คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รายบุคคล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5481/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับในความผิดตาม พ.ร.บ.เดินเรือฯ ต้องคำนวณตามพื้นที่และลงโทษเรียงรายบุคคล
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มาตรา 118 บัญญัติว่า "ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 117... ต้องระวางโทษปรับโดยคำนวณตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใดในอัตราไม่น้อยกว่าตารางเมตรละห้าร้อยบาท แต่ไม่เกินตารางเมตรละหนึ่งหมื่นบาท" ดังนี้ ผู้กระทำความผิดฐานนี้จะต้องถูกลงโทษปรับโดยคำนวณตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใด มิได้มีข้อจำกัดว่าถ้ามีผู้ร่วมกระทำความผิดหลายคนให้ปรับรวมกันตามพื้นที่ของอาคารหรือสิ่งอื่นใด เมื่อพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องนำบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 โดยลงโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: การลงโทษปรับเป็นรายบุคคลหรือไม่ และขอบเขตความรับผิดชอบของจำเลย
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 ทวิ กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว มิใช่ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่า ๆ กัน เมื่อจำเลยถูกฟ้องคดีนี้เพียงผู้เดียว จำเลยจึงเป็นบุคคลเดียวที่กระทำความผิดและต้องถูกลงโทษตามคำพิพากษา บุคคลอื่นที่ร่วมกระทำความผิดเมื่อยังไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลย ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดอันจะถูกลงโทษคำพิพากษาในคดีนี้ร่วมกับจำเลยได้ กรณีไม่อาจแบ่งแยกลดจำนวนความรับผิดสำหรับโทษในความผิดครั้งแรกนี้แก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4287/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลายของลูกหนี้ร่วม: พิจารณาหนี้สินและทรัพย์สินเป็นรายบุคคล
การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่เมื่อโจทก์นำสืบว่า จำเลยที่ 2 ต้องข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวโดยจำเลยที่ 2 มิได้นำพยานเข้าสืบให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่นจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว และการที่จำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าเล่าเรียนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: 'หรือ' หมายถึงแยกคำนวณรายบุคคล
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลมีคำพิพากษาตามยอมมีข้อความว่า "จำเลยยอมรับผิดชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดู และค่าศึกษาเล่าเรียนให้แก่บุตรทั้งสองคือ เด็กชาย อ. และเด็กชาย พ. เป็นเงินจำนวนเดือนละ 16,000 บาท โดยจำเลยยินยอมจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่บุตรทั้งสองคนจนกว่าจะเรียนจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะ" ดังนี้ เมื่อสัญญาใช้คำว่า "หรือ" จำเลยต้องชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองคนละ8,000 บาท ต่อเดือน จนกว่าบุตรคนใดคนหนึ่งจะจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะในกรณีหนึ่งกรณีใดที่มาถึงก่อนแก่โจทก์จึงจะเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุตร โดยให้คิดคำนวณสำหรับบุตรเป็นรายบุคคลไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6053/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความเฉพาะจำเลยรายบุคคล เมื่อโจทก์ไม่ดำเนินคดีต่อ
คดีที่มีจำเลยหลายคน เหตุที่ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความเพราะถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 วรรค 2 ไม่จำต้องเกิดขึ้นแก่จำเลยทุกคนในคดีเสมอไป กรณีอาจเกิดขึ้นแก่จำเลยเป็นรายบุคคลก็ได้ ในกรณีที่เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นแก่จำเลยในคดีเป็นรายบุคคล ศาลจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยรายที่โจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเท่านั้น เพราะถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยรายนั้นต่อไป ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีทั้งคดีออกเสียจากสารบบความหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม: การพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้เป็นรายบุคคล แม้มีทรัพย์สินร่วมกัน
การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคนเมื่อจำเลยที่1และที่2เป็นลูกหนี้ร่วมของโจทก์แม้จำเลยที่1มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินพอจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่1เมื่อจำเลยที่2ถูกบังคับยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาดและไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้จำเลยที่2จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา8(5)การที่จำเลยที่1มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ได้ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่2ล้มละลายตามมาตรา14ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5969/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชน-จัดหางาน: การหลอกลวงเป็นรายบุคคล ไม่เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชนหรือการจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนว่าจำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานและส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศได้ โดยจะได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นเงินจำนวนมาก ซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงจำเลยทั้งสามไม่สามารถจัดหางานและส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศได้ เพราะจำเลยทั้งสามไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานเพื่อให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง