พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกต้องทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด บันทึกคำให้การฝ่ายเดียวไม่ถือเป็นการสละมรดกที่มีผลผูกพัน
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า ล. สละมรดกส่วนของตนให้แก่โจทก์เท่านั้น คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการแบ่งปันมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกมาตรา 1750 ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ
บันทึกคำให้การของศาลชั้นต้นที่ ล. ตอบทนายโจทก์ซักถามว่า "ที่ดินส่วนที่เหลือเป็นสิทธิของข้าฯ ที่จะได้ 5 ไร่ นั้น ข้าฯ ได้ยกให้เป็นของโจทก์แล้ว ข้าฯ ไม่ติดใจที่จะเรียกร้องอีก" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่การสละมรดก เพราะการสละมรดกตามความหมายใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 ต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด ทั้งบันทึกคำให้การฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของ ล. ฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินมรดกส่วนของ ล.
บันทึกคำให้การของศาลชั้นต้นที่ ล. ตอบทนายโจทก์ซักถามว่า "ที่ดินส่วนที่เหลือเป็นสิทธิของข้าฯ ที่จะได้ 5 ไร่ นั้น ข้าฯ ได้ยกให้เป็นของโจทก์แล้ว ข้าฯ ไม่ติดใจที่จะเรียกร้องอีก" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่การสละมรดก เพราะการสละมรดกตามความหมายใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 ต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด ทั้งบันทึกคำให้การฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของ ล. ฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินมรดกส่วนของ ล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนหุ้นโมฆะเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามรูปแบบกฎหมาย จำเลยต้องคืนเงินค่าหุ้นพร้อมดอกเบี้ย
สัญญาโอนหุ้น มีการลงลายมือชื่อจำเลยและโจทก์ไว้ จึงถือเป็นหลักฐานในการโอนหุ้น แต่เมื่อหุ้นของบริษัท บ. ทั้งหมดเป็นหุ้นสามัญชนิดระบุชื่อและยังไม่ได้ออกใบหุ้น ซึ่งการโอนหุ้นดังกล่าวต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 วรรคสอง ที่กำหนดแบบไว้ว่าถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ แล้วถือว่าเป็นโมฆะ เมื่อสัญญาโอนหุ้นระหว่างโจทก์และจำเลยไม่มีผู้ลงชื่อเป็นพยานรับรองลายมือการโอนหุ้นดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกต้องทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612การสละมรดกต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งหมายถึงนายอำเภอการมอบให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินจึงมิใช่การทำหนังสือสละมรดกที่มอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรานี้ บันทึกการสละมรดกโดยโจทก์ลงชื่อในช่องผู้ไม่รับมรดกและจำเลยลงชื่อในช่องผู้ขอรับมรดกเป็นการประนีประนอมยอมความในการสละมรดกถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612ประกอบมาตรา850แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย แม้การทวงถามหนี้ไม่เป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด แต่มีหลักฐานแสดงว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (9) เป็นเพียงข้อสันนิษฐานว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หาใช่บทบังคับให้โจทก์ต้องบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ก่อนฟ้องไม่เมื่อโจทก์นำสืบได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่โจทก์ฟ้อง แม้การทวงถามจะไม่ชอบด้วยมาตรา8 (9) โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องคดีล้มละลาย
ข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1237/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสัตยาบันการกระทำของตัวแทนที่ไม่เป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด ทำให้การบอกกล่าวบังคับจำนองชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ตั้ง ส. ทนายความผู้รับมอบอำนาจเป็นตัวแทนบอกกล่าวบังคับจำนองโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 แต่เมื่อ ส. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลย จำเลยได้รับแล้วไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของ ส.เป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำของส.ซึ่งเป็นตัวแทนแล้ว ถือได้ว่า ส. เป็นตัวแทนของโจทก์โดยชอบตามมาตรา 823 ซึ่งการตั้งตัวแทนลักษณะเช่นนี้ไม่ต้องทำเป็นหนังสือการบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3189/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมแบบธรรมดาต้องทำตามรูปแบบกฎหมาย หากไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด จะเป็นโมฆะ
