พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6563/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังพ้นกำหนด – เหตุผลที่ไม่สมควร – การทราบราคาหุ้นก่อนยื่นฟ้อง
โจทก์ทราบดีตั้งแต่วันฟ้องตลอดมาว่า หุ้นของบริษัทฟ.มีราคาลดต่ำลงโดยตลอด หาใช่เพิ่งมีการเปลี่ยนแปลงที่ตกต่ำลงภายหลังจากที่มีการดำเนินการสืบพยานโจทก์แล้วไม่ โจทก์จึงชอบที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ตามที่กฎหมายกำหนดแต่กลับมายื่นหลังจากวันสืบพยานมาถึง 8 เดือนเศษโดยอ้างเหตุผลเพียงลอย ๆ ว่าขณะที่ฟ้องยังไม่ทราบราคาหุ้นที่แท้จริงเท่านั้น คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ไม่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นได้ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการขายทอดตลาดหุ้น: เจ้าพนักงานบังคับคดีหลงผิดเรื่องราคาหุ้น
แม้ว่าการขายทอดตลาดหุ้นของบริษัท อ. มีผู้เข้าประมูลสู้ราคากันหลายรายรวมทั้งตัวแทนโจทก์ก็เข้าประมูลสู้ราคาด้วย ซึ่งแสดงว่าการดำเนินการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ส่อพฤติการณ์ทุจริตก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าบริษัท อ.จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นจากหุ้นละ100 บาท เป็นหุ้นละ 10 บาท หุ้นของจำเลย 1,000 หุ้น จึงแตกออกเป็น10,000 หุ้น และมีราคาที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันที่ขายทอดตลาดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 985,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายให้แก่ผู้คัดค้านในราคา 152,000 บาท อย่างมาก เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดียอมรับว่าหากในขณะที่ประมูลซื้อขายกันตนทราบว่าหุ้นทั้งหมดมีราคาประมาณ900,000 บาท ก็จะไม่อนุมัติให้ขาย กรณีจึงถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายหุ้นพิพาทไปโดยหลงผิด ทำให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเสียหาย ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ที่โจทก์จะร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดหุ้นเนื่องจากราคาขายต่ำกว่าราคาตลาดอย่างมาก ทำให้เจ้าหนี้เสียหาย
แม้ว่าการขายทอดตลาดหุ้นของบริษัท อ. มีผู้เข้าประมูลสู้ราคากันหลายรายรวมทั้งตัวแทนโจทก์ก็เข้าประมูล สู้ราคาด้วย ซึ่งแสดงว่าการดำเนินการขายทอดตลาดของ เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ส่อพฤติการณ์ ทุจริตก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าบริษัท อ. จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นจากหุ้นละ 100 บาท เป็นหุ้นละ 10 บาท หุ้นของจำเลย 1,000 หุ้น จึงแตกออกเป็น 10,000 หุ้น และมี ราคาที่ซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันที่ ขายทอดตลาดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 985,000 บาท ซึ่งสูงกว่าราคา ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายให้แก่ผู้คัดค้านในราคา 152,000 บาทอย่างมาก เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดียอมรับว่าหากในขณะที่ประมูลซื้อขายกันตนทราบว่าหุ้นทั้งหมดมีราคาประมาณ 900,000 บาท ก็จะไม่อนุมัติให้ขาย กรณีจึงถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดี ขายหุ้นพิพาทไปโดยหลงผิด ทำให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตาม คำพิพากษาเสียหาย ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ที่โจทก์จะร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3644/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องสอดคดีของผู้ร่วมลงทุน: ผลกระทบจากการจดทะเบียนเช่าในราคาต่ำกว่ามูลค่าหุ้น
