พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรใหม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ราคาสินค้าที่สำแดงต่ำกว่าราคาตลาดและมีการประเมินราคาใหม่โดยใช้ดุลพินิจ
โจทก์ทั้งสองฟ้องบรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับจำเลยได้นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร และยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ตรวจพบว่าจำเลยได้สำแดงน้ำหนักสุทธิของสินค้าไม่ถูกต้อง ต่ำกว่าความเป็นจริง เป็นเหตุให้อากรขาด รวมถึงความรับผิดของจำเลยผู้สั่งสินค้ารายพิพาท ให้เป็นที่เข้าใจได้เป็นอย่างดีตามคำให้การของจำเลยก็ปรากฏว่าจำเลยเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วน ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเอาเงินภาษีอากรส่วนที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งสินค้าที่นำเข้า มิใช่กรณีการคิดคำนวณอากรผิดพลาดจึงมีอายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้า จำเลยนำสินค้าเข้ามาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2531 โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน2541 ยังไม่ครบ 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยนำแผ่นพลาสติกชนิดแข็งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยระบุในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าว่าสินค้ามีแหล่งกำเนิดในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 3,060 แผ่นน้ำหนัก 17,847 กิโลกรัม สำแดงราคา ซีแอนด์เอฟ47,959ดอลลาร์สหรัฐซึ่งตามพิกัดอัตราศุลกากรได้กำหนดให้คิดอัตราอากรร้อยละ 60 ของราคาหรือในอัตรา 14 บาทต่อ 1 กิโลกรัม เมื่อคำนวณตามน้ำหนักแล้วมีราคา2.68 ดอลลาร์สหรัฐต่อหน่วยกิโลกรัม แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าสินค้าที่จำเลยนำเข้ามีน้ำหนัก 52,311.70 กิโลกรัม มิใช่น้ำหนัก 17,847กิโลกรัม ตามที่จำเลยสำแดงราคาสินค้าของจำเลยต่อ 1 กิโลกรัมจึงคิดเป็นเงิน 0.91 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อนำราคาดังกล่าวไปเทียบกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่นที่นำเข้าจากประเทศไต้หวัน ซึ่งมีราคาต่อ1 กิโลกรัม เท่ากับ 1.31 ถึง 1.50 ดอลลาร์สหรัฐ ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงจึงต่ำกว่าราคาที่มีผู้นำเข้ารายอื่นสำแดงไว้ แม้โจทก์จะนำสินค้าที่บริษัท ล. นำเข้าซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ในพิกัดต่างประเภทย่อยกับสินค้าของจำเลยราคา 1.539 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 กิโลกรัม มาใช้เทียบเป็นราคาสินค้าของจำเลยก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ลดราคานำเข้าให้จำเลยอีกร้อยละ 10 ของราคาดังกล่าว จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดราคาสินค้าที่เหมาะสมแล้ว การที่โจทก์ทั้งสองได้ทำการประเมินราคาสินค้าใหม่และเรียกเก็บอากรขาเข้าและภาษีการค้าเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเอาเงินภาษีอากรส่วนที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งสินค้าที่นำเข้า มิใช่กรณีการคิดคำนวณอากรผิดพลาดจึงมีอายุความ 10 ปี นับจากวันที่นำของเข้า จำเลยนำสินค้าเข้ามาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2531 โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน2541 ยังไม่ครบ 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยนำแผ่นพลาสติกชนิดแข็งเข้ามาในราชอาณาจักรโดยระบุในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าว่าสินค้ามีแหล่งกำเนิดในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 3,060 แผ่นน้ำหนัก 17,847 กิโลกรัม สำแดงราคา ซีแอนด์เอฟ47,959ดอลลาร์สหรัฐซึ่งตามพิกัดอัตราศุลกากรได้กำหนดให้คิดอัตราอากรร้อยละ 60 ของราคาหรือในอัตรา 14 บาทต่อ 1 กิโลกรัม เมื่อคำนวณตามน้ำหนักแล้วมีราคา2.68 