พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้มีชื่อในโฉนดเมื่อถูกฟ้องให้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการครอบครอง การร้องคัดค้านในชั้นบังคับคดี
ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินและนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง และได้มีคำสั่งให้ประกาศนัดไต่สวนทางหนังสือพิมพ์และให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาคำร้องให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดิน หากประสงค์จะคัดค้านประการใดให้ยื่นคำคัดค้านต่อศาลภายในวันนัดไต่สวนคำร้อง แต่ก็ไม่มีผู้ใดยื่นคำคัดค้าน จนศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งไปแล้วต่อมาผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ถึงแม้ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งยกคำร้องเพราะเห็นว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอกก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีของผู้ร้อง ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188(4) บัญญัติให้ถือว่าบุคคลเช่นนั้นเป็นคู่ความผู้คัดค้านจึงเป็นคู่ความผู้มีส่วนได้เสียในคดีมีสิทธิอุทธรณ์และขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนดที่ดินโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ที่ดินมีชื่อผู้คัดค้านเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง การที่ผู้ร้องนำคำสั่งศาลไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อดำเนินการขอเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเป็นชื่อของผู้ร้อง ย่อมถือได้ว่าเป็นการดำเนินการในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หากเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการให้ย่อมจะเกิดความเสียหายแก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและถูกโต้แย้งสิทธิผู้คัดค้านจึงชอบที่จะร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้าไปในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอกคดีจึงสามารถพิสูจน์ในชั้นนี้ได้ว่า ผู้คัดค้านมีสิทธิดีกว่าผู้ร้องคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ผูกพันผู้คัดค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) โดยไม่ต้องให้ผู้คัดค้านไปฟ้องเป็นคดีใหม่ ศาลชั้นต้นต้องรับคำร้องของผู้คัดค้านไว้เพื่อวินิจฉัยถึงข้อโต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านในชั้นบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องคัดค้านผลการเลือกตั้ง: ผู้สมัครลำดับที่ 4 ไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งให้ตนเองได้รับเลือกแทน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ที่ 2และที่ 3 ไม่ได้รับเลือกตั้งโดยชอบให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้รับเลือกตั้งโดยชอบนั้น ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอเช่นนั้นได้ ผู้ร้องคงมีสิทธิเพียงยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตามพระราชบัญญัติเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 78 เท่านั้น ทั้งตามมาตรา 77ผู้ได้รับเลือกตั้งจะต้องเป็นผู้สมัครของพรรคการเมืองซึ่งได้คะแนนมากที่สุด และในเขตเลือกตั้งซึ่งมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มากกว่าหนึ่งคน ให้ผู้สมัครของพรรคการเมืองซึ่งได้คะแนนมากตามลำดับลงมาตามจำนวนที่จะพึงมีการเลือกตั้งได้เป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง ดังนั้นผู้ร้องซึ่งได้รับคะแนนเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 4ในเขตเลือกตั้งที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 3 คน จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการร้องคัดค้านคดีแรงงาน: ผู้ถือหุ้นเดิมที่ถูกจำกัดอำนาจ ย่อมไม่มีสิทธิร้องคัดค้านในฐานะนายจ้าง
ผู้ร้องมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยและผู้ร้องก็มิได้มีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตามกฎหมายผู้ร้องคัดค้านและปฏิเสธฟ้องโจทก์เข้ามาในฐานะกรรมการผู้ไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัทจำเลยซึ่งกระทำเป็นการส่วนตัวจึงไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ คำร้องคัดค้านดังกล่าวของผู้ร้องถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกตั้ง ส.ส. สิทธิในการร้องคัดค้านผลการเลือกตั้งจำกัดเฉพาะการเลือกตั้งใหม่ ไม่สามารถเรียกร้องให้ตนเองเป็น ส.ส. แทนได้
ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2521 มาตรา 89,102 และพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522มาตรา 77 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2529 มาตรา 6 แสดงว่าสมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎรย่อมมีได้แต่โดยการเลือกตั้ง ดังนี้ แม้ตามคำร้องของผู้ร้องจะอ้างว่าผู้ได้รับเลือกตั้งได้รับเลือกตั้งโดยมิชอบอันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ผู้ร้องคงมีสิทธิเพียงยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อให้เลือกตั้งใหม่เท่านั้นไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนบุคคลอื่นที่ถูกคัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3436/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องคัดค้านการเลือกกำนัน: ผู้สมัครถูกโต้แย้งสิทธิ ต้องฟ้องคดีมีข้อพิพาท ไม่ใช่คดีไม่มีข้อพิพาท
