คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ริบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 248 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36 ต้องยื่นภายใน 1 ปีนับจากคำพิพากษาถึงที่สุดที่สั่งริบ
การขอคืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36 ซึ่งเจ้าของมีสิทธิขอคืนต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น คำว่า "วันคำพิพากษาถึงที่สุด" ย่อมหมายความถึงคำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์
คดีก่อนกับคดีนี้เป็นกรณีเดียวกัน แต่ฟ้องคนละคราวกัน ทรัพย์สินที่ยึดได้ก็เป็นทรัพย์สินรายเดียวกัน ทรัพย์สินต่าง ๆ รวมทั้งธนบัตรของกลางจึงเป็นของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบธนบัตรของกลางในคดีนี้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ริบธนบัตรของกลาง ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลในคดีนี้ที่จะสั่งให้ริบธนบัตรของกลางซ้ำอีก ธนบัตรของกลางจึงมิใช่ของกลางในคดีนี้ที่ศาลจะพึงวินิจฉัยสั่งด้วย เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาและมีคำสั่งให้ริบธนบัตรของกลางแล้ว จำเลยในคดีดังกล่าวอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีถึงที่สุด ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนธนบัตรของกลางในคดีนี้เกิน 1 ปี จึงต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 36

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ของกลางที่ใช้ขนส่งผู้กระทำผิด ไม่เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด
รถยนต์ของกลางเป็นพาหนะที่คนต่างด้าวโดยสาร เพื่อพาคนต่างด้าวให้พ้นจากการจับกุม ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ทำหรือมีไว้เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32 ทั้งไม่ใช่ทรัพย์สินซึ่งได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) รถยนต์ของกลางโดยสภาพมีไว้เพื่อบรรทุกคนและสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังที่อื่นอันเป็นวัตถุประสงค์ทั่วไป จึงริบรถยนต์ของกลางไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4557/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบอาวุธปืนในคดียาเสพติด: ต้องมีความเชื่อมโยงกับการกระทำความผิดโดยตรง
ทรัพย์สินที่จะต้องริบตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 30 ต้องเป็นทรัพย์สินที่ถูกนำมาใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและจากนิยามความหมายของคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 หมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด อาวุธปืนไม่ใช่เป็นทรัพย์ที่ถูกนำมาใช้ในการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดหรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์ที่ไม่อาจริบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ในคดียาเสพติด: รถยนต์ไม่ใช่ยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด จึงไม่สามารถริบได้
จำเลยที่ 3 นั่งโดยสารมาในรถยนต์กระบะ ถือกางเกงซึ่งมีเมทแอมเฟตามีนซุกซ่อนอยู่มาด้วย หาได้ใช้รถยนต์คันดังกล่าวเป็นที่ซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีนของกลางไม่ รถยนต์กระบะจึงมิใช่ยานพาหนะซึ่งจำเลยที่ 3 ได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงไม่อาจริบตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 33 ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้อง โดยคืนให้แก่เจ้าของได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8169/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ริบแล้ว ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิขอคืน
ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย ร. 1 จะครบกำหนดระยะเวลาเช่าซื้อในวันที่ 27 สิงหาคม 2543 แต่ปรากฏในใบคู่มือจดทะเบียนเอกสารหมาย ร. 2 แผ่นที่ 3 ระบุว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์กระบะของกลางในวันที่ 7 มีนาคม 2545 จึงต้องฟังว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เกียรตินาคิน จำกัด โอนรถยนต์กระบะของกลางให้แก่ผู้ร้องในวันดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์กระบะของกลางเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2544 และไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นอันถึงที่สุด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะของกลางที่ศาลสั่งริบย่อมตกเป็นของแผ่นดิน ผู้ร้องรับโอนรถยนต์กระบะของกลางในวันที่ 7 มีนาคม 2545 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันที่กรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะของกลางตกเป็นของแผ่นดิน ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์และไม่เป็นเจ้าของรถยนต์กระบะของกลาง ผู้ร้องจึงย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์กระบะของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ตามสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดและการริบรถยนต์ที่ใช้ในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
