พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5994/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างรายเดือนที่ลงเวลาทำงานเท็จ แต่ไม่ทำให้จำเลยเสียหายร้ายแรง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเลิกจ้างได้ แต่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ได้รับค่าจ้างเป็นอัตราเดือนละตามจำนวนที่ได้กำหนดไว้แน่นอน และการคิดค่าจ้าง รายเดือนมิได้นำจำนวนวันหรือจำนวนชั่วโมงที่โจทก์เข้าปฏิบัติงานจริงเป็นเกณฑ์คำนวณค่าจ้าง ถ้าโจทก์ขาดงานหรือไปปฏิบัติงานสายบ้าง โจทก์ก็มิได้ถูกลดหรือถูกตัดค่าจ้างในวันดังกล่าว โจทก์ยังคงได้รับค่าจ้างรายเดือนเต็มจำนวน การที่โจทก์ไปปฏิบัติงานจริงเวลา 8.20 นาฬิกาแต่ลงเวลาปฏิบัติงานตั้งแต่ 6 นาฬิกา แม้เป็นเท็จแต่เมื่อไม่ทำให้โจทก์ได้รับค่าจ้างหรือประโยชน์อย่างอื่นจากจำเลยเพิ่มขึ้น จึงไม่เป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น การกระทำของ โจทก์ไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ เป็นเพียงการไปปฏิบัติงานสายและรายงานเท็จเกี่ยวกับเวลาเริ่มปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชาเท่านั้น ซึ่งไม่ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายร้ายแรงการที่จำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่ได้กระทำผิดตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(1) จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ โจทก์ไปปฏิบัติงานสาย แล้วโจทก์ยังรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาอีก ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและจำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่าเสียหายจากการเลิกจ้างให้โจทก์กับไม่ต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่และลงเวลาทำงานเท็จ ถือเป็นทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับบริษัท จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
เมื่อตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัย ข้อ 3.2.1 จำเลยกำหนดให้พนักงานต้องบันทึกเวลาเข้าทำงานและเลิกงานด้วยตนเองทุกครั้ง ห้ามบันทึกเวลาแทนผู้อื่นหรือรู้เห็นเป็นใจให้ผู้อื่นบันทึกเวลาให้ นอกจากนี้ตามประกาศ เรื่องการขาดงานของจำเลยกำหนดว่า หากพนักงานขาดงานจำเลยจะไม่จ่ายค่าจ้างตามจำนวนชั่วโมงที่ขาดงาน และโจทก์ยอมรับว่าลูกจ้างรายวันและลูกจ้างรายเดือนหากขาดงานจะถูกตัดค่าจ้างตามจำนวนชั่วโมงที่ขาดงาน ดังนี้ การที่ในวันเกิดเหตุเวลาซึ่งเป็นเวลาทำงาน โจทก์ออกจากบริษัท-จำเลยโดยไม่ได้ขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชา หลังจากนั้นโจทก์ไม่ได้กลับไปทำงานจนถึงเวลา 17 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลาเลิกงาน จึงเป็นการที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ตั้งแต่เวลาประมาณ 13 นาฬิกา ถึง 17 นาฬิกา การที่โจทก์โทรศัพท์ให้บุคคลอื่นลงเวลาเลิกงานแทนโจทก์ว่าโจทก์เลิกงานเวลา 17.20 นาฬิกา จึงเป็นการลงเวลาเลิกงานผิดไปจากความจริงทั้งที่โจทก์ไม่ได้ทำงานประมาณ 4 ชั่วโมง การลงเวลาทำงานดังกล่าวนอกจากจะเป็นหลักฐานแสดงถึงระยะเวลาที่โจทก์อยู่ปฏิบัติงานแล้ว ยังเป็นหลักฐานในการเบิกจ่ายค่าจ้างในแต่ละชั่วโมงที่โจทก์ทำงานอีกด้วย การกระทำของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงแล้ว แม้จำเลยได้นำเงินค่าจ้างของโจทก์ในงวดดังกล่าวเข้าบัญชีของโจทก์ไปก่อนโดยมิได้ยับยั้งการจ่ายค่าจ้างเฉพาะจำนวนชั่วโมงที่โจทก์ขาดงานดังกล่าวก็ตาม จำเลยก็ไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างรายเดือนลงเวลาทำงานเท็จ ไม่ถือเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย จึงต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ได้รับค่าจ้างเป็นอัตราเดือนละตามจำนวนที่กำหนดไว้แน่นอน การคิดค่าจ้างเป็นรายเดือนนี้ย่อมไม่มีการนำจำนวนวันละเวลาที่มาปฏิบัติงานมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าจ้างในการมาปฏิบัติงานของโจทก์ ดังนี้ หากโจทก์จะขาดงานไปบ้างก็ถือเป็นเพียงการปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฐานละทิ้งหน้าที่เท่านั้น การที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรายเดือนลงเวลามาปฏิบัติงานกะกลางคืนตั้งแต่เวลา 19.57นาฬิกา ถึงเวลา 4 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นอันเป็นเท็จ ย่อมมีผลเป็นการขาดงานไปหนึ่งกะเท่านั้น กรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ในค่าจ้างโดยไม่ชอบและประสงค์ให้จำเลยได้รับความเสียหายแก่การผลิต จึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(1) และ (3) การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดดังกล่าว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1806/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างรายเดือนลงเวลาเท็จไม่ถือทุจริตหากมิได้มีเจตนาแสวงหาประโยชน์ในค่าจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือนได้รับค่าจ้างเป็นอัตราเดือนละตามจำนวนที่กำหนดไว้แน่นอนการคิดค่าจ้างเป็นรายเดือนนี้ย่อมไม่มีการนำจำนวนวันละเวลาที่มาปฏิบัติงานมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าจ้างในการมาปฏิบัติงานของโจทก์ดังนี้หากโจทก์จะขาดงานไปบ้างก็ถือเป็นเพียงการปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฐานละทิ้งหน้าที่เท่านั้นการที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรายเดือนลงเวลามาปฏิบัติงานกะกลางคืนตั้งแต่เวลา19.57นาฬิกาถึงเวลา4นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นอันเป็นเท็จย่อมมีผลเป็นการขาดงานไปหนึ่งกะเท่านั้นกรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ในค่าจ้างโดยไม่ชอบและประสงค์ให้จำเลยได้รับความเสียหายแก่การผลิตจึงไม่เป็นการทุจริตต่อหน้าที่และจงใจทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(1)และ(3)การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำความผิดดังกล่าวจำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์