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกกำนัน อ้างว่าคณะกรรมการเลือกประจำหน่วยเลือกกำนันไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการเลือกกำนัน พ.ศ.2524 ทำให้คะแนนของผู้ร้องน้อยกว่าคะแนนของผู้คัดค้าน ผู้ได้รับเลือกเป็นกำนัน ซึ่งถ้าปฏิบัติโดยถูกต้องแล้วคะแนนของผู้ร้องจะมากกว่าผู้คัดค้านและเป็นผลให้ผู้ร้องได้รับเลือกเป็นกำนัน ดังนี้ ผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายแพ่งแล้วเมื่อนายอำเภอซึ่งเป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งและแต่งตั้งคณะกรรมการเลือกกำนันรายงานผลการนับคะแนนของคณะกรรมการเลือกกำนันว่าผู้ใดได้คะแนนเสียงส่วนมากไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด โดยเชื่อคะแนนที่คณะกรรมการตรวจนับนายอำเภอและคณะกรรมการเลือกตั้ง จึงเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง
ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกกำนันไม่ได้ให้สิทธิผู้ร้องที่จะร้องคัดค้านการเลือกกำนันต่อศาลได้ ผู้ร้องจะขอให้มีการเลือกกำนันใหม่หรือให้นับคะแนนการเลือกกำนันใหม่ก็ต้องฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิของผู้ร้องเป็นคดีมีข้อพิพาทต่อศาล ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอต่อศาลอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทไม่ได้
ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกกำนันไม่ได้ให้สิทธิผู้ร้องที่จะร้องคัดค้านการเลือกกำนันต่อศาลได้ ผู้ร้องจะขอให้มีการเลือกกำนันใหม่หรือให้นับคะแนนการเลือกกำนันใหม่ก็ต้องฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิของผู้ร้องเป็นคดีมีข้อพิพาทต่อศาล ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอต่อศาลอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาด: กำหนดเวลา 8 วันในการร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดี
การขายทอดตลาดทรัพย์เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะรวบรวมเงินให้พอชำระหนี้ตามคำพิพากษาอันเป็นการดำเนินการบังคับคดี ดังนั้น เมื่อผู้ร้องอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีกระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่ยอมขายทรัพย์ให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ประมูลให้ราคาสูงสุดในการขายทอดตลาด ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์แก่ผู้ร้อง คำร้องเช่นนี้จะต้องยื่นต่อศาลไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่ทราบการกระทำนั้นๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1684/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์มรดกกรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส และสิทธิของผู้เยาว์ในการร้องคัดค้านการยึด
จำเลยแต่งงานกับนาง น. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส จำเลยจึงไม่ใช่ทายาท ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ น. ในคดีเดิมโจทก์ไม่ได้ฟ้อง น. เป็นจำเลย หากแต่ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมรดกของ น. แม้คำพิพากษาในคดีเดิมจะฟังว่า น. กู้เงินโจทก์ไปจริงก็ตาม แต่ในคดีดังกล่าวโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของ น. เป็นจำเลย การที่โจทก์นำยึดที่พิพาทซึ่งมารดาของ น. ยกให้ น. ก่อนแต่งงานกับจำเลย โดยมีชื่อ น. เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว จึงเป็นการยึดทรัพย์ของผู้อื่นมิใช่ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธินำยึด
ผู้ร้องทั้งสามเป็นบุตรของ น. เกิดจากจำเลย ในระหว่างที่ น. ยังมีชีวิตอยู่ น. จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้อง ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538เมื่อ น. ถึงแก่กรรม ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เยาว์จึงไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมและเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของ น.เมื่อศาลมีคำสั่งให้ตั้ง ส. เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้ร้องทั้งสาม ส. จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องทั้งสามได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสุดท้ายและมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับมรดกของ น. ก่อน
ผู้ร้องทั้งสามเป็นบุตรของ น. เกิดจากจำเลย ในระหว่างที่ น. ยังมีชีวิตอยู่ น. จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้อง ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538เมื่อ น. ถึงแก่กรรม ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เยาว์จึงไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมและเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของ น.เมื่อศาลมีคำสั่งให้ตั้ง ส. เป็นผู้แทนเฉพาะคดีของผู้ร้องทั้งสาม ส. จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้ร้องทั้งสามได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 วรรคสุดท้ายและมีสิทธิร้องขัดทรัพย์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องได้รับมรดกของ น. ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีร่วมกันของลูกหนี้ร่วม และสิทธิในการร้องคัดค้านการแบ่งส่วนเฉลี่ยหนี้