ตามสัญญาซื้อขายที่ทำขึ้นระหว่างผู้คัดค้านกับจำเลยที่ 2 มีข้อความระบุแต่เพียงว่า ผู้คัดค้านได้ขายรถยนต์ของกลางให้แก่จำเลยที่ 2 ในราคา 320,000 บาทได้รับเงินมัดจำไว้ 170,000 บาท ส่วนที่เหลือ 150,000 บาท จะชำระในวันที่ 29มกราคม 2541 สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่มีการแบ่งชำระราคาซื้อขายเป็น 2 งวดเท่านั้น ดังนั้น เมื่อทำสัญญาเสร็จแล้ว กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ย่อมโอนไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ซื้อทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 458 มิใช่สัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 ผู้คัดค้านจึงมิใช่เจ้าของรถยนต์ของกลาง จึงไม่มีสิทธิยื่นคำคัดค้าน ขอให้ศาลมีคำสั่งคืนรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์ที่ถูกริบหลังคดีถึงที่สุด ผู้ซื้อสิทธิจากสถาบันการเงินมีสิทธิขอคืนได้ภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2541โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น คดีที่มีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์ของกลางดังกล่าวถึงที่สุดในวันที่ 21 สิงหาคม 2541 แต่ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2543 จึงเป็นการยื่นคำร้องเกินกำหนด1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การยื่นคำร้องของผู้ร้องจึงไม่ชอบเพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาการปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตรา 25 ก็มิได้บัญญัติยกเว้นการใช้บังคับบทบัญญัติการขอคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6479/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถบรรทุกจากความผิดน้ำหนักเกินกฎหมาย ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยทางหลวง
จำเลยใช้รถยนต์บรรทุกของกลางมีน้ำหนักบรรทุกรวมน้ำหนักรถเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้มาก เพื่อประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ทางหลวงแผ่นดิน ทั้งมีผลกระทบต่อผู้ร่วมใช้เส้นทางสัญจรไปมาที่ต้องเสี่ยงต่ออันตรายอันเกิดจากสภาพแห่งท้องถนนที่ได้รับความเสียหายทำให้ยากต่อการควบคุมให้รถแล่นไปได้อย่างปลอดภัย ซึ่งอาจมีผลก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ขับขี่ได้ ดังนั้น รถยนต์บรรทุกของกลางซึ่งใช้ในการกระทำความผิดจึงเป็นทรัพย์ที่สมควรต้องริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ของกลางในคดีลักทรัพย์: การใช้ยานพาหนะเป็นเครื่องมือความผิด
จำเลย ผู้ร้อง และ ว.ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในคดีเดียวกัน โจทก์คดีนี้ได้แยกฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวโดยขอให้ริบรถยนต์ของกลางด้วย ศาลพิพากษาให้ริบของกลาง คดีถึงที่สุด ส่วนผู้ร้องและ ว. ถูกฟ้องที่ศาลอาญาโดยโจทก์ในคดีที่ผู้ร้องและ ว.ถูกฟ้องนั้นขอริบรถยนต์ของกลางเช่นกัน ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำขอให้ริบรถยนต์ของกลาง ผู้ร้องจึงมายื่นคำร้องขอคืนของกลางในคดีนี้ เมื่อปรากฏว่า รถยนต์ของกลางมิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด จึงต้องคืนให้แก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ที่ใช้ในการลักทรัพย์: ต้องมีการใช้รถยนต์โดยตรงในการขนย้ายทรัพย์สินที่ลักมาแล้วเท่านั้น
ขณะเกิดเหตุรถยนต์จอดอยู่นอกรั้วที่จำเลยกับพวกเข้าไปลักทรัพย์ โดยจำเลยกับพวกถูกจับขณะที่ยังไม่ได้ขนย้ายทรัพย์ที่ลักมาขึ้นรถยนต์ จำเลยกับพวกเพียงนำรถยนต์มาจอดใกล้บริเวณเกิดเหตุ เท่านั้น และจะใช้รถยนต์ในการขนย้ายทรัพย์ออกไปหลังจากที่ลักทรัพย์สำเร็จแล้ว เมื่อยังไม่มีการขนย้ายทรัพย์ที่ลักมาขึ้นรถยนต์ จึงไม่มีการใช้รถยนต์เป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์โดยตรงรถยนต์จึงมิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดอันพึงจะริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 จึงต้องคืนให้แก่ผู้ร้อง
ปัญหาที่ว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นอ้างสู่ศาลฎีกาโดยตรงก็ตาม แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 25