พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3002/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ: ศาลต้องออกคำบังคับเพื่อให้มีการส่งมอบทรัพย์สินให้แผ่นดิน
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เงินและ/หรือทรัพย์สินอื่นจำนวน 12,000,000 บาทของผู้คัดค้านซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน ผู้คัดค้านจึงหมดสิทธิที่จะยึดถือครอบครองเงินและ/หรือทรัพย์สินดังกล่าวไว้เป็นของตนอีกต่อไป ต้องส่งมอบให้แก่แผ่นดิน เมื่อผู้คัดค้านยังไม่ส่งมอบให้แก่แผ่นดินก็จำเป็นต้องมีการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาโดยเป็นหน้าที่ของผู้ร้องจะต้องเป็นผู้ดำเนินการ เมื่อตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการฯ มิได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าจะบังคับอย่างไรจึงต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 และ มาตรา 272 วรรคหนึ่ง
ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลชั้นต้นเพียงแต่จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านฟังแล้ว แต่ยังมิได้ออกคำบังคับกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขให้ผู้คัดค้านนำเงินดังกล่าวมาส่งมอบให้แก่แผ่นดิน จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกคำบังคับและกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับเพื่อให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 272 วรรคหนึ่ง
ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ศาลชั้นต้นเพียงแต่จดรายงานกระบวนพิจารณาว่าได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านฟังแล้ว แต่ยังมิได้ออกคำบังคับกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขให้ผู้คัดค้านนำเงินดังกล่าวมาส่งมอบให้แก่แผ่นดิน จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องร้องขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกคำบังคับและกำหนดวิธีที่จะปฏิบัติตามคำบังคับเพื่อให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 272 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำของเจ้าหน้าที่ในการสอบสวนทรัพย์สินร่ำรวยผิดปกติชอบด้วยกฎหมาย ไม่ถือเป็นการละเมิด
ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่า ให้เงินและหรือทรัพย์สินอื่นจำนวน12,000,000 บาท ของโจทก์ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติตกเป็นของแผ่นดินเท่ากับรับรองว่าการกระทำของจำเลยทั้งเจ็ดที่สอบสวนดำเนินการแก่โจทก์ เพราะโจทก์ร่ำรวยผิดปกติ จนกระทั่งมีคำสั่งสำนักงานนายกรัฐมนตรีปลดโจทก์ออกจากราชการนั้น เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้ว ไม่ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจและผลของการสั่งลงโทษเจ้าหน้าที่รัฐร่ำรวยผิดปกติแยกจากกรณีการริบทรัพย์สิน
ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 จำแนกวิธีดำเนินการไว้เป็น 2 ส่วนกล่าวคือ ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคหนึ่ง ต้องได้ความว่าผู้นั้นร่ำรวยผิดปกติและไม่สามารถแสดงได้ว่าร่ำรวยขึ้นในทางที่ชอบ ให้ถือว่าผู้นั้นใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งลงโทษไล่ออก มีลักษณะครอบคลุมกว้างขวางถึงพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหา มิใช่มุ่งเฉพาะแต่ตัวทรัพย์สินที่ตรวจสอบพบและให้ถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งเป็นการลงโทษตามบทกฎหมายพิเศษเฉพาะเรื่อง แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคสุดท้าย หากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นแสดงให้ศาลเห็นว่าตนได้ทรัพย์สินนั้นมาในทางที่ชอบ ศาลก็ไม่อาจริบทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดิน จึงเป็นเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับตัวทรัพย์สินตามคำร้องขอ ซึ่งมีปัญหาเพียงว่า สมควรริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับปัญหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบตามความในวรรคหนึ่ง ดังนั้น คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่เป็นคำสั่งตามความในมาตรา 20 วรรคหนึ่ง เป็นคนละส่วนแยกต่างหากจากวรรคสุดท้าย โจทก์จึงมิอาจยกคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่เกี่ยวเฉพาะตัวทรัพย์สินตามคำร้องตามความในวรรคสุดท้ายขึ้นอ้างเพื่อหักล้างข้อเท็จจริงที่ว่าตนร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ โดยใช้ดุลพินิจตามขั้นตอนและมีกฎหมายรองรับ ทั้งไม่ปรากฏว่ากระบวนการในการออกคำสั่งนั้นไม่ชอบ คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ โดยใช้ดุลพินิจตามขั้นตอนและมีกฎหมายรองรับ ทั้งไม่ปรากฏว่ากระบวนการในการออกคำสั่งนั้นไม่ชอบ คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งไล่ออกเจ้าหน้าที่รัฐฐานร่ำรวยผิดปกติเป็นคำสั่งชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลวินิจฉัยทรัพย์สินนั้นมาโดยชอบ
