พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4116/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้พิพากษาลงนามไม่ถูกต้อง ทำให้ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 30,000 บาท จำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 7 เดือน แต่มีผู้พิพากษาลงนามในคำพิพากษาเพียงคนเดียว เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (5) ทั้งนี้เพราะผู้พิพากษาคนเดียวจะพิพากษาลงโทษจำคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายข้างต้นซึ่งมีผลทำให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ. จัดจั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1297/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของสมาชิกบัตรเสริม: การลงนามในใบสมัครและการตกลงรับผิดชอบ
ใบสมัครสมาชิกบัตรเสริมที่ออกโดยบริษัทโจทก์แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน และข้อความที่ระบุถึงความรับผิดนั้นอยู่ในส่วนประวัติสมาชิกบัตรหลัก และมีผู้ลงชื่อเพียงสมาชิกบัตรหลักคือจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขออนุมัติเท่านั้น คงปรากฏลายมือชื่อจำเลยที่ 2 เฉพาะในส่วนที่เป็นประวัติของผู้สมัครบัตรเสริมเท่านั้น ซึ่งมิได้มีข้อความใดระบุว่าผู้สมัครบัตรเสริมคือจำเลยที่ 2 ได้ตกลงยินยอมถึงขนาดยอมตนเข้ารับผิดร่วมกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสมาชิกบัตรหลักด้วย ทั้งข้อบังคับของสมาชิกภาพก็หามีข้อความใด ๆ ที่จะแปลความถึงขนาดให้มีผลถึงการรับรู้หรือผูกพันจำเลยที่ 2 ให้ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ไม่ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินคืนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6312/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง สัญญาที่ไม่ชอบ การลงนามโดยผู้ไม่มีอำนาจ
จำเลยได้ให้การต่อสู้ว่าสัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องนั้นไม่ชอบเพราะลงนามโดยผู้ไม่มีอำนาจทำการแทนโจทก์ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกขอเท็จจริงที่ว่าว.และป. ผู้ลงนามในสัญญาตามฟ้องไม่ใช่กรรมการของโจทก์และโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ทำสัญญาดังกล่าวแทนสัญญานั้นจึงไม่ผูกพันคู่กรณีขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่จำเลยได้เถียงทั้งประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะมิได้มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นไว้ศาลก็อาจยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการล้มละลายหมดอำนาจลงนามในฐานะกรรมการของบริษัท
จำเลยที่ 2 ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่17 มีนาคม 2530 และคดีถึงที่สุดแล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ตกเป็นบุคคลล้มละลายจำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ก็ต้องเป็นอันขาดจากตำแหน่งกรรมการจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1154 การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อและประทับตราจำเลยที่ 1 แต่งตั้งทนายความไปยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายหลังจากเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว เพื่อขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการล้มละลายขาดอำนาจลงนามในคำร้อง แม้เป็นกรรมการของบริษัทผู้ร้อง
จำเลยที่2ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่17มีนาคม2530และคดีถึงที่สุดแล้วเมื่อจำเลยที่2ตกเป็นบุคคลล้มละลายจำเลยที่2ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่1ก็ต้องเป็นอันขาดจากตำแหน่งกรรมการจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1154การที่จำเลยที่2ลงลายมือชื่อและประทับตราจำเลยที่1แต่งตั้งทนายความไปยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายหลังจากเป็นบุคคลล้มละลายแล้วเพื่อขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่1จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1954/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายแม้ไม่ได้เป็นผู้ลงนามโดยตรง หากมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการและลงนามแทน
จำเลยได้มอบหมายให้ จ. เป็นผู้ดำเนินการทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ โดยจำเลยลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญา ฉะนั้นจำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญาจะซื้อขายที่จำเลยฎีกาว่า สัญญาจะซื้อขายไม่ผูกพันจำเลย เพราะไม่มีกรณีตั้งตัวแทนหรือยินยอมให้ผู้ได้เชิดตนเองกระทำการเป็นตัวแทนจำเลย และที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องตัวแทนเชิดเป็นเรื่องนอกฟ้องนั้น คดีนี้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจากพฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยได้มอบหมายให้ จ. และ ป. ภริยาเป็นผู้ติดต่อขายที่ดินของจำเลยแทนจำเลยและจำเลยเป็นผู้ลงชื่อในสัญญาด้วยตนเอง ดังนี้ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเรื่องตัวแทนเชิดดังที่จำเลยฎีกาแต่อย่างใด โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์และโจทก์ได้ว่าจ้างบริษัท ม. ปลูกสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก3 ชั้น ลงบนที่ดินดังกล่าวขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ หากไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทให้ได้ให้ใช้ราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยโอนสิ่งปลูกสร้างด้วย จึงไม่เกินคำขอ และโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ว่าจ้างบริษัท ม. ปลูกสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก3 ชั้น บนที่ดินพิพาท การก่อสร้างดังกล่าวย่อมทำให้ที่ดินพิพาทราคาสูงขึ้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนที่เกี่ยวกับราคาที่ดินที่สูงขึ้นเพราะการก่อสร้างด้วยและราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ขอให้ชดใช้ย่อมหมายถึงราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในขณะฟ้อง ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยต้องรับผิดสำหรับค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่สูงขึ้นในขณะฟ้องตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง จึงไม่เป็นการนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งสัญญาค้ำประกันและขอบเขตความรับผิดชอบ ศาลฎีกาพิพากษายืนตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยลงนาม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันให้ไว้แก่โจทก์ สัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอม และไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร หากจำเลยที่ 2จะต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วก็จะต้องรับผิดไม่เกิน 150,000 บาท ดังนี้คำให้การจำเลยที่ 2 จึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องหรือไม่ และจำเลยที่ 2จะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาเพียงใด คำให้การจำเลยที่ 2หาได้ขัดกัน หรือไม่อาจเป็นไปได้ทั้งสองประการในคราวเดียวกันแต่อย่างใด เพราะข้อต่อสู้ตอนต้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงส่วนข้อต่อสู้ตอนหลังเป็นเรื่องปัญหาข้อกฎหมายในการแปลข้อสัญญาว่าจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด ฉะนั้น การที่ศาลไม่วินิจฉัยให้นั้นจึงไม่ชอบ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 2ไม่ได้ให้การในรายละเอียดเจาะจงว่าลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในเอกสารดังกล่าว ไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธินำสืบว่าลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันนั้นไม่ใช่ของจำเลยที่ 2ข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นเรื่องนอกคำให้การจึงรับฟังไม่ได้ การที่จำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกเอกสารหนังสือเดินทางของจำเลยที่ 3 จากกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อพิสูจน์ว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยที่ 3 ไม่ชอบเพราะจำเลยที่ 3 ไม่ได้อยู่ในราชอาณาจักรขณะที่มีการนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งแก่จำเลยที่ 3 นั้น เห็นได้ว่า เอกสารดังกล่าวมิใช่เอกสารเกี่ยวกับประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่ 2จึงเป็นเอกสารที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจงดสืบพยานหลักฐานดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 86 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนคดีที่มีผู้เสียหายจำนวนมาก การใช้แบบพิมพ์คำให้การไม่ทำให้การสอบสวนเสียไปหากผู้เสียหายตรวจสอบและลงนาม
พนักงานสอบสวนทำการสอบปากคำผู้เสียหายที่ถูกจำเลยทั้งสามฉ้อโกงแตกต่างกับการสอบปากคำในคดีทั่ว ๆ ไป เนื่องจากผู้เสียหายมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ผู้เสียหายต่างให้การถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นทำนองเดียวกัน พนักงานสอบสวนจึงทำแบบพิมพ์ในส่วนที่เหมือนกันไว้ เว้นช่องว่างในส่วนที่เกี่ยวกับชื่อของผู้เสียหาย จำนวนเงินและวันเวลา ซึ่งเป็นส่วนรายละเอียดของผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะไว้ เพื่อกรอกรายละเอียดในตอนสอบปากคำผู้เสียหายแต่ละคน เช่นนี้ หามีผลทำให้การสอบสวนเสียไปไม่ส่วนกรณีที่ผู้เสียหายมาให้ถ้อยคำหลายรายและพนักงานสอบสวนแจกแบบพิมพ์คำให้การดังกล่าวให้แต่ละคนไปอ่านดูก่อนแล้วเรียกเข้ามากรอกข้อความทีละคน พนักงานสอบสวนก็ได้สอบถามผู้เสียหายผู้ให้ถ้อยคำว่า มีอะไรผิดบ้าง ถ้าไม่มีผิดก็ให้ลงชื่อ ถ้าผิดพลาดก็ขีดฆ่าแก้ไขและลงลายมือชื่อกำกับ เช่นนี้เมื่อไม่ปรากฏว่าคำให้การของผู้เสียหายไม่ตรงกับปากคำที่ให้การไว้ต่อพนักงานสอบสวน หรือปากคำนั้นผู้เสียหายไม่ได้ให้การด้วยความสมัครใจหรือด้วยเหตุอันมิชอบอย่างอื่น จะถือว่าการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวที่แก้ไขเปลี่ยนแปลง: ผลผูกพันตามสัญญาและการพิสูจน์เจตนาในการลงนาม
จำเลยทำสัญญา ประกันตัว ผู้ต้องหาต่อ โจทก์ แม้สัญญาประกัน จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมจากข้อความเดิม ซึ่ง กล่าวหาว่าออกเช็ค โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้ เงินตาม เช็ค โดย พิมพ์ข้อความเพิ่มเติมว่า ออกเช็ค ในขณะที่ออกไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้ เงินได้ และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค นั้น และมีการแก้ไขจำนวนเงิน เดิม 150,000 บาท โดย ขีดฆ่าจำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษรออกแล้วพิมพ์ใหม่ว่า 86,600 บาท เนื่องจากตาม ระเบียบกำหนดให้ผู้ประกันรับผิดไม่เกินจำนวนเงินในเช็ค ที่ถูก กล่าวหา ดังนี้ ทั้งข้อความเดิม และข้อความที่เพิ่มเติมนั้นก็เป็นข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนั่นเอง มิได้ เพิ่มเติมข้อหาความผิดอื่นแต่ อย่างใด และจำนวนเงินประกันที่แก้ จาก เดิม ก็เป็นผลดี แก่จำเลยด้วย ทั้งฟังได้ว่ามีการขีดฆ่าจำนวนเงินที่ ประกันและลงจำนวน เงินที่ประกันใหม่ต่อหน้าจำเลยแล้วก่อนที่ จำเลยจะลงชื่อในสัญญาประกันดังกล่าว สัญญาประกันจึงเป็นเอกสาร ที่ถูกต้อง สมบูรณ์มีผลใช้ บังคับได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทต้องลงนามด้วยตนเอง การมอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนในฐานะกรรมการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การเป็นกรรมการบริษัทเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว กรรมการจึงต้องกระทำการด้วยตนเอง จะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำแทนตนในฐานะกรรมการบริษัทหาได้ไม่ เมื่อข้อบังคับของบริษัทโจทก์ระบุว่ากรรมการซึ่งลงลายมือชื่อผูกพันบริษัทโจทก์คือ นาง ก. ลงลายมือชื่อร่วมกับ นาย ช. ดังนั้นการที่ นาง ก. ลงลายมือชื่อในนามตนเองและลงลายมือชื่อในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากนาย ช. ในคำฟ้อง จึงไม่มีผลผูกพันบริษัทโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง