พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5276/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกชำระค่าหุ้นค้างชำระ การริบหุ้น และการขายทอดตลาดหุ้นของผู้ถือหุ้น
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1119 และ 1120 เมื่อได้ชำระเงินค่าหุ้นงวดแรกแล้ว เงินค่าหุ้นยังค้างชำระอยู่อีกเท่าใด กรรมการมีอำนาจเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งชำระให้ครบถ้วนทีเดียว หรือจะแบ่งออกเป็นงวดให้ส่งเมื่อใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังดำรงอยู่ เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่จะได้วินิจฉัยให้ทำอย่างอื่น เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังค้างชำระเงินค่าหุ้นอีกหุ้นละ 75 บาท จำนวน 4,500 หุ้นดังนั้น กรรมการของโจทก์จึงมีอำนาจเรียกให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นที่ยังค้างส่งเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ดุลพินิจของกรรมการ และปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกเงินค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นคนอื่นด้วย แม้จำเลยได้ฟ้องกรรมการผู้จัดการของโจทก์ขอแบ่งเงินค่าตอบแทนจากโจทก์ คดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์จึงได้ฟ้องเรียกค่าหุ้นจากจำเลยเป็นคดีนี้ ก็จะถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกลั่นแกล้งฟ้องจำเลยไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกฎหมาย
ประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเกี่ยวกับคำบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้น การริบหุ้น การขายทอดตลาดหุ้น และความรับผิดของจำเลยนั้น ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า จำเลยไม่ได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ชำระเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระ ซึ่งโจทก์ได้แจ้งจำเลยล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 21 วัน หนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นพร้อมดอกเบี้ยและข้อแถลงถึงการริบหุ้น กับหนังสือบอกกล่าวถึงการริบหุ้นของจำเลย ซึ่งโจทก์ได้ส่งให้จำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามเอกสารหมาย จ.1 จ.2 จ.3จึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทั้ง 3 ฉบับ แล้วจำเลยเพิกเฉย ตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ถือได้ว่า โจทก์ได้ดำเนินการตาม ป.พ.พ.มาตรา 1121, 1123,1124 แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิริบหุ้นของจำเลยออกขายทอดตลาดได้ตามมาตรา 1125
ป.พ.พ.มาตรา 1125 บัญญัติแต่เพียงว่า หุ้นซึ่งริบแล้วให้เอาออกขายทอดตลาดโดยไม่ชักช้า เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้โฆษณาบอกการขายทอดตลาดแล้ว และโจทก์เป็นผู้ขายทอดตลาดหุ้น แม้ผู้เข้าสู้ราคาจะเป็นเครือญาติของกรรมการผู้จัดการของโจทก์ ก็ไม่ได้ความว่าเป็นการกระทำแทนโจทก์ จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 512 ที่ห้ามมิให้ผู้ขายเข้าสู้ราคาเอง และไม่ปรากฏว่าโจทก์ขายทอดตลาดหุ้นของจำเลยโดยมีพฤติการณ์ไม่สุจริตอย่างไร จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ขายทอดตลาดหุ้นของจำเลยโดยชอบแล้ว และเมื่อขายทอดตลาดได้เงินน้อยกว่าเงินค่าหุ้นและดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเอาจากจำเลยผู้ถือหุ้นได้
ประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเกี่ยวกับคำบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้น การริบหุ้น การขายทอดตลาดหุ้น และความรับผิดของจำเลยนั้น ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า จำเลยไม่ได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ชำระเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระ ซึ่งโจทก์ได้แจ้งจำเลยล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 21 วัน หนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นพร้อมดอกเบี้ยและข้อแถลงถึงการริบหุ้น กับหนังสือบอกกล่าวถึงการริบหุ้นของจำเลย ซึ่งโจทก์ได้ส่งให้จำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามเอกสารหมาย จ.1 จ.2 จ.3จึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทั้ง 3 ฉบับ แล้วจำเลยเพิกเฉย ตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ถือได้ว่า โจทก์ได้ดำเนินการตาม ป.พ.พ.มาตรา 1121, 1123,1124 แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิริบหุ้นของจำเลยออกขายทอดตลาดได้ตามมาตรา 1125
ป.พ.พ.มาตรา 1125 บัญญัติแต่เพียงว่า หุ้นซึ่งริบแล้วให้เอาออกขายทอดตลาดโดยไม่ชักช้า เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้โฆษณาบอกการขายทอดตลาดแล้ว และโจทก์เป็นผู้ขายทอดตลาดหุ้น แม้ผู้เข้าสู้ราคาจะเป็นเครือญาติของกรรมการผู้จัดการของโจทก์ ก็ไม่ได้ความว่าเป็นการกระทำแทนโจทก์ จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 512 ที่ห้ามมิให้ผู้ขายเข้าสู้ราคาเอง และไม่ปรากฏว่าโจทก์ขายทอดตลาดหุ้นของจำเลยโดยมีพฤติการณ์ไม่สุจริตอย่างไร จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ขายทอดตลาดหุ้นของจำเลยโดยชอบแล้ว และเมื่อขายทอดตลาดได้เงินน้อยกว่าเงินค่าหุ้นและดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเอาจากจำเลยผู้ถือหุ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5276/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกชำระค่าหุ้น, การริบหุ้น, การขายทอดตลาดหุ้น และความรับผิดของผู้ถือหุ้นค้างชำระ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1119และ1120เมื่อได้ชำระเงินค่าหุ้นงวดแรกแล้วเงินค่าหุ้นยังค้างชำระอยู่อีกเท่าใดกรรมการมีอำนาจเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งชำระให้ครบถ้วนทีเดียวหรือจะแบ่งออกเป็นงวดให้ส่งเมื่อใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังดำรงอยู่เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่จะได้วินิจฉัยให้ทำอย่างอื่นเมื่อปรากฏว่าจำเลยยังค้างชำระเงินค่าหุ้นอีกหุ้นละ75บาทจำนวน4,500หุ้นดังนั้นกรรมการของโจทก์จึงมีอำนาจเรียกให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นที่ยังค้างส่งเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ดุลพินิจของกรรมการและปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกเงินค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นคนอื่นด้วยแม้จำเลยได้ฟ้องกรรมการผู้จัดการของโจทก์ขอแบ่งเงินค่าตอบแทนจากโจทก์คดียังไม่ถึงที่สุดโจทก์จึงได้ฟ้องเรียกค่าหุ้นจากจำเลยเป็นคดีนี้ก็จะถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกลั่นแกล้งฟ้องจำเลยไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกฎหมาย ประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเกี่ยวกับคำบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นการริบหุ้นการขายทอดตลาดหุ้นและความรับผิดของจำเลยนั้นในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ชำระเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระซึ่งโจทก์ได้แจ้งจำเลยล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า21วันหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นพร้อมดอกเบี้ยและข้อแถลงถึงการริบหุ้นกับหนังสือบอกกล่าวถึงการริบหุ้นของจำเลยซึ่งโจทก์ได้ส่งให้จำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามเอกสารหมายจ.1จ.2จ.3จึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทั้ง3ฉบับแล้วจำเลยเพิกเฉยตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าถือได้ว่าโจทก์ได้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1121,1123,1124แล้วโจทก์จึงมีสิทธิริบหุ้นของจำเลยออกขายทอดตลาดได้ตามมาตรา1125 