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง และวรรคสุดท้าย บัญญัติจำแนกวิธีดำเนินการ ไว้เป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคหนึ่งต้องได้ความว่า ผู้นั้นร่ำรวยผิดปกติและไม่สามารถแสดงได้ว่าร่ำรวยขึ้น ในทางที่ชอบ ให้ถือว่าผู้นั้นใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งลงโทษไล่ออก มีลักษณะครอบคลุม กว้างขวางถึงพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหา มิใช่มุ่งเฉพาะ ตัวทรัพย์สินที่ตรวจสอบพบและให้ถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ โดยมิชอบ ซึ่งเป็นการลงโทษตามบทกฎหมายพิเศษเฉพาะเรื่อง แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคสุดท้ายหากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นแสดงให้ศาลเห็นว่าตนได้ทรัพย์สินนั้นมาในทางที่ชอบ ศาลก็ไม่อาจริบทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดิน จึงเป็นเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับตัวทรัพย์สินตามคำร้องขอซึ่งมีปัญหาเพียงว่า สมควรริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับปัญหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบตามความในวรรคหนึ่ง อันเป็นคนละส่วน แยกต่างหากจากวรรคสุดท้าย โจทก์จึงมิอาจยกคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่เกี่ยวเฉพาะตัวทรัพย์สินตามคำร้องตามความในวรรคสุดท้ายขึ้นอ้าง เพื่อหักล้างข้อเท็จจริงที่ว่าตน ร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ โดยมิชอบ เมื่อคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 54/2530 ที่ให้ไล่โจทก์ออกจากราชการเป็นคำสั่งซึ่งมีลักษณะ เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะโดยใช้ดุลพินิจ ตามขั้นตอนและมีกฎหมายรองรับ ทั้งโจทก์ก็มิได้โต้แย้ง ว่ากระบวนการในการออกคำสั่งนั้นไม่ชอบแต่อย่างใด คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาล เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งไล่ออกข้าราชการกรณีร่ำรวยผิดปกติ: แยกพิจารณาเรื่องทรัพย์สินกับเรื่องการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ในวงราชการ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 จำแนกวิธีดำเนินการไว้เป็น 2 ส่วน กล่าวคือ ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคหนึ่ง ต้องได้ความว่าผู้นั้นร่ำรวยผิดปกติและไม่สามารถแสดงได้ว่าร่ำรวยขึ้นในทางที่ชอบ ให้ถือว่าผู้นั้นใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบนายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งลงโทษไล่ออก มีลักษณะครอบคลุมกว้างขวางถึงพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหา มิใช่มุ่งเฉพาะแต่ตัวทรัพย์สินที่ตรวจสอบพบและให้ถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ โดยมิชอบ ซึ่งเป็นการลงโทษตามบทกฎหมายพิเศษเฉพาะเรื่อง แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคสุดท้าย หากเจ้าหน้าที่ ของรัฐผู้นั้นแสดงให้ศาลเห็นว่าตนได้ทรัพย์สินนั้นมาในทางที่ชอบศาลก็ไม่อาจริบทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดิน จึงเป็นเรื่องเฉพาะ เกี่ยวกับตัวทรัพย์สินตามคำร้องขอ ซึ่งมีปัญหาเพียงว่า สมควรริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับ ปัญหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่า เป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบตามความในวรรคหนึ่ง ดังนั้น คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่เป็นคำสั่งตามความใน มาตรา 20 วรรคหนึ่ง เป็นคนละส่วนแยกต่างหากจากวรรคสุดท้าย โจทก์จึงไม่อาจยกคำวินิจฉัยของศาลซึ่งถึงที่สุดที่เกี่ยวเฉพาะตัว ทรัพย์สินตามคำร้องตามความในวรรคสุดท้ายขึ้นอ้างเพื่อหักล้าง ข้อเท็จจริงที่ว่าตนร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบ และถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบได้ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ ของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ โดยใช้ดุลพินิจตามขั้นตอน และมีกฎหมายรองรับทั้งไม่ปรากฏว่ากระบวนการในการออกคำสั่ง นั้นไม่ชอบ คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไล่ออกขรก. กรณีร่ำรวยผิดปกติ ศาลฎีกายกคำร้องริบทรัพย์สิน ไม่กระทบคำสั่งไล่ออก
