พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6433/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงาน และการจ่ายค่าจ้างในนามมารดาเพื่อลดหย่อนภาษี
อุทธรณ์โจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แต่ได้บิดเบือนเพื่อให้เห็นเป็นข้อกฎหมายและเพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ต่างไปจากศาลแรงงานกลางว่าจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงจ่ายเงินค่าบำเหน็จจากการขายหรือค่าคอมมิชชั่นให้แก่โจทก์ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งสองไม่ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการของจำเลยทั้งสองเพื่อจัดตั้งกองทุนเกษียณอายุ ไม่มีการลงมติรับรองรายงานการประชุม จำเลยทั้งสองไม่ได้จัดตั้งกองทุนเกษียณอายุดังที่โจทก์ฟ้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินจากกองทุนเกษียณอายุดังที่โจทก์ฟ้องได้ โจทก์อุทธรณ์โดยอ้างว่ารายงานการประชุมเป็นเอกสารที่ทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายและอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1207 จึงมีผลผูกพันจำเลยทั้งสองให้ต้องปฏิบัติตามรายงานการประชุม เป็นอุทธรณ์ที่บิดเบือนว่าข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองได้จัดตั้งกองทุนเกษียณอายุขึ้นโดยชอบแล้วตามรายงานการประชุมเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่าเมื่อรายงานการประชุมเป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นโดยชอบและรักษาไว้ ณ สำนักงานที่ดินได้จดทะเบียนของจำเลยทั้งสอง เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นประธานแห่งการประชุมลงลายมือชื่อไว้แล้วย่อมสันนิษฐานได้ว่าเป็นหลักฐานอันถูกต้องแห่งข้อความที่ได้จดบันทึกไว้จึงย่อมมีผลผูกพันจำเลยทั้งสอง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์นั้น แม้มีข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการจ่ายเงินค่าจ้างอันมีผลทำให้รัฐจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากโจทก์ได้ลดน้อยลง ถือได้ว่าเป็นการไม่สุจริต แต่ข้อตกลงการจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ของจำเลยที่ 1 ก็หาตกเป็นโมฆะไม่ โจทก์จึงมีสิทธิรับค่าจ้างในส่วนนี้ได้
จำเลยทั้งสองไม่ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการของจำเลยทั้งสองเพื่อจัดตั้งกองทุนเกษียณอายุ ไม่มีการลงมติรับรองรายงานการประชุม จำเลยทั้งสองไม่ได้จัดตั้งกองทุนเกษียณอายุดังที่โจทก์ฟ้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินจากกองทุนเกษียณอายุดังที่โจทก์ฟ้องได้ โจทก์อุทธรณ์โดยอ้างว่ารายงานการประชุมเป็นเอกสารที่ทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายและอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1207 จึงมีผลผูกพันจำเลยทั้งสองให้ต้องปฏิบัติตามรายงานการประชุม เป็นอุทธรณ์ที่บิดเบือนว่าข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองได้จัดตั้งกองทุนเกษียณอายุขึ้นโดยชอบแล้วตามรายงานการประชุมเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่าเมื่อรายงานการประชุมเป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นโดยชอบและรักษาไว้ ณ สำนักงานที่ดินได้จดทะเบียนของจำเลยทั้งสอง เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นประธานแห่งการประชุมลงลายมือชื่อไว้แล้วย่อมสันนิษฐานได้ว่าเป็นหลักฐานอันถูกต้องแห่งข้อความที่ได้จดบันทึกไว้จึงย่อมมีผลผูกพันจำเลยทั้งสอง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์นั้น