คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ร้องเรียนเท็จ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 104/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดจากหนังสือร้องเรียนเท็จ การพิสูจน์ข้อเท็จจริง และขอบเขตความรับผิดร่วมกัน
การฟ้องให้จำเลยร่วมกันรับผิดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 ไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยแต่ละคนจะต้องรับผิดต่อโจทก์คนละเท่าใดเพราะจำเลยต้องร่วมกันรับผิดเต็มตามฟ้องอยู่แล้ว ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมการค้าต่างประเทศจะพูดกับจำเลยที่ 1 ผู้มาขอให้โจทก์ช่วยตรวจสอบเรื่องของจำเลยที่ 1ว่า "ผมไม่ชอบให้พ่อค้าเร่งข้าราชการ ผมรู้หน้าที่ของผมดี ผมไม่ชอบ"ก็ไม่ใช่ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ เชื่อว่าเกิดจากความไม่พอใจที่จำเลยที่ 1 มาเร่งรัด ประกอบกับโจทก์ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติโดยไม่ชักช้า โจทก์จึงไม่มีอคติในการทำงาน การที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ว่าโจทก์ไม่ยอมทำงานเอาแต่นั่งอ่านหนังสือพิมพ์ มีอคติในการทำงาน และกระทำการหน่วงเหนี่ยวเป็นกำแพงป้องกันการส่งสินค้าออก จึงเป็นการร้องเรียนกล่าวหาที่ฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การร้องเรียนเท็จและหมิ่นประมาทผู้บังคับบัญชาเป็นเหตุเพียงพอต่อการเลิกจ้าง
การที่จะพิจารณาว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเป็นธรรมหรือไม่หากสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเกิดแต่ด้านลูกจ้าง พึงพิจารณาว่าลูกจ้างได้กระทำหรืองดเว้นการกระทำอันใดหรือไม่ และการนั้น ๆเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นการเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ ส่วนการแต่งตั้งกรรมการสอบสวนลูกจ้างจะชอบหรือไม่ หรือคณะกรรมการสอบสวนมิได้ปฏิบัติตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานอย่างใด หาเป็นข้อสำคัญที่จะทำให้การเลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่
โจทก์ร้องเรียนกล่าวหาจำเลยที่ 2 ด้วยเรื่องอันเป็นเท็จ และเป็นการหมิ่นประมาทจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา พฤติการณ์ของโจทก์ถือได้ว่าประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลยที่1 ข้อ 60(6) การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุนี้ จึงมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ศาลแรงงานกลางไม่ได้วินิจฉัยว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาหรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ในข้อที่ว่าการกระทำของโจทก์มิใช่เป็นการกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา จึงเป็นอุทธรณ์ที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องเรียนเท็จและการยกเว้นโทษอาญาตามมาตรา 330 เมื่อข้อร้องเรียนเป็นความจริง
จำเลยเป็นสมาชิกเทศบาล ทำหนังสือร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเกี่ยวกับเรื่องที่ภริยาของโจกท์ (โจทก์ เป็นปลัดเทศบาล) ตั้งเบิกจ่ายค่าพาหนะเดินทางย้ายว่า "การเบิกจ่ายที่ผ่านไปได้ทั้ง ๆ ที่ไม่เป็นความจริงหรือการทุจริตนี้วิญญูชนก็ต้องเข้าใจว่า คงกระทำไปด้วยความแนะนำรู้เห็นเป็นใจของโจทก์ผู้สามีอย่างแน่นอน เพราะต่างก็ทำงานร่วมกันและอยู่ในบ้านพักเดียวกัน การกระทำดังกล่าวนี้เป็นการผิดกฎหมายและวินัยของราชการอย่างร้ายแรง" และ "แทนที่โจทก์จะปฏิบัติหน้าที่และวางตนให้สมกับตำแหน่ง