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518มาตรา 20 จำแนกวิธีดำเนินการไว้เป็น 2 ส่วน กล่าวคือ ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคหนึ่ง ต้องได้ความว่าผู้นั้นร่ำรวยผิดปกติและไม่สามารถแสดงได้ว่าร่ำรวยขึ้นในทางที่ชอบ ให้ถือว่าผู้นั้นใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งลงโทษไล่ออกมีลักษณะครอบคลุมกว้างขวางถึงพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหา มิใช่มุ่งเฉพาะแต่ตัวทรัพย์สินที่ตรวจสอบพบและให้ถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งเป็นการลงโทษตามบทกฎหมายพิเศษเฉพาะเรื่อง แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ถูกกล่าวหาเป็นกรณีตามความในวรรคสุดท้าย หากเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นแสดงให้ศาลเห็นว่าตนได้ทรัพย์สินนั้นมาในทางที่ชอบ ศาลก็ไม่อาจริบทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดิน จึงเป็นเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับตัวทรัพย์สินตามคำร้องขอซึ่งมีปัญหาเพียงว่า สมควรริบทรัพย์สินให้ตกเป็นของแผ่นดินหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับปัญหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบตามความในวรรคหนึ่ง ดังนั้น คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่เป็นคำสั่งตามความในมาตรา 20 วรรคหนึ่ง เป็นคนละส่วนแยกต่างหากจากวรรคสุดท้าย โจทก์จึงมิอาจยกคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่เกี่ยวเฉพาะตัวทรัพย์สินตามคำร้องตามความในวรรคสุดท้ายขึ้นอ้างเพื่อหักล้างข้อเท็จจริงที่ว่าตนร่ำรวยขึ้นในทางมิชอบและถือว่าเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบได้
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ และโดยใช้ดุลพินิจตามขั้นตอน มีกฎหมายรองรับ ทั้งไม่ปรากฏว่ากระบวนการในการออกคำสั่งนั้นไม่ชอบ คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ และโดยใช้ดุลพินิจตามขั้นตอน มีกฎหมายรองรับ ทั้งไม่ปรากฏว่ากระบวนการในการออกคำสั่งนั้นไม่ชอบ คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยร่ำรวยผิดปกติของ ป.ป.ป. เจ้าหน้าที่รัฐไม่มีสิทธิฟ้องร้องก่อนถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 ไม่มีบทบัญญัติใดบัญญัติให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งถูกกล่าวหาว่า ทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการใช้สิทธิทางศาล การที่คณะกรรมการ ป.ป.ป. วินิจฉัยว่าโจทก์ร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติย่อมมีผลเพียงว่าคณะกรรมการ ป.ป.ป. จะต้องแจ้งพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินแล้วเสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งหรือดำเนินการให้มีการสั่งลงโทษโจทก์ ซึ่งจะมีการดำเนินการดังกล่าวหรือไม่อยู่ที่การพิจารณาของพนักงานอัยการหรือนายกรัฐมนตรีแล้วแต่กรณีอีกชั้นหนึ่ง จึงเป็นเรื่องเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งโจทก์คาดคะเนเอาเองยังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2165/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยร่ำรวยผิดปกติของ ป.ป.ป. เจ้าหน้าที่ไม่มีสิทธิฟ้องหากยังไม่มีผลกระทบทางกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 ไม่มีบทบัญญัติใดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งถูกกล่าวหาว่าทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการใช้สิทธิทางศาลขอให้ศาลวินิจฉัยได้ เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ป. ดำเนินการพิจารณาสอบสวนโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและมีมติว่าร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นจนผิดปกติ จึงไม่มีกรณีที่โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาล มติของคณะกรรมการ ป.