โจทก์และธนาคาร ก. ต่างเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2 และ ผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินเพื่อเอาเงินแบ่งส่วนเฉลี่ยให้โจทก์และธนาคารเจ้าหนี้ เมื่อโจทก์เห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีคิดส่วนเฉลี่ยแบ่งให้โจทก์ไม่ถูกต้อง โจทก์ย่อมมีสิทธิร้องคัดค้านการแบ่งส่วนเฉลี่ยนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 320 เพราะโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงจากการแบ่งส่วนเฉลี่ยของเจ้าพนักงานบังคับคดี
ผู้ร้องมีกรรมสิทธิในที่ดินที่ขายทอดตลาดร่วมกับจำเลยที่ 2 อยู่ 1 ใน 3 ส่วนและจำเลยที่ 2 มี 2 ใน 3 ส่วน แต่ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ร่วมกันทำสัญญาค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลอื่นต่อธนาคาร โดยมิได้แบ่งส่วนความรับผิดไว้ ต่อมาได้จำนองที่ดินที่ขายทอดตลาดนั้นให้เป็นประกันแก่ธนาคารด้วย เมื่อธนาคารฟ้องผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ยังได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมร่วมกันชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีให้แก่ธนาคาร จึงถือได้ว่าผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมกันซึ่งจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้เท่า ๆ กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296 เจ้าพนักงานบังคับคดีจะคิดส่วนเฉลี่ยให้ผู้ร้องรับผิดเพียง 1 ใน 3 ตามส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินหาได้ไม่
ผู้ร้องมีกรรมสิทธิในที่ดินที่ขายทอดตลาดร่วมกับจำเลยที่ 2 อยู่ 1 ใน 3 ส่วนและจำเลยที่ 2 มี 2 ใน 3 ส่วน แต่ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ร่วมกันทำสัญญาค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลอื่นต่อธนาคาร โดยมิได้แบ่งส่วนความรับผิดไว้ ต่อมาได้จำนองที่ดินที่ขายทอดตลาดนั้นให้เป็นประกันแก่ธนาคารด้วย เมื่อธนาคารฟ้องผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ยังได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมร่วมกันชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีให้แก่ธนาคาร จึงถือได้ว่าผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมกันซึ่งจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้เท่า ๆ กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296 เจ้าพนักงานบังคับคดีจะคิดส่วนเฉลี่ยให้ผู้ร้องรับผิดเพียง 1 ใน 3 ตามส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีล้มละลายและการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ สิทธิในการร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้ผู้ร้องชำระเงินที่ผู้ร้องเป็นลูกหนี้จำเลยผู้ล้มละลาย ฉะนั้น การที่ผู้ร้องและทนายตลอดจนพยานไม่มาศาลตามวันเวลาที่นัดไต่สวน โดยมิได้ขอเลื่อนหรือแจ้งเหตุให้ศาลทราบ ถือได้ว่าเป็นการขาดนัด และในกรณีเช่นนี้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ติดใจดำเนินคดีต่อไป ศาลก็ต้องสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 ผู้ร้องมีทางดำเนินคดีต่อไปได้เพียงประการเดียว คือการร้องเริ่มต้นคดีใหม่ ซึ่งจะต้องอยู่ในบังคับแพ่งอายุความหรือระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้น การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนใหม่เกินกำหนดเวลา 14 วันนับจากที่ผู้ร้องทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ชำระหนี้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย
ในกรณีที่ผู้ร้องขาดนัดพิจารณา และศาลสั่งให้จำหน่ายคดีของผู้ร้องไปนั้น ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งคดี จึงไม่เป็ฯเหตุให้กำหนดระยะเวลาที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สะดุดหยุดลง
ในกรณีที่ผู้ร้องขาดนัดพิจารณา และศาลสั่งให้จำหน่ายคดีของผู้ร้องไปนั้น ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งคดี จึงไม่เป็ฯเหตุให้กำหนดระยะเวลาที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องคัดค้านการยึดและการเพิกถอนสัญญายอมความต้องดำเนินการโดยการฟ้อง ไม่ใช่คำร้อง
โจทก์นำยึดนามีโฉนดของจำเลย ขอให้ศาลประกาศขายทอดตลาด เพื่อชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาท้ายยอม ปรากฎว่านารายนี้จำเลยได้ทำสัญญาขายให้ผู้ร้องไปครอบครองปีกว่าแล้ว แต่ยังติดขัดโอนโฉนดกันยังไม่ได้ เมื่อเกิดมีคดีระหว่างโจทก์จำเลยขึ้น ผู้ร้องจึงยื่นฟ้องจำเลยบ้างขอให้นาพิพาทแก่ผู้ร้อง และเมื่อนาพิพาทถูกโจทก์ยึดดังกล่าว ผู้ร้องจึงร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญายอมความระหว่างโจทก์จำเลยตามคำพิพากษาท้ายยอม และให้ถอนการยึด ดังนี้ วินิจฉัยว่า ผู้ร้องยังไม่มีสิทธิจะมาร้องขอให้ถอนการยึดได้ และการขอให้จำเลยทำลายสัญญายอมความและคำพิพากษาท้ายยอม ก็ต้องทำเป็นฟ้องไม่ใช่ทำเป็นคำร้อง แม้ในคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลยให้โอนนาพิพาทให้แก่ผู้ร้องศาลจะได้พิพากษาในภายหลังให้จำเลยโอนนาพิพาทให้ผู้ร้องตามสัญญาซื้อขายก็ดี ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องดำเนินการบังคับคดีนั้นต่อไป