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1125บัญญัติแต่เพียงว่าหุ้นซึ่งริบแล้วให้เอาออกขายทอดตลาดโดยไม่ชักช้าเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้โฆษณาบอกกล่าวขายทอดตลาดแล้วและโจทก์เป็นผู้ขายทอดตลาดหุ้นแม้ผู้เข้าสู้ราคาจะเป็นเครือญาติของกรรมการผู้จัดการของโจทก์ก็ไม่ได้ความว่าเป็นการกระทำแทนโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา512ที่ห้ามมิให้ผู้ขายเข้าสู้ราคาเองและไม่ปรากฏว่าโจทก์ขายทอดตลาดหุ้นของจำเลยโดยมีพฤติการณ์ไม่สุจริตอย่างไรจึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ขายทอดตลาดหุ้นของจำเลยโดยชอบแล้วและเมื่อขายทอดตลาดได้เงินน้อยกว่าเงินค่าหุ้นและดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเอาจากจำเลยผู้ถือหุ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้ในการริบหุ้นและฟ้องชำระหนี้ส่วนที่ขาด แม้การขายทอดตลาดได้เงินน้อยกว่าหนี้
จำเลยจองซื้อหุ้นของโจทก์แล้วไม่ชำระค่าหุ้นตามที่โจทก์เรียกให้ส่งโจทก์จึงริบหุ้นของจำเลยและเอาออกขายทอดตลาดแต่ได้เงินน้อยกว่ามูลค่าหุ้นที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าหุ้นส่วนที่ยังขาดอยู่แก่โจทก์ได้ตามรูปการแห่งหนี้ทั่วไป
ป.พ.พ. มาตรา 511, 512 ห้ามผู้ทอดตลาดหรือผู้ขายเข้าสู้ราคา หรือใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาด แม้บริษัท ม. ผู้ซื้อหุ้นของจำเลยได้จากการขายทอดตลาดจะเป็นบริษัทที่ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ถือหุ้นในบริษัทโจทก์ด้วย หรือเป็นบริษัทในเครือบริษัทโจทก์ก็ตาม แต่บริษัท ม.ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัทโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ใช้ให้บริษัท ม.หรือลูกจ้างโจทก์หรือบุคคลอื่นใดเข้าประมูลสู้ราคาแทนโจทก์การขายทอดตลาดหุ้นดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ดำเนินการขายทอดตลาดตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ไว้ ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ดำเนินการขายทอดตลาดโดยไม่ชอบอย่างไร จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ป.พ.พ. มาตรา 511, 512 ห้ามผู้ทอดตลาดหรือผู้ขายเข้าสู้ราคา หรือใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาด แม้บริษัท ม. ผู้ซื้อหุ้นของจำเลยได้จากการขายทอดตลาดจะเป็นบริษัทที่ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ถือหุ้นในบริษัทโจทก์ด้วย หรือเป็นบริษัทในเครือบริษัทโจทก์ก็ตาม แต่บริษัท ม.ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัทโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ใช้ให้บริษัท ม.หรือลูกจ้างโจทก์หรือบุคคลอื่นใดเข้าประมูลสู้ราคาแทนโจทก์การขายทอดตลาดหุ้นดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ดำเนินการขายทอดตลาดตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ไว้ ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ดำเนินการขายทอดตลาดโดยไม่ชอบอย่างไร จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการยึดหุ้น: สิทธิของเจ้าหนี้ vs. สิทธิของบริษัทในการริบหุ้น
การที่บริษัทจำกัดจะริบหุ้นของผู้ถือหุ้นที่ยังค้างชำระเงินค่าหุ้นเอาออกขายทอดตลาดนั้น จะต้องปฏิบัติการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้บริบูรณ์เสียก่อน มิฉะนั้นต้องถือว่าหุ้นนั้นยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ถือหุ้นอยู่ ซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ถือหุ้นมีอำนาจขอให้ศาลสั่งยึดหรืออายัดหุ้นนั้นได้
ชั้นบังคับคดี เมื่อยังมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอยู่ ศาลอาจไม่สั่งให้ดำเนินการไต่สวน แต่สั่งให้ไปฟ้องกันเป็นคดีใหม่ก็ได้ ในเมื่อเห็นว่าอาจมีเหตุอย่างอื่นที่เป็นข้อยุ่งยากและไม่สะดวกแก่ศาลและคู่ความทุกฝ่าย
ชั้นบังคับคดี เมื่อยังมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอยู่ ศาลอาจไม่สั่งให้ดำเนินการไต่สวน แต่สั่งให้ไปฟ้องกันเป็นคดีใหม่ก็ได้ ในเมื่อเห็นว่าอาจมีเหตุอย่างอื่นที่เป็นข้อยุ่งยากและไม่สะดวกแก่ศาลและคู่ความทุกฝ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการยึดหุ้นค้างชำระ: สิทธิของเจ้าหนี้และบริษัทจำกัดในการริบหุ้น
