พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3320/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องที่ไม่ระบุรายละเอียดตามกฎหมายเลื่อยโซ่ยนต์ และปัญหาการรับคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาต้องระบุข้อเท็จจริงโดยย่อ หรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 กล่าวคือ ฎีกาจะต้องมีข้อคัดค้านหรือโต้แย้งคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ว่า ไม่ถูกต้องในข้อไหนอย่างใด หรือไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด ทั้งนี้ ไม่ว่าในปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่ตนประสงค์จะยกขึ้นฎีกา เพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ล้วนเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นทั้งสิ้น โดยคัดลอกข้อความมาจากอุทธรณ์ ของจำเลยที่ 1 ทั้งหมด เพียงเพิ่มตอนท้ายว่า บรรดาของกลางที่พบในที่เกิดเหตุไม่มีสิ่งใดบ่งชี้ถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้วินิจฉัยถึงปัญหาดังกล่าวไว้แล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 1 มิได้กล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยข้อเท็จจริงข้อใด ตอนใดไม่ถูกต้องอย่างไร และไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 เพราะเหตุใด แม้จำเลยที่ 1 จะมีคำขอท้ายฎีกาว่า ขอให้ศาลฎีกาได้โปรดพิจารณาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองและพิพากษายกฟ้องโจทก์เสีย ก็ไม่อาจถือเป็นคำคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
ตามพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ ฯ มาตรา 3 นิยามคำว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" ไว้ว่า หมายถึง เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล และให้ความหมายรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวง ตามคำนิยามจากบทบัญญัติดังกล่าว คำว่า "เลื่อยโซ่ยนต์"มิใช่เป็นการกำหนดความหมายถึงเครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้ฯ ไว้โดยลำพัง แต่ได้ระบุโยงไปถึงกฎกระทรวงด้วย และโดยอาศัยอำนาจตามความในบทนิยามคำว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ ดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ออกกฎกระทรวงไว้ว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" หมายความว่า (1) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2551 เมื่อเหตุคดีนี้เกิดวันที่ 4 ตุลาคม 2554 ซึ่งเป็นภายหลังจากวันที่กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องมาให้ครบถ้วนว่า เลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองนั้นเป็นไปตามคำนิยามในกฎกระทรวงด้วย เพราะถือว่ากำลังแรงม้า และขนาดความยาวของแผ่นบังคับโซ่เป็นข้อสำคัญที่จะบ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดหรือไม่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิด เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า เลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเป็นเครื่องมือที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดยาวเกินกว่า 12 นิ้ว ตามลักษณะที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง จึงเป็นฟ้องที่ไม่มีรายละเอียดพอสมควร ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ไม่สามารถลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้มิได้มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ตามพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ ฯ มาตรา 3 นิยามคำว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" ไว้ว่า หมายถึง เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกล และให้ความหมายรวมถึงส่วนหนึ่งส่วนใดที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดในกฎกระทรวง ตามคำนิยามจากบทบัญญัติดังกล่าว คำว่า "เลื่อยโซ่ยนต์"มิใช่เป็นการกำหนดความหมายถึงเครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้ฯ ไว้โดยลำพัง แต่ได้ระบุโยงไปถึงกฎกระทรวงด้วย และโดยอาศัยอำนาจตามความในบทนิยามคำว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ฯ ดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ออกกฎกระทรวงไว้ว่า "เลื่อยโซ่ยนต์" หมายความว่า (1) เครื่องมือสำหรับใช้ตัดไม้หรือแปรรูปไม้ที่มีฟันเลื่อยติดกับโซ่ซึ่งขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องจักรกลที่ผลิตและประกอบสำเร็จรูปเพื่อการใช้งานที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดความยาวเกินกว่า 12 นิ้ว กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2551 เมื่อเหตุคดีนี้เกิดวันที่ 4 ตุลาคม 2554 ซึ่งเป็นภายหลังจากวันที่กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องมาให้ครบถ้วนว่า เลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองนั้นเป็นไปตามคำนิยามในกฎกระทรวงด้วย เพราะถือว่ากำลังแรงม้า และขนาดความยาวของแผ่นบังคับโซ่เป็นข้อสำคัญที่จะบ่งชี้ว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดหรือไม่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิด เมื่อฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่า เลื่อยโซ่ยนต์ที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเป็นเครื่องมือที่มีต้นกำลังเกินกว่า 2 แรงม้า โดยมีแผ่นบังคับโซ่ที่มีขนาดยาวเกินกว่า 12 นิ้ว ตามลักษณะที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง จึงเป็นฟ้องที่ไม่มีรายละเอียดพอสมควร ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ไม่สามารถลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้มิได้มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225