พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4244/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีข้าราชการถูกลงโทษวินัย: ต้องรอการจัดตั้งศาลปกครอง
จำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาได้มีคำสั่งตั้งกรรมการสอบสวนความผิดของโจทก์ และมีคำสั่งว่าโจทก์กระทำผิดวินัยข้าราชการให้ลงโทษภาคทัณฑ์ไว้ เป็นการปฎิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518ซึ่งเป็นการใช้อำนาจของทางราชการฝ่ายบริการโดยเฉพาะ เมื่อจำเลยมีคำสั่งไปตามหน้าที่อย่างไรแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ ซึ่งโจทก์ก็ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์แล้ว ส่วนการที่โจทก์จะนำคดีมาสู่ศาลดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 จะกระทำได้ต่อเมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองแล้ว แต่ขณะนี้ยังมิได้มีการจัดตั้งศาลปกครอง สิทธิของโจทก์ที่จำนำคดีมาสู่ศาลจึงยังไม่มี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเวลาลงงานของผู้อื่นไม่เป็นความเสียหายทางอาญาหากไม่ส่งผลให้ถูกลงโทษทางวินัย
โจทก์จำเลยต่างรับราชการครูโรงเรียนเดียวกัน วันเกิดเหตุโจทก์ไปถึงโรงเรียนก่อนจำเลยและลงเวลามาทำงานว่า 8.00 นาฬิกา จำเลยลบเวลาที่โจทก์เขียนไว้ออกแล้วเขียนทับลงไปว่า 7.46 นาฬิกา เป็นการแก้ว่าโจทก์มาทำงานเร็วกว่าเดิม และเวลาที่โจทก์เขียนไว้เดิมกับเวลาที่จำเลยเขียนแก้ต่างยังไม่ถึงเวลาปฏิบัติราชการ การเขียนแก้จึงไม่อาจเป็นการโกงเวลาราชการไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ และการแก้ไขเวลาดังกล่าวก็มิใช่การกระทำของโจทก์ โจทก์ไม่อาจถูกลงโทษทางวินัยได้โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 264, 265
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานหย่อนความสามารถ ต้องพิจารณาเหตุผลที่แท้จริง หากเป็นการลงโทษทางวินัย จะไม่เข้าข่ายต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่ ท.เป็นลูกจ้างจำเลย.จำเลยให้ท. ออกจากงาน ท.ตาย.โจทก์ซึ่งเป็นภรรยาและบุตรของท. ฟ้อง เรียกค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างจากจำเลยตามกฎหมายแรงงานนั้นจะต้องนำกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาใช้บังคับ
การที่จำเลยมีคำสั่งให้ ท. ออกจากงานโดยในข้อความตอนต้นของคำสั่งกล่าวถึงกรณีที่ ท. กระทำผิดวินัยขาดงาน และแจ้งลาป่วยผิดระเบียบ หากอยู่ต่อไปก็จะเกิดการเสียหายแก่งาน จึงให้ออกจากงานฐานหย่อนความสามารถในอันจะปฏิบัติหน้าที่ของตน ดังนี้คำสั่งในตอนต้นเป็นเพียงพฤติการณ์แสดงให้เห็นถึงความประพฤติของ ท. ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้หย่อนความสามารถ คำสั่งให้ออกจากงานของจำเลยดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ออกเพราะกระทำผิดระเบียบและวินัยโดยฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามข้อ 47(3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้
การที่จำเลยมีคำสั่งให้ ท. ออกจากงานโดยในข้อความตอนต้นของคำสั่งกล่าวถึงกรณีที่ ท. กระทำผิดวินัยขาดงาน และแจ้งลาป่วยผิดระเบียบ หากอยู่ต่อไปก็จะเกิดการเสียหายแก่งาน จึงให้ออกจากงานฐานหย่อนความสามารถในอันจะปฏิบัติหน้าที่ของตน ดังนี้คำสั่งในตอนต้นเป็นเพียงพฤติการณ์แสดงให้เห็นถึงความประพฤติของ ท. ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้หย่อนความสามารถ คำสั่งให้ออกจากงานของจำเลยดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ออกเพราะกระทำผิดระเบียบและวินัยโดยฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามข้อ 47(3) แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2547/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยข้าราชการ: การใช้กฎหมายที่บังคับใช้ ณ เวลาที่กระทำผิด แม้หลังมีการเปลี่ยนกฎหมาย
กำหนดเวลา 1 ปีตามมาตรา 117 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 หมายถึงระยะเวลาที่ให้นำพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2497 มาใช้บังคับไปพลางก่อนในระหว่างที่ ก.พ. ยังมิได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ส่วนมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2518 บัญญัติถึงเมื่อ ก.พ. ได้กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 32 แล้ว หากข้าราชการพลเรือนผู้ใดมีกรณีกระทำผิดวินัยหรือกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการก่อนวันที่ ก.พ. กำหนดตำแหน่งก็ให้ผู้บังคับบัญชาการดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษผู้นั้น หรือสั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ดังนั้น เมื่อกรณีการกระทำที่โจทก์ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนลงโทษทางวินัยได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2517 ก่อนที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ใช้บังคับ แม้โจทก์จะไปให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2519 ภายหลังที่โจทก์ได้รับราชการกำหนดตำแหน่งตามมาตรา 32 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขได้ถูกยกเลิก และใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 แทนแล้วก็ตาม การดำเนินการเพื่อสั่งลงโทษโจทก์หรือสั่งให้โจทก์ออกจากราชการก็ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขซึ่งใช้อยู่ในขณะโจทก์กระทำผิดวินัยหรือมีกรณีที่สมควรให้ออกจากราชการก่อนวันที่ ก.พ. กำหนดตำแหน่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 121 ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้ไล่โจทก์ออกจากราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2497 และที่แก้ไขจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์