คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รุกล้ำพื้นที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4215/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำพื้นที่และบดบังทัศนียภาพ ทำให้เจ้าของที่ดินเสียหาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าอาจให้เช่าได้เดือนละ 60,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงเดือนละ 5,000 บาท โจทก์มิได้ฎีกา ส่วนจำเลยฎีกาโต้แย้งว่าค่าเสียหายควรต่ำกว่านั้น จึงถือได้ว่าเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่อาจให้เช่าได้ขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง ศาลฎีกาจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คำฟ้องโจทก์ตอนท้ายได้บรรยายแล้วว่า โจทก์ประสงค์จะนำที่ดินไปทำประโยชน์โดยทำเป็นท่าเรือขนส่งสินค้า จึงให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งบังหน้าที่ดินของโจทก์ทั้งหมดออกไป และบรรยายฟ้องต่อไปอีกว่า การที่จำเลยไม่รื้อถอนบ้านจำเลยบางส่วนแม้จะปลูกนอกเขตที่ดินโจทก์ แต่บังหน้าที่ดินทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้หน้าที่ดินที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาทำประโยชน์ได้ ขอให้รื้อถอนบ้านจำเลยบางส่วนออกไปจากหน้าที่ดินพิพาทด้านริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย เป็นกรณีที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่า การที่จำเลยใช้สิทธิปลูกบ้านในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้โจทก์เดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือควรคาดหมายได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1337 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์บังคับให้จำเลยรื้อถอนบ้านที่ปลูกบังหน้าที่ดินโจทก์ทั้งยังมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าทดแทนจากจำเลยได้อีก จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาในคดีรุกล้ำพื้นที่ชลประทาน: การบรรยายรายละเอียดสถานที่เกิดเหตุเพียงพอหรือไม่
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับสถานที่เกิดเหตุที่จำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำชานคลองเขตคันคลองชลประทานว่า อยู่บริเวณถนนสุขุมวิท หลักกิโลเมตรที่ 40 จำนวนเนื้อที่ 60 ตารางเมตรตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการเป็นการบรรยายถึงรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำผิดพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ดีแล้ว ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการชลประทานหลวงพ.ศ. 2485 มาตรา 23 พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2507 มาตรา 12 ส่วนพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485มาตรา 37 พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2507มาตรา 17 และพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2518 มาตรา 7 เป็นมาตราที่กำหนดโทษในการกระทำความผิดตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มิใช่มาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดที่โจทก์จะต้องบรรยายไว้ในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าที่ถูกรอนสิทธิจากการถูกรุกล้ำพื้นที่เช่า การฟ้องบังคับให้ผู้ให้เช่าส่งมอบพื้นที่
โจทก์เช่าที่ดินจากกรมการศาสนาโดยมีบ้านพิพาทซึ่งเป็นของจำเลยปลูกรุกล้ำอยู่ แม้โจทก์จะมีสิทธิอยู่อาศัยในบ้านพิพาทด้วยความยินยอมของจำเลย แต่โจทก์มิได้เข้าครอบครองหรือใช้ประโยชน์ในบ้านพิพาทหรือที่ดินส่วนที่บ้านพิพาทปลูกรุกล้ำแต่อย่างใด การที่โจทก์เสียค่าเช่าที่ดินเต็มตามจำนวนเนื้อที่ดินที่เช่าแก่กรมการศาสนา หาได้หมายความว่ากรมการศาสนาผู้ให้เช่าได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินส่วนที่บ้านพิพาทปลูกรุกล้ำอยู่นั้นให้แก่โจทก์แล้วไม่ ที่โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินเต็มเนื้อที่ที่เช่ามาจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะผู้เช่าถูกรอนสิทธิในทรัพย์ที่เช่า ชอบที่จะฟ้องร้องบังคับผู้ให้เช่าให้ส่งมอบที่ดินส่วนที่รุกล้ำให้โจทก์ การที่จำเลยไม่ยอมรื้อถอนบ้านพิพาทส่วนที่รุกล้ำถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เช่า: กรณีจำเลยรุกล้ำพื้นที่เช่าที่สิ่งปลูกสร้างมีอยู่ก่อน ผู้เช่าไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้เช่าไม่ได้เข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าการที่จะจัดการให้จำเลยผู้ซึ่งไม่ได้เช่าที่ดินส่วนนั้นรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าของที่ดิน ผู้เช่าไม่มีอำนาจฟ้อง (อ้างฎีกาที่ 774-776/2505)
เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ก็ต้องยกฟ้องโจทก์โดยไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาข้อโต้เถียงอื่นๆ ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตที่ดินพิพาท การซื้อขาย และสิทธิครอบครอง การรุกล้ำพื้นที่
เพียงแต่ชายคาเรือนยื่นเกินจากแนวเขตที่ดินของตนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น หาทำให้ที่ดินใต้ชายคาเป็นสิทธิแก่เจ้าของเรือนในทางครอบครองไม่