คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลงข่าว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: จำเลยต้องมีความเกี่ยวข้องกับการลงข่าวใส่ความโจทก์
คำว่าเบี้ยวมีความหมายพิเศษเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่า หมายถึงไม่ซื่อตรงหรือโกงการแปลหัวข้อข่าวที่ว่าแอมบาสเดอร์เบี้ยวค่าเฟอร์นิเจอร์ หมายถึงแอมบาสเดอร์ไม่จ่ายค่าเฟอร์นิเจอร์เพราะไม่ซื่อตรงหรือโกง จึงไม่เป็นการแปลความหมายผิดไปจากเจตนารมณ์หรือความหมายหัวข้อข่าวที่ว่า"แอมบาสเดอร์เบี้ยวค่าเฟอร์นิเจอร์ เจ้าของฟ้องศาลเรียกหนี้ 1 ล้าน" ประกอบกับข้อความในเนื้อข่าวตามฟ้อง เป็นการใส่ความโจทก์ทั้งสาม โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์ทั้งสามเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังหรือไม่ เป็นการวินิจฉัยลักษณะของการกระทำ อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลวินิจฉัยได้เองโดยพิเคราะห์จากข้อความเหล่านั้นว่ามีอย่างไร หัวข้อข่าวที่ว่าแอมบาสเดอร์เบี้ยวค่าเฟอร์นิเจอร์เป็นถ้อยคำของหนังสือพิมพ์เอง ประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ทั้งสามไม่ซื่อตรงหรือโกงซึ่งไม่ตรงกับความจริง เมื่อจำเลยลงข่าวแสดงความเห็นเสียเอง จึงเป็นการใส่ความโจทก์ทั้งสามในประการที่น่าจะทำให้โจทก์ทั้งสามเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท และการลงข่าวเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาล จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329(4) ข้อความที่ลงในหนังสือพิมพ์ตามฟ้องนั้น เมื่ออ่านประกอบกันทั้งหมดหมายถึงว่าแอมบาสเดอร์ไม่จ่ายค่าเฟอร์นิเจอร์เพราะไม่ซื่อตรงหรือโกงคำว่าแอมบาสเดอร์เป็นถ้อยคำที่ละม้ายคล้ายคลึงกับคำว่าแอมบาสเดอร์ซึ่งโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ใช้ในการดำเนินธุรกิจโรงแรมอยู่แล้ว ในเนื้อข่าวยังได้ระบุชื่อโจทก์ที่ 3 ว่าเป็นกรรมการซึ่งโจทก์ที่ 3 ก็เป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 และประกอบธุรกิจอยู่ ประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ย่อมรู้ได้ว่าแอมบาสเดอร์ตามหัวข้อข่าวหมายถึงแอมบาสเดอร์ อันเป็นชื่อที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ใช้ในธุรกิจโรงแรมนั้นเอง ย่อมทำให้โจทก์ทั้งสามขาดความเชื่อถือเนื่องจากไม่ซื่อตรงหรือโกงตามที่ลงข่าวเมื่อข้อความที่ลงในหนังสือพิมพ์ตามฟ้องหมายถึงชื่อของโจทก์ทั้งสาม จึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งสาม บริษัทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นนิติบุคคลเป็นเพียงบุคคลสมมติโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายเท่านั้น ดำเนินหรือปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ของบริษัทด้วยตนเองไม่ได้ ต้องกระทำโดยผู้แทน โจทก์ที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทโจทก์ที่ 1 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าฝ่ายจำเลยลงข่าวในหนังสือพิมพ์ตามฟ้องหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โดยในเนื้อข่าวระบุชื่อโจทก์ที่ 3 ว่าเป็นกรรมการของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 นอกจากจะเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 1และที่ 2 แล้ว ยังเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ที่ 3 ผู้ถูกระบุชื่อว่าเป็นกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนดำเนินหรือปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ด้วย โจทก์ทั้งสามจึงเป็นผู้เสียหาย โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันเขียนและโฆษณาข้อความลงในหนังสือพิมพ์ของจำเลยที่ 1 ใส่ความโจทก์ จำเลยที่ 3 และที่ 5ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์และมิได้ยอมรับว่าเป็นผู้ให้ข่าวหรือได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ลงข่าวใส่ความโจทก์โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบพิสูจน์ โดยนำข้อเท็จจริงมาสู่ศาลเพื่อให้ฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 5 ได้กระทำความผิดตามฟ้อง เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ประจักษ์ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 5 ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 อย่างไร และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 3 และที่ 5 ให้นโยบายว่าจะเสนอข่าวเกี่ยวกับหัวข้อข่าวและเนื้อข่าวหมิ่นประมาทโจทก์ตามฟ้องแต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3และที่ 5 ได้ร่วมกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทผ่านสื่อ: การลงข่าวที่ทำให้เข้าใจว่าผู้เสียหายรู้เห็นการทุจริต ย่อมเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณาและเจ้าของหนังสือพิมพ์ที่พิมพ์จำหน่ายแพร่หลายแก่บุคคลทั่วไปในเขตจังหวัด อุบลราชธานีและเป็นเจ้าของนามปากกาว่า "ขุนช้าง" จำเลยได้ลงข่าวเกี่ยวกับโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด อุบลราชธานี มีข้อความว่า "ขอบใจที่ พล.