พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6110/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการก่อสร้างประมาทเลินเล่อ:สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายทางจิตใจและทางร่างกาย
จำเลยก่อสร้างอาคารชิดที่ดินของโจทก์โดยประมาทเลินเล่อซึ่งนอกจากทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของโจทก์แล้วยังทำให้โจทก์เสียหายแก่ร่างกายและอนามัย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายอันมิใช่ตัวเงินที่โจทก์ต้องทุกข์ทรมานจิตใจอันเนื่องมาจากการตอกเสาเข็ม วัสดุก่อสร้างและฝุ่นละอองร่วงหล่นเข้ามาในบริเวณที่ดินและบ้านโจทก์ได้และไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนที่ไกลเกินเหตุ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420,446
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4982/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการประเมินค่าเสียหายที่เกิดกับร่างกาย
โจทก์ที่ 5 ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 5 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุก รถยนต์ดังกล่าวของโจทก์ที่ 5 ได้ถูกจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศชนได้รับความเสียหายโดยความประมาทของจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 5 ต้องเสียค่าซ่อมไปเป็นเงิน 80,300 บาท เงินค่าซ่อมรถยนต์ของโจทก์ที่ 5 จำนวน 80,300 บาท นี้ เป็นยอดค่าเสียหายรวมที่โจทก์ที่ 5 ต้องการให้จำเลยทั้งสี่ทราบว่า ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 5 เสียหายคิดเป็นเงินทั้งหมดเท่าไร ค่าเสียหายส่วนนี้จำเป็นที่โจทก์ที่ 5 จะต้องบรรยายไว้ในฟ้อง ส่วนรายละเอียดแห่งความเสียหายที่ว่าโจทก์ที่ 5 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถส่วนไหนเป็นเงินเท่าไร แม้โจทก์ที่ 5 จะไม่ได้บรรยายฟ้องไว้ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ 5 เคลือบคลุมไม่ เพราะโจทก์ที่ 5 ชอบที่จะนำสืบถึงรายละเอียดแห่งการซ่อมในชั้นพิจารณาได้
จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุโดยประมาทเพียงฝ่ายเดียว หากจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันดังกล่าวล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนที่เกิดเหตุเข้าไปในช่องเดินรถของโจทก์ที่ 6การเฉี่ยวชนของรถยนต์ทั้งสองคันและความเสียหายทั้งปวงก็จะไม่เกิดขึ้น จำเลยที่ 3 นายจ้างของจำเลยที่ 1 จะเฉลี่ยความรับผิดไปให้แก่โจทก์ที่ 6 ด้วยไม่ได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 ผู้เสียหายจากการที่ถูกผู้อื่นทำให้เสียหายแก่ร่างกายและอนามัยชอบที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำให้เสียหายได้ แม้ค่าเสียหายนั้นจะมิใช่ตัวเงินก็ตาม กฎหมายมาตรานี้มิได้บังคับให้เรียกได้เฉพาะค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้ หากแต่บัญญัติเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายเรียกค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินไม่ได้แต่กำหนดขึ้นมาเพื่อทดแทนความเสียหายนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ที่ 6 ที่ต้องทุกข์ทรมานในระหว่างรักษาตัวเป็นตัวเงินจึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 6 ได้รับอันตรายแก่กาย ถึงขนาดม้ามแตก ไตแตก และตับขาด จนแพทย์ต้องผ่าตัดไตทิ้งไปข้างหนึ่งเป็นเหตุให้ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายของเสียได้ตามปกติ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ร่างกายของโจทก์ที่ 6 ซึ่งมีอวัยวะไม่ครบบริบูรณ์จะต้องอ่อนแอกว่าตอนที่โจทก์ที่ 6ไม่ได้รับอันตรายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ลักษณะของความอ่อนแอหรือความเสื่อมโทรมของร่างกายของโจทก์ที่ 6 นี้ แม้โจทก์ที่ 6 จะยังประกอบการงานตามปกติได้ก็ตาม แต่ความอ่อนแอหรือความเสื่อมโทรมนั้นจะค่อยเป็นค่อยไปจนในที่สุดโจทก์ที่ 6 ก็จะมีร่างกายที่อ่อนแอหรือเสื่อมโทรมเร็วกว่าที่ควรจะเป็นไปตามปกติ และจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติเหมือนก่อน
ในระหว่างพักรักษาตัว โจทก์ที่ 5 ได้จ่ายค่าแรงงานให้โจทก์ที่ 6 เพียงครึ่งหนึ่งของค่าจ้างเงินค่าแรงงานส่วนที่โจทก์ที่ 6 ไม่ได้รับอีกครึ่งหนึ่งนี้เห็นได้ว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานอันเป็นผลจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 โดยตรงโจทก์ที่ 6 ชอบที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 3 ผู้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1ผู้ทำละเมิดได้
ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อที่ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 4 หรือไม่ และจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 4 มีผลประโยชน์ในกิจการเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3 หรือไม่นั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ให้การทั้งสองสำนวนรับว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว และจำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ทั้งจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไม่ได้ฎีกาขึ้นมาจึงไม่มีประเด็นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุโดยประมาทเพียงฝ่ายเดียว หากจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันดังกล่าวล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนที่เกิดเหตุเข้าไปในช่องเดินรถของโจทก์ที่ 6การเฉี่ยวชนของรถยนต์ทั้งสองคันและความเสียหายทั้งปวงก็จะไม่เกิดขึ้น จำเลยที่ 3 นายจ้างของจำเลยที่ 1 จะเฉลี่ยความรับผิดไปให้แก่โจทก์ที่ 6 ด้วยไม่ได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 ผู้เสียหายจากการที่ถูกผู้อื่นทำให้เสียหายแก่ร่างกายและอนามัยชอบที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำให้เสียหายได้ แม้ค่าเสียหายนั้นจะมิใช่ตัวเงินก็ตาม กฎหมายมาตรานี้มิได้บังคับให้เรียกได้เฉพาะค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้ หากแต่บัญญัติเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายเรียกค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินไม่ได้แต่กำหนดขึ้นมาเพื่อทดแทนความเสียหายนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ที่ 6 ที่ต้องทุกข์ทรมานในระหว่างรักษาตัวเป็นตัวเงินจึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 6 ได้รับอันตรายแก่กาย ถึงขนาดม้ามแตก ไตแตก และตับขาด จนแพทย์ต้องผ่าตัดไตทิ้งไปข้างหนึ่งเป็นเหตุให้ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายของเสียได้ตามปกติ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ร่างกายของโจทก์ที่ 6 ซึ่งมีอวัยวะไม่ครบบริบูรณ์จะต้องอ่อนแอกว่าตอนที่โจทก์ที่ 6ไม่ได้รับอันตรายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ลักษณะของความอ่อนแอหรือความเสื่อมโทรมของร่างกายของโจทก์ที่ 6 นี้ แม้โจทก์ที่ 6 จะยังประกอบการงานตามปกติได้ก็ตาม แต่ความอ่อนแอหรือความเสื่อมโทรมนั้นจะค่อยเป็นค่อยไปจนในที่สุดโจทก์ที่ 6 ก็จะมีร่างกายที่อ่อนแอหรือเสื่อมโทรมเร็วกว่าที่ควรจะเป็นไปตามปกติ และจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติเหมือนก่อน
ในระหว่างพักรักษาตัว โจทก์ที่ 5 ได้จ่ายค่าแรงงานให้โจทก์ที่ 6 เพียงครึ่งหนึ่งของค่าจ้างเงินค่าแรงงานส่วนที่โจทก์ที่ 6 ไม่ได้รับอีกครึ่งหนึ่งนี้เห็นได้ว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานอันเป็นผลจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 โดยตรงโจทก์ที่ 6 ชอบที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 3 ผู้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1ผู้ทำละเมิดได้
ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อที่ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 4 หรือไม่ และจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 4 มีผลประโยชน์ในกิจการเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3 หรือไม่นั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ให้การทั้งสองสำนวนรับว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว และจำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ทั้งจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไม่ได้ฎีกาขึ้นมาจึงไม่มีประเด็นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในเคหสถานต้องเข้าไปในเคหสถานทั้งตัว มิใช่แค่ส่วนหนึ่งของร่างกาย
การลักทรัพย์ในเคหสถานตาม ป.อ. มาตรา 335 (8) นั้นหมายถึงผู้กระทำจะต้องเข้าไปในเคหสถานทั้งตัว มิใช่เพียงแต่ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งของผู้กระทำล่วงล้ำเข้าไปในเคหสถาน จำเลยเพียงแต่ยื่นมือผ่านบานเลื่อนไม้เข้าไปในห้องพักของผู้เสียหาย แล้วทุบกระต่ายออมสินของผู้เสียหายลักเอาเงินไป โดยจำเลยมิได้เข้าไปในห้องพักของผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3807/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการบาดเจ็บทางร่างกายและอนามัย ถือเป็นความเสียหายที่ไม่ใช่ตัวเงิน ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้
