คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รูปแบบสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาตใช้เครื่องหมายการค้า/บริการที่ไม่ทำตามแบบไม่เป็นโมฆะ หากเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิหลายประการในระบบที่ซับซ้อน
ตามมาตรา 68 วรรคสอง บัญญัติให้สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน อันเป็นแบบแห่งนิติกรรม เมื่อไม่ทำตามแบบย่อมตกเป็นโมฆะ และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การไว้ก็มีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ได้
โจทก์เป็นเจ้าของชื่อทางการค้าคำว่า "คาลเท็กซ์" และ "สตาร์มาร์ท" และได้จดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการไว้ด้วย โจทก์เช่าที่ดินจากบุคคลภายนอกแล้วก่อสร้างสถานีบริการน้ำมัน แล้วได้ทำสัญญาการให้สิทธิดำเนินการสถานีบริการน้ำมันแก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าวระบุถึงข้อตกลงการให้สิทธิว่า โจทก์ให้สิทธิชนิดไม่ผูกขาดแก่จำเลยที่ 1 ที่จะดำเนินการในสถานีบริการน้ำมัน เพื่อประกอบธุรกิจจำหน่ายปลีกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของโจทก์ โดยโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เข้าไปในที่ดินและใช้สถานีบริการน้ำมัน รวมทั้งเครื่องมือภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดในสัญญานี้ และตามสัญญาข้อ 5 ระบุถึงค่าธรรมเนียมในการดำเนินการที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระตอบแทนแก่โจทก์ จากข้อสัญญาดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์เพียงตกลงให้สิทธิจำเลยที่ 1 เข้าดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมันของโจทก์ภายใต้ชื่อทางการค้าคำว่า "คาลเท็กซ์" ของโจทก์เท่านั้น ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่จำเลยที่ 1 ต้องซื้อจากโจทก์มาจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมันตามข้อสัญญาเป็นสินค้าของโจทก์เอง แม้จะมีการใช้เครื่องหมายการค้า "คาลเท็กซ์" ก็เป็นการใช้เครื่องหมายการค้าโดยโจทก์เองแล้วนำมาจำหน่ายให้แก่จำเลยที่ 1 เพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้าต่อไปเท่านั้น มิใช่กรณีที่จำเลยที่ 1 จัดหาผลิตภัณฑ์หรือสินค้ามาเอง แล้วจำเลยที่ 1 นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้กับสินค้าของจำเลยที่ 1 นั้นโดยโจทก์อนุญาตอันจะถือเป็นกรณีที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่อย่างใด สัญญาการให้สิทธิดำเนินกิจการสถานีบริการน้ำมัน จึงมิใช่สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า แม้จะไม่จดทะเบียนต่อนายทะเบียนก็หาตกเป็นโมฆะไม่
โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการให้บริการร้านค้าเพื่อให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ให้บริการแก่ลูกค้าภายใต้เครื่องหมายบริการคำว่า "สตาร์มาร์ท" ของโจทก์ ซึ่งหากสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายบริการไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนจะตกเป็นโมฆะเพราะไม่ทำตามแบบตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 68 วรรคสอง แต่ตามสัญญาดังกล่าวระบุข้อตกลงในการให้สิทธิโดยโจทก์เป็นเจ้าของระบบ "สตาร์มาร์ท" ซึ่งประกอบด้วย เครื่องหมายบริการ ชื่อทางการค้า สัญลักษณ์ การใช้สีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เครื่องมือ คู่มือการประกอบธุรกิจ โดยโจทก์ได้พัฒนาระบบดังกล่าวรวมถึงการกำหนดรูปแบบการจัดวาง การจำหน่ายสินค้า การขายปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ การส่งเสริมการขายและการโฆษณา การบริหารจัดการ และการฝึกอบรมพนักงานของผู้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ และโจทก์ตกลงอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เข้าดำเนินกิจการร้านสตาร์มาร์ทในสถานีบริการน้ำมันของโจทก์โดยใช้ระบบของโจทก์ จำเลยที่ 1 ต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์ สัญญานี้จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ให้สิทธิในระบบสตาร์มาร์ทแก่จำเลยที่ 1 หลายประเภท เพื่อให้ประโยชน์ตอบแทนต่อการที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่าตอบแทนแก่โจทก์ โดยเครื่องหมายคำว่า "สตาร์มาร์ท" เป็นเพียงสิทธิส่วนหนึ่งในสิทธิหลายประการในระบบสตาร์มาร์ทที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ประการอื่นนั้น คู่สัญญาได้แสดงเจตนาระบุชัดไว้แล้ว แสดงถึงพฤติการณ์ที่แยกได้ต่างหากจากสิทธิในการใช้เครื่องหมายบริการ ข้อตกลงส่วนอื่นจึงใช้บังคับได้ ไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 173
คำว่า "สตาร์มาร์ท" นอกจากเป็นเครื่องหมายบริการของโจทก์แล้ว ยังเป็นชื่อทางการค้าของโจทก์ โดยในส่วนของข้อตกลงเกี่ยวกับชื่อทางการค้าที่จำเลยที่ 1 ได้รับประโยชน์จากการอนุญาตให้ใช้โดยโจทก์นั้น ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำตามแบบแห่งนิติกรรม สัญญาที่เป็นการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมาย "สตาร์มาร์ท" จึงสมบูรณ์ ในส่วนของการอนุญาตให้ใช้ชื่อทางการค้าด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8504/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนดจึงจะมีผลผูกพัน
สัญญาจะซื้อจะขายตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ เป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง การรับฟังพยานหลักฐานในกรณีเช่นนี้ต้องอยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ.มาตรา 94 กล่าวคือจะนำพยานบุคคลมาสืบว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติมหรือนอกเหนือไปจากนี้ปรากฏในสัญญาจะซื้อจะขายไม่ได้
จำเลยสัญญาว่ายินยอมจะไปโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ เป็นสัญญาหรือคำมั่นว่าจะให้ทรัพย์สินซึ่งจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบังคับกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 526 แต่สัญญายินยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนและอากรแสตมป์: ประเด็นความแตกต่างของโจทก์และรูปแบบสัญญาที่ไม่ขัดกฎหมาย
กรณีจะเป็นฟ้องซ้อนได้นั้น จะต้องเป็นเรื่องโจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น เมื่อคดีก่อนของศาลชั้นต้นมีประเด็นเดียวกันกับคดีนี้ ว่าจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองหรือไม่ แต่คดีก่อนนั้น จำเลยที่ 1 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ส่วนคดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นจำเลย ดังนั้นคดีสองสำนวนดังกล่าวโจทก์จึงไม่ใช่บุคคลคนเดียวกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน เอกสารสัญญาเงินกู้และสัญญาค้ำประกันเป็นแบบพิมพ์ในกระดาษแผ่นเดียวกัน โดยด้านหน้าเป็นสัญญาเงินกู้ ด้านหลังเป็นสัญญาค้ำประกัน การที่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ต่อมาทางด้านหลังสัญญากู้เงิน ซึ่งไม่มีการทำสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลเอาไว้แสดงให้เห็นว่าเป็นการปิดเพิ่มเติมต่อจากด้านหน้า จึงไม่เป็นการฝ่าฝืน ป.รัษฎากรแต่ประการใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3636/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่านาต้องทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด (พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517) มิเช่นนั้นการบอกเลิกไม่ชอบ
การเช่านาและการบอกเลิกการเช่านาพิพาทอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 เมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่านาพิพาทก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาการเช่านา โดยจำเลยรับทราบและไม่ประสงค์จะเช่านาพิพาทเช่นกัน จึงเป็นการแสดงเจตนาของทั้งสองฝ่ายว่า ผู้ให้เช่านากับผู้เช่านาตกลงเลิกการเช่านาพิพาท ซึ่งกรณีนี้มาตรา 31 (3) ของพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 ให้ทำเป็นหนังสือต่อหน้านายอำเภอหรือผู้ที่นายอำเภอมอบหมาย การเช่านาจึงจะสิ้นสุดลงก่อนกำหนดระยะเวลาเช่านา ดังนั้น เมื่อหนังสือบอกเลิกการเช่านาพิพาทไม่ได้ทำต่อหน้านายอำเภอหรือผู้ที่นายอำเภอมอบหมายจึงไม่เป็นผลให้การเช่านาพิพาทสิ้นสุดลงก่อนกำหนดระยะเวลาเช่า การบอกเลิกสัญญาเช่าของโจทก์จึงไม่ชอบ
พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 เป็นกฎหมายพิเศษ นอกเหนือกฎหมายธรรมดา จึงต้องบังคับตามกฎหมายพิเศษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่าไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ ทนายความทำแทนผู้ให้เช่าได้
การบอกเลิกการเข่าตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 566 นั้น กฎหมายมิได้บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นทนายความมีหนังสือบอกเลิกการเช่าแทนผู้ให้เช่า จึงเป็นการสมบูรณ์ให้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายพร้อมไถ่คืนที่ไม่เป็นไปตามรูปแบบสัญญาขายฝาก ย่อมเป็นโมฆะ และสิทธิไถ่คืนใช้ไม่ได้
โจทก์กู้เงินจำเลยเอาที่นาให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยและเขียนสัญญามีความว่า 'ข้าพเจ้ามีความเต็มใจขายให้นางบุญเรืองเป็นราคา 50 บาทภายในกำหนด 6 เดือนตั้งแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไปต่อไปเมื่อหน้าเมื่อพ้นกำหนด 3 ปีแล้ว ถ้าข้าพเจ้าและบุตรหลานคนหนึ่งคนใดจะไถ่ถอนคิดดอกเบี้ยให้นางบุญเรืองตามราคา เงิน 50 บาท' นั้นข้อสัญญาที่ให้ไถ่คืนเป็นในทำนองไถ่คืนเช่นสัญญาขายฝากถ้าไม่ทำให้ถูกต้องตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่องขายฝากแล้ว โจทก์จะฟ้องเอาที่ดินคืนโดยอาศัยข้อสัญญานี้หาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่/92)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 693/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะแบ่งที่ดินต้องทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด หากไม่เป็นไปตามนั้น สัญญาเป็นโมฆะและใช้บังคับไม่ได้
ที่ดินจะแบ่งที่ดินให้หรือสัญญาปราณีประนอมต้องทำเปนหนังสือคู่สัญญาใช้กดนิ้วมือไม่มีพะยานรับรองใช้ไม่ได้ สัญญาทำไม่ถูกกฎหมายให้สัตยาบันไม่ได้