เมื่อโจทก์ฟ้องอ้างว่าได้เข้าหุ้นก่อสร้างอาคารร่วมกับผู้ร้องแล้ว หากโจทก์จะบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่ผู้เช่าในอัตราค่าเซ้งที่ต่ำกว่าค่าหุ้นที่ผู้ร้องลงทุนไป เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนการเช่าตามฟ้อง ผู้ร้องต้องขาดทุน ผลของคำพิพากษาย่อมกระทบต่อสิทธิหรือส่วนได้เสียของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงได้ชื่อว่ามีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2) ผู้ร้องชอบที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและการรวมเป็นกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
โจทก์ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยและประกันชีวิตโจทก์ได้นำเงินที่กันไว้ไปลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทอื่นด้วยถือได้ว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ขายหุ้นแต่ปรากฏในบัญชีงบดุลในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ว่าโจทก์ได้เพิ่มราคาหุ้นตามมูลค่าที่ควรจะเป็นไว้การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการตีราคาเพิ่มขึ้นตามนัยแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(3) หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ทวิ(3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิ ของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ใน งบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทจำกัด การซื้อขายหุ้น การพิสูจน์ราคาหุ้น และภาระการพิสูจน์ของโจทก์
ตามคำให้การของจำเลย จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยมีสิทธิที่จะนำใบหุ้นที่ซื้อในวันอื่นส่งมอบให้โจทก์แทนได้ ในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ และจำเลยจัดซื้อหุ้นให้โจทก์ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2521 จริงหรือไม่ ต่อมาได้เพิ่มประเด็นพิพาทอีกข้อหนึ่งว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเพียงใดหรือไม่และก่อนมีการสืบพยาน ศาลชั้นต้นได้จดรายงานกระบวนพิจารณาว่า คู่ความมีประเด็นโต้เถียงกันเพียงว่าหุ้นตามใบหุ้นและเลขที่ตามหนังสือที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ไปรับใบหุ้นนั้น จำเลยได้มีการซื้อผ่านตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2521หรือไม่ โดยโจทก์ว่าไม่มีการซื้อในวันดังกล่าว จำเลยว่ามีการซื้อในวันดังกล่าวจริง คดีหาได้มีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยมีสิทธิจะนำใบหุ้นที่ซื้อในวันอื่นส่งมอบให้โจทก์แทนได้หรือไม่แต่อย่างใด ดังนั้นในชั้นอุทธรณ์ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่จำเป็นต้องส่งมอบใบหุ้นที่ซื้อในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2521 โดยมอบใบหุ้นที่ซื้อในวันอื่นให้โจทก์แทนได้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ตั้งประเด็นและวินิจฉัยให้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225
ในประเด็นที่โต้เถียงกันตามที่ศาลชั้นต้นได้จดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา.โจทก์จำเลยมิได้ตกลงท้ากันให้เป็นข้อแพ้ชนะกันในคดี และยังมีประเด็นในข้ออื่นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไปอีก ศาลจึงพิพากษาคดีให้ผู้ที่เป็นฝ่ายแพ้ในประเด็นดังกล่าวเป็นผู้แพ้คดีหาได้ไม่
โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายอันเกิดแต่การชำระหนี้ไม่ถูกต้องหรือผิดนัดตามสัญญาตัวแทน โจทก์เพียงแต่ฟ้องให้จำเลยคืนเงินค่าหุ้นที่จำเลยคิดเกินไปเท่านั้นโจทก์จึงถือเอาราคาหุ้นในวันที่จำเลยส่งมอบหุ้นให้โจทก์มาเป็นหลักคำนวณว่าจำเลยคิดเงินค่าหุ้นเกินไปหาได้ไม่
