด จึงไม่เป็นคำสั่งทางปกครอง
ข้อความตามหนังสืออุทธรณ์ของโจทก์แสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์ทราบอยู่แล้วว่าจำเลยออกประกาศกรมสรรพสามิตดังกล่าว รวมทั้งรายละเอียดและเหตุผลเป็นอย่างดีอยู่แล้ว เหตุผลในการประกาศกำหนดราคาสุราตามประกาศกรมสรรพสามิตฯ โจทก์รู้อยู่แล้วโดยไม่จำเป็นต้องระบุในประกาศกรมสรรพสามิตอันเป็นคำสั่งทางปกครองฉบับนี้อีก ต้องตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 37 วรรคสาม (2) มีผลให้ไม่ต้องนำบทบัญญัติที่ต้องจัดให้มีเหตุผลตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ ดังนี้ แม้ประกาศกรมสรรพสามิตฯ ไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ ก็ไม่เป็นเหตุให้เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่สมบูรณ์ จึงเพิกถอนไม่ได้
เมื่อศาลชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบแล้ว คู่ความมีสิทธิคัดค้านได้ และเมื่อศาลชี้ขาดคำคัดค้านแล้วคำชี้ขาดดังกล่าวให้อยู่ภายใต้บังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 226 คดีนี้ ศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอให้กำหนดประเด็นเพิ่มเติม ศาลภาษีอากรกลางไม่กำหนดให้ เป็นการชี้ขาดคำคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาท จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์ต้องโต้แย้งไว้จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้
ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์อ้างว่า ประกาศกรมสรรพสามิตฯ ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.สุราฯ มาตรา 8 จัตวา (1) วรรคสาม ปัญหานี้ ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของคู่ความก่อนว่าราคาขาย ณ โรงงานปกติเป็นเท่าใด จากนั้นจึงวินิจฉัยข้อกฎหมาย อุทธรณ์ข้อนี้เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ข้อกฎหมายและไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อไม่มีประเด็ให้ต้องวินิจฉัยในศาลภาษีอากรกลาง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 24 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225