แม้มีข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการจ่ายเงินค่าจ้างอันมีผลทำให้รัฐจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากโจทก์ได้ลดน้อยลง ถือได้ว่าเป็นการไม่สุจริต แต่ข้อตกลงการจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ของจำเลยที่ 1 ก็หาตกเป็นโมฆะไม่ โจทก์จึงมีสิทธิรับค่าจ้างในส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีสรรพสามิตแบตเตอรี่: การผลิตประกอบสำเร็จถือเป็น 'ผลิต' ตามกฎหมาย และสิทธิลดหย่อนภาษี
โจทก์นำเข้าแบตเตอรี่ลักษณะเป็นก้อน เรียกกันทั่วไปว่าถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่ชนิดเซลล์ก้อน สามารถนำไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ได้ทั่วไป โจทก์ได้นำแบตเตอรี่ดังกล่าวมาจัดเรียงต่อแบบอนุกรม และเชื่อมขั้วแบตเตอรี่แต่ละอันให้ครบวงจรแล้วประกอบเข้ากับกล่องพลาสติก และต่อสายไฟแบตเตอรี่เข้ากับขั้วไฟฟ้าภายในกล่อง การกระทำดังกล่าวเป็นการทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้า ต้องตามคำนิยาม "ผลิต" ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 4
โจทก์เสียภาษีสรรพสามิตจากแบตเตอรี่ในฐานะผู้นำเข้า ต่อมานำแบตเตอรี่ดังกล่าวมาผลิตเป็นแบตเตอรี่สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ต้องเสียภาษีสรรพสามิตในฐานะผู้ประกอบอุตสาหกรรมผลิตอีกครั้งหนึ่ง ไม่ใช่เป็นการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน
การออกกฎกระทรวงว่าด้วยสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมจะขอลดหย่อนภาษีเพื่อกำหนดให้สินค้าประเภทใดเป็นสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมจะขอลดหย่อนภาษีได้ เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 5 และมาตรา 101 วรรคหนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงมีอำนาจกำหนดวันใช้บังคับกฎหมายได้ว่าจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังก็ได้
โจทก์เสียภาษีสรรพสามิตจากแบตเตอรี่ในฐานะผู้นำเข้า ต่อมานำแบตเตอรี่ดังกล่าวมาผลิตเป็นแบตเตอรี่สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ต้องเสียภาษีสรรพสามิตในฐานะผู้ประกอบอุตสาหกรรมผลิตอีกครั้งหนึ่ง ไม่ใช่เป็นการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน
การออกกฎกระทรวงว่าด้วยสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมจะขอลดหย่อนภาษีเพื่อกำหนดให้สินค้าประเภทใดเป็นสินค้าที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมจะขอลดหย่อนภาษีได้ เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 5 และมาตรา 101 วรรคหนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงมีอำนาจกำหนดวันใช้บังคับกฎหมายได้ว่าจะให้มีผลย้อนหลังหรือไม่ย้อนหลังก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6704/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ถือหุ้นและลดหย่อนภาษี: รายจ่ายที่ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้
บริษัท ส. และโจทก์เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน มีผู้ถือหุ้นและกรรมการชุดเดียวกัน ขณะซื้อขายแลกเปลี่ยนหุ้น บริษัท ส.ขาดทุนสะสมมากมายจนทำให้หุ้นของบริษัท ส.ไม่มีมูลค่าหุ้นแล้ว แต่โจทก์ก็ยังยอมรับซื้อในราคาหุ้นละ 50บาท และวิธีการซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นในบริษัท ส. ก็กระทำโดยขายหุ้นของโจทก์เป็นการตอบแทนให้แล้ว การซื้อขายหุ้นของโจทก์ดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อช่วยเหลือผู้ถือหุ้นของบริษัท ส.