การที่บริษัทจำกัดจะริบหุ้นของผู้ถือหุ้นที่ยังค้างชำระเงินค่าหุ้นเอาออกขายทอดตลาดนั้นจะต้องปฏิบัติการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้บริบูรณ์เสียก่อนมิฉะนั้นต้องถือว่าหุ้นนั้นยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ถือหุ้นอยู่ซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ถือหุ้นมีอำนาจขอให้ศาลสั่งยึดหรืออายัดหุ้นนั้นได้
ชั้นบังคับคดี เมื่อยังมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอยู่ศาลอาจไม่สั่งให้ดำเนินการไต่สวน แต่สั่งให้ไปฟ้องกันเป็นคดีใหม่ก็ได้ในเมื่อเห็นว่าอาจมีเหตุอย่างอื่นที่เป็นข้อยุ่งยากและไม่สะดวกแก่ศาลและคู่ความทุกฝ่าย
ชั้นบังคับคดี เมื่อยังมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอยู่ศาลอาจไม่สั่งให้ดำเนินการไต่สวน แต่สั่งให้ไปฟ้องกันเป็นคดีใหม่ก็ได้ในเมื่อเห็นว่าอาจมีเหตุอย่างอื่นที่เป็นข้อยุ่งยากและไม่สะดวกแก่ศาลและคู่ความทุกฝ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าหุ้นหลังการริบหุ้น: ผู้ถือหุ้นยังคงมีภาระผูกพัน แม้จะริบหุ้นไปแล้ว
เงินค่าหุ้นส่วนต้องชำระเต็ม บริษัทริบหุ้นแล้วขายไม่ได้ ผู้ถือหุ้นต้องชำระค่าหุ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเรียกค่าหุ้นเพิ่มเติมและการริบหุ้นกรณีผู้ถือหุ้นไม่ชำระค่าหุ้นตามสัญญา
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1120 บรรดาเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกนั้น กรรมการจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เสียเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่จะได้วินิจฉัยเป็นอย่างอื่น เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ไม่ชำระค่าหุ้นอีกร้อยละ 75 ที่จองซื้อไว้ตามที่กรรมการโจทก์เรียกร้อง โจทก์ย่อมมีสิทธิริบหุ้นที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จองซื้อไว้โดยไม่จำต้องรอให้ที่ประชุมใหญ่ของโจทก์จัดประชุมใหญ่เพื่อวินิจฉัยในเรื่องนี้เพราะบทบัญญัติของกฎหมายมิได้ให้สิทธิจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ที่จะจัดให้มีการการจัดประชุมใหญ่เสียก่อนจึงจะชำระค่าหุ้นเพิ่มเติมตามที่โจทก์เรียกร้อง นอกจากนี้ยังปรากฏตามรายงานการประชุมใหญ่ของโจทก์ในวันที่ 25 สิงหาคม 2549 ก็ไม่ปรากฏว่าที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยเป็นอย่างอื่นในลักษณะการลงมติมิให้โจทก์เรียกเก็บค่าหุ้นเพิ่มเติม ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิริบหุ้นของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระค่าหุ้นเพิ่มเติมซึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จะต้องรับผิดค่าหุ้นเพิ่มเติมรวมทั้งดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแข่งขันทางการค้าโดยผู้ถือหุ้น, การริบหุ้นเป็นค่าเสียหาย, และความชอบธรรมของข้อตกลงระหว่างผู้ถือหุ้น
จำเลยเปิดบริษัท ท. ประกอบกิจการอันเป็นการค้าขายแข่งขันกับบริษัทโจทก์ อันเป็นข้อห้ามที่ระบุในกฎผู้ถือหุ้น การที่จำเลยถูกริบหุ้นนำออกขายทอดตลาดเพื่อชำระค่าเสียหายแก่โจทก์นั้น ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า กฎผู้ถือหุ้น ข้อ 6. ระบุถึงผลแห่งการที่ผู้ถือหุ้นทำการก่อตั้งบริษัทซึ่งกระทำธุรกิจประเภทเดียวกันกับบริษัทซึ่งส่งผลให้บริษัทเกิดความเสียหายว่า ผู้ถือหุ้นดังกล่าวยินยอมให้ริบหุ้นส่วนทั้งหมดที่ครอบครองอยู่และยินยอมชดใช้ค่าปรับอีกหนึ่งร้อยเท่าของความเสียหายที่ประเมินได้ และหรือความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินได้ซึ่งความเสียหายประเภทนี้จะใช้การคาดการณ์ความเสียหายเป็นมูลค่าแทน ข้อตกลงเช่นนี้เป็นการกำหนดให้ผู้ถือหุ้นต้นเหตุหมดสิทธิจากบริษัทอันเป็นการชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัทเมื่อผู้ถือหุ้นนั้นล่วงละเมิดข้อตกลงในระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกันที่จะไม่กระทำการค้าขายแข่งขันกับบริษัท ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากความสมัครใจและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่ตกเป็นโมฆะ สามารถใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585-586/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสิ้นสุดเมื่อผู้ถือหุ้นถูกริบหุ้นและบริษัทแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน
