คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ร่วมรับผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าปลงศพของทายาทนอกกฎหมายที่ได้รับการรับรอง: อำนาจฟ้องและการร่วมรับผิดของจำเลย
สิทธิในการเรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคแรก เป็นสิทธิของผู้ที่เป็นทายาทจะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระทำละเมิดทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายภายใต้บังคับมาตรา 1649 และเมื่อโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกซึ่งเป็นบิดารับรองแล้ว จึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกตามมาตรา 1627 มีสิทธิฟ้องเรียกค่าปลงศพของเจ้ามรดก และเมื่อโจทก์ทั้งสี่ร่วมกันฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในการปลงศพดังกล่าว จึงไม่จำเป็นต้องระบุว่าโจทก์คนใดเป็นผู้ที่ออกค่าใช้จ่ายส่วนนี้จึงจะมีอำนาจฟ้องได้ โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในการปลงศพได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5577/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีโรงเรือนค้างชำระ: เจ้าของใหม่ร่วมรับผิดเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ แม้พ้น 4 เดือน
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 45 บัญญัติว่า "ถ้าค่าภาษีค้างอยู่และยังมิได้ชำระขณะเมื่อทรัพย์สินได้โอนกรรมสิทธิ์ไปเป็นเจ้าของคนใหม่โดยเหตุใดๆ ก็ตาม ท่านว่าเจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกัน" การที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน จึงเป็นเงินภาษีค้างชำระ ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 2 และในวันเดียวกันจำเลยที่ 2 โอนให้แก่จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 โอนให้แก่จำเลยที่ 4 เป็นทอดๆ ไป ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงตกอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของคนเก่าและคนใหม่ อันต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีค้างร่วมกันกับจำเลยที่ 1 โดยมิพักต้องคำนึงว่าการโอนกรรมสิทธิ์ในโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้มีขึ้นก่อนหรือภายหลังจากครบกำหนด 4 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมรับผิดในสัญญา แม้ไม่ได้ลงชื่อ แต่รู้เห็นยินยอมและมีส่วนได้ประโยชน์
จำเลยที่ 1 เป็นสามีจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญาจ้างก่อสร้างบ้านลงในที่ดินของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมและมุ่งผูกพันในสัญญาก่อสร้างกับโจทก์ในฐานะอย่างลูกหนี้ร่วมกัน แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ลงชื่อคู่สัญญาในสัญญาจ้างผู้เดียวก็ตาม หนี้ค่าก่อสร้างบ้านที่จำเลยทั้งสองมุ่งหมายจะได้อยู่อาศัยต่อไปย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ดังนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดตามสัญญาดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญากู้ยืมเงิน การตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อ และการร่วมรับผิดของลูกหนี้ร่วม
ตามรายงานการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญของศาลที่ได้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้เงินเปรียบเทียบกับลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวที่กองพิสูจน์หลักฐานขอให้ศาลชั้นต้นจัดส่งไป ผลการตรวจพิสูจน์ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า น่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันเจือสมกับพยานหลักฐานของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงิน ถึงแม้ว่าจำเลยที่ 1 จะยื่นคำร้องขอยกเลิกการตรวจพิสูจน์โดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถชำระค่าตรวจพิสูจน์ได้ แล้วมีรอยขีดฆ่าและตกเติมข้อความใหม่ในคำร้องว่าจำเลยไม่ประสงค์จะชำระค่าตรวจพิสูจน์ เพราะเป็นอัตราที่สูงมากซึ่งขัดต่อคำเบิกความและคำร้องของจำเลยที่ 1 ที่อ้างว่ามีฐานะทางการเงินดี แต่ค่าตรวจพิสูจน์ที่กองพิสูจน์หลักฐานเรียกให้ชำระเป็นเพียงจำนวนเล็กน้อยที่จำเลยที่ 1 สามารถชำระได้โดยไม่เดือดร้อน การขอยกเลิกการตรวจพิสูจน์ดังกล่าวจึงส่อพิรุธว่าจำเลยที่ 1 ได้รู้ผลการตรวจพิสูจน์แล้วจึงขอยกเลิก อย่างไรก็ดีแม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้ยกเลิกการตรวจพิสูจน์ตามคำขอของจำเลยที่ 1 แต่ในขณะที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญของศาลได้ตรวจพิสูจน์เสร็จเรียบร้อยและได้แจ้งผลการตรวจพิสูจน์ไปยังศาลชั้นต้นแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกเลิกการตรวจพิสูจน์จึงไม่อาจลบล้างผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งและการร่วมรับผิดของเจ้าของรถ กรณีเกิดอุบัติเหตุจากความประมาทของลูกจ้าง
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่ง มีรถบรรทุกประกอบการถึง 30 คัน โดยไม่ใช่รถบรรทุกของจำเลยที่ 1 เลย แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีรายได้และผลประโยชน์มาจากรถบรรทุกที่เข้าร่วมประกอบการขนส่ง ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 4จดทะเบียนเข้าร่วมประกอบการขนส่งกับจำเลยที่ 1 และด้านข้างรถก็พ่นสีระบุชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ด้วย จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ยอมผูกพันตนเข้าร่วมกิจการและรับผลประโยชน์ร่วมกันกับจำเลยที่ 4เมื่อจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4 ขับรถบรรทุกคันดังกล่าวในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 โดยประมาท ถือได้ว่าจำเลยที่ 5เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ในผลแห่งละเมิดนั้น ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ก็ต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077(2),1087
จำเลยที่ 6 เป็นเพียงเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกที่ให้จำเลยที่ 4 เช่าซื้อไปจำเลยที่ 4 เป็นผู้ครอบครองใช้รถคันดังกล่าวจึงมีอำนาจนำรถไปจดทะเบียนประกอบการขนส่งร่วมกับจำเลยที่ 1ได้ โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 6 และแม้ว่าจำเลยที่ 2จะเป็นผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 6 และร่วมกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนตั้งจำเลยที่ 1 ขึ้นมาเพื่อประกอบการขนส่งก็ตาม ก็เป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและเป็นกิจการของจำเลยที่ 1โดยลำพัง ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 6 ร่วมประกอบการขนส่งกับจำเลยที่ 1และที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันและจำนองครอบคลุมหนี้ในอนาคต จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในหนี้กู้ยืม
สัญญาค้ำประกันและจำนองเป็นประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตกลงค้ำประกันหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 681 วรรคสอง บัญญัติว่า หนี้ในอนาคตก็ประกันได้ และมาตรา 707 บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ใช้ได้ในการจำนองอนุโลมตามควร ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันไว้ก่อนที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ครั้งที่ 3 จำเลยที่ 2 ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมเงินครั้งที่ 3 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันและจำนองรวมหนี้ในอนาคต ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในหนี้กู้ยืมครั้งที่ 3
สัญญาค้ำประกันและจำนองเป็นประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตกลงค้ำประกันหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 1 ด้วยเมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681 วรรคสองบัญญัติว่าหนี้ในอนาคตก็ประกันได้ และมาตรา 707 บัญญัติว่าบทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ใช้ได้ในการจำนองอนุโลมตามควร ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันไว้ก่อนที่จำเลยที่ 1กู้ยืมเงินโจทก์ครั้งที่ 3 ก็ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมเงินครั้งที่ 3 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ชำระบัญชีละเลยหนี้ภาษีจากการขายที่ดิน มูลค่าสูง จำเลยต้องร่วมรับผิดชอบหนี้
จำเลยที่ 2 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2538 หลังจากที่จำเลยที่ 1 ขายที่ดินซึ่งจะต้องชำระภาษีอากรตามฟ้องเพียง 9 วัน จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัทจำเลยที่ 1 ควรจะต้องรู้ว่าการขายที่ดินดังกล่าวเป็นการขายเพื่อการค้าหรือหากำไร เพราะจำเลยที่ 1ซื้อที่ดินทั้งหมดมาในราคาประมาณ 7,000,000 บาทแต่ขายต่อไปในระยะเวลาประมาณ 6 เดือน เป็นเงินถึง124 ล้านบาทเศษ ซึ่งการขายในลักษณะดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะและภาษีเงินได้นิติบุคคล ทั้งพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ภายหลังจากการขายที่ดิน ดังกล่าวในวันที่ 5 กันยายน 2538 แล้วก็ได้มีการแต่งตั้ง จำเลยที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2538 และหลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีของบริษัท จำเลยที่ 1 ก็รีบไปจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 ในวันที่ 20 กันยายน 2538 และไปจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2538 กรณีจึงน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 ได้รู้ว่าในการขายที่ดินดังกล่าว บริษัทจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชี และบริษัทจำเลยที่ 1 จึงได้ร่วมกับ บริษัทจำเลยที่ 1 รีบจดทะเบียนเลิกบริษัทจำเลยที่ 1 และรีบจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการชำระบัญชีของจำเลยที่ 2 ยังปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 1ยังมีเงินสดเหลืออยู่อีกจำนวน 1,480,108.75 บาทการที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ชำระบัญชีได้แบ่งเงินที่เหลือดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกคนเฉลี่ยตามสัดส่วนของการถือหุ้นจึงเป็นการฝ่าฝืน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1269เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่นำเงินที่เหลือจำนวน 1,480,108.75 บาทไปชำระหนี้ภาษีตามฟ้องให้แก่กรมสรรพากรโจทก์ก่อน จึงถือได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชี ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 นับตั้งแต่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ชำระบัญชีในวงเงินไม่เกิน 1,480,108.75 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7168/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทร่วมรับผิดในหนี้จากการทำนิติกรรม แม้เป็นเพียงกรรมการ
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ก็มิได้หมายความว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะทำนิติกรรมใด ๆ เป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1 ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้างขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าจ้างแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะให้การว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเพียงกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับข้อเท็จจริงว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจริง คำแถลงของทนายจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการสละข้อต่อสู้ในคำให้การ โดยรับข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสี่เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ และยังค้างชำระค่าจ้างจำนวนตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7168/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทร่วมรับผิดในหนี้จากการทำนิติกรรมร่วมกัน แม้ไม่ได้ลงนามในสัญญาโดยตรง
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน บริษัทจำเลยที่ 1 ก็มิได้หมายความว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะทำนิติกรรมใด ๆ เป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1 ไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันจ้างโจทก์ ผลิตเครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ แล้วผิดสัญญาไม่ชำระค่าจ้าง ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าจ้างแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะให้การว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเพียงกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว แต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ทนายจำเลยทั้งสี่แถลงรับข้อเท็จจริงว่าเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจริงคำแถลงของทนายจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการสละข้อต่อสู้ในคำให้การข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยทั้งสี่ร่วมกันจ้างโจทก์ผลิตเครื่องปรับอากาศชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องปรับอากาศ และยังค้างชำระค่าจ้างจำนวนตามฟ้อง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
of 6