แม้จำเลยนำสืบรับฟังไม่ได้ว่าหุ้นที่จำเลยส่งมอบให้โจทก์ได้มีการซื้อในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2521 แต่ข้อกล่าวอ้างของโจทก์ตามฟ้องที่ว่าจำเลยคิดเงินค่าหุ้นจากโจทก์เกินไปซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธนั้นภาระ การพิสูจน์ในข้อนี้ย่อมตกอยู่แก่โจทก์ โดยโจทก์จะต้องนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าหุ้นที่จำเลยส่งมอบให้โจทก์นั้นได้มีการซื้อในวันที่เท่าใดแน่ และมีราคาซื้อขายกันเท่าใด เพื่อที่ศาลจะได้นำมาเป็นหลักในการวินิจฉัยว่าจำเลยในฐานะตัวแทนของโจทก์คิดเงินค่าหุ้นจากโจทก์เกินไปจริงหรือไม่และเป็นหลักในการคำนวณว่าได้มีการคิดเงินค่าหุ้นเกินไปเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใดหรือไม่อย่างไรทั้งนี้ เพราะราคาหุ้นแต่ละวันมีการขึ้นลงไม่แน่นอนเมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าหุ้นที่จำเลยมอบให้โจทก์นั้นเป็นหุ้นที่ซื้อในวันที่เท่าใด และในวันนั้นมีราคาซื้อขายกันเท่าใด ข้อกล่าวอ้างของโจทก์ที่ว่าจำเลยคิดเงินค่าหุ้นจากโจทก์เกินไปจึงรับฟังไม่ได้
ในประเด็นที่โต้เถียงกันตามที่ศาลชั้นต้นได้จดไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา.โจทก์จำเลยมิได้ตกลงท้ากันให้เป็นข้อแพ้ชนะกันในคดี และยังมีประเด็นในข้ออื่นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไปอีก ศาลจึงพิพากษาคดีให้ผู้ที่เป็นฝ่ายแพ้ในประเด็นดังกล่าวเป็นผู้แพ้คดีหาได้ไม่
โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายอันเกิดแต่การชำระหนี้ไม่ถูกต้องหรือผิดนัดตามสัญญาตัวแทน โจทก์เพียงแต่ฟ้องให้จำเลยคืนเงินค่าหุ้นที่จำเลยคิดเกินไปเท่านั้นโจทก์จึงถือเอาราคาหุ้นในวันที่จำเลยส่งมอบหุ้นให้โจทก์มาเป็นหลักคำนวณว่าจำเลยคิดเงินค่าหุ้นเกินไปหาได้ไม่
แม้จำเลยนำสืบรับฟังไม่ได้ว่าหุ้นที่จำเลยส่งมอบให้โจทก์ได้มีการซื้อในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2521 แต่ข้อกล่าวอ้างของโจทก์ตามฟ้องที่ว่าจำเลยคิดเงินค่าหุ้นจากโจทก์เกินไปซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธนั้นภาระ การพิสูจน์ในข้อนี้ย่อมตกอยู่แก่โจทก์ โดยโจทก์จะต้องนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าหุ้นที่จำเลยส่งมอบให้โจทก์นั้นได้มีการซื้อในวันที่เท่าใดแน่ และมีราคาซื้อขายกันเท่าใด เพื่อที่ศาลจะได้นำมาเป็นหลักในการวินิจฉัยว่าจำเลยในฐานะตัวแทนของโจทก์คิดเงินค่าหุ้นจากโจทก์เกินไปจริงหรือไม่และเป็นหลักในการคำนวณว่าได้มีการคิดเงินค่าหุ้นเกินไปเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใดหรือไม่อย่างไรทั้งนี้ เพราะราคาหุ้นแต่ละวันมีการขึ้นลงไม่แน่นอนเมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าหุ้นที่จำเลยมอบให้โจทก์นั้นเป็นหุ้นที่ซื้อในวันที่เท่าใด และในวันนั้นมีราคาซื้อขายกันเท่าใด ข้อกล่าวอ้างของโจทก์ที่ว่าจำเลยคิดเงินค่าหุ้นจากโจทก์เกินไปจึงรับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นต้องมีเจตนาเสนอและสนองที่ชัดเจน หากตกลงกันไม่ได้ในราคา สัญญาซื้อขายย่อมไม่สมบูรณ์
โจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ศ. ซึ่งมีข้อบังคับระบุว่า ผู้ถือหุ้นคนใดมีความประสงค์จะโอนหุ้น ต้องโอนให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทเดียวกันก่อน การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าประสงค์จะขายหุ้น โดยมิได้กำหนดราคาค่าหุ้น หากแต่ให้มาติดต่อกับ น. ผู้รับมอบอำนาจของจำเลยก่อน จึงเป็นเพียงการเชื้อเชิญมิใช่คำเสนอ และหนังสือโต้ตอบระหว่างโจทก์จำเลยในเรื่องราคาค่าหุ้นอันเป็นข้อสำคัญแห่งสัญญาซึ่งยังไม่ตกลงกัน ก็มิใช่เป็นคำเสนอและคำสนองอันทำให้สัญญาซื้อขายหุ้นเกิดขึ้น โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องให้บังคับจำเลยโอนหุ้นแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนขายหุ้นซึ่งมีราคาปรากฏตามเอกสารท้ายฟ้องเป็นเงิน 3,050,000 บาท เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าวตามตาราง 1 ข้อ 1 ก.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนขายหุ้นซึ่งมีราคาปรากฏตามเอกสารท้ายฟ้องเป็นเงิน 3,050,000 บาท เป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ และต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าวตามตาราง 1 ข้อ 1 ก.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง