พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชักชวนลงทุนและสัญญาโอนหุ้นที่ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยชักชวนโจทก์เข้าร่วมลงทุนในบริษัทของจำเลย โดยให้โจทก์ซื้อหุ้นในบริษัทของจำเลย 3,000 หุ้น เป็นเงิน 300,000 บาท และโจทก์ได้ชำระเงินให้จำเลยรับไปแล้วโดยจำเลยสัญญาว่า เมื่อชำระแล้วจะโอนหุ้นในบริษัทของจำเลยให้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยมาขอเงินจากโจทก์อีก 58,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในบริษัทและจะชำระเงินคืนเป็นหุ้นให้ โจทก์จึงจ่ายเงินให้จำเลยไป ซึ่งรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 358,000 บาท การที่จำเลยชักชวนโจทก์ให้ซื้อหุ้นในบริษัทของจำเลย เป็นเพียงคำรับรองที่จำเลยจะปฏิบัติในอนาคตขณะให้คำรับรองดังกล่าวยังไม่ถึงกำหนดเวลาที่จำเลยจะปฏิบัติตามคำรับรอง จึงไม่ใช่ความเท็จ นอกจากนั้นตามบัญชีผู้ถือหุ้น ก็ปรากฏว่าจำเลยมีหุ้นอยู่ในบริษัทดังกล่าวจำนวนถึง 9,940 หุ้น แสดงว่ามีหุ้นอยู่จริง มิได้หลอกลวงโจทก์ การที่จำเลยไม่โอนหุ้นให้แก่โจทก์จึงเป็นการผิดสัญญาในทางแพ่งเท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1687/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อการลงทุนร่วมแล้วยกเลิก ถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อประกอบกิจการ เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/1 (4) และ 91/2 มีความหมายว่า การประกอบกิจการการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรในราชอาณาจักรไทยต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่กำหนดโดย พ.ร.ฎ. โดยคำว่า ขาย ในภาษีธุรกิจเฉพาะนั้นนอกจากหมายถึง การซื้อขายตามมาตรา 453 แห่ง ป.พ.พ. แล้วยังหมายความรวมถึงการจำหน่าย จ่ายหรือโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามนิติกรรมสัญญาประเภทต่าง ๆ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ด้วย คดีนี้โจทก์กับ พ. ได้ทำสัญญาต่างตอบแทนเพื่อลงทุนก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินของ พ. โดยก่อนทำการก่อสร้าง พ. ได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์บางส่วน ต่อมาโจทก์กับ พ. ตกลงยกเลิกสัญญาการร่วมลงทุนก่อสร้างอาคารพาณิชย์ดังกล่าว โจทก์จึงโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินคืนให้แก่ พ. ซึ่งการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวแม้ไม่มีค่าตอบแทนก็ถือเป็นการขายตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/1 (4) แล้ว และที่ดินนั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์มีไว้โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะประกอบกิจการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ ซึ่งถือว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไรตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 91/2 (6) ประกอบ พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244)ฯ มาตรา 3 (5) โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1687/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อลงทุน แม้ไม่มีค่าตอบแทน ก็ถือเป็นธุรกิจเฉพาะที่ต้องเสียภาษี
คำว่า ขาย อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรอันต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 244 มีความหมายกว้างกว่าคำว่า ซื้อขาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 453 เพราะยังหมายความรวมถึงการจำหน่าย จ่าย โอน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามนิติกรรมสัญญาประเภทต่าง ๆ ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ด้วย การที่โจทก์ทำสัญญาต่างตอบแทนเพื่อลงทุนก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินของ พ. โดย พ.โอนกรรมสิทธิ์ใน ที่ดินบางส่วนให้โจทก์ก่อนทำการก่อสร้าง ต่อมาโจทก์กับ พ. ยกเลิกสัญญาการร่วมลงทุนก่อสร้างอาคารพาณิชย์ ดังกล่าว โจทก์จึงโอนที่ดินดังกล่าวคืนให้ พ. โดยไม่มีค่าตอบแทนก็ถือเป็นการขายตาม ป. รัษฎากร มาตรา 91/1 (4) แล้ว และเมื่อที่ดินที่ขายเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์มีไว้โดยวัตถุประสงค์ที่จะประกอบกิจการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ ซึ่งเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือ หากำไร ตามมาตรา 91/2 (6) ประกอบพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 244 มาตรา 3 (5) โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4691/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงลงทุนซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารเพื่อผลประโยชน์ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหายตามกฎหมายอาญา
การที่จำเลยหลอกลวงโจทก์ร่วมโดยกล่าวเท็จชักชวนโจทก์ร่วมให้นำเงินไปซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารรายละ 2,000 บาท ในระยะเวลา 1 เดือน จะได้กำไรรายละ 600 บาท แบ่งให้เจ้าหน้าที่การเงินของทหารรายละ 50 บาท เหลือกำไรซึ่งจะทำให้โจทก์ได้ผลประโยชน์ตอบแทนรายละ 550 บาท ไม่ใช่กิจการที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้าม แต่เป็นเพียงข้ออ้างของจำเลยเพื่อจูงใจให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อและยินยอมมอบเงินให้จำเลย โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้จากการยักยอกเงินลงทุน ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยลงชื่อสั่งจ่ายเช็ค โดย ศ. เป็นผู้เขียนข้อความในเช็คตามที่จำเลยขอให้เขียนแทนเนื่องจากจำเลยอ้างว่าลายมือไม่สวยเมื่อ ศ. เขียนรายการในเช็คตามที่จำเลยขอให้เขียนให้ต่อหน้าจำเลยถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมและ ภ. ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3692/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการกู้เงินลงทุนสร้างโรงงาน ไม่สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้ตามมาตรา 65 ตรี(5) แห่งประมวลรัษฎากร
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนนั้น มาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากรบัญญัติไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิและไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรออกคำสั่งยกเว้นให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ทั้งตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.72/2540 อธิบดีกรมสรรพากรออกคำสั่งดังกล่าวเป็นแนวปฏิบัติในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเนื่องจากการปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราให้สามารถคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในคำสั่งดังกล่าวได้ ไม่มีข้อความใดที่แสดงว่ายกเว้นบทบัญญัติในมาตรา 65 ตรี (5)
การหักค่าเสื่อมราคาและค่าสึกหรอตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องเป็นการลงทุนในทรัพย์สินที่มีสภาพพร้อมใช้งานหรือใช้ประโยชน์ได้แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าโรงงานของโจทก์อยู่ในสภาพดังกล่าว จึงไม่อาจนำผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิโดยอาศัยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.72/2540 ได้
การหักค่าเสื่อมราคาและค่าสึกหรอตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องเป็นการลงทุนในทรัพย์สินที่มีสภาพพร้อมใช้งานหรือใช้ประโยชน์ได้แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าโรงงานของโจทก์อยู่ในสภาพดังกล่าว จึงไม่อาจนำผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิโดยอาศัยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.72/2540 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9709/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องผู้ถือหุ้น, กรรมเดียวกับการลงทุน, การแสดงรายการในงบดุล, และการฟ้องซ้ำ
ตามสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทซึ่งจำเลยในฐานะกรรมการผู้จัดการลงชื่อรับรองว่าเป็นรายการที่ถูกต้องตรงกับสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นระบุว่าโจทก์เป็นผู้ถือหุ้นรายหนึ่ง และสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นนั้นกฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1141 เมื่อจำเลยไม่นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นรายหนึ่งในบริษัท โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 (2)
ตามสัญญาสนับสนุนการลงทุนระบุว่าคู่สัญญาฝ่ายที่ 1 (บริษัทเอ็ม.พีปิโตรเลียม จำกัด) ตกลงให้เงินลงทุนแก่คู่สัญญาฝ่ายที่ 2 (จำเลยและบริษัทตะวันอีสาน จำกัด) จำนวน 15,000,000 บาท โดยจะมอบให้เมื่อคู่สัญญาฝ่ายที่ 2 ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาข้อ 3.1 แม้จำเลยจะรับเงินจำนวนดังกล่าวต่างวันกันแบ่งเป็นสองจำนวน แต่เจตนาที่จำเลยกระทำเป็นเจตนาที่กระทำต่อเงินจำนวน 15,000,000 บาท ทั้งจำนวน จึงเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันเพื่อเงินจำนวนดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่แสดงเกี่ยวกับรายการดังกล่าวให้ปรากฏเป็นยอดรวมในงบดุลเพียงครั้งเดียว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2535 การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว
ตามสัญญาสนับสนุนการลงทุนระบุว่าคู่สัญญาฝ่ายที่ 1 (บริษัทเอ็ม.พีปิโตรเลียม จำกัด) ตกลงให้เงินลงทุนแก่คู่สัญญาฝ่ายที่ 2 (จำเลยและบริษัทตะวันอีสาน จำกัด) จำนวน 15,000,000 บาท โดยจะมอบให้เมื่อคู่สัญญาฝ่ายที่ 2 ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาข้อ 3.1 แม้จำเลยจะรับเงินจำนวนดังกล่าวต่างวันกันแบ่งเป็นสองจำนวน แต่เจตนาที่จำเลยกระทำเป็นเจตนาที่กระทำต่อเงินจำนวน 15,000,000 บาท ทั้งจำนวน จึงเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันเพื่อเงินจำนวนดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่แสดงเกี่ยวกับรายการดังกล่าวให้ปรากฏเป็นยอดรวมในงบดุลเพียงครั้งเดียว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2535 การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนลงทุนซื้อที่ดินผิดสัญญา ศาลอนุญาตฟ้องเรียกเงินลงทุนคืนได้ แม้มีข้อตกลงห้ามเรียกคืน
โจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ทำสัญญาเข้าหุ้นส่วนกันเพื่อซื้อที่ดินมาค้าหากำไรโดยมีข้อสัญญาว่าเมื่อซื้อที่ดินมาแล้วหุ้นส่วนทุกคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นร่วมกัน และหุ้นส่วนทุกฝ่ายตกลงกันว่าจะไม่มีการเรียก เงินลงทุนคืนระหว่างดำเนินการ ต่อมาเมื่อรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากผู้ขายแล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ไม่ใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าว แต่กลับใส่ชื่อจำเลยที่ 7 ถึงที่ 10 แทนที่โจทก์ แล้วนำที่ดินแปลงดังกล่าวจำนอง โดยอ้างว่าโจทก์ไม่ชำระเงินลงหุ้นให้ครบและไม่ยอมจำนองที่ดินพิพาท เท่ากับเป็นการปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนอีกต่อไป โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินลงหุ้นหรือเงินลงทุนคืนได้
กิจการของหุ้นส่วนในคดีนี้มีเพียงอย่างเดียวคือ ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนลงทุนเพื่อซื้อที่ดินแปลงหนึ่งมาค้าหากำไร ไม่ปรากฎว่ามีทรัพย์สินอื่นนอกจากเงินลงหุ้นและไม่ปรากฏหนี้สินแต่อย่างใด การที่จะให้ไปดำเนินการฟ้องขอให้ เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกฝ่าย ศาลย่อมพิพากษาให้คืนเงินลงหุ้นไปได้เลย
กิจการของหุ้นส่วนในคดีนี้มีเพียงอย่างเดียวคือ ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนลงทุนเพื่อซื้อที่ดินแปลงหนึ่งมาค้าหากำไร ไม่ปรากฎว่ามีทรัพย์สินอื่นนอกจากเงินลงหุ้นและไม่ปรากฏหนี้สินแต่อย่างใด การที่จะให้ไปดำเนินการฟ้องขอให้ เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนเสียก่อน ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกฝ่าย ศาลย่อมพิพากษาให้คืนเงินลงหุ้นไปได้เลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองอาคารบนที่ดินของผู้อื่น: ผู้ลงทุนก่อสร้างไม่ใช่ผู้มีอำนาจพิเศษ
การที่โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ประกอบการค้าในสวนลุมพินีต่อไปอีก 30 ปี และจำเลยที่ 1 ตกลงจะสร้าง อาคารใหม่ขึ้นอีก 1 แห่ง แต่ขณะนั้นจำเลยที่ 1 ไม่มีเงิน เพียงพอ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงให้ผู้ร้องเป็นผู้ลงทุน ก่อสร้างอาคารให้โจทก์ เช่นนี้ต้องถือว่าผู้ร้องสร้างอาคารพิพาท โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะยินยอมให้ผู้ร้องประกอบการค้าในอาคารที่ก่อสร้างได้ แต่ก็เป็นการเข้าไปอยู่ในอาคารและที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1และที่ 2 ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะบริวารไม่ใช่ผู้มีอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะทางกฎหมายของผู้เช่าที่ลงทุนสร้างอาคารในที่ดินของผู้อื่น: บริวารหรือผู้มีอำนาจพิเศษ
โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ประกอบการค้าใน สวนลุมพินีต่อไปอีก 30 ปี และจำเลยที่ 1 ตกลงจะสร้างอาคารใหม่ขึ้นอีก 1 แห่ง แต่ขณะนั้นจำเลยที่ 1 ไม่มีเงินเพียงพอ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงให้ผู้ร้องเป็นผู้ลงทุน ก่อสร้างอาคารให้โจทก์เช่นนี้ต้องถือว่าผู้ร้องสร้างอาคารพิพาท โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะยินยอมให้ผู้ร้อง ประกอบการค้าในอาคารที่ก่อสร้างได้ก็ตาม แต่ผู้ร้อง ก็เข้าไปอยู่ในอาคารและที่ดินพิพาทก็โดยอาศัยสิทธิของ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะบริวารไม่ใช่ ผู้มีอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 จัตวา(3)