พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อรถสูญหาย ศาลลดค่าเสียหายและยกเลิกค่าขาดประโยชน์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 12 ไม่ให้ใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวบังคับแก่นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จึงไม่อาจนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับใช้กับข้อกำหนดตามสัญญาดังกล่าวได้ ต้องพิจารณาไปตามบทบัญญัติทั่วไป สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประเภทหนึ่ง จึงต้องนำบทบัญญัติลักษณะเช่าทรัพย์มาบังคับด้วย เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย สัญญาเช่าซื้อย่อมระงับไปตั้งแต่วันที่รถยนต์สูญหาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 567 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้ออีกต่อไป ส่วนข้อกำหนดตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 5 ที่ระบุว่า ถ้าทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกโจรภัยหรือสูญหาย ผู้เช่าซื้อยอมชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาจนครบนั้น ถือได้ว่าเป็นการกำหนดค่าเสียหายให้ผู้ให้เช่าซื้อไว้ล่วงหน้า อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะกำหนดให้ตามที่เห็นสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามข้อสัญญาดังกล่าว สำหรับค่าขาดประโยชน์ จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายให้โจทก์ประจำงวดวันที่ 2 พฤษภาคม 2542 จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่าเช่าซื้องวดต่อไปวันที่ 2 มิถุนายน 2542 แต่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2542 สัญญาเช่าซื้อเป็นอันเลิกกันในวันที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้ผิดนัดหรือค้างชำระค่าเช่าซื้อแต่อย่างใด และค่าเสียหายส่วนนี้โจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้จำเลยรับผิด ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าขาดประโยชน์ก่อนรถยนต์สูญหาย จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438-2439/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างก่อสร้าง: การพิสูจน์ฝ่ายผิดสัญญา, การลดค่าเสียหายจากความล่าช้าของโจทก์, และหลักการใช้ดุลพินิจของศาล
จำเลยที่ 1 ก่อสร้างและส่งมอบงานงวดที่ 1 ถึงที่ 4 ภายในกำหนดให้แก่โจทก์โจทก์รับมอบงานและชำระค่าจ้างงวดที่ 1 ถึงที่ 3 ครบถ้วน ส่วนงวดที่ 4 ชำระเพียงบางส่วน โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระหนี้ แต่จำเลยที่ 1 ก็มิได้บอกเลิกสัญญาหลังจากครบกำหนดเวลาก่อสร้างแล้วโจทก์ชำระค่าจ้างที่ค้างชำระในงวดที่ 4 ให้แก่จำเลยที่ 1 จากนั้นจำเลยที่ 1 ก่อสร้างและส่งมอบงานงวดที่ 5 และที่ 6 โจทก์ยอมรับมอบงานงวดที่ 5 และที่ 6 และชำระค่าจ้างให้ครบถ้วน แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1ยังคงปฏิบัติต่อกันตามสัญญาจ้างต่อไป โดยมิได้ถือเอากำหนดเวลาส่งมอบงานและชำระค่าจ้างเป็นงวดเป็นสาระสำคัญ และไม่จำต้องมีการขยายระยะเวลาก่อสร้างออกไปอีก แต่จำเลยที่ 1 กลับก่อสร้างงานงวดที่ 7 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายไม่แล้วเสร็จและละทิ้งงาน ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
แม้โจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันในกรณีส่งมอบงานล่าช้าตามสัญญาแต่หลังจากครบกำหนดเวลาก่อสร้างแล้วคู่กรณีก็ไม่ถือเอากำหนดเวลาส่งมอบงานเป็นสาระสำคัญ ดังนี้ วันที่มีการส่งมอบงานล่าช้าจึงไม่มีอีกต่อไป โจทก์ไม่มีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวัน คงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่เป็นค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นในการทำงานนั้นต่อให้เสร็จตามสัญญาจ้าง เพื่อทดแทนความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 และหากโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดจำนวนค่าเสียหายลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 223