การที่โจทก์เสียขาไปข้างหนึ่งและต้องเจ็บปวดทนทุกข์ทรมานนับว่าเป็นความเสียหายแก่ร่างกายและอนามัยของโจทก์ ถือเป็นความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินอย่างหนึ่ง ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายส่วนนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การประเมินความเสียหายต่อร่างกาย, รถยนต์ และค่าทนทุกข์ทรมาน
โจทก์ถูกรถจำเลยชน รอยแผลเป็นซึ่งไม่ทำให้โจทก์เสียบุคลิกและโจทก์ต้องทนทุกข์ทรมาน เป็นความเสียหายอันมิใช่ตัวเงินซึ่งไม่ซ้ำซ้อนกัน โจทก์เรียกได้ตาม มาตรา 446 รถยนต์ราคา 70,000 บาท ถูกชนแล้วขายซากรถไป 10,000 บาท เรียกค่าเสียหายที่ขาดเงินไป 60,000 บาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กำลังทำร้ายร่างกายจนเกิดอันตราย แม้ไม่ถึงแก่ชีวิต
จำเลยใช้กำลังจับมือผู้ตายให้ลุกขึ้นโดยผู้ตายไม่สมัครใจ เมื่อผู้ตายบอกว่าจะไปสวมเสื้อก่อน จำเลยจึงปล่อย ถือได้ว่าเป็นการใช้กำลังทำร้าย เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1069/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพูดลามกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 388 แม้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเปลือยร่างกาย
คำว่า "กระทำการถามอย่างอื่น" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 388 นั้น ไม่ได้หมายเฉพาะแต่เรื่องเกี่ยวกับร่างกายเท่านั้น ย่อมหมายถึงวาจาด้วย
จำเลยกล่าวคำว่า "เย็ดโคตรแม่มึง" ต่อหน้าธารกำนัล จึงเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 388 แล้ว
จำเลยกล่าวคำว่า "เย็ดโคตรแม่มึง" ต่อหน้าธารกำนัล จึงเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 388 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บาดแผลตามร่างกายเข้าข่าย 'บาดเจ็บ' ตามกฎหมายอาญา แม้ระยะเวลาพักฟื้นสั้น
บาดแผลถูกทำร้ายที่หน้าถึง 3 แห่ง คือ(1)ตรงขอบตาล่างข้างซ้ายกว้าง 1 ซ.ม. ยาว 2 ซ.ม.ฐานแผลช้ำบวมห้อเลือด (2) ตรง ริมฝีปากล่างกว้าง 2 ซ.ม.ยาว 3 ซ.ม. ฐานแผลช้ำบวมห้อเลือด (3)ตรงขากรรไกรข้างซ้ายกว้าง 1 ซ.ม. ยาว 3 ซ.ม. ช้ำบวมผิวหนังถลอก
ผู้ชันสูตรพิเคราะห์ เห็นว่ารักษาประมาณ 15 วันหายดังนี้ก็ถือว่าเป็นบาดแผลถึงบาดเจ็บตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 254 แล้ว
ผู้ชันสูตรพิเคราะห์ เห็นว่ารักษาประมาณ 15 วันหายดังนี้ก็ถือว่าเป็นบาดแผลถึงบาดเจ็บตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 254 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1549/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาบุกรุกและการกระทำต่อร่างกาย: ความผิดตามมาตรา 327
ความผิดฐานบุกรุกตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 327 นั้นผู้กระทำจะต้องมีเจตนากระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นด้วยจึงจะเป็นความผิด
จำเลยเข้าไปใต้ถุนเรือนของเจ้าทรัพย์ ใช้มือลอดพื้นฟากเรือนเพื่อถูกต้องเนื้อตัวบุตรสาวเจ้าทรัพย์ด้วยความคะนองพอใจบุตรีเจ้าทรัพย์แต่บุตรีเจ้าทรัพย์ไม่พอใจจึงใช้มีดฟันเอาจำเลยก็หนีไปนั้น จำเลยยังไม่มีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 327
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 329 ครั้นเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 329 โจทก์ก็ยอม คงฎีกายืนยันขึ้นมาว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 327 เท่านั้นในชั้นฎีกาคดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยถึงมาตรา 329 อีก (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2494)
จำเลยเข้าไปใต้ถุนเรือนของเจ้าทรัพย์ ใช้มือลอดพื้นฟากเรือนเพื่อถูกต้องเนื้อตัวบุตรสาวเจ้าทรัพย์ด้วยความคะนองพอใจบุตรีเจ้าทรัพย์แต่บุตรีเจ้าทรัพย์ไม่พอใจจึงใช้มีดฟันเอาจำเลยก็หนีไปนั้น จำเลยยังไม่มีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 327
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 329 ครั้นเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 329 โจทก์ก็ยอม คงฎีกายืนยันขึ้นมาว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 327 เท่านั้นในชั้นฎีกาคดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยถึงมาตรา 329 อีก (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2494)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวและการใช้กำลังเพื่อป้องกันภัยอันตรายถึงชีวิตหรือร่างกาย
จำเลยฟันผู้ตายมีขวานกำลังจะเข้าไปทำร้ายจำเลยบนเรือนของจำเลย เพราะถ้าจำเลยไม่ทำร้ายผู้ตายเสียก่อนผู้ตายก็อาดทำร้ายจำเลยได้ เช่นนี้เปนการป้องกันตัวพอสมควนแก่เหตุ อันควนได้รับความยกเว้นโทสตามกดหมายลักสนะอาญามาตรา 50.