พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2843/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่าสูงเกินส่วน ศาลลดหย่อนตามสมควร โดยคำนึงถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้และผู้เช่า
สัญญาเช่าโกดังมีข้อกำหนดว่า ในกรณีที่ผู้เช่าเช่าไม่ครบกำหนดเวลา ยินยอมให้ริบเงินประกันความเสียหายได้ ผู้ให้เช่าจึงมีสิทธิริบเงินประกันความเสียหายได้ตามข้อกำหนดในสัญญา แต่กรณีดังกล่าวเป็นการตกลงกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าในสัญญาอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ศาลย่อมมีอำนาจลดลงได้เป็นจำนวนพอสมควร หากเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนโดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน เมื่อสัญญาเลิกกันก็มีผู้เช่ารายใหม่ทดแทนทันที จึงเห็นสมควรลดเบี้ยปรับให้แก่ผู้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2623/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นหลังผิดนัดชำระหนี้มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ศาลลดหย่อนได้ตามกฎหมาย
โจทก์ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยในกรณีผู้กู้ผิดนัดไว้อัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี การกำหนดอัตราดอกเบี้ยในกรณีดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัด อันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากเดิมอัตราร้อยละ 7.25 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ภายหลังจากที่จำเลยทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 379 และมาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกแล้ว: สิทธิเรียกร้องค่าเช่าค้างชำระเป็นเบี้ยปรับ ศาลลดหย่อนได้
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว โจทก์มีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อที่จำเลยชำระแล้วก่อนเลิกสัญญาและกลับเข้าครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 574 โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ส่วนที่สัญญาเช่าซื้อกำหนดว่า แม้ในที่สุดต่อไปภายหน้าสัญญาต้องเลิกกัน ผู้เช่าซื้อตกลงที่จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่เจ้าของจนถึงวันที่เจ้าของได้รับรถยนต์คืน หรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อก็เป็นการกำหนดความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้ามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลอาจพิจารณากำหนดค่าเสียหายส่วนนี้เท่ากับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระหรือหากสูงเกินส่วนศาลชอบที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามมาตรา 383 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7103/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาเช่าซื้อสูงเกินส่วน ศาลลดหย่อนตามกฎหมาย
เมื่อจำเลยผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อ และไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อ แม้ตามสัญญาเช่าซื้อระบุให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการเอาทรัพย์สินให้เช่าในอัตราค่าเช่าคิดเป็นจำนวนเงินเดือนละไม่น้อยกว่าค่างวดที่ต้องผ่อนชำระตามสัญญาเช่าซื้อ แต่ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
สัญญาเช่าซื้อระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้องชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของหรือในกรณีที่สัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงและผู้เช่าซื้อต้องชำระค่าเสียหายใด ๆ แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันผิดนัด ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายอันมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่ที่ศาลล่างทั้งสองไม่กำหนดดอกเบี้ยให้โจทก์นั้นไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อเป็นหนี้เงินโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ได้อยู่แล้ว
สัญญาเช่าซื้อระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้องชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของหรือในกรณีที่สัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงและผู้เช่าซื้อต้องชำระค่าเสียหายใด ๆ แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันผิดนัด ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายอันมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่ที่ศาลล่างทั้งสองไม่กำหนดดอกเบี้ยให้โจทก์นั้นไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อเป็นหนี้เงินโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ได้อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดหย่อนเงินสมทบประกันสังคม พิจารณาจากสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้เทียบกับประโยชน์ทดแทนตามกฎหมาย
ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ไปแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามประกาศคณะกรรมการประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการลดส่วนอัตราเงินสมทบเกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บปวด กรณีทุพพลภาพ กรณีคลอดบุตร และกรณีตาย พ.ศ. 2534 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอลดส่วนและการพิจารณาหักส่วนลดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้างจะต้องส่งเข้ากองทุนประกันสังคมโดยให้พิจารณาเปรียบเทียบระหว่างสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และตามประกาศคณะกรรมการประกันสังคมดังกล่าวได้ระบุเกี่ยวกับหลักเกณฑ์หรือปัจจัยที่ใช้พิจารณาให้คะแนนในเรื่องสวัสดิการกรณีเจ็บป่วย แบ่งเป็น 9 หัวข้อ โจทก์ได้คะแนนรวมเท่ากับ 0 ใน 8 หัวข้อ อีก 1 หัวข้อ คือ ระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลปรากฏว่า ประกาศสำนักงานประกันสังคมมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งในกรณีฉุกเฉิน แต่ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาล ส่วนระเบียบของโจทก์ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งแต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาลถือได้ว่าสวัสดิการเกี่ยวกับระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์จัดให้อยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้คะแนน0 คิดเป็นคะแนนรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 0 จึงต้องถือว่าสวัสดิการที่โจทก์จัดให้พนักงานอยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โจทก์จึงไม่ได้รับการลดส่วนอัตราเงินสมทบ
ตามประกาศคณะกรรมการประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการลดส่วนอัตราเงินสมทบเกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บปวด กรณีทุพพลภาพ กรณีคลอดบุตร และกรณีตาย พ.ศ. 2534 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอลดส่วนและการพิจารณาหักส่วนลดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้างจะต้องส่งเข้ากองทุนประกันสังคมโดยให้พิจารณาเปรียบเทียบระหว่างสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และตามประกาศคณะกรรมการประกันสังคมดังกล่าวได้ระบุเกี่ยวกับหลักเกณฑ์หรือปัจจัยที่ใช้พิจารณาให้คะแนนในเรื่องสวัสดิการกรณีเจ็บป่วย แบ่งเป็น 9 หัวข้อ โจทก์ได้คะแนนรวมเท่ากับ 0 ใน 8 หัวข้อ อีก 1 หัวข้อ คือ ระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลปรากฏว่า ประกาศสำนักงานประกันสังคมมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งในกรณีฉุกเฉิน แต่ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาล ส่วนระเบียบของโจทก์ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งแต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาลถือได้ว่าสวัสดิการเกี่ยวกับระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์จัดให้อยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้คะแนน0 คิดเป็นคะแนนรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 0 จึงต้องถือว่าสวัสดิการที่โจทก์จัดให้พนักงานอยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โจทก์จึงไม่ได้รับการลดส่วนอัตราเงินสมทบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราอากรผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์: ผลกระทบจากการยกเลิกการลดหย่อนอัตราอากรตามประกาศกระทรวงการคลัง
ตามพระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530ภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า ประเภทที่ 32.04 รายการ วัตถุแต่งสีที่เป็นอินทรีย์สังเคราะห์จะนิยามไว้ในทางเคมีหรือไม่ก็ตาม สิ่งปรุงแต่งที่มีวัตถุแต่งสีอินทรีย์สังเคราะห์เป็นหลักตามที่ระบุไว้ในหมายเหตุ 3 ของตอนนี้ ผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์หรือใช้เป็นลูมิโนฟอร์ จะนิยามไว้ในทางเคมีหรือไม่ก็ตาม วัตถุแต่งสีอินทรีย์สังเคราะห์และสิ่งปรุงแต่งที่มีวัตถุดังกล่าวเป็นหลักตามที่ระบุไว้ในหมายเหตุ 3 ของตอนนี้ ประเภทย่อย 3204.20 ผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์ มีอัตราอากรร้อยละ 30 ต่อมามีประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.1/2531เรื่อง การลดอัตราอากรศุลกากรและการกำหนดให้ของได้รับการยกเว้นอากร ข้อ 1. ให้ลดอัตราอากรสำหรับของในภาค 2แห่งพระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ดังต่อไปนี้ข้อ 1.1 ของซึ่งกำหนดให้ได้รับการลดอัตราอากรตามบัญชีท้ายประกาศนี้ ซึ่งตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.1/2531 ระบุให้ของในประเภทที่ 32.04 รายการ เฉพาะวัตถุแต่งสีที่เป็นอินทรีย์สังเคราะห์ จะนิยามไว้ในทางเคมีหรือไม่ก็ตาม สิ่งปรุงแต่งที่มีวัตถุแต่งสีอินทรีย์สังเคราะห์เป็นหลักตามที่ระบุไว้ในหมายเหตุ 3 ของตอนนี้ผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์หรือใช้เป็นลูมิโนฟอร์ จะนิยามไว้ในทางเคมีหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่สีเม็ดพลาสติก สีแวตสีไดเร็กและสีรีแอกทีฟ อัตราอากรปกติร้อยละ 30 ลดลงเหลือ ร้อยละ 15 แต่หลังจากนั้นมีประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.15/2531 เรื่อง ยกเลิกการลดและลดอัตราอากรศุลกากรและกำหนดให้ของได้รับการยกเว้นอากรข้อ 1.2 ให้ยกเลิกการลด อัตราอากรขาเข้าสำหรับของตามประเภทที่ 32.04 ตามประกาศ กระทรวงการคลัง ที่ ศก.1/2531 และข้อ 2. ให้เพิ่มรายการตามบัญชีท้ายประกาศนี้ไว้ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.1/2531 ลงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531 ภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้าตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.15/2531 ภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า ประเภทที่32.04 รายการ เฉพาะสิ่งปรุงแต่งที่มีวัตถุแต่งสีอินทรีย์สังเคราะห์เป็นหลักตามที่ระบุไว้ในหมายเหตุ 3 ของตอนนี้ผลิตภัณฑ์อิอนทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นลูมิโนฟอร์ และวัตถุแต่งสีที่เป็นอินทรีย์สังเคราะห์ จะนิยามไว้ในทางเคมีหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่สีเม็ดพลาสติก สีแวตสีไดเร็กสีรีแอกทีฟสีดิสเฟอร์สสีแอซีดสีเบสิกและสีซัลเฟอร์อัตราอากรปกติร้อยละ 30 ลดลงเหลือร้อยละ 15 จึงเป็นที่เห็นได้ว่าการที่ประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.15/2531ยกเลิกการลดอัตราอากรขาเข้าสำหรับของประเภทที่ 32.04 และ ให้เพิ่มรายการตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง ที่ศก.15/2531 ไว้ในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.1/2531 แสดงว่า ให้ยกเลิกการลดอัตราอากรขาเข้าสำหรับของประเภทที่ 32.04 ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.1/2531 ดังนี้ เมื่อรายการที่เพิ่มตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.15/2531 ประเภทที่ 32.04 ไม่มีรายการ "ผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์" อยู่ด้วย ผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูอออเรสเซนต์ จึงไม่ได้รับการลดอัตราอากรขาเข้าอีกต่อไปตามภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า แห่งพระราชกฤษฎีกาพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ของประเภทที่ 32.04 ได้แยกชนิดของวัตถุหรือผลิตภัณฑ์ในประเภทนี้ออกเป็นหลายชนิดโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์ แยกเป็นประเภทย่อย 3204.20 และตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.15/2531 ก็ตัดคำว่า "ผลิตภัณฑ์อินทรีย์สังเคราะห์ชนิดที่ใช้เป็นตัวให้ความขาวสว่างชนิดฟลูออเรสเซนต์" ออกไปจากเดิมที่เคยระบุไว้ในประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก.1/2531 แสดงว่ากฎหมายมีเจตนาแยกผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเฉพาะดังกล่าวออกต่างหากและไม่ต้องการให้ได้รับการลดอัตราอากรอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8048/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการไม่ส่งมอบทรัพย์, เบี้ยปรับ, ดอกเบี้ย, และการลดหย่อนค่าเสียหายตามดุลพินิจศาล
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตกลงชำระค่าธรรมเนียมปีละ 65,000 บาท ให้แก่โจทก์ ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย แต่โจทก์มิได้มีคำขอให้จำเลยชำระค่าธรรมเนียมรายปีดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าธรรมเนียมรายปี แก่โจทก์จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 สัญญาเช่ามีข้อตกลงว่า เมื่อกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาสิ้นสุดลงจำเลยยังมีเวลารื้อถอนและส่งมอบทรัพย์ที่เช่าต่อไปอีก 30 วัน ดังนั้น การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยภายใน35 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดที่จำเลยมีสิทธิส่งทรัพย์ที่เช่าคืนว่าจะไม่ให้จำเลยทำสัญญาเช่าต่อไปนับได้ว่าเป็นเวลาอันสมควรและเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นได้ว่าโจทก์มิได้นิ่งเฉย หรือไม่ทักท้วงที่จำเลยยังคงครอบครองทรัพย์ที่เช่าอยู่ภายหลังสัญญาเช่าสิ้นกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ ถือไม่ได้ว่า โจทก์จำเลยเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 โจทก์จึงมีสิทธิ เรียกค่าเสียหายได้เริ่มแต่วันถัดจากวันครบกำหนดเป็นต้นไปและสิ้นสุดก่อนวันที่จำเลยส่งมอบทรัพย์ที่เช่า เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง จำเลยไม่ส่งมอบทรัพย์ที่เช่า คืนภายในเวลาที่ตกลงกันไว้ จำเลยย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรหรืองดเว้นกระทำการอันหนึ่งใดที่ ตกลงไว้ และต้องใช้เบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญา แต่โจทก์ ได้มีหนังสือขยายเวลาให้จำเลยรื้อถอนป้ายโฆษณาและส่งมอบทรัพย์ ที่เช่าคืนภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ อันถือได้ว่าโจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลานั้นแล้ว เมื่อจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2535 จำเลยจึงมีสิทธิรื้อถอนส่งมอบทรัพย์ที่เช่าคืนโจทก์ได้จนถึง ภายในวันที่ 24 เมษายน 2536 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยในช่วงเวลาดังกล่าว คงเรียกได้แต่เพียงค่าเสียหายปกติ คือค่าเช่าในอัตราและเงื่อนไขเดิมส่วนค่าเสียหายที่เป็นเบี้ยปรับนับแต่วันที่ 25 เมษายน 2536นั้น โจทก์มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามที่ตกลงไว้ได้ซึ่งถ้าเบี้ยปรับอันมีลักษณะเป็นค่าเสียหายที่กำหนดก้นไว้ล่วงหน้านั้นสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจให้ลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้และเมื่อศาลกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายวันละ 2,000 บาทอันเป็นค่าเสียหายในอนาคตแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4325/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดหย่อนตามกฎหมาย
จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยจำเลยตกลงเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละเท่ากับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมประเภทมีกำหนดระยะเวลาที่ธนาคาร ก.เรียกเก็บจากลูกค้าชั้นดีของธนาคารบวก 1 เปอร์เซ็นต์ จำเลยต้องชำระเงินกู้เป็นต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นรายงวด งวดละเดือน เริ่มชำระงวดแรกภายในวันที่ 21 กรกฎาคม 2538 งวดต่อไปจะชำระภายในวันที่ 21 ของทุกเดือนในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไม่ว่าข้อหนึ่งข้อใดจำเลยยินยอมชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดสัญญาให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันผิดสัญญาเป็นต้นไปจนกว่าจะใช้หนี้ครบถ้วน ดังนี้ การที่โจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์สูงขึ้น หากจำเลยผิดสัญญา มีลักษณะเป็นค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สัญญากำหนดกันไว้ล่วงหน้าอันเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้สัญญาแก่โจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ฉะนั้นเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าซื้อ, อัตราดอกเบี้ย, การลดหย่อนค่าเสียหาย, การชำระหนี้
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า กรรมการผู้มีอำนาจสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนและผูกพันโจทก์ตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองบริษัทเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1 โดยโจทก์แนบสำเนาหนังสือรับรองมาเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง หนังสือรับรองดังกล่าวสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ออกให้และปรากฏชื่อ ธ.กับว. รวมอยู่ในรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทด้วยและโจทก์มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อตามหนังสือมอบอำนาจท้ายคำฟ้องหมายเลข 3 จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องเพียงว่า สำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองของบริษัทเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1 ไม่ใช่ต้นฉบับของทางราชการ หรือมีการรับรองสำเนาถูกต้องโดยทางราชการ และหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 3 เป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป มิใช่หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้คำให้การของจำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งถึงเรื่องกรรมการบริษัทโจทก์ขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องว่ามิได้เป็นไปตามเอกสารท้ายคำฟ้อง ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องให้การโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง การที่จำเลยยกเหตุที่หนังสือรับรองอำนาจกรรมการบริษัทโจทก์เป็นเพียงสำเนาที่ไม่มีการรับรองสำเนาถูกต้องโดยทางราชการ ซึ่งไม่เกี่ยวกับข้อต่อสู้เรื่องการมอบอำนาจตามเอกสารท้ายฟ้อง และศาลอุทธรณ์นำหนังสือรับรองตามเอกสารหมาย จ.1 ไปเปรียบเทียบกับหนังสือรับรองอำนาจของกรรมการบริษัทโจทก์ขณะที่มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อในหนังสือมอบอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อกับลูกค้าแทนบริษัทโจทก์ได้แล้ววินิจฉัยว่าขณะยื่นคำฟ้อง กรรมการบริษัทโจทก์คนหนึ่งไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลย คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ จำนวนกรรมการและรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ตามต้นฉบับหนังสือรับรองตรงกับสำเนาหนังสือรับรองตามเอกสารท้ายฟ้องเมื่อจำเลยทั้งสามมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าขณะยื่นคำฟ้องอำนาจของกรรมการบริษัทโจทก์มีอยู่จริงและการมอบอำนาจเป็นการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ตามฟ้อง จำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้องคดีนี้มีสามกรณี คือค่าขาดประโยชน์ระหว่างที่จำเลยที่ 1 ยังคงครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อก่อนที่โจทก์จะยึดรถคืนค่าใช้จ่ายในการติดตามยึดรถยนต์ กับค่าเสียหายเพราะเหตุอื่นอันผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบเนื่องจากการผิดสัญญาโดยทั่วไป เพราะเมื่อมีการผิดสัญญาเช่าซื้อและยึดรถยนต์ที่เช่าคืนมาแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ การที่สัญญาเช่าซื้อระบุว่าถ้าราคาที่ได้ขายทรัพย์สินที่เช่าซื้อไม่พอชำระหนี้ต่าง ๆ ที่ผู้เช่าต้องรับผิดตามสัญญานี้ผู้เช่าซื้อ ตกลงยินยอมที่จะชำระเงินที่ยังขาดอยู่อีกให้แก่เจ้าของจนครบมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ เมื่อโจทก์ขอมาสูงเกินไปศาลก็ชอบที่จะลดลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 การที่โจทก์นำสืบถึงค่าเสียหายโดยไม่ได้แยกว่าส่วนใดโจทก์ลดลงมาเท่าใด แม้ว่าเป็นการนำสืบที่ไม่ชัดแจ้งแต่ในเรื่องค่าเสียหาย ศาลก็อาจกำหนดค่าเสียหายให้ชดใช้ตามที่เห็นสมควรได้สำหรับดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องมาอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี นับแต่วันถัดจากที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาตามสัญญาเช่าซื้อที่ระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อให้ครบถ้วนถูกต้องตามจำนวนและกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ ผู้เช่าซื้อตกลงยินยอมให้เจ้าของคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี แต่เมื่อค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อและค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ไม่ได้ราคาเท่ากับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระหลังจากหักเงินที่โจทก์รับไว้แล้ว ตลอดจนค่าติดตามยึดรถคืนไม่ใช่ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตามสัญญาดังกล่าว เป็นความเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญา จึงให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในจำนวนเงินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 นับถัดจากวันที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาตามคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2388/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินเพิ่มภาษี vs. การลดเบี้ยปรับ: ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษี
การเสียเงินเพิ่มเนื่องจากผู้เสียภาษีไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดนั้น ป.รัษฎากร มาตรา 27 กำหนดไว้แน่นอน โดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บแต่อย่างใด และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดเงินเพิ่มให้โจทก์ได้
ส่วนปัญหาการงดหรือลดเบี้ยปรับนั้น โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลพร้อมเอกสารรายงานผู้สอบบัญชี งบดุลของโจทก์รายละเอียดสินค้าคงเหลือ หมายเหตุประกอบงบดุล และรายการแสดงรายได้รายจ่ายและโจทก์ได้จัดส่งบัญชีและเอกสารพร้อมทั้งหลักฐานต่าง ๆ อีกทั้งมอบให้ ส.และ ท.ไปให้การต่อเจ้าพนักงานประเมิน 3 ครั้ง และรับทราบผลของการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เช่นนี้ พอฟังได้ว่าโจทก์มิได้มีพฤติการณ์หลีกเลี่ยงภาษีแต่ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานด้วยดีพอสมควร เพราะมิฉะนั้นแล้วเจ้าพนักงานประเมินคงจะไม่สามารถประเมินรายได้ของโจทก์ได้ แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้มาหรือรับเอกสารของเจ้าพนักงานทุกครั้ง ก็อาจเป็นกรณีมีความจำเป็นหรือไม่ทราบก็อาจเป็นได้ จึงยังไม่พอฟังว่าโจทก์ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบสมควรลดเบี้ยปรับให้โจทก์กึ่งหนึ่ง
ส่วนปัญหาการงดหรือลดเบี้ยปรับนั้น โจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลพร้อมเอกสารรายงานผู้สอบบัญชี งบดุลของโจทก์รายละเอียดสินค้าคงเหลือ หมายเหตุประกอบงบดุล และรายการแสดงรายได้รายจ่ายและโจทก์ได้จัดส่งบัญชีและเอกสารพร้อมทั้งหลักฐานต่าง ๆ อีกทั้งมอบให้ ส.และ ท.ไปให้การต่อเจ้าพนักงานประเมิน 3 ครั้ง และรับทราบผลของการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เช่นนี้ พอฟังได้ว่าโจทก์มิได้มีพฤติการณ์หลีกเลี่ยงภาษีแต่ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานด้วยดีพอสมควร เพราะมิฉะนั้นแล้วเจ้าพนักงานประเมินคงจะไม่สามารถประเมินรายได้ของโจทก์ได้ แม้ว่าโจทก์จะไม่ได้มาหรือรับเอกสารของเจ้าพนักงานทุกครั้ง ก็อาจเป็นกรณีมีความจำเป็นหรือไม่ทราบก็อาจเป็นได้ จึงยังไม่พอฟังว่าโจทก์ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบสมควรลดเบี้ยปรับให้โจทก์กึ่งหนึ่ง