พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3729/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้และการงดขายทอดตลาด: ศาลพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้รายปีของลูกหนี้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินร่วม5,000,000 บาท แม้จำเลยอาจมีรายได้จากการประกอบพาณิชยกรรมค้าขายพืชผลเดือนละประมาณ 100,000 บาท มาชำระหนี้โจทก์จริงโดยไม่คลาดเคลื่อนก็ตาม แต่กว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จสิ้นก็เป็นเวลาประมาณ 4 ปี อีกทั้งโจทก์ก็ไม่ยินยอมด้วย ดังนั้นแม้โจทก์จะมิได้นำสืบหักล้างก็ตามก็ถือไม่ได้ว่ารายได้ประจำปีของจำเลยอาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมด้วยค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826-1833/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างระยะเวลา: การคำนวณอายุงานและค่าชดเชยจากสัญญาจ้างรายปี
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยมีกำหนดระยะเวลาจ้าง 1 ปี โดยระบุวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้ และเมื่อสัญญาครบกำหนดแล้วโจทก์จำเลยก็ทำสัญญากันใหม่ปีต่อปี ดังนี้ต้องถือว่าสัญญาจ้างแรงงานนี้เป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างเป็นปี ๆ ไป โจทก์จะขอให้นับอายุการทำงานของโจทก์ด้วยการนำระยะเวลาการจ้างในสัญญาทุกฉบับมารวมคำนวณเข้าด้วยกันเพื่อคำนวณค่าชดเชยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826-1833/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างรายปี: อายุงานนับตามสัญญาแต่ละฉบับ ไม่สามารถรวมคำนวณต่อเนื่องได้
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยมีกำหนดระยะเวลาจ้าง 1 ปี โดยระบุวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดแห่งสัญญาไว้ และเมื่อสัญญาครบกำหนดแล้วโจทก์จำเลยก็ทำสัญญากันใหม่ปีต่อปี ดังนี้ต้องถือว่าสัญญาจ้างแรงงานนี้เป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างเป็นปี ๆ ไป โจทก์จะขอให้นับอายุการทำงานของโจทก์ด้วยการนำระยะเวลาการจ้างในสัญญาทุกฉบับมารวมคำนวณเข้าด้วยกันเพื่อคำนวณค่าชดเชยหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3714/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินต่ออายุรายปี: ไม่ต้องจดทะเบียนหากสัญญาระบุเป็นรายปี แม้มีข้อตกลงต่ออายุถึง 20 ปี
สัญญาเช่าที่ดินมีกำหนด 3 ปี แต่มีข้อสัญญาระบุไว้ต่อไปว่า เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้ว ผู้ให้เช่าจะต่อสัญญาเช่าที่ดินนี้ให้แก่ผู้เช่าต่อไปอีกคราวละ 3 ปี จนครบ 20 ปีเป็นสัญญาเช่าที่มีกำหนดเวลาไม่เกินคราวละ 3 ปี และในกรณีเช่นนี้โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนการเช่ามีกำหนด 20 ปีไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 698/2522)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงขึ้นค่าจ้าง: การตีความขอบเขตการขึ้นค่าจ้างรายปีและการปฏิบัติตามข้อตกลง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยมีความว่านายจ้างตกลงขึ้นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างประจำที่ทำงานครบ180 วันทุกคนวันละ 4 บาท โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2518 ฝ่ายลูกจ้างจะไม่เรียกร้องขึ้นค่าจ้างอีก จนถึงกำหนดการพิจารณาขึ้นค่าจ้างประจำปีดังนี้หมายความว่าลูกจ้างที่ทำงานครบ 180 วัน ในวันทำข้อตกลงคือวันที่ 20 กันยายน 2518 จะได้ขึ้นค่าจ้างวันละ 4 บาท โดยเริ่มขึ้นค่าจ้างให้ในวันที่ 21 กันยายน 2518 ไม่มีข้อความตอนใดมีความหมายว่านายจ้างจะต้องขึ้นค่าจ้างให้ลูกจ้างอีกต่อไปทุกปี เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยขึ้นค่าจ้างให้ลูกจ้างใน พ.ศ.2518 แล้วกรณีจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยขึ้นค่าจ้างอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดคนต่างด้าวไม่มีใบสำคัญประจำตัว: ความผิดสำเร็จรายปี ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง
จำเลยเป็นคนต่างด้าวที่มีอายุเกิน 12 ปีแล้ว อยู่ในราชอาณาจักรไทยตลอดมาโดยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 มาตรา 5 จำเลยต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ถ้าไม่มีก็เป็นความผิดซึ่งมาตรา 20 กำหนดโทษปรับเป็นรายปี ปีละไม่เกิน 500 บาท ตลอดเวลาที่จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวความผิดดังกล่าวเป็นความผิดสำเร็จในแต่ละปี ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง ความผิดในปีสุดท้ายจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดคนต่างด้าวไม่มีใบสำคัญประจำตัว: ความผิดสำเร็จรายปี ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง
จำเลยเป็นคนต่างด้าวที่มีอายุเกิน 12 ปีแล้ว อยู่ในราชอาณาจักรไทยตลอดมาโดยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 5 จำเลย ต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ถ้าไม่มีก็เป็นความผิดซึ่งมาตรา 20 กำหนดโทษปรับเป็นรายปี ปีละไม่เกิน 500 บาท ตลอดเวลาที่จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ความผิดดังกล่าวเป็นความผิดสำเร็จในแต่ละปีไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง ความผิดในปีสุดท้ายจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดไม่ต่ออายุใบสำคัญคนต่างด้าว: ความผิดสำเร็จรายปี
การไม่ต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกำหนดในปีใดก็เป็นความผิดสำเร็จสำหรับปีนั้น คดีโจทก์สำหรับปีที่ จำเลยขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวซึ่งอยู่ในระยะเกินกว่า 1 ปี ก่อนโจทก์ฟ้อง ย่อมขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(5) (อ้างฎีกาประชุมใหญ่ที่ 942/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบังคับคดีหนี้ค่าเล่าเรียนรายปี: เริ่มนับหนึ่งเมื่อถึงปีที่ต้องชำระ และบังคับเรียงตามลำดับ
หนี้ตามคำพิพากษา ถ้าหากเกิดขึ้นเป็นรายปีเรียงกันไป ก็ต้องบังคับเรียงกันไปตามลำดับ ส่วนใดเกิน 10 ปี การขอบังคับคดีก็ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
เมื่อมีหนี้หลายราย เงินที่ได้รับมาต้องชำระหนี้รายแรกก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328
เมื่อมีหนี้หลายราย เงินที่ได้รับมาต้องชำระหนี้รายแรกก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบังคับคดีหนี้ค่าเล่าเรียนรายปี: นับหนึ่งใหม่เมื่อถึงกำหนดชำระแต่ละปี
หนี้ตามคำพิพากษา ถ้าหากเกิดขึ้นเป็นรายปีเรียงกันไป ก็ต้องบังคับเรียงกันไปตามลำดับ ส่วนใดเกิน 10 ปี การขอบังคับคดีก็ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
เมื่อมีหนี้หลายราย เงินที่ได้รับมาต้องชำระหนี้รายแรกก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328
เมื่อมีหนี้หลายราย เงินที่ได้รับมาต้องชำระหนี้รายแรกก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 328