คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ราคาเหมาะสม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3137/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดทรัพย์ล้มละลายต้องดำเนินการให้ได้ราคาที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ทุกฝ่าย
ภายหลังการยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดหลายครั้งราคาที่ดินซึ่งถูกยึดเพื่อขายทอดตลาดทั้งสามแปลงมีมูลค่าเพิ่มขึ้น แม้ พ. จะเป็นผู้ประมูลได้โดยเสนอราคาสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ตาม แต่เมื่อที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวไม่ได้อยู่ติดต่อเป็นผืนเดียวกันและผู้คัดค้านไม่ได้มีเจตนาที่จะขายทรัพย์สินเหล่านั้นรวมกันมาตั้งแต่ต้น การที่ผู้คัดค้านอนุญาตให้ขายที่ดินทั้งสามแปลงรวมกันไปตามคำร้องขอของ พ. ผู้เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียวนั้น จึงเป็นเหตุให้ขายได้ในราคาต่ำกว่าราคาที่แท้จริง ดังนั้นการขายทอดตลาดดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยความมุ่งหมายแห่งการขายทอดตลาดเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 123

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดบังคับคดี: ราคาเหมาะสมตามสภาพตลาดและที่ตั้ง ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงราคาจำนองเดิม
ระยะเวลาในการรับจำนองทรัพย์พิพาทไม่ใช่หลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดราคา หากแต่ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดในช่วงระยะเวลาขายทอดตลาดที่จะเป็นตัวกำหนดราคา ซึ่งในขณะทำการขายทอดตลาดราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตประกอบกับสภาพและที่ตั้งของที่ดินนับว่าเหมาะสมแล้ว ข้ออ้างของจำเลยมีเพียงว่าราคาที่ขายต่ำกว่าราคาซื้อขายตามท้องตลาดโดยไม่ได้ระบุถึงพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางไม่สุจริตของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการดำเนินการขายทอดตลาด ไม่เป็นเหตุที่จะฟังว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6681/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินต้องพิจารณาราคาที่เหมาะสมและเปิดโอกาสให้สู้ราคาใหม่ได้ หากราคาต่ำกว่าความเป็นจริง
การรับจำนองที่ดินเป็นประกันเงินกู้ ธนาคารมักจะอนุมัติให้วงเงินกู้ต่ำกว่าราคาที่ดิน จึงเชื่อได้ว่าราคาที่ดินที่ขาย ทอดตลาดนี้จะต้องสูงกว่าราคาที่ธนาคารโจทก์รับจำนองหรือสูงกว่า 2,300,000 บาท ทั้งราคาที่ว่านี้ยังเป็นราคาในปี 2534 ซึ่งในปี 2540 ที่ขายทอดตลาดน่าเชื่อว่า ราคาที่ดินนี้คงจะขึ้นไปกว่านี้มากแล้ว การที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอราคาเพียง 2,050,000 บาท จึงเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคา ที่แท้จริงหลายแสนบาท และโจทก์กับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงต่างก็คัดค้านว่าราคาต่ำไป เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบที่จะเลื่อนการขายทอดตลาด ไปก่อนเพื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือประชาชนอื่นจะได้ มีโอกาสเข้าสู้ราคาได้อีก การอ้างว่าได้ให้โอกาสโจทก์ และจำเลยที่ 3 หาผู้เข้าสู้ราคาแล้วไม่มีเหตุผล เพียงพอ เพราะเป็นเพียงการขายทอดตลาดครั้งที่สองซึ่งห่างจากครั้งแรกไม่นาน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีด่วนอนุญาตให้ขายไป จึงเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อ มาตรา 513แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบมาตรา 308แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4208/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต้องได้ราคาเหมาะสม หากราคาต่ำกว่าที่ควร ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามคำสั่งศาลนั้นจะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในการประมูลครั้งนั้นต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควร หรือควรที่จะได้ราคาสูงกว่านั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์พิพาทไว้เป็นเงิน186,025 บาท แต่ทรัพย์พิพาทอยู่ติดถนนสาธารณประโยชน์และอยู่ในทำเลที่ดิน แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะกำหนดราคาประเมินทรัพย์พิพาทไว้จำนวน 123,320 บาท แต่ก็เป็นการประเมินเพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าภาษี จึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงทั้งทรัพย์พิพาททำประโยชน์แล้วโดยทำสวนยางมีต้นยางพารา ปลูกเต็มพื้นที่ และสามารถกรีดยางได้แล้ว