คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลดลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2084/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับในสัญญาเช่าซื้อสูงเกินควร ศาลลดอัตราดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
สัญญาเช่าซื้อกำหนดว่า เมื่อผู้ให้เช่าซื้อยึดทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืน แล้วนำออกขายได้เงินเท่าใดให้นำไปชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เหลือเท่าใดจำเลยยอมรับผิดในส่วนที่ขาด เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับหากสูงเกินควรศาลอาจลดลงได้ ดอกเบี้ยของค่าเสียหายที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อข้อ 7อัตราร้อยละ 18 ต่อปี เป็นเบี้ยปรับและสูงเกินส่วน เห็นสมควรกำหนดให้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดค่าเสียหายได้
สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 10 ระบุให้ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดสัญญา และผู้ให้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อออกขายทอดตลาดได้ หากได้ราคาไม่คุ้มกับค่าเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดในส่วนที่ขาด ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้า ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดสัญญา ถือว่าเป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์เป็นเงิน884,016 บาท กำหนดชำระค่าเช่าซื้อ 48 เดือน เดือนละ 18,417 บาทแต่จำเลยชำระค่าเช่าซื้อได้เพียง 6 งวด ก็ผิดสัญญา โจทก์เรียกร้องเอาเงินจำนวน 353,298 บาท ที่ขาดจำนวนตามราคาเต็มในสัญญาเช่าซื้อหลังจากนำรถยนต์ขายทอดตลาดแล้ว โดยที่จำเลยมิได้รับประโยชน์ตอบแทนจากการใช้ทรัพย์ที่เช่าซื้อ จึงเป็นการเรียกร้องค่าปรับที่สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดค่าปรับลงเป็นจำนวนตามที่เห็นสมควรได้.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ ค่าทนายความเกินสมควร ศาลลดเบี้ยปรับ
จำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลทำหนังสือรับสภาพหนี้และประนีประนอมยอมความให้โจทก์เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2506 โจทก์ฟ้องคดี พ.ศ. 2507 จึงไม่ขาดอายุความ
ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความไม่ได้บังคับว่า โจทก์ต้องแสดงใบรับเงินค่าจ้างทนายมาพร้อมฟ้อง
หนังสือสัญญารับสภาพหนี้และยอมความมีใจความว่าถ้าลูกหนี้ผิดนัดยอมให้เจ้าหนี้ฟ้อง ลูกหนี้ยอมใช้ค่าเสียหายที่เจ้าหนี้จ่ายเป็นค่าจ้างทนายความตามที่จ้างจริง โดยตกลงกำหนดเบี้ยปรับสำหรับค่าจ้างไว้เป็นเงิน 4,500 บาท หนี้สินรายนี้มีจำนวน 22,340 บาทนับว่าสูงเกินส่วน แม้โจทก์จ่ายเงินไปแล้วจริง 4,500 บาท ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ตกลงว่าจ้างแพงเกินควรที่จะให้จำเลยรับผิดศาลฎีกาเห็นควรลดเบี้ยปรับค่าจ้างทนายลงเหลือ 2,500 บาท
ฎีกาที่ว่า ข้อตกลงเรื่องให้จำเลยเสียค่าทนาย 4,500 บาทเป็นข้อตกลงที่ใช้บังคับกันไม่ได้ เพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนนั้น จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่าในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อสูงเกินควรลดลงได้ ศาลพิจารณาประโยชน์ที่ผู้ให้เช่าควรได้รับตามสัญญา
ข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อที่ว่า ยอมให้ผู้ให้เช่าซื้อริบเงินที่ค้างชำระก็เท่ากับกำหนดเงินเบี้ยปรับหรือค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า หากเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนก็ชอบที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรแก่ความเป็นธรรมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อสูงเกินควรลดได้ ศาลพิจารณาประโยชน์ที่โจทก์ควรได้รับจริง
ข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อที่ว่า ยอมให้ผู้ให้เช่าซื้อริบเงินที่ค้างชำระก็เท่ากับกำหนดเงินเบี้ยปรับหรือค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า. หากเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนก็ชอบที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรแก่ความเป็นธรรมได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4290/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการยกเลิกสัญญาเช่าซื้อ (ลิสซิ่ง) ศาลลดเบี้ยปรับลงได้ และปรับอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายใหม่
สัญญาเช่ารถยนต์ ข้อ 9.2 กำหนดว่า "ในกรณีที่ผู้เช่าต้องการเลิกสัญญาก่อนกำหนด โดยมิใช่เป็นความผิดของผู้ให้เช่า ผู้เช่าต้องแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่า 30 วัน ทั้งนี้ผู้เช่าต้องชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าตามเงื่อนไขดังนี้... 9.2.2 กรณียกเลิกสัญญาในปีที่ 2 ผู้เช่าต้องชำระค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินเท่ากับร้อยละ 40 ของยอดค่าเช่าพึงชำระ นับตั้งแต่วันบอกเลิกสัญญาจนถึงวันสิ้นสุดสัญญา..." สัญญาเช่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นการให้เช่าแบบลิสซิ่งซึ่งมีกำหนดระยะเวลาเช่า 5 ปี หากครบกำหนดโจทก์จะได้รับค่าเช่า 876,000 บาท แต่การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาโดยการคืนรถยนต์ที่เช่าและให้โจทก์รับรถวันที่ 19 มีนาคม 2561 หลังจากทำสัญญาเช่าเพียง 1 ปี 4 เดือน 19 วัน โจทก์ได้รับค่าเช่าเพียง 242,548.39 บาท จึงไม่ได้รับค่าเช่าส่วนที่เหลือ 633,451.61 บาท แต่อย่างไรก็ตามสัญญา ข้อ 9.2.2 ดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง