คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รายเดือน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4377/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างรายเดือนสะดุดหยุดเมื่อลูกหนี้ยอมรับหนี้ แม้จะยังไม่ชำระ
จำเลยที่ 2 ให้การว่าโจทก์ทำงานที่รับจ้างแล้วเสร็จและส่งมอบงานให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2539 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเรียกเงินค่าจ้างเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2541 เกิน 2 ปี จึงขาดอายุความตามกฎหมาย เป็นคำให้การที่ยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความไว้อย่างชัดเจนแล้ว ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างโดยแบ่งค่าจ้างเป็นรายงวดหรือรายเดือนและโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตั้งแต่เมื่อใด คดีเริ่มนับอายุความและขาดอายุความในเวลาใดและมาจากสาเหตุใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์และจำเลยที่ 2 จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไป ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความไว้โดยชอบแล้ว
จำเลยที่ 2 ต้องชำระค่าจ้างแก่โจทก์เป็นรายเดือน กล่าวคือ เมื่อโจทก์ทำงานให้จำเลยที่ 2 ครบเสร็จสิ้นในเดือนใด จำเลยที่ 2 จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทันทีในวันสิ้นงวดเดือนนั้น หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระอายุความต้องเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 และหากอายุความสะดุดหยุดลงสำหรับค่าจ้างในเดือนใดก็จะมีผลต่อค่าจ้างของเดือนนั้นเท่านั้น ดังนั้นโจทก์ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจเป็นที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างรับจ้างดูแลกิจการของจำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิเรียกเอาสินจ้างที่พึงได้รับได้ตั้งแต่วันถัดจากวันสิ้นงวดเดือนเป็นต้นไปในแต่ละงวดเดือนที่จำเลยที่ 2 ผิดนัด ซึ่งมาตรา 193/34 (7) กำหนดอายุความเรียกร้องไว้ 2 ปี
จำเลยที่ 2 ค้างชำระค่าจ้างให้โจทก์ 2 งวดเดือนหลังสุดซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2539 และวันที่ 21 เมษายน 2539 ปรากฏว่า ส. กรรมการโครงการได้มีหนังสือแจ้งตอบการทวงถามให้ชำระหนี้ไปยังโจทก์โดย ส. ยอมรับว่าจำเลยที่ 2 ติดค้างค่าจ้างทำงานตามที่โจทก์ทวงถามมาจริงแต่ขอชำระให้บางส่วนซึ่งเป็นค่าจ้างสำหรับ 2 งวดเดือนแรก ส่วนที่เหลือสำหรับงวด 2 เดือนสุดท้ายนั้น จำเลยที่ 2 จะชำระให้ ต่อมาเมื่อได้มีการเริ่มกิจกรรมใหม่ของโครงการตามที่ได้มีการเจรจากันไว้แล้ว ดังนั้นหนังสือดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการกระทำใด ๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ได้รับหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 (1) และต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไปตามมาตรา 193/15 วรรคสอง เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2541 จึงเกินกำหนดเวลา 2 ปี ค่าจ้างที่ยังค้างชำระโจทก์อยู่ในแต่ละงวดเดือนของ 2 งวดเดือนหลังก็ยังขาดอายุความอยู่ดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7176/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเช่าที่ดิน: นับเริ่มเมื่อค้างชำระรายเดือน ไม่นับจากวันเริ่มสัญญา
การนับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/12(เดิม 169) ให้นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
ค่าเช่าที่ดินที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนเมื่อจำเลยค้างชำระค่าเช่าที่ดินในเดือนใด สิทธิเรียกร้องค่าเช่าที่ดินที่ค้างชำระในเดือนนั้นก็เกิดขึ้นนับแต่วันที่จำเลยค้างชำระอันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าเช่าที่ดินนั้นได้เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ารายเดือน การบอกเลิกสัญญา และความเสียหายจากการ占ครองหลังบอกเลิก
