คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รายการสินค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: พิจารณาความแตกต่างของเครื่องหมาย, ลักษณะบ่งเฉพาะ, และรายการสินค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันคำว่า "SOFT CARE" ส่วนเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านเป็นรูปผู้หญิงโอบกอดทารกและมีอักษรโรมันคำว่า "CARE" และอักษรไทยคำว่า "แคร์" ประกอบอยู่ด้วย รูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าและเสียงเรียกขานจึงแตกต่างกัน แม้จะใช้กับสินค้าจำพวก 21 เหมือนกัน แต่ผู้คัดค้านจดทะเบียนรายการสินค้าเป็นแปรงสีฟัน ส่วนโจทก์ขอจดทะเบียนรายการสินค้าเป็นที่จ่ายสบู่เหลว จึงไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้านหรือสับสนหลงผิดในแหล่งกำเนิดของสินค้าจึงไม่เกิดขึ้น แม้คำว่า "SOFT" จะแปลว่า "อ่อนนุ่ม" แต่เมื่อรายการสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเป็นที่จ่ายสบู่เหลว คำดังกล่าวจึงมิใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง จึงถือเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ โจทก์จึงไม่ต้องพิสูจน์ว่ามีการจำหน่ายเผยแพร่หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "SOFT CARE" จนแพร่หลายแล้วตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประกาศกำหนดตามมาตรา 7 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารปลอม (ใบเบิกล่อง) แทนรายการสินค้าต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร มีความผิดฐานปลอมแปลงเอกสาร
อย่างไรเรียกว่าหนังสือราชการใบเบิกล่องที่เจ้าพนักงาออกให้นั้นเป็นหนังสือราชการ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ม.27-99 ใบเบิกล่องตาม พ.ร.บ.ศุลกากรมิได้บังคับให้ นำไปแสดงก็ดี แต่ถ้าผู้นำไปแสดงแสดงแทนรายการสินค้าแล้ว และเป็นเท็จขึ้นก็ต้องมีความผิด ปลอมหนังสือ ขูดแก้รายการสินค้าในใบเบิกล่องแล้วนำมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่แทนรายการสินค้านั้นมีผิดฐานปลอมหนังสือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและรายการสินค้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อวินิจฉัยการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2556 แต่เครื่องหมายการค้าตามทะเบียนเลขที่ ค 161910 ถูกเพิกถอนการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2552 เครื่องหมายการค้าดังกล่าวไม่ใช่เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วอยู่ก่อนที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ กรณีจึงไม่มีเครื่องหมายการค้าตามทะเบียนเลขที่ ค 161910 อยู่ในทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จะนำมาเปรียบเทียบเพื่อวินิจฉัยปัญหาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าตามทะเบียนเลขที่ ค 161910 จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 หรือไม่อีกต่อไป ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงไม่ชอบ
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นภาพประดิษฐ์ มีลักษณะเป็นแถบเส้นในแนวนอน 3 เส้น เรียงซ้อนกันขึ้นไปด้านบน โดยเว้นระยะห่างของแต่ละเส้นและเฉียงขึ้นทำมุมในระดับ 30 องศา คล้ายกับอักษรโรมัน ตัว "E" ส่วนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเป็นภาพประดิษฐ์ประกอบคำหรือชื่อ ซึ่งมีลักษณะเป็นแถบเส้นทึบในแนวตั้ง 3 เส้น เรียงซ้อนต่อกันไปทางด้านข้างโดยทุกแถบเส้นจะเอียงมาทางด้านหน้าและเว้นระยะห่างของแต่ละเส้นคล้ายอักษรโรมัน ตัว "M" และมีคำว่า "Mahajak" อยู่ด้านล่างของแถบเส้น รูปลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นอย่างชัดเจน ในส่วนของเสียงเรียกขานนั้น เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีคำว่า "Mahajak" ประกอบอยู่กับภาพประดิษฐ์ จึงออกเสียงเรียกขานได้ว่า มหาจักร ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้น ปรากฏตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ในช่องคำอ่านและแปลภาษาต่างประเทศเพียงว่า อักษรโรมันสัญลักษณ์ตัว "อี" แปลไม่ได้ เป็นอักษรย่อส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทคือคำว่า "อีริคสัน" ตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไม่ได้ระบุเสียงเรียกขานไว้ แต่เนื่องจากนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเคยมีคำสั่งให้โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอดังกล่าวเป็นเครื่องหมายชุดกับคำขอจดทะเบียนอื่น ๆ ของโจทก์ และโจทก์ดำเนินการตามคำสั่งแล้ว ปรากฏว่ารูปลักษณะเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนอื่น ๆ ของโจทก์เป็นภาพประดิษฐ์เช่นเดียวกับภาพประดิษฐ์ในคดีนี้ บางคำขอจดทะเบียนเป็นภาพประดิษฐ์ประกอบคำหรือชื่อ "ERICSSON" ดังนั้นจึงมีเหตุผลให้เชื่อว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อาจเรียกขานได้ว่า อีริคสัน อันเป็นส่วนหนึ่งของชื่อบริษัทโจทก์เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าอื่น ๆ ของโจทก์ เสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงแตกต่างจากเสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น ประกอบกับรายการสินค้าตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น มีรายการเดียวคือ มิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้า ส่วนรายการสินค้าตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เฉพาะที่จำเลยอุทธรณ์คือ สายเคเบิลไฟฟ้า ลวดไฟฟ้า สายเคเบิลไฟฟ้าออพติก แม้เป็นสินค้าจำพวก 9 เช่นเดียวกันแต่รายการสินค้าและลักษณะการใช้งานของสินค้าแตกต่างกันกล่าวคือ สินค้าตามรายการสินค้าของโจทก์เป็นตัวนำกระแสไฟฟ้ามิใช่อุปกรณ์วัดกระแสไฟฟ้าดังเช่นสินค้าตามรายการสินค้าตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า