ดอลลาร์สหรัฐต่อหน่วยกิโลกรัม แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าสินค้าที่จำเลยนำเข้ามีน้ำหนัก 52,311.70 กิโลกรัม มิใช่น้ำหนัก 17,847กิโลกรัม ตามที่จำเลยสำแดงราคาสินค้าของจำเลยต่อ 1 กิโลกรัมจึงคิดเป็นเงิน 0.91 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อนำราคาดังกล่าวไปเทียบกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่นที่นำเข้าจากประเทศไต้หวัน ซึ่งมีราคาต่อ1 กิโลกรัม เท่ากับ 1.31 ถึง 1.50 ดอลลาร์สหรัฐ ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงจึงต่ำกว่าราคาที่มีผู้นำเข้ารายอื่นสำแดงไว้ แม้โจทก์จะนำสินค้าที่บริษัท ล. นำเข้าซึ่งเป็นสินค้าที่อยู่ในพิกัดต่างประเภทย่อยกับสินค้าของจำเลยราคา 1.539 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 กิโลกรัม มาใช้เทียบเป็นราคาสินค้าของจำเลยก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ลดราคานำเข้าให้จำเลยอีกร้อยละ 10 ของราคาดังกล่าว จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดราคาสินค้าที่เหมาะสมแล้ว การที่โจทก์ทั้งสองได้ทำการประเมินราคาสินค้าใหม่และเรียกเก็บอากรขาเข้าและภาษีการค้าเพิ่มเติมจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4418/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีและเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้ากรณีราคาสำแดงต่ำกว่าราคาจริง และการตัดเศษของบาทในการคำนวณภาษี
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 112 ตรี มีได้เฉพาะ 2 กรณี คือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรครบถ้วนตามมาตรา 112 ทวิ อย่างหนึ่ง กับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดตามมาตรา 40 อีกอย่างหนึ่ง คดีนี้แม้จะปรากฏว่าจำเลยนำสินค้าเข้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิต สินค้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออกไปเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารต่อ โจทก์ที่ 1 และจำเลยมิได้นำสินค้าที่นำเข้านี้ไปผลิตเพื่อ ส่งออกให้เสร็จสิ้นครบถ้วนภายใน 1 ปีก็ตาม แต่เนื่องจาก พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 เห็นว่าจำเลย สำแดงราคาต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงทำการประเมิน ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น การประเมินดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลย ยื่นใบขนสินค้าไม่ถูกต้อง กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยปฏิบัติ ผิดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของ กรมศุลกากร ตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกเก็บ เงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้ พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 มาตรา 5 บัญญัติให้ยกเว้นภาษีเงินได้ในหมวด 3 และภาษีการค้าในหมวด 4ของลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเศษของบาทจากการคำนวณภาษี และพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 112 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในการเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามมาตรานี้ เศษของหนึ่งบาทให้ตัดทิ้ง" บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเรื่อง ที่ยกเว้นภาษีแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเฉพาะเศษของบาทจากการ คำนวณในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนำเงินค่าภาษีทั้งหมด มาชำระ เมื่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีมิได้นำเงินค่าภาษีมาชำระ หรือชำระไม่ครบถ้วน การคำนวณภาษีดังกล่าวจึงยังไม่สิ้นสุด การที่ศาลภาษีอากรวินิจฉัยให้ตัดเศษของบาทจากการคำนวณ ภาษีจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6800/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินอากรขาเข้า: ศาลใช้ราคาออกจากโรงงานผู้ผลิตเป็นเกณฑ์ หากราคาสำแดงและประเมินเดิมไม่สมเหตุสมผล