ในสำนวนคดีหลัง จำเลยที่ 1 ฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากทรัพย์ที่เช่าซึ่งขณะยื่นคำฟ้องมีค่าเช่าเดือนละหนึ่งหมื่นบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง โจทก์ฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยข้อฎีกาของโจทก์ดังกล่าวในสำนวนหลัง
ค่าใช้จ่ายปรับปรุงซ่อมแซมทรัพย์สินอันเป็นกิจการพิพาทเพื่อประโยชน์ของโจทก์จะใช้สอยและเรียกเก็บค่าบริการ หาใช่เป็นการใช้จ่ายช่วยค่าก่อสร้างกิจการพิพาท จึงมิใช่ค่าใช้จ่ายที่จะถือว่าโจทก์จ่ายค่าตอบแทนให้จำเลยที่ 1เป็นพิเศษยิ่งกว่าการใช้จ่ายเช่ากิจการพิพาทตามสัญญาเช่าธรรมดา
สัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยที่ 1 เป็นสัญญาเช่าธรรมดาและโจทก์จำเลยที่ 1 มิได้ตกลงระยะเวลาการเช่าต่อกันไว้ โจทก์จำเลยที่ 1 ย่อมใช้สิทธิเลิกสัญญาต่อกันเมื่อใดก็ได้ ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่า โจทก์จำเลยที่ 1 ตกลงชำระค่าเช่ากันเป็นรายเดือน การบอกเลิกสัญญาเช่าจึงต้องบอกเลิกสัญญาเช่าในขณะเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาอันเป็นกำหนดชำระค่าเช่าได้ทุกระยะ แต่ต้องแจ้งให้คู่สัญญารู้ตัวก่อนชั่วกำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อย แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากว่าสองเดือน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 566 จำเลยที่ 1 แจ้งบอกเลิกการเช่าต่อโจทก์ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2533 และจำเลยที่ 1 ยื่นคำฟ้องขับไล่โจทก์วันที่ 17 เมษายน 2533 เกินกำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งแล้ว ดังนี้การอยู่ดำเนินกิจการพิพาทของโจทก์ภายหลังจากนั้นเป็นการไม่ชอบ เป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1 โจทก์ต้องรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 พึงได้รับในระหว่างที่โจทก์อยู่ในกิจการพิพาท ไม่ส่งมอบกิจการพิพาทคืนให้จำเลยที่ 1 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่าในเดือนต่อมาหลังจากโจทก์รับทราบการบอกเลิกการเช่า
สำนวนแรกเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นเงินรวม 15,000 บาท นั้นเกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ตามตาราง 6 ท้ายป.วิ.พ.แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายรายเดือนกับดอกเบี้ย: ห้ามซ้ำซ้อน
ฟ้องโจทก์ที่เรียกค่าเสียหายเป็นรายเดือนนับจากเดือนที่ฟ้องเป็นต้นไปพร้อมดอกเบี้ยในแต่ละเดือนด้วยนั้น เมื่อกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นรายเดือน อันเป็นค่าเสียหายในอนาคตแล้ว โจทก์ก็ไม่อาจที่จะขอให้ชำระดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวมาในคราวเดียวกันอีก เพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายรายเดือนกับดอกเบี้ย: ห้ามซ้ำซ้อน
ฟ้องโจทก์ที่เรียกค่าเสียหายเป็นรายเดือนนับจากเดือนที่ฟ้องเป็นต้นไปพร้อมดอกเบี้ยในแต่ละเดือนด้วยนั้นเมื่อกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นรายเดือนอันเป็นค่าเสียหายในอนาคตแล้วโจทก์ก็ไม่อาจที่จะขอให้ชำระดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวมาในคราวเดียวกันอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย: การกำหนด 'คราว' จ่ายสินจ้างรายเดือน
คำว่า"คราวใดคราวหนึ่ง"และ"คราวถัดไปข้างหน้า"ตามป.พ.พ.มาตรา582หมายถึง"คราว"กำหนดจ่ายสินจ้าง"แต่ละคราว"โดยข้อเท็จจริงที่แยกกันจะรวมสองคราวมาเป็นคราวเดียวโดยถือจำนวนค่าจ้างที่ตกลงกันเป็นรายเดือนมาเป็นเกณฑ์ไม่ได้ จำเลยตกลงจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทุกวันที่15และทุกวันสิ้นเดือนเมื่อจำเลยบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างโจทก์เมื่อวันที่17มกราคม2527โดยจ่ายสินจ้างแก่โจทก์ครบจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงคราววันที่15กุมภาพันธ์2527แล้วปล่อยโจทก์ออกจากงานไปทันทีจึงเป็นการชอบด้วยป.พ.พ.มาตรา582แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3359/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: การกำหนดเวลาชำระหนี้รายเดือนโดยไม่ระบุวันตายตัว
