พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7631/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่มีรูปช้างเป็นองค์ประกอบ มิอาจตัดสิทธิผู้อื่นโดยเด็ดขาด หากเครื่องหมายมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 1 จะมีรูปช้างเป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าเช่นเดียวกัน แต่การนำรูปช้างซึ่งเป็นสัตว์ตามธรรมชาติหรือช้างเอราวัณซึ่งเป็นสัตว์ในวรรณคดีมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้านั้น บุคคลใดก็อาจนำไปใช้ได้การที่บุคคลใดเลือกนำรูปช้างหรือรูปช้างเอราวัณไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของตนก็มิได้หมายความว่าจะเป็นการตัดสิทธิบุคคลอื่นไม่ให้ใช้รูปช้างหรือรูปช้างหรือรูปช้างเอราวัณโดยเด็ดขาดเพียงแต่ผู้ที่จะนำรูปช้างหรือรูปช้างเอราวัณไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของตนในภายหลังจะต้องทำเครื่องหมายการค้าให้มีความแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้ใช้มาก่อนมากพอที่จะไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดสินค้าเมื่อส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 1 มีรูปลักษณะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดไม่มีเหตุที่จะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 1 ที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นสินค้าเจ้าของเดียวกันกับโจทก์หรือบริษัทในเครือของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ที่ขอจดทะเบียนไว้จึงไม่คล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ก่อนจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าอันจะถือว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มิใช่เครื่องหมายอันพึงรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 6 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7631/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า: การใช้รูปช้างเป็นเครื่องหมายการค้าต้องไม่ทำให้สาธารณชนสับสน
แม้เครื่องหมายการค้า และ ของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจะมีรูปช้างเป็นสาระสำคัญเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้า ของจำเลยที่ 1 แต่การนำรูปช้างซึ่งเป็นสัตว์ตามธรรมชาติหรือช้างเอราวัณซึ่งเป็นสัตว์ในวรรณคดีมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้านั้นบุคคลใดก็อาจนำไปใช้ได้ เพราะการที่บุคคลใดเลือกนำรูปช้างหรือรูปช้างเอราวัณไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของตนก็มิได้หมายความว่าจะเป็นการตัดสิทธิบุคคลอื่นไม่ให้ใช้รูปช้างหรือรูปช้างเอราวัณโดยเด็ดขาด เพียงแต่ผู้ที่จะนำรูปช้างหรือรูปช้างเอราวัณไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของตนในภายหลังจะต้องทำเครื่องหมายการค้าให้มีความแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้ใช้มาก่อนมากพอที่จะไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 มีข้อแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์หลายประการ ทั้งลักษณะของรูปช้างและส่วนประกอบอื่นของเครื่องหมายการค้าแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่า "TUSCO TRAFO" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 และมีขนาดใหญ่พอ ๆ กับรูปช้าง จึงเป็นจุดเด่น นับได้ว่าเป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าและอาจเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ได้ว่า ตราช้างทัสโก้ หรือตราทัสโก้ เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มีส่วนสำคัญที่สามารถสังเกตเห็นความแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยง่ายเช่นนี้ จึงไม่มีเหตุที่จะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 1 ที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวนั้นเป็นสินค้าเจ้าของเดียวกันกับของโจทก์หรือบริษัทในเครือของโจทก์แต่อย่างใด ดังนั้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ที่ขอจดทะเบียนไว้จึงไม่คล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ก่อนจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าอันจะถือว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มิใช่เครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 6 (3) ประกอบด้วยมาตรา 13
คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งอัตราค่าทนายความที่ศาลจะกำหนดให้แก่ผู้ชนะคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ต้องไม่เกิน 3,000 บาท ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ กำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยทั้งสิบเอ็ดเป็นเงินจำนวน 5,000 บาท จึงไม่ถูกต้อง
คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งอัตราค่าทนายความที่ศาลจะกำหนดให้แก่ผู้ชนะคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ต้องไม่เกิน 3,000 บาท ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ดังนั้น ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ กำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยทั้งสิบเอ็ดเป็นเงินจำนวน 5,000 บาท จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3246/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกัน แม้มีรูปช้างเป็นส่วนประกอบ และสินค้าต่างประเภท ศาลยืนคำพิพากษายกฟ้อง
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้ารูปช้างอยู่ภายในวงกลมประดิษฐ์เป็นรูปเพชร และคำว่าตราช้างเพชร ของจำเลยที่ 1 กับเครื่องหมายการค้ารูปช้างในวงกลมซ้อนกันสองชั้น มีคำในวงกลมรอบนอกว่า บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด และ THE SIAM CEMENT CO., LTD. กับคำอื่น ๆ ที่เป็นส่วนประกอบปลีกย่อยเครื่องหมายการค้ารูปช้างในวงกลม และรูปช้างในกรอบหกเหลี่ยมมีเส้นไขว้ มีคำว่า เครือซีเมนต์ไทย และเครื่องหมายการค้ารูปช้างในกรอบหกเหลี่ยมมีเส้นไขว้ของโจทก์ซึ่งจดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว จะเห็นได้ชัดว่ามีรูปลักษณะและคำไม่เหมือนกันโดยเฉพาะเครื่องหมายการค้ารูปช้างในกรอบหกเหลี่ยมมีเส้นไขว้ของโจทก์กับเครื่องหมายการค้ารูปช้างในวงกลมของโจทก์ ซึ่งเป็นวงกลมซ้อนกันสองชั้น มีคำในระหว่างวงกลมรอบนอกและรอบใน แต่เครื่องหมายการค้ารูปช้างของจำเลยที่ 1 อยู่ในวงกลมชั้นเดียว ไม่มีคำในวงกลม และมีรูปประดิษฐ์เพชรในวงกลม ซึ่งแตกต่างกัน และเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้ารูปช้างในวงกลมของโจทก์ แม้จะมีรูปช้างเป็นส่วนประกอบสาระสำคัญหรือจุดเด่นเช่นเดียวกัน แต่ช้างเป็นสัตว์ตามธรรมชาติ หากอยู่ในท่ายืน แล้วมองอย่างผิวเผินย่อมคล้ายกัน อย่างไรก็ตาม ก็ต้องพิจารณาส่วนประกอบที่เป็นสาระสำคัญหรือจุดเด่นอื่นของเครื่องหมายการค้าที่มีอยู่ด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มีรูปประดิษฐ์รูปเพชรแปดเหลี่ยมในวงกลม แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มี ส่วนเครื่องหมายการค้ารูปช้างในกรอบหกเหลี่ยมมีเส้นไขว้ของโจทก์ แม้มีรูปเหลี่ยมเช่นกัน แต่ก็มีหกเหลี่ยมและไม่อยู่ในวงกลมเช่นของจำเลยที่ 1 แม้โดยผิวเผินจะคล้ายในส่วนที่ว่าเป็นเครื่องหมายรูปช้างในกรอบเหลี่ยม แต่ก็แตกต่างกันในส่วนสาระสำคัญอื่นดังกล่าวข้างต้น สำหรับเสียงเรียกขาน แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะเรียกว่า ตราช้าง และสินค้าของโจทก์ที่ใช้เครื่องหมายการค้าเหล่านั้นจะเรียกว่า สินค้าตราช้าง แต่ช้างเป็นสัตว์ประจำชาติของไทย โอกาสที่สินค้าของผู้อื่นที่เรียกว่าสินค้าตราช้างก็อาจมีได้เพื่อให้เรียกชื่อกะทัดรัด และละข้อความต่อไปไว้ในฐานเป็นที่เข้าใจ โจทก์จะกล่าวอ้างว่าเสียงเรียกขานเหมือนกัน แล้วหวงกันผู้อื่นที่ใช้รูปช้างประกอบเป็นส่วนสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าไม่ให้ใช้หาได้ไม่ ในเมื่อส่วนประกอบสาระสำคัญอื่นของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ยังอาจทำให้เรียกขานว่าเป็นตราช้างเพชร ตามคำที่ใช้และขอจดทะเบียนได้ นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาที่ตัวสินค้า แม้โจทก์จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปช้างในกรอบหกเหลี่ยมมีเส้นไขว้ในจำพวก 50 (เก่า) ใช้กับสินค้าทั้งจำพวก (ยกเว้นกระดุม ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน ชอล์กขีดผ้า ชอล์กฝนหัวคิวบิลเลียด) ส่วนจำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ากับสินค้าพื้นรองเท้า หูรองเท้า ถุง กล้อง กระเป๋า และสินค้าทั้งมวลที่อยู่ในจำพวกนี้ ซึ่งเป็นสินค้าต่างชนิดกัน ทั้งได้ความว่า โจทก์ผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง มิได้ผลิตสินค้าประเภทรองเท้าออกจำหน่าย กลุ่มลูกค้าของโจทก์เป็นประชาชนที่ต้องการซื้อวัสดุก่อสร้างซึ่งเป็นคนละกลุ่มเป้าหมายของลูกค้าของจำเลยที่ 1 ฉะนั้น สาธารณชนผู้ใช้สินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงไม่อาจหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะใช้แพร่หลาย จึงเห็นว่าเครื่องหมายการ่คารูปช้างอยู่ในวงกลมประดิษฐ์เป็นรูปเพชร และคำว่า ตราช้างเพชร ตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ที่ยื่นขอจดทะเบียนไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้ารูปช้างในวงกลม และรูปช้างในกรอบหกเหลี่ยมของโจทก์ที่จดทะเบียนแล้วจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3)ฯ มาตรา 4 ประกอบ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 119 (2)