คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รื้อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในลำเหมืองที่ขุดขึ้นเอง: การรื้อสิ่งกีดขวางเพื่อป้องกันความเสียหายชอบด้วยกฎหมาย แม้ทำให้ผู้อื่นเสียหาย
เหมืองพิพาทเป็นลำเหมืองที่จำเลยกับพวกช่วยกันขุดและจำเลยได้ครอบครองโดยใช้น้ำจากเหมืองพิพาทตลอดมาแม้โจทก์จะได้ครอบครองและแจ้งการครอบครองที่ดินของโจทก์ทั้งสองฟากเหมืองพิพาท ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะถือได้ว่าเหมืองพิพาทเป็นของโจทก์
เมื่อโจทก์ได้ปิดกั้นลำเหมืองพิพาทเป็นเหตุให้พวกจำเลยไม่มีน้ำใช้ทำนาพวกจำเลยจึงได้รื้อออก เช่นนี้ เป็น การกระทำเพื่อป้องกันความเสียหายโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยหาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างรุกล้ำ ยินยอมไม่สร้างสิทธิถาวร จำเลยต้องรื้อเมื่อโจทก์แจ้ง
การปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในเขตห้องของโจทก์ โดยโจทก์ยินยอม แม้จะไม่เป็นการละเมิด แต่ก็ไม่ทำให้เกิดมีสิทธิที่ให้สิ่งปลูกสร้างรุกล้ำอยู่ได้ตลอดไป เมื่อจำเลยรับโอนห้องที่รุกล้ำมาและไม่มีสิทธิที่จะให้สิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเขตห้องของโจทก์ได้จำเลยก็ต้องรื้อไป เมื่อโจทก์มีสิทธิและบอกให้รื้อ จำเลยไม่รื้อการซึ่งไม่เป็นละเมิดก็กลายเป็นละเมิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสิ่งปลูกสร้าง: ผู้รับซื้อฝากรื้อแล้วมีสิทธิก่อนผู้รับซื้อฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างภายหลัง
ผู้รับซื้อฝากเฉพาะสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและจดทะเบียนที่อำเภอโดยชอบก่อน ทั้งได้รื้อไปแล้ว เพราะผู้ขายฝากมิได้ไถ่คืน ย่อมมีสิทธิในทรัพย์สิ่งปลูกสร้างดีกว่าผู้รับซื้อฝากที่ดินพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างซึ่งรับซื้อฝากไว้ภายหลังโดยสุจริตและจดทะเบียนที่หอทะเบียนโดยชอบ(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความคุ้มครองผู้เช่าเคหะฯ แม้มีคำสั่งรื้อ – ผู้ให้เช่าฟ้องขับไล่ไม่ได้
ผู้เช่าเคหะอยู่อาศัยนั้นย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ แม้ทางการเทศบาลจะได้มีคำสั่งให้รื้อห้องเช่านั้นก็ดีก็หาทำให้ผู้ให้เช่าฟ้องขับไล่ผู้เช่าได้ไม่ผู้เช่ายังคงได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ เป็นปกติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายอำเภอสั่งรื้อการบุกรุกหนองน้ำสาธารณะ และความผิดตามกฎหมายอาญา
หนองน้ำที่เป็นที่สาธารณะประโยชน์สำหรับราษฎรใช้ด้วยกันและอยู่ในหน้าที่กรมการอำเภอตรวจตรารักษาไม่ให้ผู้ใดเกียดกันเอาไปเป็นอาณาประโยชน์แต่เฉพาะตัวตามความในมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 นั้น นายอำเภอย่อมมีอำนาจสั่งให้ผู้ที่ทำการบุกรุกหนองน้ำนั้นให้เลิกทำการบุกรุกได้ ถ้าผู้นั้นขัดขืน ก็ต้องมีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334 ข้อ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 710/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อและมุงหลังคาใหม่ไม่ถือเป็นการกระทำความผิดใหม่ตาม ม.336(2) หากสภาพเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
จำเลยปลูกห้องแถวรุกล้ำทางหลวงมาเกินกว่าปีหนึ่งแล้ว ภายหลังรื้อหลังคาจากแล้วมุงใหม่ดังนี้คดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี แต่แรกแล้วการที่จำเลยมามุงหลังคาใหม่ในภายหลังไม่เข้าเกณฑ์ตาม ม.336(2) ไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11118/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำลายทรัพย์สิน: การรื้อแล้วเผา ไม่ใช่เผาทรัพย์โดยตรง ศาลตัดสินผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
การที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 6 ร่วมกันรื้อโครงสร้างไม้ห้องแถวของผู้เสียหายมากองรวมกันไว้แล้วนำไปเผาทำลาย มิใช่เผาทำลายในขณะที่ทรัพย์ยังมีสภาพเป็นโครงสร้างไม้ห้องแถวอยู่ จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 6 มีเพียงเจตนาทำให้ทรัพย์นั้นใช้การไม่ได้โดยการรื้อออกมา ส่วนการเผาเป็นเพียงแค่การทำลายชิ้นส่วนที่รื้อออกมาจนตัวทรัพย์ซึ่งใช้การไม่ได้ไปแล้วเท่านั้น จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 6 จึงไม่มีเจตนาวางเพลิงเผาทรัพย์ การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 6 จึงเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 358 เพียงบทเดียว หาใช่เป็นความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 217 ด้วยไม่ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้