จำเลยที่ 1 ละทิ้งงานงวดที่ 7 ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2538 ซึ่งโจทก์ควรรีบใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น แต่โจทก์กลับปล่อยปละละเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2538 อันเป็นเวลาห่างกันเกือบ4 เดือน จากนั้นโจทก์เพิ่งมาทำสัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ให้ก่อสร้างงานต่อในส่วนที่เหลือ หลังจากที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 แล้วเป็นเวลาถึง 1 ปี 5 เดือนเศษ ย่อมทำให้ราคาค่าก่อสร้างงานสูงขึ้นและส่วนที่ก่อสร้างไปแล้วเกิดความเสียหายเพิ่มมากขึ้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดค่าเสียหายลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งสองสำนวนและให้ค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับโจทก์กับจำเลยที่ 4 ทั้งสองศาลทั้งสองสำนวนเป็นพับ โดยไม่แยกเป็นรายสำนวนไม่ถูกต้องเพราะสำนวนแรกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้เป็นคู่ความด้วย
แม้โจทก์จะมีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวันในกรณีส่งมอบงานล่าช้าตามสัญญาแต่หลังจากครบกำหนดเวลาก่อสร้างแล้วคู่กรณีก็ไม่ถือเอากำหนดเวลาส่งมอบงานเป็นสาระสำคัญ ดังนี้ วันที่มีการส่งมอบงานล่าช้าจึงไม่มีอีกต่อไป โจทก์ไม่มีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 เป็นรายวัน คงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายที่เป็นค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นในการทำงานนั้นต่อให้เสร็จตามสัญญาจ้าง เพื่อทดแทนความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 และหากโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดจำนวนค่าเสียหายลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 223
จำเลยที่ 1 ละทิ้งงานงวดที่ 7 ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2538 ซึ่งโจทก์ควรรีบใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น แต่โจทก์กลับปล่อยปละละเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2538 อันเป็นเวลาห่างกันเกือบ4 เดือน จากนั้นโจทก์เพิ่งมาทำสัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ให้ก่อสร้างงานต่อในส่วนที่เหลือ หลังจากที่โจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 แล้วเป็นเวลาถึง 1 ปี 5 เดือนเศษ ย่อมทำให้ราคาค่าก่อสร้างงานสูงขึ้นและส่วนที่ก่อสร้างไปแล้วเกิดความเสียหายเพิ่มมากขึ้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดค่าเสียหายลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งสองสำนวนและให้ค่าฤชาธรรมเนียมสำหรับโจทก์กับจำเลยที่ 4 ทั้งสองศาลทั้งสองสำนวนเป็นพับ โดยไม่แยกเป็นรายสำนวนไม่ถูกต้องเพราะสำนวนแรกจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้เป็นคู่ความด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5339/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสัญญาเช่าซื้อกำหนดชำระค่าเช่าค้างชำระก่อนเลิกสัญญาเป็นเบี้ยปรับ ศาลลดค่าเสียหายได้
ข้อสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดว่า แม้ในที่สุดต่อไปภายหน้าสัญญาต้องเลิกกันผู้เช่าซื้อตกลงที่จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่เจ้าของจนถึงวันที่เจ้าของได้รับรถยนต์คืนหรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อนั้น เป็นข้อสัญญากำหนดการชำระหนี้ค่าเช่าซื้อระหว่างที่ยังมิได้มีการบอกเลิกสัญญา ซึ่งไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับได้ และพอแปลได้ว่าผู้เช่าซื้อยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อตามจำนวนดังกล่าวอันเป็นการกำหนดความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้เป็นการล่วงหน้า มิใช่ข้อสัญญาที่กำหนดค่าเช่าตามปกติหรือค่าใช้ทรัพย์โดยแท้ไว้ แต่หากเป็นราคาขายรถยนต์ที่กำหนดไว้ส่วนหนึ่งรวมอยู่ด้วยข้อตกลงเช่นนี้จึงไม่ใช่ข้อตกลงเป็นข้อกำหนดค่าตอบแทนการใช้ทรัพย์ไว้ล่วงหน้ากรณีเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสาม แต่เป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลอาจพิจารณากำหนดค่าเสียหายส่วนนี้เท่ากับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระหรือหากศาลเห็นว่าค่าเสียหายนี้สูงเกินส่วน ศาลชอบที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถไฟ ศาลลดค่าเสียหายจากความเสี่ยงที่ผู้โดยสารนั่งในที่อันตราย
จำเลยขับรถยนต์เก๋งโดยประมาทเลินเล่อข้ามทางรถไฟในขณะที่มีรถไฟแล่นผ่านจึงถูกรถไฟเฉี่ยวชนด้านหน้ารถยนต์เก๋งเสียหายเล็กน้อย แต่เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งนั่งห้อยเท้าอยู่ริมประตูตู้รถไฟถูกรถยนต์เก๋งของจำเลยชนได้รับอันตรายสาหัสถึงกับขาหักทั้งสองข้างดังนี้ แม้ในขณะเกิดเหตุขบวนรถไฟดังกล่าวจะมีผู้โดยสารแน่นจนไม่มีที่นั่ง โจทก์กับผู้โดยสารหลายคนจึงต้องนั่งตรงริมประตูขึ้นลงของตู้ขนสัมภาระก็ตามก็ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนประมาทด้วย จึงควรลดค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาลงบ้าง แต่ข้อเท็จจริงยังไม่ถึงกับจะรับฟังได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อไม่ยิ่งหย่อนกว่าจำเลยซึ่งจะทำให้เสียค่าเสียหายเป็นพับดังที่จำเลยฎีกาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของทั้งโจทก์และจำเลย ศาลพิจารณาเหตุแห่งความเสียหายและลดค่าเสียหายตามสมควร
จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อข้ามทางรถไฟแล้วถูกรถไฟเฉี่ยวชนด้านหน้ารถยนต์เสียหายเล็กน้อยแต่เป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งนั่งห้อยเท้าอยู่ริมประตูตู้ขนสัมภาระถูกรถยนต์ของจำเลยชนขาหักทั้งสองข้างแม้ในขณะเกิดเหตุขบวนรถไฟจะมีผู้โดยสารแน่จนไม่มีที่นั่งโจทก์กับผู้โดยสารหลายคนจึงต้องนั่งตรงริมประตูตู้ขนสัมภาระยังไม่ถึงกับจะรับฟังได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อซึ่งจะทำให้ค่าเสียหายเป็นพับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาลาศึกษาต่อ-เบี้ยปรับสูงเกินควร ศาลลดค่าเสียหายตามสมควร
ตามสัญญาลาไปศึกษาต่อมีข้อตกลงว่าเมื่อเสร็จการศึกษาแล้วจะกลับมารับราชการต่อไปหากลาออกก่อนกำหนดยอมใช้เงินเป็นจำนวน3เท่าหมายความว่าไม่ว่าจะสำเร็จการศึกษาหรือไม่ก็มีหน้าที่ต้องกลับมารับราชการต่อไปเมื่อจำเลยลาออกไปก่อนที่จะกลับมารับราชการจึงเป็นการผิดสัญญาแม้โจทก์จะอนุมัติให้จำเลยลาออกจำเลยก็ต้องชำระเบี้ยปรับการที่โจทก์เรียกให้จำเลยที่1ชำระเงินจำนวนที่ได้รับไปจากโจทก์ในระหว่างลาไปศึกษาต่อถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมรับให้ชำระเบี้ยปรับจำนวน1เท่าจำเลยที่1จะต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์คือกลับมาปฎิบัติงานให้ตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเมื่อจำเลยที่1ยังไม่ได้ชำระหนี้ข้อนี้เลยจะถือว่าโจทก์ยอมรับชำระหนี้โดยสงวนสิทธิในเรื่องเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา381วรรคท้ายไม่ได้ การกำหนดเบี้ยปรับเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้มิได้ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควรประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383วรรคแรกบัญญัติให้ศาลมีอำนาจลดลงได้เป็นจำนวนพอสมควรหากเห็นว่าเกินส่วนโดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายมิใช่แต่ทางทรัพย์สินเท่านั้นและเมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฎชัดแจ้งว่าได้รับความเสียหายตามจำนวนค่าปรับที่กำหนดไว้ในสัญญาศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายโรงงานซ่อมรถโบกี้เป็นค่าเสียหายโดยตรง การลดค่าเสียหายและผลถึงจำเลยอื่น
ค่าใช้จ่ายทั่วไปในโรงงาน เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปาค่าใช้เครื่องจักร เครื่องมือกล และค่าควบคุม คือค่าใช้จ่ายบริหารส่วนกลางของโจทก์ เป็นค่าใช้จ่ายที่จะต้องมีแน่นอน และโจทก์ได้ใช้ไปในการซ่อมรถโบกี้ของโจทก์ที่ได้รับความเสียหาย จึงเป็นค่าเสียหายโดยตรงที่เกิดจากการกระทำละเมิดโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายทั้งสองส่วนนี้ได้
เมื่อศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายลดลง และมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ไม่ได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)ประกอบด้วย มาตรา 247
เมื่อศาลฎีกากำหนดค่าเสียหายลดลง และมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ไม่ได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1)ประกอบด้วย มาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5617/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อผิดนัด: ศาลลดค่าเสียหายรายเดือนและราคาชดใช้รถยนต์ให้เหมาะสม
ผู้ร้องระบุในคำร้องว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีวัตถุประสงค์ในการให้เช่ารถยนต์ ค่าเสียหายที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดไว้ย่อมไม่มีเกิดขึ้น จึงมีประเด็นเรื่องค่าเสียหายที่ต้องวินิจฉัย ราคารถยนต์ที่ต้องชดใช้หากไม่ส่งมอบรถคืนนั้นถือเป็นค่าเสียหายอย่างหนึ่งรวมอยู่ในประเด็นเรื่องค่าเสียหาย เมื่อฟังว่าผู้ร้องเป็นผู้เช่าซื้อและมีการผิดสัญญาเช่าซื้อจนสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วผู้ร้องมิได้ส่งมอบรถคืนให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับความเสียหาย แม้จำเลยที่ 1 จะนำรถออกให้เช่าได้หรือไม่ก็ตามค่าเสียหายสูงเกินส่วนศาลกำหนดให้ใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม: การลดค่าเสียหายที่ศาลกำหนดไม่ถือว่าโจทก์ดำเนินคดีไม่สุจริต
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม ป.วิ.พ. มาตรา 161 บัญญัติให้เป็นดุลพินิจของศาลโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีการที่ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์ต่ำกว่าที่โจทก์ขอมาในฟ้อง ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ดำเนินคดีโดยไม่สุจริต ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ตามทุนทรัพย์ที่ฟ้อง เป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการศึกษาต่อต่างประเทศ: การขยายเวลาศึกษา, ภาระของผู้ค้ำประกัน, และการลดค่าเสียหาย
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ระบุระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ และสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์ ก็มิได้ระบุเวลาที่จำเลยที่ 1ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่ออีกเป็นเวลา 4 ปีเศษ โดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ และจำเลยที่ 2 มิได้ยินยอมแม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน แต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญาและเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะต้องคืนเงินเดือนเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพและต้องเสียเบี้ยปรับอีกเท่ากับเงินทั้งหมดที่รับไปกับจะต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี สำหรับเงินต้นรวมกับเบี้ยปรับตามสัญญาด้วยนั้น เบี้ยปรับและดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นข้อสัญญาที่ระบุความเสียหายหรือความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วนก็มีอำนาจลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้ค้ำประกัน ยอมตนเข้าผูกพันค้ำประกันจำเลยที่ 1 เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาของจำเลยที่ 1 และประโยชน์แก่โจทก์โดยส่วนรวมแต่ฝ่ายเดียวมีเหตุผลควรได้รับความเห็นใจ พิเคราะห์ถึงทางได้เสียทุกอย่างของโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน สมควรลดเบี้ยปรับให้จำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่ง เมื่อกำหนดเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายจำนวนพอสมควรแล้วก็ไม่จำเป็นต้องให้ค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยอีก เงินเดือนเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพและเบี้ยปรับเป็นหนี้เงินโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา ก็เป็นหนี้ร่วมกันจะแบ่งแยกกันมิได้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับผลเป็นคุณด้วย