พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6364/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษอาญาฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ต้องอาศัยข้อเท็จจริงที่โจทก์ฟ้อง หากศาลลงโทษจากข้อเท็จจริงอื่นที่ไม่ใช่ที่ฟ้อง ถือเป็นการพิพากษาผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยกับพวกโดยอ้างว่าจำเลยกับพวกรู้ว่าที่ดินเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ได้ร่วมกันรับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงในเอกสารการสอบสวนสิทธิอันเป็นความเท็จว่าที่ดินเห็นควรออก น.ส. 3 เพราะไม่มีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าที่ดินมีน้ำทะเลท่วมถึง ราษฎรใช้เพื่อประโยชน์ร่วมกันจับสัตว์น้ำ และยังไม่มีผู้ใดเข้ายึดถือครอบครองทำประโยชน์มาก่อน ก็เป็นการยกข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนว่าที่ดินเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่ดินเป็นป่าชายเลนและสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ก็ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องพิพากษายกฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยต่อไปว่าที่ดินทั้งสามแปลงไม่มีการทำประโยชน์ แต่เพิ่งจะมีการทำประโยชน์ในปี 2519 ฟังว่าที่ดินไม่มีการครอบครองทำประโยชน์มาก่อน การรับรองในแบบการสอบสวนจึงเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต แล้วพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง จึงเป็นการพิพากษาลงโทษในข้อเท็จจริงซึ่งมิใช่การกระทำที่โจทก์อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด เป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9083/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งควบคู่กับการลงโทษอาญา แม้ลงโทษตามบทหนักสุดแล้ว
การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทกล่าวคือ นอกจากจำเลยมีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 แล้วยังมีความผิดต่อพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกเทศบาลฯ มาตรา 59,60,71,72 โดยเหตุที่การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นมาตรการที่มุ่งจะจำกัดสิทธิของเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งซึ่งกระทำหน้าที่โดยทุจริต มิใช่โทษตามกฎหมายเมื่อศาลลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดแต่เพียงบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 แล้ว ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยได้ มิฉะนั้นแล้วการบังคับใช้มาตรการดังกล่าวย่อมไร้ผลอันเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2878/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานการลงโทษอาญาต้องมาจากโจทก์ คำรับจำเลยใช้ลงโทษไม่ได้
ข้อเท็จจริงที่จะรับฟังลงโทษจำเลยต้องได้มาจากพยานหลักฐานของโจทก์ แม้จำเลยเบิกความรับข้อเท็จจริงใดก็มิใช่พยานหลักฐานของโจทก์ จะนำมารับฟังเพื่อลงโทษจำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8410/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายลงโทษในความผิดอาญาและการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(7)(8) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80 มาตรา 365(2)(3) เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 335(1)(7)(8) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จำคุกคนละ 3 ปี ริบของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 365(2)(3) ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 ให้จำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 2 ปี นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่ปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยทั้งสองให้ถูกต้องเท่านั้น จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองคนละไม่เกิน 5 ปี ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษอาญาต้องมีกฎหมายบัญญัติความผิดและโทษไว้ชัดเจน แม้มีการกระทำผิดเลือกตั้ง แต่ไม่มีกฎหมายกำหนดโทษ จึงไม่สามารถลงโทษได้
ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดนั้น ไม่มีมาตราใดบัญญัติกำหนดโทษผู้กระทำผิดไว้และไม่ว่าตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528 มาตรา 3 ได้ให้ยกเลิกความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสุขาภิบาลพ.ศ. 2495 และให้ใช้ข้อความใหม่แทนได้บัญญัติไว้ในวรรคสุดท้ายของมาตรา 7 ว่า "การเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามความใน (4) ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลม" ก็ตาม แต่ก็มีเจตนารมณ์เพียงว่า ในการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามมาตรา 7(4) นั้นให้นำแต่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้นทั้งนี้เพราะตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาลไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลไว้ มิได้หมายความว่าให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้ทั้งหมด การอนุโลมต้องแปลความโดยเคร่งครัด ดังนั้น จะนำเอาบทกำหนดโทษผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 72 ซึ่งอยู่ในหมวด 9 อันเป็นเรื่องบทกำหนดโทษมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วยหาไม่ได้ แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดวิธีการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาล ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ กรณีเช่นนี้ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 608/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษอาญาต้องมีกฎหมายบัญญัติความผิดและกำหนดโทษชัดเจน แม้มีการเลือกใช้วิธีการจากกฎหมายอื่นโดยอนุโลม ก็ไม่อาจนำบทกำหนดโทษมาใช้ได้
ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาลพ.ศ.2495ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดนั้นไม่มีมาตราใดบัญญัติกำหนดโทษผู้กระทำผิดไว้และไม่ว่าตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล(ฉบับที่3)พ.ศ.2528มาตรา3ได้ให้ยกเลิกความในมาตรา7แห่งพระราชบัญญัติสุขาภิบาลพ.ศ.2495และให้ใช้ข้อความใหม่แทนได้บัญญัติไว้ในวรรคสุดท้ายของมาตรา7ว่า"การเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามความใน(4)ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลโดยอนุโลม"ก็ตามแต่ก็มีเจตนารมณ์เพียงว่าในการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลตามมาตรา7(4)นั้นให้นำแต่เฉพาะวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่านั้นทั้งนี้เพราะตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาลไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลไว้มิได้หมายความว่าให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลมาใช้ทั้งหมดการอนุโลมต้องแปลความโดยเคร่งครัดดังนั้นจะนำเอาบทกำหนดโทษผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลพ.ศ.2482มาตรา72ซึ่งอยู่ในหมวด9อันเป็นเรื่องบทกำหนดโทษมาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วยหาไม่ได้ แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดวิธีการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลก็ลงโทษจำเลยไม่ได้เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้กรณีเช่นนี้ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา2วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษคดีอาญาที่เกิดในทะเลหลวง และขอบเขตการฟ้องคดีปล้นทรัพย์-ฆ่า
ความผิดเกิดขึ้นในทะเลหลวง นอกราชอาณาจักรไทยศาลไทยจะลงโทษผู้กระทำผิดที่เป็นคนไทยในข้อหาความผิดต่อชีวิตตาม ป.อ.มาตรา 8 (4) ได้ต่อเมื่อผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 8 (ก)แต่คดีนี้ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นผู้เสียหายเป็นใครบ้าง และไม่ปรากฏว่าจะมีผู้ใดซึ่งสามารถจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) ได้ดำเนินการร้องขอให้ศาลไทยลงโทษ ที่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ขอให้ลงโทษก็เฉพาะผู้เสียหายทั้งสี่ที่ถูกปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าเท่านั้น ฉะนั้น จึงลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นไม่ได้ คงลงโทษได้เฉพาะข้อหาปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสี่ซึ่งผู้เสียหายทั้งสี่ได้ร้องทุกข์ขอให้ลงโทษจำเลยแล้วเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาปล้นทรัพย์ไว้ในข้อ 1 ก.แยกต่างหากจากข้อหาฆ่าและพยายามฆ่าซึ่งอยู่ในข้อ 1 ข. เพียงว่า จำเลยกับพวกร่วมกันใช้มีดและขวานเป็นอาวุธในการปล้นทรัพย์โดยใช้เรือยนต์ซึ่งใช้ในการประมงเป็นยานพาหนะเท่านั้น ไม่ได้บรรยายว่าในการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายด้วยถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยดังกล่าว ศาลย่อมไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคท้าย ได้เพราะเป็นการเกินคำขอที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 คงลงโทษจำเลยได้เพียงฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธและใช้ยานพาหนะเพื่อการทำผิดเท่านั้น
