คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลดดอกเบี้ย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาบัตรเครดิตสูงเกินส่วน ศาลลดดอกเบี้ยตามกฎหมาย
เงินค่าทดแทนการออกเงินทุนเพิ่ม และค่าปรับเพื่อทดแทนค่าใช้จ่ายจากการเรียกเก็บเงินในหนี้บัตรเครดิต นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดชำระเงินที่โจทก์เรียกเก็บทั้งหมดนั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่จำเลย ไม่ชำระหนี้เงินดังกล่าวตรงตามเวลาที่กำหนดไว้มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ เมื่อเบี้ยปรับดังกล่าวนั้นกำหนดไว้สูงเกินส่วน จึงเห็นควรให้ลดเบี้ยปรับลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9516/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้สูงเกินไป ศาลมีอำนาจลดอัตราดอกเบี้ยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
ตามข้อตกลงในสัญญากู้เงินมีการกำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยไว้ 2 กรณี กรณีแรกผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่ผู้กู้ยังค้างชำระหนี้อยู่ตามสัญญา แต่ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ เพียงแต่ผู้ให้กู้แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้น กรณีที่สอง ผู้กู้ตกลงว่าหากผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้งวดใดงวดหนึ่งผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้าได้ กรณีของโจทก์เป็นการเรียกดอกเบี้ยสูงขึ้นจากเดิมเพราะจำเลยผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไขตามสัญญา โดยโจทก์มิต้องแจ้งให้จำเลยทราบล่วงหน้า แต่การปรับดอกเบี้ยให้สูงขึ้นในกรณีนี้มีลักษณะเป็นทำนองเบี้ยปรับ เนื่องจากเป็นทำนองค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในกรณีไม่ชำระหนี้ หรือชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรเมื่อสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5755/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดเป็นเบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจลดได้เฉพาะส่วนเกินจากอัตราดอกเบี้ยในสัญญา
++ เรื่อง ยืม จำนอง ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ก่อนพิมพ์จริง++
++
++ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง
++ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว คดีมีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์โจทก์ว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่โจทก์คิดขณะจำเลยทั้งสองผิดนัดเป็นเบี้ยปรับทั้งหมดและศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจากอัตราร้อยละ 21ต่อปี ลงเหลือร้อยละ 15 ต่อปี หรือไม่
++ ในปัญหาดังกล่าวตามสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 ได้ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปีและระบุด้วยว่า จำเลยทั้งสองตกลงให้โจทก์ขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตได้ทันที โดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบและถือว่าจำเลยทั้งสองได้ยินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ15.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 21 ต่อปี นั้น แม้เป็นอัตราตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์เอกสารหมาย จ.7 ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี แต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ ดังปรากฏตามคำเบิกความของนายณัฐคม สุขสาคร ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ว่า จำเลยผิดนัดชำระตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2540 โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยอย่างลูกหนี้ผิดนัดในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงมิใช่ปรับขึ้นหรือปรับปรุงตามความเหมาะสมตามที่ระบุในสัญญา การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของโจทก์จึงเห็นเจตนาได้ว่าประสงค์จะให้เป็นค่าเสียหาย โดยกำหนดไว้ล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นจากเดิม ดังนั้น เฉพาะดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นจากที่ระบุในสัญญากู้เงินนี้จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ที่ศาลจะลดลงได้ตามมาตรา 383 มิใช่เป็นเบี้ยปรับทั้งหมด ศาลจึงใช้ดุลพินิจลดดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราร้อยละ 15.5ต่อปี ตามที่ระบุในสัญญากู้เงินไม่ได้
++ การที่ศาลชั้นต้นลดอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 15 ต่อปี จึงไม่ชอบ แต่ที่โจทก์ฎีกาขอดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปีศาลฎีกาเห็นว่ายังสูงเกินส่วน เห็นควรกำหนดลดลงเป็นอัตราร้อยละ18 ต่อปี
++ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 466,580.97 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 463,909.97 บาท นับแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2540และดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ของต้นเงินจำนวน 2,671 บาทนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5884/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับตามสัญญา, การลดดอกเบี้ยผิดนัด, และดอกเบี้ยทบต้นที่คำนวณซ้ำซ้อน
