พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3571/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบของผู้ให้เช่าซื้อที่ไม่รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิดของผู้เช่าซื้อ
การใช้สิทธิตาม ป.อ. มาตรา 36 เป็นการที่บุคคลภายนอกใช้สิทธิขอคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบ โดยมิต้องคำนึงว่าสิทธิของบุคคลภายนอกจะเกิดจากการกระทำอันเป็นการละเมิดหรือสัญญา ทั้งการที่ผู้ร้องไม่ใช้สิทธิทางแพ่งกับจำเลยที่ 1 และร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืน ก็เป็นเรื่องไม่ถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญาที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นสิทธิที่ผู้ร้องจะใช้หรือไม่ก็ได้ และเมื่อผู้เช่าซื้อผิดสัญญา ผู้ร้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของกลางที่ให้เช่าซื้อคืนได้ กรณียังไม่พอฟังว่าเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้บังคับกฎหมายอาญาหรือค่าธรรมเนียมศาล หรือเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 อันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด เพราะกฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการริบทรัพย์สินและหลักการรับฟังข้อเท็จจริงเมื่อจำเลยรับสารภาพ
การริบทรัพย์สินในกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะย่อมเป็นอำนาจทั่วไปของศาลที่จะริบได้ตามที่ ป.อ. บัญญัติไว้ เมื่อโจทก์มีคำขอให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางแล้ว และของกลางดังกล่าวเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้อ้างกฎหมายที่ให้อำนาจโจทก์ในการขอริบรถยนต์บรรทุกของกลางหรือ ป.อ. มาตรา 33 มาด้วย ศาลก็มีอำนาจริบรถยนต์บรรทุกของกลางได้ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ถูกต้องได้
ในคดีอาญาที่ไม่จำต้องสืบพยานประกอบ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ตามฟ้องของโจทก์ หากจำเลยจะโต้เถียงเป็นอย่างอื่นต้องยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ มิฉะนั้นถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ในคดีอาญาที่ไม่จำต้องสืบพยานประกอบ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ตามฟ้องของโจทก์ หากจำเลยจะโต้เถียงเป็นอย่างอื่นต้องยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ มิฉะนั้นถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: ประเภททรัพย์สินและระยะเวลาคัดค้าน
ในการดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ นั้นมีอยู่ 2 กรณี คือ การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินซึ่งคณะกรรมการมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดตามมาตรา 22 เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 27, 28 และการร้องขอให้ริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตามมาตรา 30 ซึ่งกรณีไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดตามความหมายในมาตรา 3 ดังนั้นทรัพย์สินที่จะต้องถูกริบตามมาตรา 27, 28 และมาตรา 30 จึงเป็นทรัพย์สินคนละประเภทกัน และใช้วิธีประกาศแจ้งผู้ที่อาจอ้างเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ต่างกัน เมื่อคดีนี้พนักงานอัยการได้ดำเนินการร้องขอให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางตามมาตรา 30 และศาลได้สั่งให้ประกาศในหนังสือพิมพ์ที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นสองวันติดต่อกันแล้ว ผู้คัดค้านที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินจะต้องยื่นคำร้องเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งหมายความถึงคำพิพากษาหรือคำสั่งที่พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งริบทรัพย์สิน เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านเข้ามาภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำคัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7577/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินต้องมีคำขอในฟ้อง ศาลสั่งริบโดยโจทก์มิได้ขอเป็นคำพิพากษาเกินคำขอ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่ศาลในการลงโทษริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้ใช้ในการกระทำความผิด แต่ศาลจะพิพากษาหรือสั่งเองโดยโจทก์มิได้ฟ้องหรือมีคำขอมาในฟ้องหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4557/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: อาวุธปืนไม่ใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องโดยตรง จึงไม่อาจริบได้
ทรัพย์สินที่จะต้องริบตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 30 นั้น ต้องเป็นทรัพย์สินที่ถูกนำมาใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว หมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด... อาวุธปืนมิใช่เป็นทรัพย์ที่ถูกนำมาใช้ในการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดหรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์ที่ไม่อาจริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4087/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: การตรวจสอบกรรมสิทธิ์และเจตนาของผู้ร้อง
ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีในข้อกฎหมายโดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงซึ่งเป็นปัญหาขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ แต่เพื่อให้คดีเสร็จสิ้นไปโดยเร็วเพราะข้อเท็จจริงที่ปรากฎตามคำร้องของผู้ร้องพอวินิจฉัยคดีได้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
การร้องคัดค้านและขอคืนทรัพย์สินที่ถูกยึดตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 30 เป็นการใช้สิทธิทางศาลอย่างหนึ่ง ผู้ร้องต้องกระทำการโดยสุจริต เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งว่าในวันที่รถกระบะถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้เป็นของกลางนั้น กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของ ห. หาใช่เป็นของผู้ร้องแต่อย่างใดไม่ ผู้ร้องเพิ่งได้กรรมสิทธิ์ในรถกระบะของกลางภายหลังจากการกระทำความผิดเกิดขึ้น ซึ่งขณะนั้นเจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุมจำเลยทั้งเจ็ดพร้อมทั้งยึดรถกระบะของกลางไว้แล้ว การที่ผู้ร้องอ้างในคำร้องคัดค้านว่า ตลอดเวลานับตั้งแต่ผู้ร้องได้รับมอบทรัพย์สินดังกล่าวจากผู้ขาย ผู้ร้องได้ใช้รถกระบะของกลางอย่างสุจริตและเปิดเผยมาโดยตลอดนั้น จึงเป็นเหตุผลที่ขัดกันเอง พฤติการณ์ตามคำร้องส่อให้เห็นว่า ผู้ร้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริต กรณีมิใช่การร้องขอคืนทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดไว้เพราะเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในกระบวนการตามมาตรา 22, 27, 29 (2) ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าพอวินิจฉัยได้และให้งดการไต่สวนพยานของผู้ร้องและมีคำสั่งให้ริบรถกระบะของกลางนั้นชอบแล้ว
การร้องคัดค้านและขอคืนทรัพย์สินที่ถูกยึดตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 30 เป็นการใช้สิทธิทางศาลอย่างหนึ่ง ผู้ร้องต้องกระทำการโดยสุจริต เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดแจ้งว่าในวันที่รถกระบะถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้เป็นของกลางนั้น กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของ ห. หาใช่เป็นของผู้ร้องแต่อย่างใดไม่ ผู้ร้องเพิ่งได้กรรมสิทธิ์ในรถกระบะของกลางภายหลังจากการกระทำความผิดเกิดขึ้น ซึ่งขณะนั้นเจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุมจำเลยทั้งเจ็ดพร้อมทั้งยึดรถกระบะของกลางไว้แล้ว การที่ผู้ร้องอ้างในคำร้องคัดค้านว่า ตลอดเวลานับตั้งแต่ผู้ร้องได้รับมอบทรัพย์สินดังกล่าวจากผู้ขาย ผู้ร้องได้ใช้รถกระบะของกลางอย่างสุจริตและเปิดเผยมาโดยตลอดนั้น จึงเป็นเหตุผลที่ขัดกันเอง พฤติการณ์ตามคำร้องส่อให้เห็นว่า ผู้ร้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริต กรณีมิใช่การร้องขอคืนทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดไว้เพราะเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในกระบวนการตามมาตรา 22, 27, 29 (2) ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าพอวินิจฉัยได้และให้งดการไต่สวนพยานของผู้ร้องและมีคำสั่งให้ริบรถกระบะของกลางนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3245/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: ต้องมีมูลความผิดฐานจำหน่ายหรือครอบครองเพื่อจำหน่ายเท่านั้น
โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและเสพเมทแอมเฟตามีน แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำเลยข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและเสพเมทแอมเฟตามีน ยกฟ้องข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายคดีถึงที่สุด โดยที่ พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 3 ให้บทนิยามคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หมายความว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด และให้หมายความรวมถึงการสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ หรือพยายามกระทำความผิดดังกล่าวด้วย" มาตรา 27 วรรคหนึ่ง "...เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ก็ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินนั้น..." และมาตรา 29 วรรคหนึ่ง "บรรดาทรัพย์สินซึ่งพนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง นั้น ให้ศาลไต่ส่วนหากคดีมีมูลว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้ศาลริบทรัพย์สินนั้น..." การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและเสพเมทแอมเฟตามีน จึงมิได้อยู่ในความหมายของคำว่า "ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด" ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ ในอันที่จะขอให้ริบเงิน 130,000 บาท ของกลาง ตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ริบเงิน 130,000 บาท ของกลางให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 29, 31 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2027/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินของกลางในคดีเหมืองแร่: ผู้คัดค้านต้องยกประเด็นการใช้เครื่องมือในการกระทำผิดตั้งแต่ศาลชั้นต้น
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านแต่เพียงว่า ผู้คัดค้านเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ของกลาง และไม่มีโอกาสทราบหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า จำเลยทั้งสี่จะนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้กระทำความผิด ทั้งผู้คัดค้านได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันไม่ให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นเท่านั้น ไม่มีประเด็นว่ารถแทรกเตอร์ (แบ็กโฮ) ของกลาง เป็นเครื่องมือที่จำเลยทั้งสี่ใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่ การที่ผู้คัดค้านเพิ่งกล่าวในชั้นอุทธรณ์ว่าพยานที่เห็นรถแทรกเตอร์ (แบ็กโฮ) ดังกล่าวในที่เกิดเหตุมีเหตุโกรธเคืองกับผู้คัดค้านมาก่อน จึงรับฟังไม่ได้ว่ารถแทรกเตอร์ (แบ็กโฮ) ดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำความผิด ถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยในปัญหานี้ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: ผลของการยกฟ้องจำเลย และสิทธิในการคัดค้านของภริยา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ผู้ถูกฟ้องว่าเป็นเจ้าพนักงานร่วมกับพวกกระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติด และทรัพย์สินของผู้คัดค้านผู้เป็นภริยาของจำเลยที่ 3 รวม 7 รายการ เนื่องจากเป็นทรัพย์สิน ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด โดยขอให้ริบตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 3, 15, 22, 27, 29, 31 ซึ่งตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 32 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องผู้ต้องหาหรือจำเลยรายใดให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้น รวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้ เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นสิ้นสุดลง?" ดังนั้น เมื่อปรากฏหลักฐานว่า ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษา อันเป็นที่สุดให้ยกฟ้องจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงมีผลให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินทั้ง 7 รายการของผู้คัดค้านและจำเลยที่ 3 สิ้นสุดลงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ตามกฎหมายให้บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินเข้ามาในคดี คงมีแต่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านเพียงผู้เดียว โดยจำเลยที่ 3 มิได้ยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีตามกระบวนการแห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปราม ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 28, 29 แม้ผู้คัดค้านจะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ จำเลยที่ 3 ก็ไม่อาจขอคืนทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 แทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8939/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด ไม่ผูกติดกับคำพิพากษาลงโทษ จำเป็นต้องมีการไต่สวนความเกี่ยวข้องของทรัพย์สิน
การขอให้ริบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 มุ่งประสงค์จะให้ริบทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเป็นหลัก โดยไม่คำนึงว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ การจะได้ความว่าทรัพย์สินดังกล่าวเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือไม่ ย่อมจะต้องผ่านกระบวนการไต่สวนในเบื้องต้นเสียก่อนว่าทรัพย์สินดังกล่าวเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือไม่ ซึ่งเป็นคนละส่วนกับคดีที่ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดถูกฟ้องอันเป็นคดีหลัก ตามถ้อยคำแห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 จึงบัญญัติข้อความแยกต่างหากจากการริบทรัพย์สินและขอคืนทรัพย์สิน ตามมาตรา 36 แห่ง ป.อ. ทั้งห้ามมิให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่า คดีที่ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดถูกฟ้องเป็นคดีหลักและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่ารถกระบะของกลางเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงให้งดไต่สวนและยกคำร้องมานั้นไม่ชอบ