จำเลยให้การปฏิเสธว่าโจทก์ได้สำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำเลยจึงได้ประเมินราคาใหม่ตามราคาแท้จริงในท้องตลาดประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่าสินค้าของโจทก์มีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่าใด แม้จำเลยจะให้การไว้ว่าได้ประเมินราคาใหม่โดยเปรียบเทียบราคาสินค้าของโจทก์กับบัญชีราคาสินค้า ซึ่งถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดก็ตาม จำเลยก็สามารถนำสืบหักล้างพยานโจทก์ให้เห็นว่าราคาที่โจทก์สำแดงนั้นไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด เนื่องจากราคาสินค้าของโจทก์มีราคาที่ออกจากโรงงานผู้ผลิตตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 71 สูงกว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้ได้ เมื่อศาลเห็นว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้และราคาที่จำเลยได้ประเมินใหม่ตามคำให้การมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แต่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดมีราคาตามที่ออกจากโรงงานผู้ผลิตซึ่งมีราคาสูงกว่าที่โจทก์สำแดงและต่ำกว่าที่จำเลยประเมินใหม่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ ศาลก็ย่อมรับฟังราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามเอกสารหมาย ล.1 แผ่นที่ 71 มาเป็นราคากำหนดในการประเมินอากรขาเข้าให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยถึงราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามประเด็นที่โจทก์จำเลยโต้แย้งกันนั่นเองเมื่อจำเลยประเมินอากรขาเข้าของสินค้าโจทก์เกินกว่าที่โจทก์ต้องชำระ ศาลก็ย่อมพิพากษาเพิกถอนส่วนที่ประเมินเกินไปนั้น และกำหนดให้ประเมินอากรขาเข้าในส่วนที่โจทก์จะต้องชำระให้ถูกต้องได้ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาสำแดงสินค้าขาเข้าที่ไม่เป็นราคาตลาด เจ้าพนักงานประเมินราคาใหม่ได้
ราคาสินค้าพิพาทตามที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้นเป็นราคาที่ผู้ขายได้ให้ส่วนลดแก่โจทก์เป็นพิเศษจึงเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้ขายจัดทำกันขึ้นเอง จะถือว่าเป็นราคาที่แท้จริงในท้องตลาดไม่ได้ถึงแม้โจทก์จะอ้างว่าได้มีการตัดทอนชิ้นส่วนบางประการของสินค้าออกไป โจทก์ได้ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าได้มีการตัดทอนชิ้นส่วนอะไรไปบ้าง จึงยังฟังไม่ได้ว่ามีการตัดทอนชิ้นส่วนบางประการออกไปจริง ส่วนที่โจทก์อ้างว่าผู้ขายให้ส่วนลดพิเศษแล้วโจทก์ก็ยังขาดทุน เห็นว่า แม้โจทก์จะขายสินค้าพิพาทไปไม่มีกำไรแต่หากโจทก์ไม่ส่งเข้ามาจำหน่ายจะถูกแย่งตลาดไปแสดงให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าโจทก์มีความจำเป็นต้องนำสินค้าพิพาทเข้ามาขายในราชอาณาจักรแม้จะได้กำไรน้อยหรือไม่ได้กำไรก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2233/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่ขัดแย้งกับราคาที่ผู้ซื้อสำแดง และการอุทธรณ์ภาษีอากร
หลักเกณฑ์ตามคำสั่งทั่วไป กรมศุลกากร ที่ 28/2527 เรื่องระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์ที่สรุปได้ว่า การประเมินอะไหล่ยานยนต์ที่ใช้ทดแทนอะไหล่แท้ที่มีแหล่งกำเนิดของสินค้านอกจากโซนเอเซียให้ต่างกันได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาอะไหล่แท้ ซึ่งกรมศุลกากรจำเลยได้ถือเป็นเกณฑ์ประเมินราคาสินค้าของโจทก์เพิ่มขึ้นจากเดิมนั้น เป็นแนวปฏิบัติเพื่อหาราคาที่เป็นจริงของสินค้าที่นำเข้าว่ามีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดราคาใดเท่านั้นหาเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวว่า ราคาของสินค้าที่นำเข้าจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของคำสั่งฉบับที่กล่าวถึงทุกกรณีไปไม่ เพราะเป็นคำสั่งที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างและการปฏิบัติเช่นนี้จะประเมินราคาได้ก็ต่อเมื่อไม่มีข้อมูลหรือพฤติการณ์อื่นที่ปรากฏเมื่อโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงว่า การซื้อสินค้าชุดลูกสูบรถยนต์มีราคา 24,822.50ดอลลาร์สหรัฐ โดยมีข้อสนับสนุนเป็นพยานหลักฐานยืนยันได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นใบกำกับราคาสินค้าล่วงหน้า คำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต และตั๋วแลกเงินที่โจทก์ออกให้แก่ธนาคาร โดยเฉพาะใบรับเงินของธนาคารซึ่งเป็นธนาคารผู้เปิดเครดิตของโจทก์ผู้ซื้อสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศ โดยที่ธนาคารเป็นฝ่ายที่สามไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาในการซื้อขายโดยตรง แต่เข้ามาในฐานะธนาคารเป็นผู้รับประกันว่า จะมีการชำระราคาให้ผู้ขาย ในเมื่อมีการส่งมอบสินค้าแล้ว ตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศที่ถือปฏิบัติ ล้วนแต่มีจำนวนราคาสินค้าที่เป็นจำนวนตรงกันทั้งสิ้นจึงเชื่อได้ว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้นั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลการ พ.ศ.2469 มาตรา 2
ในกรณีปกติ หากผู้นำเข้ายื่นแบบแสดงรายการการค้า เพื่อเสียอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล อย่างถูกต้องทั้งพิกัดอัตราศุลกากรและราคาอันแท้จริงในท้องตลาด และไม่เป็นของต้องห้ามหรือต้องจำกัด เมื่อได้ผ่านพิธีการทางศุลกากร และเสียภาษีอากรถูกต้องแล้ว การชำระภาษีอากรดังกล่าวก็มิใช่เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ตาม ป.รัษฎากร แต่ในกรณีนี้จำเลยโต้แย้งราคาสินค้าว่าโจทก์สำแดงราคาต่ำกว่าราคาที่จำเลยถือปฏิบัติทุกรายการ จะต้องเพิ่มราคาสินค้าเพื่อคำนวณภาษีอากรประเภทต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีก 900,386.20 บาท การกำหนดราคาที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจึงต้องถือว่ามิใช่ความสมัครใจหรือยินยอมของโจทก์อันแท้จริง เพราะโจทก์สำแดงราคาสินค้าเพิ่มขึ้นโดยสงวนสิทธิการโต้แย้งราคาไว้ที่ด้านหลังของใบขนสินค้าขาเข้า แล้วพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงบันทึกว่าเพิ่มราคาแล้วพอใจบัญชีราคาสินค้า การเสียภาษีอากรของโจทก์จึงมิใช่เป็นการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าด้วยตนเองตามปกติ แต่สืบเนื่องมาจากการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเกี่ยวกับราคาซึ่งโจทก์เองก็ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มราคาสินค้าขึ้น และได้สงวนสิทธิโต้แย้งราคาไว้ จึงถือว่า เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตาม ป.รัษฎากรในส่วนภาษีการค้า ดังนั้น เมื่อภายหลังโจทก์อุทธรณ์การประเมินเกี่ยวกับราคาสินค้าต่อกรมศุลกากร แม้จะอ้างว่าเป็นไปตามระเบียบของจำเลย ก็เป็นสิทธิของโจทก์ในส่วนของอากรขาเข้าเท่านั้น ส่วนภาษีการค้าโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากร จึงไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนภาษีการค้า เช่นเดียวกับภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีที่ต้องคำนวณต่อเนื่องเป็นอัตราที่แน่นอนโดยอาศัยภาษีการค้าเป็นฐาน
ในกรณีปกติ หากผู้นำเข้ายื่นแบบแสดงรายการการค้า เพื่อเสียอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล อย่างถูกต้องทั้งพิกัดอัตราศุลกากรและราคาอันแท้จริงในท้องตลาด และไม่เป็นของต้องห้ามหรือต้องจำกัด เมื่อได้ผ่านพิธีการทางศุลกากร และเสียภาษีอากรถูกต้องแล้ว การชำระภาษีอากรดังกล่าวก็มิใช่เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ตาม ป.