ป.ป. ดังกล่าวย่อมมีผลแต่เพียงว่าหากโจทก์ไม่สามารถชี้แจงได้ว่าทรัพย์สินได้มาโดยชอบ ต้องถือว่าโจทก์กระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518มาตรา 21 ทวิ และคณะกรรมการ ป.ป.ป. ต้องแจ้งพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาดำเนินการตามมาตรา 21 ตรี ขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน และเสนอความเห็นไปยังนายกรัฐมนตรีต่อไป การได้รับผลกระทบโดยตรงจากมติดังกล่าวจึงเป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่โจทก์คาดคะเนเอง กรณียังไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติของเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องพิจารณาทั้งมูลค่าและที่มาของทรัพย์สิน
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราบการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 มาตรา 20 วรรคสามที่บัญญัติว่า "บรรดาทรัพย์สินที่คณะกรรมการวินิจฉัยว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกตินั้น ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลวินิจฉัยสั่งว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดิน เว้นแต่ผู้นั้นจะแสดงให้ศาลเห็นว่าตนได้ทรัพย์สินนั้นมาในทางที่ชอบ.........." นั้น เห็นได้ว่าการขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ร่ำรวยผิดปกติเป็นของแผ่นดินได้ เฉพาะกรณีที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (คณะกรรมการ ป.ป.ป.) วินิจฉัยว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติเท่านั้น และให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัยเสียก่อนที่จะมีคำสั่ง มิได้หมายความว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ป. ที่ว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นผิดปกติเป็นที่สุด ศาลจะต้องสั่งให้ ทรัพย์สินของผู้นั้นเป็นของแผ่นดินและวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ซึ่งเท่ากับเป็นการแปลกฎหมายห้ามมิให้ศาลตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ป. อันเป็นองค์กรฝ่ายบริหาร ย่อมไม่ชอบ และหากฟังไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขั้นโดยผิดปกติแล้ว ศาลก็ไม่อาจสั่งให้ทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดินได้ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นหาต้องพิสูจน์ว่าได้ทรัพย์สินมาในทางที่ชอบไม่
ทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกตินั้นหมายถึงทรัพย์สินที่มีจำนวนมากผิดปกติ เมื่อคำนึงถึงฐานะและรายได้ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเจ้าของทรีพย์สินนั้น ซึ่งอาจได้มาในทางที่ชอบและไม่ชอบหรือทั้งสองอย่างรวมกัน ศาลจะสั่งให้เป็นของแผ่นดินได้ เฉพาะทรัพย์สินที่ได้มาในทางที่ไม่ชอบ การสั่งว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์ที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติหรือไม่ จึงไม่ใช่พิจารณาจากเหตุที่ทรัพย์สินนั้นได้มาในทางที่ชอบหรือไม่ชอบแต่อย่างใด
พนักงานอัยการผู้ร้องอ้างว่า ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับโอนหุ้นจากบริษัทการยินแอร์ - สยาม จำกัด จำนวน 198,000 หุ้น มีมูลค่าตามที่จดทะเบียนไว้ หุ้นละ 100 บาท ถือว่าผู้คัดค้านมีทรัพย์สินราคา 19,800,000 บาท อันเป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านร่ำรวยขึ้นผิดปกติ ผู้คัดค้านโต้แย้งว่าขณะที่รับโอนหุ้นมานั้น หุ้นทั้งหมดไม่มีมูลค่า มีราคาไม่เกิน 2 บาท ดังนี้ เมื่อพยานหลักฐานของผู้คัดค้านฟังได้ว่าหุ้นดังกล่าวไม่มีราคาถึงหุ้นละ 100 บาท ตามมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ แต่จะมีราคาเท่าใด ผู้ร้องไม่นำสืบให้ปรากฏ กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่าหุ้นดังกล่าวเป็นทรัพน์สินที่ร่ำรวยขึ้นผิดปกติดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ศาลไม่อาจสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านเป็นของแผ่นดินได้
ทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกตินั้นหมายถึงทรัพย์สินที่มีจำนวนมากผิดปกติ เมื่อคำนึงถึงฐานะและรายได้ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเจ้าของทรีพย์สินนั้น ซึ่งอาจได้มาในทางที่ชอบและไม่ชอบหรือทั้งสองอย่างรวมกัน ศาลจะสั่งให้เป็นของแผ่นดินได้ เฉพาะทรัพย์สินที่ได้มาในทางที่ไม่ชอบ การสั่งว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์ที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติหรือไม่ จึงไม่ใช่พิจารณาจากเหตุที่ทรัพย์สินนั้นได้มาในทางที่ชอบหรือไม่ชอบแต่อย่างใด
พนักงานอัยการผู้ร้องอ้างว่า ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับโอนหุ้นจากบริษัทการยินแอร์ - สยาม จำกัด จำนวน 198,000 หุ้น มีมูลค่าตามที่จดทะเบียนไว้ หุ้นละ 100 บาท ถือว่าผู้คัดค้านมีทรัพย์สินราคา 19,800,000 บาท อันเป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านร่ำรวยขึ้นผิดปกติ ผู้คัดค้านโต้แย้งว่าขณะที่รับโอนหุ้นมานั้น หุ้นทั้งหมดไม่มีมูลค่า มีราคาไม่เกิน 2 บาท ดังนี้ เมื่อพยานหลักฐานของผู้คัดค้านฟังได้ว่าหุ้นดังกล่าวไม่มีราคาถึงหุ้นละ 100 บาท ตามมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ แต่จะมีราคาเท่าใด ผู้ร้องไม่นำสืบให้ปรากฏ กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่าหุ้นดังกล่าวเป็นทรัพน์สินที่ร่ำรวยขึ้นผิดปกติดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ศาลไม่อาจสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านเป็นของแผ่นดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งให้ทรัพย์สินเป็นของแผ่นดินในคดีร่ำรวยผิดปกติ ต้องพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นมีมูลค่าสูงกว่าฐานะและรายได้จริง
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการฯ มาตรา 20 วรรคสาม บัญญัติว่าทรัพย์สินที่คณะกรรมการ ป.ป.ป. วินิจฉัยว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกตินั้น ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้วินิจฉัยว่าทรัพย์สินเป็นของแผ่นดิน เห็นได้ว่า หากจะลงโทษทางวินัยคณะกรรมการ ป.ป.ป. จะต้องสอบสวนให้ได้ความว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ร่ำรวยผิดปกติ แต่จะขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินของผู้นั้นเป็นของแผ่นดินได้เฉพาะที่คณะกรรมการ ป.ป.ป. วินิจฉัยว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติเท่านั้น หาใช่ว่า เมื่อคณะกรรมการฯลงมติว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดเป็นผู้ร่ำรวยผิดปกติแล้วศาลจะต้องสั่งให้ทรัพย์สินของผู้นั้นเป็นของแผ่นดินไม่การแปลกฎหมายดังนั้นเท่ากับเป็นการห้ามมิให้ศาลตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการฯอันเป็นองค์กรฝ่ายบริหาร ย่อมไม่เป็นการสอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย และหากฟังไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติแล้วศาลก็ไม่อาจสั่งให้ทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดินได้โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นหาต้องพิสูจน์ว่าได้ทรัพย์สินในทางที่ชอบไม่ ทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกตินั้น หมายถึงทรัพย์สินที่มีจำนวนมากผิดปกติเมื่อคำนึงถึงฐานะและรายได้ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเจ้าของทรัพย์สินนั้น ซึ่งอาจได้มาในทางที่ชอบและไม่ชอบหรือทั้งสองอย่างรวมกันศาลจะสั่งให้เป็นของแผ่นดินได้เฉพาะทรัพย์สินที่ได้มาในทางที่ไม่ชอบการสั่งว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์ที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติหรือไม่ จึงมิใช่พิจารณา จากเหตุที่ทรัพย์สินนั้นได้มาในทางที่ชอบ หรือมิชอบแต่อย่างใด ผู้ร้องอ้างว่าผู้คัดค้านได้รับโอนหุ้นของบริษัทการบิน อ.198,000 หุ้น มีมูลค่าตามที่จดทะเบียนไว้หุ้นละ 100 บาทถือว่าผู้คัดค้านมีทรัพย์สินราคา 19,800,000 บาทอันเป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติผู้คัดค้านโต้แย้งว่าขณะรับโอนหุ้นมา หุ้นไม่มีมูลค่ามีราคาไม่เกิน 2 บาทดังนี้ เมื่อพยานหลักฐานของผู้คัดค้านฟังได้ว่าหุ้นดังกล่าวไม่มีราคาตามมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ แต่จะมีราคาเท่าใดผู้ร้องไม่นำสืบให้ปรากฏกรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่าหุ้นดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ศาลไม่อาจสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านเป็นของแผ่นดินได้