อ. สิทธิ จิรโรจน์ ร.ม.ต.มหาดไทยกล่าวว่าทำไมผู้กำกับจึงมาร้องตอนนี้ ทั้ง ๆ ที่เรื่องมีมานานขุนช้างว่า คงพึ่งคิดวิธีทำอาญาให้เป็นแพ่งได้กระมัง จริงไหมครับพ.ต.อ. นิยม ไกรลาศ " อันเป็นข้อความที่เกี่ยวโยงกับกรณีกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่การเงินกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัด อุบลราชธานีซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ร่วมยักยอกเงินของทางราชการจำนวนหลายล้านบาท ย่อมทำให้บุคคลทั่วไปที่ได้อ่านข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเข้าใจว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริตยักยอกเงินของทางราชการ ข้อความที่จำเลยลงโฆษณานอกจากจำเลยอ้างถึงข้อความที่พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ กล่าวดังกล่าวแล้ว จำเลยไม่ได้อ้างถึงข้อความจริงอันใดให้จำเลยแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งผู้ได้อ่านก็ไม่ได้รู้ถึงความจริงอันควรเชื่อหรือไม่ว่าเป็นดังจำเลยกล่าว แต่จำเลยยืนยันข้อเท็จจริงให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์เชื่อว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริต จึงไม่ใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำทั้งไม่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๙ ข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจึงเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๘ และเมื่อเป็นความผิดตามมาตรานี้แล้ว ก็ไม่ต้องยกมาตรา ๓๒๖ ขึ้นปรับบทลงโทษอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของหนังสือพิมพ์ไม่รับผิดทางอาญา หากไม่ได้กระทำการลงข่าวเอง แม้จะเป็นผู้พิมพ์ผู้โฆษณา
จำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ลงตีพิมพ์ข้อความในหนังสือพิมพ์เพื่อจำหน่ายตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ผู้เดียว การที่จะให้จำเลยที่ 1 รับผิดในทางอาญาจะต้องได้ความว่า จำเลยที่ 1 ได้กระทำการอันใดอันหนึ่งซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด เพียงแต่จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์โดยมิได้กระทำการอันใด จะให้ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทด้วยการลงข่าวเช็คไม่มีเงิน แม้เป็นเรื่องส่วนตัวแต่ทำให้เสียชื่อเสียง
จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์มีข้อความสำคัญว่าโจทก์จ่ายเช็คจำนวน 1 ล้านบาทให้แก่ธนาคาร ถึงกำหนดปรากฏว่าเช็คไม่มีเงินธนาคารแจ้งตำรวจขอให้จับโจทก์ดำเนินคดี ตามข้อความดังกล่าวย่อมเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์มีฐานะการเงินไม่ดีไม่น่าเชื่อถือ การลงข่าวของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีและประกอบการค้าโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงทั้งเรื่องที่โจทก์จ่ายเช็คไม่มีเงินและถูกธนาคารแจ้งความเป็นเรื่องส่วนตัวของโจทก์ ไม่เกี่ยวกับหน้าที่การงานของโจทก์ในตำแหน่งนายกเทศมนตรีอันจะถือได้ว่าเป็นประโยชน์แก่ประชาชนจำเลยจะอ้างว่าข่าวนั้นเป็นความจริงเพื่อมิให้ต้องรับผิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1628/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาทจากการลงข่าวใส่ความเจ้าพนักงาน – กำนันและปลัดอำเภอ – เจตนาและบริบท
จำเลยลงข่าวในหนังสือพิมพ์ของจำเลยเป็นข้อความหมิ่นประมาทใส่ความกำนันตำบลหาดท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ว่าให้สินบนพนักงานสอบสวนที่ทำการสอบสวนกำนันฐานทุจริตต่อหน้าที่ และพนักงานสอบสวนนั้นได้หน่วงเหนี่ยวสำนวนไว้เพื่อให้พยานกลับคำ เมื่อปรากฎว่ากำนันตำบลหาดท่าเสามีนายใบ โสภาสุข คนเดียว และนายใบ โสภาสุข กำลังถูกนายประโยชน์ แสงสอาด สอบสวนเรื่องทุจริตต่อหน้าที่ (สอบสวนคนเดียว) เช่นนี้จำเลยก็ย่อมมีผิดฐานหมิ่นประมาทใส่ความนายใบและนายประโยชน์ทั้งสองคน.