ดังนั้นขณะขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงควรตั้งราคาขายขั้นต่ำเท่ากับราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประเมินไว้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทให้ผู้คัดค้านไปในราคาเพียง 150,000 บาททั้งที่เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก และมีผู้ซื้อเพียงรายเดียวโดยไม่ปรากฏเหตุผลพิเศษที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรีบด่วนขายไปในราคานี้ การขายทอดตลาดจึงส่อไปในทางรวบรัดและหากมีการ ประกาศขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าได้ เมื่อการอนุญาตให้ขาย ของเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาด ย่อมเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนมาตรา 513 ประกอบมาตรา 308 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ชอบที่ศาลจะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ในกรณีที่ศาลสั่งปรับนายประกัน นายประกันย่อมตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา และผู้เป็นเจ้าหนี้คือแผ่นดิน แผ่นดินย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับชำระเงินค่าขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน ยังไม่ถือว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระเงิน เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งเงินค่าปรับที่ได้จากการขายทอดตลาด และจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายให้ศาลชั้นต้น เพื่อส่งเป็นรายได้แผ่นดินเมื่อเวลา 15 นาฬิกา โดยผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในวันเดียวกันเวลา 9.30 นาฬิกา จึงเป็นการยื่นคำร้องก่อนเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ถือได้ว่าการบังคับคดียังไม่เสร็จลง และผู้ร้องเพิ่งทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2538การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2538จึงไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์แห่งการฝ่าฝืนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดต้องพิจารณาราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยเทียบกับราคาประเมินและสภาพทรัพย์
ที่ดินของจำเลยที่โจทก์นำยึดมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นสำนักงานที่ดินจังหวัดได้ประเมินราคาไว้เพื่อเป็นทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินรวมทั้งแปลงราคา 493,400 บาท การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาที่ดินไว้ในขณะยึดเพียง30,837.50 บาท เป็นการประเมินที่ต่ำกว่าราคาจริงมาก เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ให้ราคาสูงสุด 38,000 บาท ถือว่าเป็นราคา ที่ยังไม่เพียงพอกับราคาทรัพย์ที่ขายอีกมาก ชอบที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถอนทรัพย์สินนั้นออกจากการขายทอดตลาด ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกลับอนุมัติให้ขายในราคาที่ไม่ถูกต้องแก่ผู้ซื้อ จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการ บังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 308 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 513 โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะคัดค้านราคาขายและขอให้เพิกถอนการอนุมัติขายนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ที่ดินที่ขายทอดตลาดสำนักงานที่ดินจังหวัดประเมินราคากลางไว้ถึง 493,400 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดีขายไปในราคาเพียง38,000 บาท โดยมีผู้ซื้อทรัพย์ที่เข้าประมูลเพียงรายเดียวทั้งเป็นในการขายทอดตลาดครั้งแรก ซึ่งเป็นการขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมินของทางราชการประมาณ 13 เท่า เห็นได้ชัดแจ้งว่า ราคาที่ขายนั้นจะถูกต้องสมควรไปมิได้ ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนเสีย แล้วให้ดำเนินการขายใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต้องได้ราคาเหมาะสมตามมูลค่าทรัพย์สิน การประเมินราคาต่ำกว่าความเป็นจริงถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย
ในการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้น กฎหมายมีเจตนารมณ์ว่าจะต้องขายให้ได้ราคาสูงสุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ เพราะหากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลในครั้งนั้นต่ำไปเป็นราคาที่ไม่สมควรหรือควรได้ราคาสูงกว่านั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่ คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุญาตให้ขายที่ดินพิพาทสองแปลงแก่ผู้ร้องที่ให้ราคาสูงสุดจำนวนเงิน 650,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าวงเงินที่ผู้ร้องเคยรับจำนองและรับผลประโยชน์จากการประกันภัยในวงเงินรวมกัน 1,000,000 บาท แม้ราคาประมูลสูงสุดนั้นจะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งนอกจากเป็นการประเมินเพื่อประโยชน์ของโจทก์และทำให้ผู้คัดค้านเสียหายแล้ว การประเมินดังกล่าวเป็นเพียงการประเมินราคาเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมในกรณียึดแล้วไม่มีการขายและเพื่อดูว่าทรัพย์สินที่ยึดเพียงพอที่จะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เป็นการประมาณราคาแบบคราว ๆ มิใช่ประเมินตามราคาท้องตลาดที่แท้จริง และการขายทอดตลาดนั้นผู้ทอดตลาดอาจคำนวณราคาท้องตลาดโดยอาศัยวงเงินที่ผู้ร้องรับจำนองประกอบกับประเพณีของธนาคารที่จะรับจำนองในวงเงินต่ำกว่าราคาทรัพย์ที่แท้จริง อีกทั้งการขายทอดตลาดคดีนี้ก็กระทำภายหลังการจำนองถึง 5 ปี ราคาน่าจะสูงขึ้นไปอีกมาก และแม้จะมีการอนุญาตให้ขายทอดตลาดมาหลายครั้งแต่การขายทอดตลาดคดีนี้เป็นการขายทอดตลาดอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก ผู้ทอดตลาดพอจะเห็นได้ว่าราคาซึ่งผู้สู้ราคาสูงสุดนั้นยังไม่เพียงพอหากมีการขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าในครั้งนี้ ดังนั้น การอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาด เป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน: ศาลกำหนดราคาเหมาะสมตามหลักเกณฑ์และดอกเบี้ยนับแต่วันจำเลยมีหน้าที่วางเงิน
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่า ค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กำหนดให้แก่โจทก์ตำกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่เป็นธรรม จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องหาพยานมาสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวให้มีน้ำหนักรับฟังได้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับค่าเสียหายทางจิตใจไว้ผู้ถูกเวนคืนจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเป็นที่ดินติดถนนซอยและที่มีทางสาธารณะเข้าออกได้หลายทาง ภายในที่ดินมีการปลูกผลอาสินจำพวกมะม่วง มะพร้าว และกล้วย มิได้ถูกขุดหน้าดินให้เป็นหลุมเป็นบ่อทั้งเป็นที่ดินแปลงเล็กเหมาะแก่การใช้เป็นที่ปลูกสร้างที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ มีราคาสูงกว่าที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดให้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ของมาตรา 21(1) ถึง(5) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมและไม่ขัดกับมาตรา 22 เพราะมาตรา 22 ให้เป็นดุลพินิจที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่กำหนดตามมาตรา 21 ก็ได้ ไม่ได้บังคับว่าต้องกำหนดให้ต่ำกว่ามาตรา 21 เสมอไปจึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทดแทนแก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดอีก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสุดท้ายที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เมื่อไม่ปรากฎว่าได้การตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่จะถูกเวนคืนกันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้น วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทน จำเลยที่ 2 มีหนังสือลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2534 แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนภายใน15 วัน นับแต่วันหนังสือ โจทก์ได้รับหนังสือนี้เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2534 แต่โจทก์ไม่ได้ไปรับเงินค่าทดแทนตามกำหนดเวลาในหนังสือดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28 วรรคสอง ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ 2 ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางในวันถัดจากวันครบกำหนด 15 วันนับแต่รับหนังสือดังกล่าวคือวันที่ 14 มีนาคม 2534 จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2534 หาใช่วันที่ 11 สิงหาคม 2533 ซึ่งเป็นวันที่มีประกาศสำนักงานยกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดให้การเวนคืนเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วนและไม่ใช่นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 นำเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปฝากธนาคารออมสินเพราะเป็นวันภายหลังจากวันที่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางแล้ว สำหรับจำนวนเงินต้นในการคำนวณดอกเบี้ยนั้น เมื่อไม่ปรากฎว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนให้เพิ่มขึ้นตามที่รัฐมนตรีวินิจฉัยหรือไม่ตั้งแต่เมื่อใดและได้ชำระเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไปตั้งแต่เมื่อใด จึงนำเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีมารวมกับที่ศาลวินิจฉัยเพิ่มเพื่อคำนวณดอกเบี้ยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5445/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดต้องคำนึงถึงประโยชน์ลูกหนี้และราคาที่เหมาะสม