หลังจากที่จำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ได้แล้ว ได้ถอยเรือไปอยู่ห่างจากเรือของผู้เสียหายาทั้งสี่กับพวกประมาณ 20 เมตร เพื่อรอดูเรือประมงลำที่ 3 และลำที่ 4 เข้ามาเทียบกับเรือผู้เสียหายทั้งสี่กับพวกแล้วลูกเรือประมงลำที่ 3 ขึ้นไปพาพวกของผู้เสียหายทั้งสี่ที่เป็นหญิง 6 คน ขึ้นไปบนเรือประมงลำที่ 3เสร็จ แล้วเรือประมงลำที่ 3 และลำที่ 4 จึงแล่นออกไป หลังจากนั้นจำเลยกับพวกขับเรือประมงพุ่งเข้าชนเรือผู้เสียหายทั้งสี่กับพวกจนมีพวกของผู้เสียหายตกทะเลหายไปประมาณ 20 คน นั้น ยังอยู่ในช่วงแห่งการปล้นทรัพย์ เพราะเป็นเวลาใกล้ชิดต่อเนื่องจากการได้ทรัพย์และพาเอาทรัพย์ที่ปล้นได้ไป เจตนาที่จำเลยกับพวกต้องการให้ผู้เสียหายกับพวกถึงแก่ความตายก็เพื่อปกปิดการที่ตนกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้นเอง การพยายามฆ่าผู้เสียหายจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกับการปล้นทรัพย์ซึ่งต้องลงโทษตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
ปัญหาข้อกฎหมายเหล่านี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามป.วิ.อ. มาตรา 195, 225
โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาปล้นทรัพย์ไว้ในข้อ 1 ก.แยกต่างหากจากข้อหาฆ่าและพยายามฆ่าซึ่งอยู่ในข้อ 1 ข. เพียงว่า จำเลยกับพวกร่วมกันใช้มีดและขวานเป็นอาวุธในการปล้นทรัพย์โดยใช้เรือยนต์ซึ่งใช้ในการประมงเป็นยานพาหนะเท่านั้น ไม่ได้บรรยายว่าในการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายด้วยถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยดังกล่าว ศาลย่อมไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคท้าย ได้เพราะเป็นการเกินคำขอที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 คงลงโทษจำเลยได้เพียงฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธและใช้ยานพาหนะเพื่อการทำผิดเท่านั้น
หลังจากที่จำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ได้แล้ว ได้ถอยเรือไปอยู่ห่างจากเรือของผู้เสียหายาทั้งสี่กับพวกประมาณ 20 เมตร เพื่อรอดูเรือประมงลำที่ 3 และลำที่ 4 เข้ามาเทียบกับเรือผู้เสียหายทั้งสี่กับพวกแล้วลูกเรือประมงลำที่ 3 ขึ้นไปพาพวกของผู้เสียหายทั้งสี่ที่เป็นหญิง 6 คน ขึ้นไปบนเรือประมงลำที่ 3เสร็จ แล้วเรือประมงลำที่ 3 และลำที่ 4 จึงแล่นออกไป หลังจากนั้นจำเลยกับพวกขับเรือประมงพุ่งเข้าชนเรือผู้เสียหายทั้งสี่กับพวกจนมีพวกของผู้เสียหายตกทะเลหายไปประมาณ 20 คน นั้น ยังอยู่ในช่วงแห่งการปล้นทรัพย์ เพราะเป็นเวลาใกล้ชิดต่อเนื่องจากการได้ทรัพย์และพาเอาทรัพย์ที่ปล้นได้ไป เจตนาที่จำเลยกับพวกต้องการให้ผู้เสียหายกับพวกถึงแก่ความตายก็เพื่อปกปิดการที่ตนกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้นเอง การพยายามฆ่าผู้เสียหายจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกับการปล้นทรัพย์ซึ่งต้องลงโทษตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
ปัญหาข้อกฎหมายเหล่านี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามป.วิ.อ. มาตรา 195, 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6516/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษอาญาในความผิดที่เกิดในทะเลหลวง ต้องรอการร้องขอจากผู้เสียหาย และการพิจารณาความผิดกรรมเดียว
ความผิดเกิดขึ้นในทะเลหลวง นอกราชอาณาจักรไทย ศาลไทยจะลงโทษผู้กระทำผิดที่เป็นคนไทยในข้อหาความผิดต่อชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 8(4) ได้ต่อเมื่อผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 8(ก) แต่คดีนี้ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าผู้ตายซึ่งถือว่าเป็นผู้เสียหายเป็นใครบ้าง และไม่ปรากฏว่าจะมีผู้ใดซึ่งสามารถจัดการแทนผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2)ได้ ดำเนินการร้องขอให้ศาลไทยลงโทษ ที่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ขอให้ลงโทษก็เฉพาะผู้เสียหายทั้งสี่ที่ถูกปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าเท่านั้น ฉะนั้น จึงลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นไม่ได้ คงลงโทษได้เฉพาะข้อหาปล้นทรัพย์และพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสี่ซึ่งผู้เสียหายทั้งสี่ได้ร้องทุกข์ขอให้ลงโทษจำเลยแล้วเท่านั้น โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาปล้นทรัพย์ไว้ในข้อ 1 ก. แยกต่างหากจากข้อหาฆ่าและพยายามฆ่าซึ่งอยู่ในข้อ 1 ข. เพียงว่า จำเลยกับพวกร่วมกันใช้มีดและขวานเป็นอาวุธในการปล้นทรัพย์โดยใช้เรือยนต์ซึ่งใช้ในการประมงเป็นยานพาหนะเท่านั้น ไม่ได้บรรยายว่าในการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายด้วยถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยดังกล่าว ศาลย่อมไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคท้าย ได้เพราะเป็นการเกินคำขอที่โจทก์กล่าวในฟ้องไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 คงลงโทษจำเลยได้เพียงฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธและใช้ยานพาหนะเพื่อการทำผิดเท่านั้น หลังจากที่จำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ได้แล้ว ได้ถอยเรือไปอยู่ห่างจากเรือของผู้เสียหายทั้งสี่กับพวกประมาณ 20 เมตร เพื่อรอดูเรือประมงลำที่ 3 และลำที่ 4 เข้ามาเทียบกับเรือผู้เสียหายทั้งสี่กับพวกแล้วลูกเรือประมงลำที่ 3 ขึ้นไปพาพวกของผู้เสียหายทั้งสี่ที่เป็นหญิง 6 คน ขึ้นไปบนเรือประมงลำที่ 3 เสร็จแล้วเรือประมงลำที่ 3และลำที่ 4 จึงแล่นออกไป หลังจากนั้นจำเลยกับพวกขับเรือประมงพุ่งเข้าชนเรือผู้เสียหายทั้งสี่กับพวกจนมีพวกของผู้เสียหายตกทะเลหายไปประมาณ 20 คน นั้น ยังอยู่ในช่วงแห่งการปล้นทรัพย์ เพราะเป็นเวลาใกล้ชิดต่อเนื่องจากการได้ทรัพย์และพาเอาทรัพย์ที่ปล้นได้ไปเจตนาที่จำเลยกับพวกต้องการให้ผู้เสียหายกับพวกถึงแก่ความตายก็เพื่อปกปิดการที่ตนกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้นเอง การพยายามฆ่าผู้เสียหายจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกับการปล้นทรัพย์ซึ่งต้องลงโทษตามกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปัญหาข้อกฎหมายเหล่านี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195,225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2756/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องและการลงโทษอาญา: ข้อหายิงปืนโดยใช่เหตุต้องระบุในฟ้อง หากไม่ได้ระบุ ศาลไม่อาจลงโทษได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่นกับฐานมีและพาอาวุธปืน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80,92 และพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,8 ทวิ,72,72 ทวิ มิได้บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยิงปืนโดยใช่เหตุ ในเมือง หมู่บ้าน หรือที่ชุมนุมชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376 ด้วย จึงถือไม่ได้ว่าประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าว ทั้งการกระทำความผิดตามมาตรา 376 มิใช่การกระทำซึ่งรวมอยู่ในความผิดตามที่ฟ้องอันศาลจะลงโทษจำเลยในการกระทำผิดตามที่พิจารณาได้ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยฐานยิงปืนโดยใช่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5566/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษอาญาฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตและฉ้อโกงประชาชน แม้กฎหมายจัดหางานมีการแก้ไข
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 มาตรา 7 ให้ลงโทษจำคุก 1 เดือน และจำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ให้ลงโทษจำคุก 5 ปี ให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหาย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะจำนวนเงินที่ให้ใช้คืนแก่ผู้เสียหาย เป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่เพียงเล็กน้อย ทั้งศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
แม้พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 จะยกเลิกพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองหางาน พ.ศ.2511 แต่ก็มิได้ยกเลิกความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งจำเลยกระทำในทางตรงกันข้ามกลับกำหนดโทษสำหรับความผิดดังกล่าวให้สูงขึ้นกว่าเดิมอีก ดังนั้น ศาลจึงชอบที่จะลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะจำเลยกระทำผิดเพราะเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3
แม้พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 จะยกเลิกพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองหางาน พ.ศ.2511 แต่ก็มิได้ยกเลิกความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งจำเลยกระทำในทางตรงกันข้ามกลับกำหนดโทษสำหรับความผิดดังกล่าวให้สูงขึ้นกว่าเดิมอีก ดังนั้น ศาลจึงชอบที่จะลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะจำเลยกระทำผิดเพราะเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3