โดยการหลอกลวงของ จำเลยทั้งสามดังกล่าวทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสามไป การบรรยายฟ้องของโจทก์เช่นนี้ได้ความเพียงว่าจำเลยทั้งสามเจตนาหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายทั้งหลายเพื่อหวังจะได้รับเงินค่าบริการตอบแทนจากโจทก์ร่วมและผู้เสียหายเท่านั้น จำเลยทั้งสามย่อมไม่มีเจตนาที่จะส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงไปทำงานในต่างประเทศดังที่จำเลยทั้งสามกล่าวอ้างแต่ประการใด การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ตามฟ้อง โจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละคนทราบข่าวจากเพื่อนคนงาน คนอื่น ๆ ว่า จำเลยที่ 1 จัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ โจทก์ร่วมและผู้เสียหายจึงไปที่สำนักงานของจำเลยที่ 1 เพื่อสมัครงาน ได้พบจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้หลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายว่าสามารถจัดส่งโจทก์ร่วมและผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศฝรั่งเศสได้ โจทก์ร่วมและผู้เสียหายต่างหลงเชื่อจึงได้มอบเงินค่าทำวีซ่าและค่าตอบแทนให้แก่จำเลยที่ 2 ไปต่อหน้าจำเลยที่ 3 เป็นการหลอกลวงโจทก์ร่วมและผู้เสียหายแต่ละรายเป็นรายบุคคล หาใช่เป็นการประกาศโฆษณาเชิญชวนต่อประชาชนไม่ แม้ที่หน้าสำนักงานของจำเลยที่ 1 จะมีป้ายชื่อของจำเลยที่ 1 ปิดไว้ก็ตามแต่ป้ายดังกล่าวก็เป็นเพียงป้ายชื่อของจำเลยที่ 1 เท่านั้นไม่มีข้อความแสดงถึงการประกาศโฆษณาเชิญชวนให้ประชาชนมาสมัครงานกับจำเลยแต่อย่างใดจำเลยทั้งสามจึงไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งวันนัดฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและการอุทธรณ์ สิทธิอุทธรณ์เป็นรายบุคคล
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาที่แน่นอน จึงไม่ใช่กรณีที่ไม่สามารถส่งหมายนัดให้แก่จำเลยที่ 1 ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ได้ กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งให้ส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา79 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นส่งหมายแจ้งวันนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาให้จำเลยที่ 1ทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาลจึงเป็นการแจ้งวันนัดที่ไม่ชอบ เมื่อจำเลยที่ 1ไม่มาศาล ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบคำสั่งหรือคำพิพากษาในวันนัดดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 ยอมรับตามคำร้องว่าได้ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2534 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งเดิมแต่ให้ถือว่าจำเลยที่ 1 ทราบหรือฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม2534 จึงชอบแล้ว ไม่มีเหตุต้องดำเนินกระบวนพิจารณาแจ้งวัดนัดให้จำเลยที่ 1มาฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดใหม่
การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ภายในวันที่ 9 สิงหาคม 2534 นั้น มีผลเฉพาะจำเลยที่ 1 เพราะการอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาให้คู่ความรายใดฟังนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายเป็นรายบุคคลไป ไม่มีผลถึงการอ่านให้คู่ความรายอื่นที่ได้ฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาโดยชอบแล้ว สิทธิในการอุทธรณ์เป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายไป จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง จะถือตามสิทธิอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5719/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับผู้ร่วมกระทำผิด พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 ต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายอาญา ม.17 ลงโทษรายบุคคล
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 148 มิได้บัญญัติว่าถ้ามีผู้ร่วมกระทำความผิดหลายคนให้ปรับรวมกันตามมูลค่าของแร่กรณีจึงต้องนำบทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาใช้มาตรา 17 ดังนี้ต้องลงโทษปรับจำเลยเรียงตามรายตัวบุคคลตามมาตรา 31 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาย่อมแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่เพิ่มเติมโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3601/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีรวมทุนทรัพย์หลายคน ศาลคำนวณค่าขึ้นศาลรายบุคคลเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียม
ศาลชั้นต้นนัดชี้สองสถานแล้วจึงพบเห็นว่า การที่โจทก์ฟ้องรวมกันมาทั้ง ๆ ที่แต่ละคนสามารถฟ้องได้โดยลำพัง น่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมศาลจึงกำหนดเวลาให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้อง เป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2) มิใช่คำสั่งตามมาตรา 18 วรรคสอง เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการทิ้งฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียได้
กรณีทิ้งฟ้องไม่เข้าเหตุใดเหตุหนึ่งตามมาตรา 151 ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาล
เมื่อทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันได้ แต่โจทก์ฟ้องรวมกันมาเป็นคดีเดียว ดังนี้ จะต้องคำนวณค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้อง มิใช่เสียค่าขึ้นศาลรวมกัน โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 5 ว่าจำเลยยักย้ายทรัพย์มรดกคิดเป็นเงิน 76,000,000 บาท ข้อ 6 ราคาทรัพย์มรดกตามบัญชีท้ายฟ้องอันดับ 8-15 รวมเป็นเงิน 52,180,000 บาท โจทก์ได้ตามข้อนี้คนละ 4,348,333.33 บาท รวมทั้งข้อ 5 ข้อ 6 โจทก์ 5 คนได้รวมกัน 97,741,666.66 บาทเห็นได้ชัดว่า โจทก์เรียกร้องมาคนละ 19,548,333.33 บาท ซึ่งโจทก์แต่ละคนต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (ก) คนละ 200,000 บาท.
of 2