การขายทอดตลาดทรัพย์มีความมุ่งหมายที่จะนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในขณะเดียวกันเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องให้ความคุ้มครองลูกหนี้ไม่ให้เกิดความเสียหายด้วย โดยต้องไม่ขายทรัพย์สินเกินความจำเป็น และเมื่อได้เงินมาพอจำนวนที่จะชำระหนี้แล้ว ก็ห้ามไม่ให้เอาทรัพย์สินอื่นที่ยึดหรืออายัดไว้ออกขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นอีก ถ้าเห็นว่าราคาซึ่งมีผู้สู้สูงสุดในการขายทอดตลาดนั้นยังไม่เพียงพอเช่นราคาต่ำไป เจ้าพนักงานบังคับคดีอาจถอนทรัพย์สินจากการทอดตลาดได้ หากฝ่าฝืนก็อาจถือได้ว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีซึ่งต้องเสียหายโดยการฝ่าฝืนนั้นอาจร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดไปต่ำกว่าราคาประเมินของทางราชการถึงไร่ละ 40,000 บาท ที่ดินทั้งสองแปลงมีเนื้อที่รวม 104 ไร่ จึงได้ราคาต่ำกว่าราคาประเมินถึง 4,160,000 บาท อีกทั้งโจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็รู้ดีว่าหากโจทก์ยอมรับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ในวันขายทอดตลาดครั้งที่ 6 จำนวน40,000 บาท แล้วจำเลยที่ 1 ก็จะเป็นหนี้โจทก์เพียงประมาณ 40,000 บาท เท่านั้นการขายทอดตลาดที่ดินแปลงหลังเพียงแปลงเดียวก็น่าจะเพียงพอแก่การชำระหนี้โจทก์ได้อยู่แล้ว แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้กระทำการโดยสุจริต แต่ไม่รักษาผลประโยชน์ให้แก่ลูกหนี้เท่าที่ควรจึงมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาด อันเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 ประกอบด้วยประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308 เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6418/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้ที่ดินรุกล้ำ: ศาลยืนราคาเหมาะสม แม้ราคาประเมินต่ำกว่า พิจารณาประโยชน์ที่โจทก์เสียไปและอนาคต
ที่ดินพิพาทเนื้อที่7.9ตารางวาแม้มีราคาประเมินตารางวาละ750บาทแต่จำเลยได้ปลูกสร้างโกดังเก็บสินค้าหรือโรงเก็บรถยนต์บนที่ดินพิพาทติดกับร้านค้าของจำเลยแสดงให้เห็นว่าที่ดินพิพาทอยู่ในที่เจริญหากจำเลยไม่ปลูกสร้างโกดังเก็บสินค้าหรือโรงเก็บรถยนต์รุกล้ำโจทก์อาจนำที่ดินพิพาทไปปลูกสร้างอาคารให้เช่าหรือปลูกอาคารพาณิชย์หาประโยชน์ได้ทั้งสภาพของโกดังเก็บสินค้าหรือโรงเก็บรถยนต์ดังกล่าวเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กมีสภาพมั่นคงแข็งแรงสามารถใช้งานได้10ถึง20ปีกว่าจะสลายไปตามสภาพซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์ขาดประโยชน์ไม่ได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นอย่างมากแม้ราคาที่ดินหากซื้อขายกันในขณะนี้จะมีราคาต่ำกว่าค่าใช้ที่ดินที่ศาลกำหนดให้แต่หากพิจารณาถึงอนาคตแล้วราคาที่ศาลอุทธรณ์ภาค2กำหนดให้ใช้จำนวน200,000บาทนั้นจึงเป็นจำนวนที่เหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5150/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดรวมรายการและราคาเหมาะสม แม้มีผู้สู้ราคาน้อยราย ไม่ถือเป็นเหตุให้การขายไม่ชอบ
ฎีกาจำเลยที่ว่าจำเลยได้ขอเลื่อนการขายทอดตลาดต่อศาลและได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบแต่ผู้คัดค้านไม่ได้รอฟังคำสั่งศาลก่อนเป็นการไม่ชอบนั้นเมื่อผลที่สุดปรากฏว่าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนการขายทอดตลาดตามที่จำเลยร้องขอการที่ผู้คัดค้านไม่ได้รอฟังคำสั่งศาลและขายทอดตลาดไปจึงหาทำให้เป็นการไม่ชอบไม่ การขายทอดตลาดไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าต้องมีผู้เข้าสู้ราคาเกินกว่าหนึ่งรายหรือกี่รายจึงจะทำการขายทอดตลาดได้แม้ทรัพย์บางอันดับจะมีผู้เข้าสู้ราคา2คนและทรัพย์บางอันดับมีผู้สู้ราคาเพียงคนเดียวก็ไม่ทำให้การขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในการขายทอดตลาดผู้คัดค้านมีอำนาจขายตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา123ซึ่งอาจจะแยกขายทีละสิ่งหรือรวมขายก็ได้สุดแต่ว่าวิธีใดจะเป็นวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดและเมื่อมีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483โดยเฉพาะแล้วจึงไม่อาจปรับด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา309
of 3