โจทก์กลับจะกลายมาเป็นผู้แสวงหาประโยชน์จากเทศบาลโดยวิธีที่ไม่ชอบ ทั้งมีความประพฤติส่วนตัวที่ไม่สมควรมากมายหลายอย่าง จนพนักงานเทศบาลและประชาชนขาดความเคารพนับถือ สำหรับความประพฤติส่วนตัวที่เลวร้ายของโจทก์นั้นจำเลยจะยังไม่ขอกล่าวในโอกาสนี้" ดังนี้ ข้อความที่กล่าวว่าโจทก์มีความประพฤติเลวร้ายแต่มิได้กล่าวว่าเลวร้ายอย่างใดนั้น ก็น่าจะเข้าใจได้ว่า การกระทำที่เป็นทุจริตอย่างจำเลยกล่าวหาโจทก์ เป็นความประพฤติที่เลวร้ายได้ และเมื่อปรากฏว่าคำร้องเรียนของจำเลยเป็นความจริง จำเลยก็ไม่ต้องรับโทษเพราะได้รับความยกเว้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 330.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน แม้ไม่ลงประจำวัน ก็ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย
นำความที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจกล่าวโทษว่า เขาลักตัดยางและเอาไฟเผาสวนยางด้วย โดยความจริงเขามิได้กระทำผิดังข้อหานั้นเลย ดังนี้แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะมิได้จดข้อความที่แจ้งความนั้นไว้ในสมุดลงประจำวัน ผู้แจ้งก็มีความผิดฐานแจ้งความเท็จร้องเรียนเท็จตาม ก.ม. ลักษณะอาญา ม.158 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน แม้ไม่ลงประจำวัน ก็ถือเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จได้
นำความที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจกล่าวโทษว่าเขาลักตัดยางและเอาไฟเผาสวนยางด้วยโดยความจริงเขามิได้กระทำผิดดังข้อหานั้นเลยดังนี้แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะมิได้จดข้อความที่แจ้งความนั้นไว้ในสมุดลงประจำวันผู้แจ้งก็มีความผิดฐานแจ้งความเท็จร้องเรียนเท็จตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา158 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 405/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องฐานร้องเรียนเท็จ/เบิกความเท็จ ต้องระบุข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
ในคดีหาว่าร้องเรียนเท็จและเบิกความเท็จนั้น ในฟ้องต้องระบุมาด้วยว่าความจริงเป็นอย่างไร มิฉะนั้นเป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการร้องเรียนเท็จ ผู้ใหญ่บ้านเชื่อตามข้อมูลที่ได้รับ ไม่ถือว่าผิด ม.158
ผู้ใหญ่บ้านยื่นเรื่องราวต่อคณะกรรมการอำเภอโดยเชื่อว่าข้อความในเรื่องราวนั้นเป็นความจริงถึงแม้เรื่องราวนั้นจะเป็นเท็จ ก็ไม่มีความผิดฐานร้องเรียนเท็จ คำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจโดยระบุตัวผู้ถูกกล่าวหาเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 158
ความผิดตาม ม.158 ไม่หมายถึงเรื่องฟ้องเท็จศาลอย่างเดียว การฟ้องเรียนเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจโดยระบุเจาะตัวผู้ถูกหา ก็เป็นผิดตามมาตรานี้
จำเลยรู้อยู่แล้วว่าเจ้าทุกข์เมาสุราเถื่อนไปอำเภอตามคำสั่งของผู้ใหญ่บ้านกับไปบอกตำรวจว่าเจ้าทุกข์มีสุราเถื่อนดังนี้ ต้องผิดฐานร้องเรียนเท็จตามมาตรา 158
อ้างฎีกาที่ 169/2479 และที่ 392/2480

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร้องเรียนเท็จและการใช้ดุลยพินิจในการลดโทษ: ผลกระทบต่อการจับกุมและกักขัง
จำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานหาว่าเขากระทำผิดฐานปล้นเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานจับผู้นั้นไปกักขังจำเลยยังหามีผิดฐานทำให้เสื่อมเสียอิศระภาพไม่ หลักวินิจฉัย ดุลยพินิจ ปัญหาว่าคำรับชั้นสอบสวนของจำเลยมีประโยชน์แก่การพิจารณาพิพากษาคดีหรือไม่ เป็นข้อดุลยพินิจ