พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าเสียหายเกินราคาทรัพย์ ผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดี จำเลยไม่ต้องคืนทรัพย์
ฎีกาของโจทก์ที่ขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ เมื่อจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท ให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเกินกว่าราคาทรัพย์ที่จำเลยเอาไปจากผู้เสียหาย และผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8857/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์ – การฟ้องคดีอาญา – ผู้ร่วมกระทำผิด – ราคาทรัพย์ – ความผิดอาญาแผ่นดิน
คำฟ้องของโจทก์ที่ว่า จำเลยที่ 1 กับพวกอีกสองคนที่หลบหนียังไม่ได้ตัวมาฟ้องร่วมกันลักทรัพย์ของผู้เสียหายไป พอเข้าใจแล้วว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำผิดด้วยกันกับพวกอีก 2 คน จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์แล้วตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5)ประกอบ ป.อ. มาตรา 335 (7) โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุชื่อผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ทรัพย์ที่จำเลยลักไปจะมีราคาเล็กน้อยหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณา และการที่ผู้เสียหายได้รับทรัพย์คืนไปแล้วก็ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษตามกฎหมาย อีกทั้งเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน จึงถือว่าเป็นภัยต่อประชาชนทั่วไป
ทรัพย์ที่จำเลยลักไปจะมีราคาเล็กน้อยหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณา และการที่ผู้เสียหายได้รับทรัพย์คืนไปแล้วก็ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษตามกฎหมาย อีกทั้งเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน จึงถือว่าเป็นภัยต่อประชาชนทั่วไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเสนอเรื่องต่อศาลเพื่อประเมินราคาทรัพย์ยึด ต้องรอจนกว่าจะไม่มีการขายทอดตลาด
การยึดหรืออายัดทรัพย์สินหรือเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายและไม่อาจตกลงกันในการคำนวณราคาทรัพย์สินเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หมายเลข 3และ 4 คู่ความที่เกี่ยวข้องจึงจะมีสิทธิเสนอเรื่องต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296
การยึดทรัพย์ของจำเลยยังอยู่ในระหว่างการบังคับคดีเพื่อขายทอดตลาด ไม่ปรากฏว่าทรัพย์ของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ไม่มีการขายหรือจำหน่ายแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเสนอเรื่องต่อศาลให้เพิกถอนการประเมินราคาทรัพย์ดังกล่าวของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ได้
การยึดทรัพย์ของจำเลยยังอยู่ในระหว่างการบังคับคดีเพื่อขายทอดตลาด ไม่ปรากฏว่าทรัพย์ของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ไม่มีการขายหรือจำหน่ายแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะเสนอเรื่องต่อศาลให้เพิกถอนการประเมินราคาทรัพย์ดังกล่าวของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8103/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขายและดอกเบี้ยผิดนัด: จำเลยร่วมรับผิดชำระราคาทรัพย์และดอกเบี้ย
การเรียกให้จำเลยส่งมอบทรัพย์คืน หากไม่คืนให้ชำระราคาให้แก่โจทก์นั้น ราคาทรัพย์ที่ใช้แทนดังกล่าวถือเป็นค่าเสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคหนึ่ง จึงเป็นการเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น และโจทก์สามารถเรียกดอกเบี้ยในราคาทรัพย์ระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7155/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง: สิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ขาดอายุความ แต่จำกัดดอกเบี้ยค้างชำระ และราคาทรัพย์จำนองเกินหนี้
จำเลยร่วมกู้เงินโจทก์ โดยจำเลยนำที่ดินมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน จำเลยร่วมค้างชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 7 ปีเศษโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้ว เมื่อตาม ป.พ.พ.มาตรา 745 ผู้รับจำนองสามารถบังคับจำนองได้ไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ห้ามมิให้บังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีเท่านั้น กล่าวคือ ห้ามบังคับจำนองหนี้ประเภทเดียวคือดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่าห้าปีไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความหรือไม่ก็ตาม หาใช่เฉพาะหนี้ที่ขาดอายุความไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในส่วนที่ค้างชำระไม่เกินห้าปีเท่านั้น
โจทก์รับจำนองที่ดินของจำเลยเมื่อปี พ.ศ.2530 เพื่อเป็นประกันหนี้จำนวนเงิน 100,000 บาท ขณะนั้นที่ดินจำเลยมีราคามากกว่าหนึ่งแสนบาทประกอบกับในระยะเวลาตั้งแต่รับจำนองราคาที่ดินโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวแม้ขณะนี้ราคาที่ดินจะลดไปบ้างตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ก็เป็นการลดเพียงเล็กน้อยแม้ในขณะฟ้องคดีราคาที่ดินของจำเลยก็ยังต้องสูงกว่าราคาขณะจำนองหลายเท่าตัวอยู่นั่นเอง ปัญหาในเรื่องราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนเงินที่ค้างชำระหรือไม่ เป็นเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานของศาล แม้จำเลยไม่ได้นำสืบ แต่เมื่อข้อนำสืบของโจทก์หรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนและที่รู้กันอยู่ทั่วไปบ่งชี้ไว้ ศาลก็ต้องวินิจฉัยไปตามนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไม่ได้
