พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: พิจารณาความล่าช้าในการจ่ายค่าทดแทน & ราคาปัจจุบัน
อธิบดีกรมทางหลวงเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาฯและเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ในฐานะอธิบดีกรมทางหลวงย่อมจะต้องดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้สร้างทางและ ขยายทางหลวงแผ่นดินตามชื่อของพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ซึ่งที่ดินดังกล่าว กรมทางหลวง จะดำเนินการเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นซึ่งตนมิได้มีกรรมสิทธิ์อยู่ก่อนหาได้ไม่ จึงต้องเสนอให้รัฐจัดการ เวนคืนที่ดินบริเวณดังกล่าวเพื่อใช้ก่อสร้างทางและขยายทางหลวงแผ่นดิน ดังนี้ อธิบดีกรมทางหลวงหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย จึงเป็นผู้แสดงเจตนาแทนกรมทางหลวง เกี่ยวกับการเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว กรมทางหลวงเป็นหน่วยงานของกระทรวงคมนาคม และการสร้างทางหลวงแผ่นดินอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงคมนาคม ตามพ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 มาตรา 15 กระทรวงคมนาคมจึงต้องร่วมรับผิดชอบด้วย เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ กำหนดยังไม่เป็นธรรมและรัฐมนตรีว่า การกระทรวงคมนาคม ไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องกระทรวงคมนาคมให้ร่วมรับผิดด้วยได้
หลังจากมีพ.ร.ฎกำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายกรุงเทพฯ - สมุทรปราการ - บางปะกง- ชลบุรี - ระยอง - จันทบุรี ตราด ตอนศรีราชา - สัตหีบ พ.ศ. 2513 และพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงแผ่นดิน สายกรุงเทพฯ - สมุทรปราการ - บางปะกง - ชลบุรี - ระยอง - จันทบุรี - ตราด ตอนศรีราชา - สัตหีบ ในท้องที่อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง และอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2520 เวนคืนที่ดินของโจทก์จนถึงกลางปี 2537 ฝ่ายจำเลยยังไม่ได้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดกับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเลย จนกระทั่งวันที่ 27 กันยายน 2537 จำเลยที่ 2 เพิ่งมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเขตทางหลวง ภายหลังจากวันใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกาฯ เกือบ 25 ปี โดยไม่ดำเนินการให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ภายในเวลาอันสมควร เป็นการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ล่าช้าไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นที่เห็นได้อยู่ในตัวว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่กำหนดโดยใช้วันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ คือวันที่ 30 ธันวาคม 2513 ย่อมไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ และปัจจุบันในกรณีปกติของการดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามมาตรา 6 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาฯ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนซึ่งอยู่ในอำนาจของตนภายในอายุพระราชกฤษฎีกาฯซึ่งไม่เกินสี่ปี กล่าวโดยเฉพาะคือต้องจ่ายเงินค่าทดแทนหรือวางเงินค่าทดแทนให้เสร็จสิ้นภายในอายุพระราชกฤษฎีกาฯ ตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 13 วรรคสอง และมาตรา 31 การจ่ายเงินค่าทดแทนหรือวางเงินค่าทดแทนโดยเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนที่ออกตามมาตรา 6 จะดำเนินการเมื่อวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ ประมาณ 2 ปี ถึง 4 ปี หากไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในอายุพระราชกฤษฎีกานั้น ก็ต้องออกพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่ หรือตราพระราชบัญญัติเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 15 วันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดเงินค่าทดแทนก็จะเปลี่ยนไปเป็นวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่หรือเป็นวันใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แล้วแต่กรณี ดังนั้น การที่จะกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมได้ต้องใช้หลักเกณฑ์การกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) เว้นแต่วันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์เปลี่ยนจากวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯ มาเป็นกลางปี 2535 โดยเทียบเคียงจากระยะเวลาปกติในกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนที่ออกตามมาตรา 6 ต้องใช้ในการจ่ายเงินค่าทดแทนหรือวางเงินค่าทดแทน
หลังจากมีพ.ร.ฎกำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายกรุงเทพฯ - สมุทรปราการ - บางปะกง- ชลบุรี - ระยอง - จันทบุรี ตราด ตอนศรีราชา - สัตหีบ พ.ศ. 2513 และพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงแผ่นดิน สายกรุงเทพฯ - สมุทรปราการ - บางปะกง - ชลบุรี - ระยอง - จันทบุรี - ตราด ตอนศรีราชา - สัตหีบ ในท้องที่อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง และอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2520 เวนคืนที่ดินของโจทก์จนถึงกลางปี 2537 ฝ่ายจำเลยยังไม่ได้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดกับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเลย จนกระทั่งวันที่ 27 กันยายน 2537 จำเลยที่ 2 เพิ่งมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเขตทางหลวง ภายหลังจากวันใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกาฯ เกือบ 25 ปี โดยไม่ดำเนินการให้มีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ภายในเวลาอันสมควร เป็นการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ล่าช้าไม่เป็นไปตามครรลองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นที่เห็นได้อยู่ในตัวว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่กำหนดโดยใช้วันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ คือวันที่ 30 ธันวาคม 2513 ย่อมไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ และปัจจุบันในกรณีปกติของการดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามมาตรา 6 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาฯ จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนซึ่งอยู่ในอำนาจของตนภายในอายุพระราชกฤษฎีกาฯซึ่งไม่เกินสี่ปี กล่าวโดยเฉพาะคือต้องจ่ายเงินค่าทดแทนหรือวางเงินค่าทดแทนให้เสร็จสิ้นภายในอายุพระราชกฤษฎีกาฯ ตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 11 มาตรา 13 วรรคสอง และมาตรา 31 การจ่ายเงินค่าทดแทนหรือวางเงินค่าทดแทนโดยเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนที่ออกตามมาตรา 6 จะดำเนินการเมื่อวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ ประมาณ 2 ปี ถึง 4 ปี หากไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในอายุพระราชกฤษฎีกานั้น ก็ต้องออกพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่ หรือตราพระราชบัญญัติเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 15 วันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดเงินค่าทดแทนก็จะเปลี่ยนไปเป็นวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่หรือเป็นวันใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แล้วแต่กรณี ดังนั้น การที่จะกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่เป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมได้ต้องใช้หลักเกณฑ์การกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) เว้นแต่วันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์เปลี่ยนจากวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯ มาเป็นกลางปี 2535 โดยเทียบเคียงจากระยะเวลาปกติในกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนที่ออกตามมาตรา 6 ต้องใช้ในการจ่ายเงินค่าทดแทนหรือวางเงินค่าทดแทน