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อความว่า จำเลยสัญญาว่าจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์เป็นเงินทั้งสิ้น 30,000 บาท โดยจะผ่อนชำระให้เป็นรายเดือนเดือนละ 500 บาท เริ่มเดือนแรกในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2524 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น เป็นการกำหนดให้จำเลยชำระเงินเป็นรายเดือนโดยมิได้ระบุวันที่แน่นอน คงระบุเฉพาะเดือนแรกเท่านั้น ฉะนั้น ในเดือนถัดไปจำเลยจะชำระในวันใดก็ได้ เพียงแต่ให้อยู่ในกำหนดของแต่ละเดือน. การที่จำเลยส่งเงินทางธนาณัติเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์เดือนที่สามคือเดือนมกราคม 2525 โดยส่งในวันที่ 21 นั้น ถือได้ว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์ตรงตามสัญญาแล้วมิได้ผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896-899/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ารายเดือน: การบอกเลิกสัญญาและการชำระค่าเช่าล่วงหน้า
เช่าตึกแถวค่าเช่าเดือนละ 40 บาท ชำระภายในวันที่ 5 ของเดือน เก็บค่าเช่าคราวเดียว 12 เดือน 480 บาท ยังเป็นการเช่ารายเดือน ไม่เปลี่ยนเป็นรายปี การบอกเลิกโดยให้เวลา 1 เดือน ชั่วระยะเวลาชำระค่าเช่า 1 ระยะหลังจากสัญญาครบกำหนดแล้ว ชอบด้วยมาตรา 566

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องการผ่อนชำระรายเดือน หากชำระไม่ตรงตามกำหนด ถือเป็นผิดนัดได้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า จำเลยยอมผ่อนชำระเงินให้โจทก์เป็นรายเดือน ๆ ละ 1,200 บาท เริ่มแต่วันที่ 5 มิถุนายน และต่อไปภายในวันที่ 5 ของเดือน จนกว่าจะชำระเสร็จ ผิดนัด 2 งวดติดกันยอมให้บังคับคดี ปรากฏว่าในวันที่ 5 มิถุนายน จำเลยนำเงินมาผ่อนชำระตามสัญญา ครั้นถึงวันที่ 5 กรกฎาคม ครบกำหนด จำเลยไม่นำเงินมาชำระแต่พอถึงวันที่ 5 สิงหาคม จำเลยนำมาชำระ และถึงวันที่ 5 กันยายน จำเลยไม่นำมาชำระอีกดังนี้ เมื่อข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความมีปรากฏว่า จำเลยจะผ่อนชำระเป็นรายเดือน เริ่มต้นแต่วันที่ 5 มิถุนายน และเดือนต่อ ๆ ไปภายในวันที่ 5 ของเดือน การที่จำเลยไม่ชำระเงินภายในวันที่ 5 กรกฎาคม แต่มาชำระเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม เป็นเงินที่จำเลยชำระประจำเดือนกรกฎาคม และเงินที่จำเลยจะต้องชำระประจำเดือนสิงหาคม จึงยังคงค้างชำระอยู่ เมื่อจำเลยค้างชำระเงินประจำเดือนสิงหาคมอยู่หนึ่งเดือนแล้ว ต่อมาเมื่อภายในวันที่ 5 กันยายน จำเลยไม่ชำระอีกเช่นนี้ก็ต้องถือว่าจำเลยได้ค้างชำระในงวดประจำเดือนกันยายนด้วย จึงเป็นการผิดนัดสองงวดติดกันแล้ว ศาลย่อมออกหมายบังคับคดีให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างตามคำพิพากษาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนชำระหนี้รายเดือนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การชำระไม่ตรงตามกำหนดถือเป็นผิดนัด
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า จำเลยยอมผ่อนชำระเงินให้โจทก์เป็นรายเดือน ๆ ละ 1,200 บาท เริ่มแต่วันที่ 5 มิถุนายนและต่อไปภายใน วันที่ 5 ของเดือนจนกว่าจะชำระเสร็จ ผิดนัด 2 งวดติดกันยอมให้บังคับคดี ปรากฏว่าในวันที่ 5 มิถุนายน จำเลยนำเงินมาผ่อนชำระตามสัญญา ครั้นถึงวันที่ 5 กรกฎาคม ครบกำหนด จำเลยไม่นำเงินมาชำระแต่พอถึงวันที่ 5 สิงหาคม จำเลยนำมาชำระและถึงวันที่ 5 กันยายน จำเลยไม่นำมาชำระอีก ดังนี้ เมื่อข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความมีปรากฏว่า จำเลยจะผ่อนชำระเป็นรายเดือนเริ่มต้นแต่วันที่ 5 มิถุนายน และเดือนต่อ ๆ ไปภายในวันที่ 5 ของเดือน การที่จำเลยไม่ชำระเงินภายในวันที่ 5 กรกฎาคมแต่มาชำระเมื่อวันที่ 5 สิงหาคมเป็นเงินที่จำเลยชำระประจำเดือนกรกฎาคมและเงินที่จำเลยจะต้องชำระประจำเดือนสิงหาคม จึงยังคงค้างชำระอยู่เมื่อจำเลยค้างชำระเงินประจำเดือนสิงหาคมอยู่หนึ่งเดือนแล้ว ต่อมาเมื่อภายในวันที่ 5 กันยายน จำเลยไม่ชำระอีกเช่นนี้ก็ต้องถือว่าจำเลยได้ค้างชำระในงวดประจำเดือนกันยายนด้วย จึงเป็นการผิดนัดสองงวดติดกันแล้ว ศาลย่อมออกหมายบังคับคดีให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างตามคำพิพากษาได้
of 2