ที่โจทก์ฎีกาขอให้โจทก์ได้รับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (3) นั้น ปัญหานี้เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรกำหนดให้หรือไม่ แต่โจทก์ไม่ได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์รับจำนองที่ดินของจำเลยเมื่อปี พ.ศ.2530 เพื่อเป็นประกันหนี้จำนวนเงิน 100,000 บาท ขณะนั้นที่ดินจำเลยมีราคามากกว่าหนึ่งแสนบาทประกอบกับในระยะเวลาตั้งแต่รับจำนองราคาที่ดินโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวแม้ขณะนี้ราคาที่ดินจะลดไปบ้างตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ก็เป็นการลดเพียงเล็กน้อยแม้ในขณะฟ้องคดีราคาที่ดินของจำเลยก็ยังต้องสูงกว่าราคาขณะจำนองหลายเท่าตัวอยู่นั่นเอง ปัญหาในเรื่องราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนเงินที่ค้างชำระหรือไม่ เป็นเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานของศาล แม้จำเลยไม่ได้นำสืบ แต่เมื่อข้อนำสืบของโจทก์หรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนและที่รู้กันอยู่ทั่วไปบ่งชี้ไว้ ศาลก็ต้องวินิจฉัยไปตามนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ โจทก์ย่อมฟ้องเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไม่ได้
ที่โจทก์ฎีกาขอให้โจทก์ได้รับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (3) นั้น ปัญหานี้เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรกำหนดให้หรือไม่ แต่โจทก์ไม่ได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7155/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง: บังคับจำนองได้แม้หนี้ขาดอายุความ แต่จำกัดดอกเบี้ยค้างชำระ และไม่สามารถเอาทรัพย์หลุดได้หากราคาทรัพย์ท่วมหนี้
จำเลยร่วมกู้เงินโจทก์ โดยจำเลยนำที่ดินมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน จำเลยร่วมค้างชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 7 ปีเศษโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบแล้ว เมื่อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 745 ผู้รับจำนองสามารถบังคับจำนองได้ไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความแล้วหรือไม่ก็ตาม แต่ห้ามมิให้บังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีเท่านั้น กล่าวคือ ห้ามบังคับจำนองหนี้ประเภทเดียวคือดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกินกว่าห้าปีไม่ว่าหนี้ที่ประกันจะขาดอายุความหรือไม่ก็ตาม หาใช่เฉพาะหนี้ที่ขาดอายุความไม่ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเรียก ดอกเบี้ยจากจำเลยในส่วนที่ค้างชำระไม่เกินห้าปี เท่านั้น โจทก์รับจำนองที่ดินของจำเลยเมื่อปี พ.ศ. 2530เพื่อเป็นประกันหนี้จำนวนเงิน 100,000 บาท ขณะนั้นที่ดินจำเลยมีราคามากกว่าหนึ่งแสนบาทประกอบกับในระยะเวลาตั้งแต่รับจำนองราคาที่ดินโดยทั่วไปเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัวแม้ขณะนี้ราคาที่ดินจะลดไปบ้างตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ก็เป็นการลดเพียงเล็กน้อยแม้ในขณะฟ้องคดีราคาที่ดิน ของจำเลยก็ยังต้องสูงกว่าราคาขณะจำนองหลายเท่าตัว อยู่นั่นเอง ปัญหาในเรื่องราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนเงิน ที่ค้างชำระหรือไม่ เป็นเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานของศาล แม้จำเลยไม่ได้นำสืบ แต่เมื่อข้อนำสืบของโจทก์หรือ ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนและที่รู้กันอยู่ทั่วไปบ่งชี้ไว้ ศาลก็ต้องวินิจฉัยไปตามนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าราคาทรัพย์จำนองท่วมจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ โจทก์ ย่อมฟ้องเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไม่ได้ ที่โจทก์ฎีกาขอให้โจทก์ได้รับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(3) นั้นปัญหานี้เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรกำหนดให้หรือไม่ แต่โจทก์ไม่ได้ ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาย่อมไม่รับ วินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5882/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขัดทรัพย์คือฟ้องคดี: ค่าขึ้นศาลต้องเสียตามราคาทรัพย์, คำสั่งระหว่างพิจารณาห้ามอุทธรณ์ฎีกา