ขณะยื่นคําฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นโจทก์มีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลย โดยอ้างว่าจำเลยจัดประชุมเพื่อเพิ่มทุนจดทะเบียนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แย่งสิทธิการถือหุ้นและอำนาจบริหารของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงจึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ แต่เมื่อระหว่างพิจารณาได้ความว่า จำเลยริบหุ้นของโจทก์ทั้งหมดออกขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2556 เนื่องจากโจทก์ค้างชําระค่าหุ้น ต่อมาโจทก์ได้ขอรับเงินค่าหุ้นส่วนที่เหลือจากการขาดทอดตลาดแล้ว และคดีอาญาซึ่งโจทก์ฟ้องจำเลยและกรรมการจำเลยว่าร่วมกันลักทรัพย์โดยการริบหุ้นของโจทก์ทั้งหมดและนําหุ้นดังกล่าวออกขายทอดตลาดและรับของโจร ศาลฎีกามีคําพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยและกรรมการจำเลยไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์และรับของโจร โจทก์จึงไม่มีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยอีกต่อไป ทั้งข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้จัดการจำเลยแล้วก่อนที่จะมีการจัดประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นตามฟ้อง จึงถือว่าโจทก์ไม่มีส่วนได้เสียโดยตรงที่จะยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นในคดีนี้อีกต่อไป อำนาจฟ้องของโจทก์จึงหมดลง
นอกจากนี้ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2554 ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 โดยขอให้ใช้จำนวนและอำนาจกรรมการชุดเดิมก่อนวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 มีผลบังคับและมีอำนาจต่อไป ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 จำเลยจดทะเบียนแปรสภาพเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด กรรมการชุดเดิมซึ่งถูกแต่งตั้งตามมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 จึงหมดสภาพไปแล้วเนื่องจากจำเลยได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และได้มีการเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่แล้ว คําขอท้ายฟ้องของโจทก์จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จะบังคับคดีให้เป็นไปได้อีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคําขอท้ายฟ้องได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
นอกจากนี้ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2554 ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 โดยขอให้ใช้จำนวนและอำนาจกรรมการชุดเดิมก่อนวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 มีผลบังคับและมีอำนาจต่อไป ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557 จำเลยจดทะเบียนแปรสภาพเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทมหาชนจำกัด กรรมการชุดเดิมซึ่งถูกแต่งตั้งตามมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 จึงหมดสภาพไปแล้วเนื่องจากจำเลยได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และได้มีการเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่แล้ว คําขอท้ายฟ้องของโจทก์จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จะบังคับคดีให้เป็นไปได้อีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคําขอท้ายฟ้องได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้