ตามสัญญากู้และตามตั๋วสัญญาใช้เงินระบุดอกเบี้ยผิดนัดไว้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยธรรมดาที่ไม่ผิดนัด เพราะฉะนั้นข้อสัญญาระหว่างโจทก์เจ้าหนี้กับจำเลยที่ 1 ลูกหนี้จึงมีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ผิดนัด ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เป็นเบี้ยปรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 เมื่อศาล เห็นว่าสูงเกินส่วนย่อมมีอำนาจลดลงได้ แต่การลดนั้น จะต้องลดจากส่วนที่สูงเกินไปกว่าที่ตามปกติสัญญากำหนดไว้ในกรณีไม่ผิดนัด มิใช่ลดลงมาต่ำเกินกว่าอัตราดังกล่าว คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุว่า หากจำเลยค้างชำระดอกเบี้ย ครบรอบระยะเวลา 1 ปีของเงินต้นตามสัญญากู้จำนวน 1,000,000 บาท นับแต่วันที่ 9 มีนาคม 2539 เป็นต้นไปขอให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระในแต่ละรอบระยะเวลา 1 ปีดังกล่าวทบเข้ากับเงินต้นที่ค้างชำระและคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ทบดอกเบี้ยดังกล่าวทุก ๆ 1 ปี เรื่อยไปในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี จนกว่าจะชำระเสร็จแต่ในคำฟ้องของโจทก์นั้นโจทก์ได้คำนวณดอกเบี้ยที่ค้างชำระคำนวณถึงวันฟ้อง (วันที่ 30 สิงหาคม 2539) เข้ากับต้นเงิน รวมเป็นหนี้ทั้งหมดที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะนำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนับแต่วันที่ 9 มีนาคม 2539 มาคำนวณคิดเป็นดอกเบี้ยที่ค้างชำระอีกศาลจึงชอบที่จะวินิจฉัยให้ยกคำขอส่วนนี้ของโจทก์เสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการลดดอกเบี้ยสัญญา: ปัญหาข้อกฎหมายที่อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาได้
เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้เถียงว่าศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจใช้ดุลพินิจลดดอกเบี้ยจากอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ลงเป็นร้อยละ 15 ต่อปี เนื่องจากดอกเบี้ยเป็นข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญากู้เงิน มิใช่เป็นเบี้ยปรับซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์จึงขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาได้ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์แล้วดำเนินการตาม ป.วิ.พ.มาตรา223 ทวิ ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับในสัญญาเช่าซื้อ ศาลลดดอกเบี้ยเมื่อสูงเกินส่วน และขอบเขตผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
สัญญาเช่าซื้อระบุว่า "ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดก็ดี หรือผู้เช่าซื้อจะต้องชำระเงินใด ๆ แก่เจ้าของตามสัญญาประการใดก็ดี หรือผู้เช่าซื้อจะต้องชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาประการใดประการหนึ่งก็ดี ผู้เช่าซื้อย่อมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้างชำระและหรือค่าเสียหายนับแต่วันผิดนัดเป็นต้นไปในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี..." เมื่อเงินค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถที่เช่าซื้อเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาประการหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ตามสัญญาได้แต่ข้อสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ เมื่อดอกเบี้ยของค่าเสียหายที่โจทก์เรียกมาสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจกำหนดให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกสัญญาซึ่งเกินคำขอของโจทก์ที่ขอดอกเบี้ย มานับแต่วันฟ้อง ถึงแม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาเพียงคนเดียว แต่กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1),247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้มีผลผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อ ศาลลดดอกเบี้ยเบี้ยปรับได้
จำเลยตกลงทำหนังสือรับสภาพหนี้ยินยอมใช้ค่าเสียหายให้โจทก์แสดงว่าจำเลยมีเจตนาผูกพันตามนั้น จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าเสียหายให้โจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้ ส่วนดอกเบี้ยที่กำหนดตามหนังสือรับสภาพหนี้ถือเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้า ศาลมีอำนาจลดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับผิดนัดชำระหนี้สูงเกินส่วน ศาลลดดอกเบี้ยเป็น 15% ต่อปี
สัญญากู้ระบุว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ในจำนวนเงินที่เป็นหนี้ในอัตราร้อยละ 9 ต่อปี โดยจะชำระดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ทุกๆ 3 เดือน นับแต่วันทำหนังสือสัญญานี้เป็นต้นไป สำหรับต้นเงินกู้นั้นจะผ่อนชำระให้ธนาคารโจทก์เป็นงวดๆ โดยชำระ 3 เดือนต่อครั้ง ตามตารางชำระเงินต้นแนบท้ายสัญญากู้ หากผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งชำระต้นเงินและดอกเบี้ยดังกล่าว ผู้กู้ย่อมเสียเบี้ยปรับให้แก่ธนาคารโจทก์อีกในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี ในจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยที่คงค้างทั้งหมดนับแต่วันละเมิดสัญญาจนกว่าจะชำระเงินเสร็จสิ้น ดังนี้เห็นได้ว่าสัญญากู้รายนี้ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ร้อยละ 9 ต่อปีอยู่แล้ว การที่ได้กำหนดเบี้ยปรับในกรณีผู้กู้ผิดนัดไว้ว่าให้ผู้กู้เสียดอกเบี้ยเพิ่มอีกร้อยละ 6 ของจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างทั้งหมดรวมกัน ย่อมเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน สมควรลดลงเป็นให้เสียดอกเบี้ยเพิ่มอีกร้อยละ6 รวมเป็นร้อยละ 15 ต่อปีโดยไม่ทบต้น โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองพร้อมด้วยดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ จำเลยที่ 3 ผู้เดียวอุทธรณ์ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วนและลดให้ แม้จำเลยที่1 ที่ 2 ที่ 4 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาก็ย่อมได้รับผลอันเป็นคุณจากข้อวินิจฉัยส่วนนี้ด้วย เพราะมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนอง ขายลดเช็ค ผิดนัดชำระหนี้ ศาลลดดอกเบี้ยเบี้ยปรับและแก้ไขคำพิพากษา
ตามคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ปรากฏว่าทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ป่วยเป็นไข้ มีอาการวิงเวียนศีรษะ ส่วนที่จำเลยที่ 2 แจ้งว่าป่วยเป็นไข้หวัดนั้น โดยไม่มีใบรับรองแพทย์มายืนยันว่าป่วยถึงขนาดไม่สามารถมาศาลได้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวประกอบกับการขอเลื่อนคดีหลายครั้งเชื่อว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเจตนาประวิงคดีให้ล่าช้า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยไม่สั่งเกี่ยวกับคำร้องขอเลื่อนคดีก่อนเท่ากับศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้ว และคำร้องขอเลื่อนคดีดังกล่าวปรากฏว่าทนายจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ออกไปซื้อยามารับประทานแล้วนอนพักผ่อน แสดงว่าอาการเจ็บป่วยของทนายความจำเลยที่ 1 และที่ 2 และตัวจำเลยที่ 2 เป็นการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ใช่กรณีมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และไม่มีความจำเป็นต้องตั้งเจ้าพนักงานหรือแพทย์ไปตรวจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 และมาตรา 41
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของโจทก์ไม่ถูกต้องเพราะความจริงแล้ว อ. ไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ และไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการในนามโจทก์ อีกทั้งหนังสือรับรองดังกล่าวไม่ได้ออกโดยกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ อ. จึงไม่มีอำนาจกระทำการในนามโจทก์เท่ากับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อสู้แต่เพียงว่า อ. ไม่ได้เป็นกรรมการของโจทก์ และหนังสือดังกล่าวไม่ได้ออกโดยกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้โต้แย้งคัดค้านว่า เอกสารดังกล่าวไม่มีต้นฉบับ หรือว่าต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับอย่างหนึ่งอย่างใดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้คัดค้านเอกสารดังกล่าวไว้แล้ว ประกอบกับขณะที่โจทก์นำสืบเอกสารดังกล่าว พยานโจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมหาชน มี อ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนตามหนังสือรับรองพร้อมสำเนาหมาย จ.13 แสดงว่าโจทก์ได้นำเอาต้นฉบับเอกสารมาแสดงให้ศาลชั้นต้นดูด้วย แล้วขอส่งสำเนาเอกสารไว้แทนก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 โต้แย้งคัดค้าน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ยอมรับถึงการมีอยู่และความแท้จริงของต้นฉบับของเอกสารนั้น รวมทั้งยอมรับว่าสำเนานั้นถูกต้องกับต้นฉบับ ศาลชั้นต้นย่อมรับฟังสำเนาหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1) และมาตรา 125 ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลของโจทก์ระบุว่า กรรมการคนใดคนหนึ่งของบริษัทโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทโจทก์และผูกพันบริษัทโจทก์ได้ อ. เป็นกรรมการคนหนึ่งของบริษัทโจทก์ จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อเป็นผู้มอบอำนาจแทนบริษัทโจทก์ได้ ไม่จำต้องประทับตราของบริษัทโจทก์ ส่วนการระบุฐานะของผู้มอบอำนาจนั้นไม่มีกฎหมายข้อใดบังคับว่าการลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจต้องระบุฐานะของผู้มอบอำนาจด้วย ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ก่อนฟ้องคดีโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองส่งถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับจ่าหน้าซองตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในฟ้องปรากฏว่าส่งไม่ได้ พนักงานไปรษณีย์ได้ระบุข้อขัดข้องไว้ที่หน้าซองจดหมายว่าไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า และได้ออกใบแจ้งความให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปรับจดหมาย ณ ที่ทำการไปรษณีย์ แสดงว่าพนักงานไปรษณีย์พบบ้านอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แต่ส่งจดหมายไม่ได้เพราะไม่มีบุคคลใดลงชื่อรับจดหมาย โจทก์จึงได้ประกาศบอกกล่าวบังคับจำนองทางหนังสือพิมพ์ ถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งคำบอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 แล้ว
สัญญาขายลดตั๋วเงิน ข้อ 2 ที่กำหนดให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี เมื่อตั๋วเงินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายลด และโจทก์เรียกเก็บเงินตามตั๋วเงินนั้นไม่ได้เมื่อถึงวันกำหนดใช้เงินนั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นจากอัตราส่วนลดเดิมที่กำหนดไว้ในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี ในกรณีลูกหนี้ผิดนัด ดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นนี้จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งถ้าสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดให้ยึดทรัพย์ที่จำนองทั้ง 3 รายการมาชำระหนี้โจทก์โดยคิดดอกเบี้ยหนี้จำนองในวันก่อนทำสัญญาและวันทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์นั้นไม่ถูกต้อง เพราะดอกเบี้ยหนี้จำนองจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อธนาคารตามเช็คแต่ละฉบับปฏิเสธการจ่ายเงิน เช่นเดียวกับหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คซึ่งเป็นหนี้ประธาน
เมื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยลดลงผู้ค้ำประกันและผู้จำนองเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ก็ย่อมจะต้องรับผิดลดลงด้วยในฐานะลูกหนี้ร่วมและเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งมิได้ยื่นฎีกาขึ้นมาด้วยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247