คำร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 288 ถือเป็นคำฟ้องตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 1(3)เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ดังกล่าวก็เท่ากับ ได้ยื่นคำฟ้องต่อศาล อันมีผลทำให้คดีร้องขัดทรัพย์เป็นคดี ที่อยู่ในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 173 วรรคสอง โดยไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอเสียก่อน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่ม อย่างคดีมีทุนทรัพย์ แล้วจึงจะพิจารณาสั่งคำร้องขอ ของผู้ร้องนั้น จึงเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 ซึ่งต้องห้ามมิให้ผู้ร้องอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณา เมื่อผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์และโต้แย้งไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกา แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อที่เกี่ยวกับค่าขึ้นศาลนี้ ศาลก็มีอำนาจสั่งให้คู่ความเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มในส่วนที่ยังขาดหรือสั่งคืนในส่วนที่เสียเกินได้โดยไม่ต้องให้คู่ความขอ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งในระหว่างพิจารณาของผู้ร้องและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ให้นั้น จึงไม่ถูกต้องจำเป็นต้องยกเลิกเพิกถอนแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้ศาลชั้นต้นกำหนดเวลาให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์เสียใหม่ แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาททำให้ราคาทรัพย์เกินเกณฑ์อุทธรณ์ได้ แม้คดีเดิมเป็นคดีขับไล่
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งโจทก์ให้จำเลยอยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท และห้ามจำเลยกับบริวารเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินเป็นของบุตรจำเลย ส่วนบ้านพิพาทเป็นของจำเลย จึงต้องถือว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิในบ้านพิพาทแล้ว และศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดทุนทรัพย์บ้านพิพาทไว้ในราคา 70,000บาท ดังนี้ แม้จะเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท แต่เมื่อจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทว่าเป็นของตน จึงเป็นกรณีที่ราคาทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์เกินห้าหมื่นบาท ฉะนั้นจึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: คำนวณจากหนี้ที่บังคับได้จริง ไม่ใช่ราคาทรัพย์ที่ยึด
ตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ได้ กำหนดเรื่องค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีเมื่อยึด ทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย โดย ให้เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึดนั้น คำว่า ราคาทรัพย์สินที่ยึด หมายถึง ราคาทรัพย์สินที่ยึดซึ่ง ต้องไม่เกินจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดีด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 26,957.13 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 13.5 ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 7 กันยายน 2522 เป็นต้นไป เมื่อคิดคำนวณยอดหนี้พร้อมดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองจะต้อง รับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาโดยคิดถึงวันที่ 13 มกราคม 2538 อันเป็นวันที่โจทก์ขอถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยเนื่องจากจำเลย ได้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ยังมีจำนวนไม่ถึง 160,000 บาท อันเป็นราคาทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดและเจ้าพนักงานบังคับคดี ประเมินราคาไว้ในครั้งแรก โจทก์จึงต้องเสียค่าธรรมเนียม การยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายร้อยละ 3 ครึ่ง ของจำนวนหนี้ ที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดในการบังคับคดีอันมีจำนวนน้อยกว่า ราคาทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดดังกล่าว ดังนั้น ไม่ว่าราคาทรัพย์สิน ที่โจทก์นำยึดทรัพย์จะมีราคาประเมินจำนวน 160,000 บาท หรือ จำนวน 2,527,300 บาท ก็ไม่มีผลทำให้ความรับผิดในค่าธรรมเนียม เจ้าพนักงานบังคับคดีของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7638/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์กรณีไม่มีการขาย: คำนวณจากจำนวนเงินที่ชนะคดี ไม่ใช่ราคาทรัพย์
เดิมศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แต่จำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาความปรากฏว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายอยู่ก่อนการก่อหนี้คดีนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยขอให้ศาลพิจารณาใหม่ ซึ่งศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่แล้วพิพากษายกฟ้องจำเลย มีผลทำให้การยึดทรัพย์เป็นอันยกเลิกเพิกถอนไป แต่หาได้เป็นโมฆะไม่ โจทก์ต้องเสียค่าธรรมเนียมการยึดแล้วไม่มีการขายให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในอัตราร้อยละ3.5 ของจำนวนเงินที่โจทก์ชนะคดีตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ใช่ตามราคาทรัพย์ที่ยึดเพราะกรณีที่ให้ชำระตามราคาของทรัพย์ที่ยึดนั้นมีความหมายว่าราคาทรัพย์ที่ยึดหากขายได้ก็จะมีจำนวนเท่ากับจำนวนหนี้ที่ต้องชำระตามคำพิพากษา หรือหากมีจำนวนมากกว่าก็ไม่มากเกินไปนัก เพราะมิฉะนั้นแล้วผู้นำยึดอาจต้องเสียค่าธรรมเนียมในการยึดโดยไม่เหมาะสมกับจำนวนหนี้ที่ผู้นำยึดจะได้รับจากการขายทรัพย์ที่นำยึดนั้นจึงกำหนดให้โจทก์ชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีกรณีที่ยึดแล้วไม่มีการขายในอัตราร้อยละ 3.5 ของจำนวนเงินที่โจทก์ชนะคดีในศาลชั้นต้น