พินัยกรรมแบบธรรมดาซึ่งผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน หากมิได้ทำขึ้นตามแบบที่บทกฎหมายบังคับไว้ย่อมตกเป็นโมฆะ ปัญหาในข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนี้เมื่อเป็นข้อกฎหมายที่เกิดจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ และแม้ฟ้องโจทก์จะไม่ได้บรรยายถึงเรื่องดังกล่าวไว้ชัดแจ้ง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฎีกาข้อนี้ของโจทก์ขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3636/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่านาต้องทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด (มาตรา 31(3) พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา) แม้ทั้งสองฝ่ายตกลงเลิกกันเอง
การเช่านาและการบอกเลิกการเช่านาพิพาทอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาพ.ศ.2517เมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่านาพิพาทก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาการเช่านาโดยจำเลยรับทราบและไม่ประสงค์จะเช่านาพิพาทเช่นกันจึงเป็นการแสดงเจตนาของทั้งสองฝ่ายว่าผู้ให้เช่านากับผู้เช่านาตกลงเลิกการเช่านาพิพาทซึ่งกรณีนี้มาตรา31(3)ของพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาพ.ศ.2517ให้ทำเป็นหนังสือต่อหน้านายอำเภอหรือผู้ที่นายอำเภอมอบหมายการเช่านาจึงจะสิ้นสุดลงก่อนกำหนดระยะเวลาเช่านาดังนั้นเมื่อหนังสือบอกเลิกการเช่านาพิพาทไม่ได้ทำต่อหน้านายอำเภอหรือผู้ที่นายอำเภอมอบหมายจึงไม่เป็นผลให้การเช่านาพิพาทสิ้นสุดลงก่อนกำหนดระยะเวลาเช่าการบอกเลิกสัญญาเช่าของโจทก์จึงไม่ชอบ พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาพ.ศ.2517เป็นกฎหมายพิเศษนอกเหนือกฎหมายธรรมดาจึงต้องบังคับตามกฎหมายพิเศษ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2213/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะภาพพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองที่ไม่ทำตามรูปแบบกฎหมาย และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อย
พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองที่ไม่ได้ทำต่อหน้าพยาน 2 คนเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1658 และย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1705 ปัญหาที่ว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะหรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแต่ศาลชั้นต้น เมื่อปรากฏต่อศาลฎีกาศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย/ขายฝากที่ไม่เป็นไปตามรูปแบบประมวลกฎหมายแพ่งฯ สิทธิเรียกร้องที่ดินคืนไม่มีผล
โจทก์กู้เงินจำเลยเอาที่นาให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยและเขียนสัญญามีความว่า 'ข้าพเจ้ามีความเต็มใจขายให้นางบุญเรืองเป็นราคา 50 บาทภายในกำหนด 6 เดือนตั้งแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไปต่อไปเมื่อหน้าเมื่อพ้นกำหนด 3 ปีแล้ว ถ้าข้าพเจ้าและบุตรหลานคนหนึ่งคนใดจะไถ่ถอนคิดดอกเบี้ยให้นางบุญเรืองตามราคาเงิน 50 บาท' นั้นข้อสัญญาที่ให้ไถ่คืนเป็นในทำนองไถ่คืนเช่นสัญญาขายฝาก ถ้าไม่ทำให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่องขายฝากแล้ว โจทก์จะฟ้องเอาที่ดินคืน โดยอาศัยข้อสัญญานี้หาได้ไม่ (ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ต้องทำตามรูปแบบกฎหมาย หากสัญญาไม่สมบูรณ์ สัญญาเดิมย่อมไม่ผูกพัน
สัญญาจะแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์แก่กันนั้น จักต้องมีหลักฐานดังที่บัญญัติไว้ใน ม.456 วรรค 2 จึงจะฟ้องร้องให้บังคับกันได้ การฟ้องคดีเพื่อเพิกถอนสัญญายกให้นั้นจักต้องอาศัยเหตุบกพร่องต่าง ๆ ตามลักษณทั่วไปของสัญญา เช่น ถูกข่มขู่หรือสำคัญผิดหรืออาศัยเหตุเนรคุณตาม ม.531 แห่งประมวลแพ่งฯ ประมวลวิธีพิจารณาแพ่ง ม.94 (ข) โจทก์ฟ้องคดีว่าได้ตกลงจะแลกเปลี่ยนที่ดินและตึกแถวกับจำเลยด้วยปากเปล่า โจทก์จึงไปทำหนังสือสัญญายกตึกแถวส่วนของโจทก์ให้จำเลย แต่ในหนังสือยกให้ไม่ปรากฎความข้อนี้เลย โจทก์จะสืบพะยานหลักฐานตามข้ออ้างในฟ้องของโจทก์มิได้เพราะเป็นการสืบเพิ่มเติมหรือแก็ไขสัญญายกให้