รัษฎากร แต่ในกรณีนี้จำเลยโต้แย้งราคาสินค้าว่าโจทก์สำแดงราคาต่ำกว่าราคาที่จำเลยถือปฏิบัติทุกรายการ จะต้องเพิ่มราคาสินค้าเพื่อคำนวณภาษีอากรประเภทต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีก 900,386.20 บาท การกำหนดราคาที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจึงต้องถือว่ามิใช่ความสมัครใจหรือยินยอมของโจทก์อันแท้จริง เพราะโจทก์สำแดงราคาสินค้าเพิ่มขึ้นโดยสงวนสิทธิการโต้แย้งราคาไว้ที่ด้านหลังของใบขนสินค้าขาเข้า แล้วพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจึงบันทึกว่าเพิ่มราคาแล้วพอใจบัญชีราคาสินค้า การเสียภาษีอากรของโจทก์จึงมิใช่เป็นการยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าด้วยตนเองตามปกติ แต่สืบเนื่องมาจากการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเกี่ยวกับราคาซึ่งโจทก์เองก็ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มราคาสินค้าขึ้น และได้สงวนสิทธิโต้แย้งราคาไว้ จึงถือว่า เป็นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตาม ป.รัษฎากรในส่วนภาษีการค้า ดังนั้น เมื่อภายหลังโจทก์อุทธรณ์การประเมินเกี่ยวกับราคาสินค้าต่อกรมศุลกากร แม้จะอ้างว่าเป็นไปตามระเบียบของจำเลย ก็เป็นสิทธิของโจทก์ในส่วนของอากรขาเข้าเท่านั้น ส่วนภาษีการค้าโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากร จึงไม่มีอำนาจฟ้องในส่วนภาษีการค้า เช่นเดียวกับภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีที่ต้องคำนวณต่อเนื่องเป็นอัตราที่แน่นอนโดยอาศัยภาษีการค้าเป็นฐาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาสำแดงสินค้าขาเข้าต้องเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด มิใช่ราคาที่ตกลงซื้อขายกันเอง
ราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าเป็นเรื่องภายในที่รู้เห็นกันเองระหว่างโจทก์กับบริษัทผู้ขายในต่างประเทศไม่อาจรับฟังได้เป็นยุติว่ามีการตกลงซื้อขายกันตามราคาดังกล่าวจริงเพราะอาจเป็นการสมยอมกันทำเอกสารขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรให้เสียน้อยกว่าที่ควรต้องเสียก็เป็นได้และแม้จะเป็นราคาที่ตกลงซื้อขายกันจริงก็ยังไม่อาจรับฟังได้เป็นยุติว่าราคาที่ซื้อขายกันนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามความหมายที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2วรรคสิบสอง เพราะคำว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" ตามบทกฎหมายดังกล่าวหมายความว่า "ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออก แล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด" ราคาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อขายกันนั้นอาจเป็นราคาที่ลดหย่อนให้แก่กัน ราคาที่ซื้อขายกันจริงจึงไม่อาจถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป จะต้องคิดเปรียบเทียบกับราคาซึ่งจะพึงขายของสินค้าประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาแท้จริงนำเข้า: ราคาสำแดงครั้งสุดท้ายก่อนพิพาทเป็นเกณฑ์ หากราคาลดลงผิดปกติ ศาลไม่รับฟังเหตุผลที่ไม่สมเหตุสมผล
โจทก์นำเข้าฝาขวดอลูมิเนียมชนิด 1.5 และ 2.5 ออนซ์ จากบริษัทผู้จำหน่ายในต่างประเทศ ครั้งสุดท้ายก่อนเกิดกรณีพิพาทได้สำแดงราคาไว้ 104.18 และ 110.80 เหรียญสิงคโปร์ ต่อหนึ่งพันฝา ซึ่งการประเมินราคาดังกล่าวไม่มีปัญหาระหว่างโจทก์และจำเลย จึงต้องถือว่าราคาที่สำแดงไว้ในคราวสุดท้ายก่อนเกิดกรณีพิพาทโจทก์จำเลยยอมรับว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ต่อมาโจทก์นำเข้าฝาขวดอลูมิเนียมทั้งสองขนาดดังกล่าวอันเป็นครั้งพิพาทรวม 9 ครั้ง ระยะเวลาที่นำเข้าแต่ละครั้งห่างจากที่โจทก์นำเข้าครั้งสุดท้ายประมาณ 5 ถึง 11 เดือนโดยโจทก์สำแดงราคาสินค้าเท่ากันทุกครั้ง คือ ชนิด 1.5 และ 2.5 ออนซ์ราคา 62.80 และ 78.10 เหรียญสิงคโปร์ต่อหนึ่งพันฝา ซึ่งเป็นราคาที่ลดลงมากกว่าปกติ โดยไม่มีข้อเท็จจริงที่จะชี้ ให้เห็นว่าราคาที่ลดลงมานั้นเป็นราคาแท้จริงในท้องตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปจากราคาเดิมกรณีจึงต้องถือว่าราคาแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าที่โจทก์นำเข้าในคราวที่เป็นกรณีพิพาทกันในคดีนี้มีราคาเท่ากับนำเข้าครั้งสุดท้าย.