ให้ได้รับเงินลงทุนคืน เพราะบริษัทโจทก์ดำเนินกิจการมีกำไรทำให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท ส.ซึ่งเปลี่ยนมาถือหุ้นของบริษัทโจทก์มีโอกาสได้รับเงินปันผลเป็นการตอบแทนเพื่อชดเชยการลงทุนที่ขาดทุนในบริษัท ส. ส่วนบริษัทโจทก์นั้นก็มิได้ชำระเงินค่าหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ส. เพราะโจทก์ได้ตอบแทนค่าหุ้นเป็นหุ้นของบริษัทโจทก์ และโจทก์ก็มีกำไรจากการซื้อขายหุ้นโดยซื้อในราคา 50 บาท และขายในราคา 100 บาท ทั้งโจทก์ยังคาดว่าโจทก์จะนำยอดเงินที่อ้างว่าขาดทุนจากการขายหุ้นที่ซื้อมาให้แก่บริษัท ส. มาหักเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ ทำให้โจทก์กำไรน้อยลงอันมีผลทำให้โจทก์เสียภาษีเงินได้น้อยลงไป โจทก์ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะซื้อหุ้นของบริษัท ส. เพื่อฟื้นฟูกิจการของบริษัท ส.ให้ก้าวหน้าและมีผลกำไร ทั้งมิได้มุ่งหากำไรจากมูลค่าของหุ้นหรือจากการดำเนินกิจการของบริษัทส. โจทก์คงมีความมุ่งหมายเพียงเพื่อจะช่วยเหลือผู้ถือหุ้นของบริษัท ส. และในเวลาเดียวกันก็จะนำผลขาดทุนมาหักเป็นรายจ่ายของโจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์ขายหุ้นที่ซื้อมาให้บริษัท อ. ซึ่งโจทก์ตั้งขึ้นมาใหม่ในปีเดียวกับที่โจทก์ซื้อหุ้นมาจากบริษัท ส. โดยบริษัท อ.ประกอบกิจการและมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับบริษัท ส. ทั้งยังตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันด้วย แม้การขายหุ้นให้แก่บริษัท อ.ดังกล่าวทำให้ขาดทุนจริง ผลขาดทุนดังกล่าวก็มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือกิจการโดยเฉพาะ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (13)
ที่โจทก์อุทธรณ์รายจ่ายค่าหุ้นที่โจทก์ซื้อเป็นต้นทุนในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2527 มิใช่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 นั้น แม้โจทก์จะกล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง แต่เมื่อศาลภาษีอากรมิได้กำหนดประเด็นพิพาทข้อดังกล่าวไว้ในชั้นชี้สองสถานและโจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งกำหนดประเด็นพิพาทของศาลภาษีอากรดังกล่าวไว้ จึงต้องถือว่าโจทก์ได้สละประเด็นพิพาทในข้อนี้แล้ว อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ใช้วิธีการและชั้นเชิงอันแยบยลในการช่วยเหลือผู้ถือหุ้นของบริษัท ส. และในเวลาเดียวกันก็พยายามทำให้กำไรสุทธิของโจทก์ลดลงเพื่อจะได้เสียภาษีเงินได้น้อยลง แม้กระนั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ยังลดเบี้ยปรับให้โจทก์คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย นับได้ว่าเป็นคุณแก่โจทก์มากอยู่แล้ว และแม้ต่อมาในภายหลังโจทก์จะได้ให้ความช่วยเหลือในการตรวจสอบไต่สวนก็ตาม ก็ไม่สมควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้ลดลงอีก
ที่โจทก์อุทธรณ์รายจ่ายค่าหุ้นที่โจทก์ซื้อเป็นต้นทุนในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2527 มิใช่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2531 นั้น แม้โจทก์จะกล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง แต่เมื่อศาลภาษีอากรมิได้กำหนดประเด็นพิพาทข้อดังกล่าวไว้ในชั้นชี้สองสถานและโจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งกำหนดประเด็นพิพาทของศาลภาษีอากรดังกล่าวไว้ จึงต้องถือว่าโจทก์ได้สละประเด็นพิพาทในข้อนี้แล้ว อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ใช้วิธีการและชั้นเชิงอันแยบยลในการช่วยเหลือผู้ถือหุ้นของบริษัท ส. และในเวลาเดียวกันก็พยายามทำให้กำไรสุทธิของโจทก์ลดลงเพื่อจะได้เสียภาษีเงินได้น้อยลง แม้กระนั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ยังลดเบี้ยปรับให้โจทก์คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย นับได้ว่าเป็นคุณแก่โจทก์มากอยู่แล้ว และแม้ต่อมาในภายหลังโจทก์จะได้ให้ความช่วยเหลือในการตรวจสอบไต่สวนก็ตาม ก็ไม่สมควรที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้ลดลงอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2928/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตกระดาษลูกฟูกจากกระดาษคราฟท์เข้าข่ายผลิตกระดาษ ไม่ได้รับการลดหย่อนภาษี
การที่โจทก์ซื้อกระดาษคราฟทมาทำเป็นกระดาษลูกฟูกโดยการนำกระดาษคราฟท1หรือ2แผ่นเข้าเครื่องอัดให้เป็นลอนที่เรียกว่าลูกฟูกแล้วนำกระดาษคราฟทอีก2หรือ3แผ่นมาทากาวติดด้านบนด้านล่างและระหว่างกลางเป็นกระดาษลูกฟูกชนิด3ชั้นหรือ5ชั้นเป็นการนำกระดาษคราฟทธรรมดามาประกอบหรือแปรรูปหรือแปรสภาพเป็นกระดาษลูกฟูกขึ้นใหม่ฟังได้ว่าเป็นการผลิตกระดาษลูกฟูกตามมาตรา77แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับในขณะนั้นแล้วมิใช่เป็นการนำกระดาษมาทำเป็นกระดาษในสภาพเดิมทั้งโจทก์ขายกระดาษลูกฟูกที่ผลิตขึ้นนี้ให้แก่บุคคลภายนอกไปเพื่อทำเป็นกล่องกระดาษหรืออื่นๆไม่เพียงแต่โจทก์จะนำมาผลิตเป็นกล่องกระดาษลูกฟูกจำหน่ายเท่านั้นกรณีที่จะเป็นเครื่องใช้หรือของใช้ใดๆในหมวด5(2)ตามบัญชีที่3ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่54)พ.ศ.2517แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา3และ5แห่งพระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่156)พ.ศ.2528ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้นก็ต่อเมื่อโจทก์ซื้อกระดาษลูกฟูกมาผลิตเป็นกล่องกระดาษลูกฟูกขึ้นอีกต่างหาเท่านั้นสินค้าของโจทก์จัดเป็นสินค้าเบ็ดเตล็ดประเภทกระดาษทุกชนิดเข้าในหมวด8(9)บัญชีที่1ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ(ฉบับที่54)พ.ศ.2517ที่ได้แก้ใหม่ซึ่งมิได้รับการลดอัตราภาษีการค้าตามพระราชกฤษฎีกานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5656/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนลูกหนี้และการลดหย่อนภาษี: ศาลฎีกาวินิจฉัยการให้ส่วนลดในการโอนลูกหนี้เป็นเหตุผลสมควร ไม่ถือเป็นการโอนทรัพย์สินต่ำกว่าราคาตลาด
การที่โจทก์โอนลูกหนี้การค้าและลูกหนี้ตามตั๋วแลกเงินตามฟ้องสืบเนื่องมาจากโจทก์จัดรูปแบบการดำเนินกิจการใหม่เป็นบริษัทการค้าระหว่างประเทศจึงได้โอนกิจการขายสินค้าภายในประเทศทั้งหมดให้แก่บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทโจทก์ การโอนลูกหนี้ทั้งสองประเภทของโจทก์จึงมิได้เกี่ยวข้องกับหนี้สูญ ไม่ใช่กรณีมีการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ตามความหมายในประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(9) แม้ว่าสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามบัญชีลูกหนี้การค้าและลูกหนี้ตามตั๋วแลกเงินจะเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง แต่ก็เป็นทรัพย์สินที่ยังไม่แน่นอนว่าผู้รับโอนจะได้รับครบถ้วนหรือไม่ เพราะเมื่อหนี้ดังกล่าวถึงกำหนดชำระ ลูกหนี้บางรายอาจไม่อยู่ในฐานะที่จะชำระหนี้ได้ ในการทำสัญญาโอนลูกหนี้ทั้งสองประเภทนั้น ผู้รับโอนจะยังไม่ได้ประโยชน์ตามสัญญาจนกว่าหนี้จะถึงกำหนดชำระและผู้รับโอนได้รับชำระหนี้แล้ว การให้ส่วนลดแก่ผู้รับโอนในการโอนลูกหนี้ทั้งสองประเภทจึงมีเหตุผล และที่โจทก์ให้ส่วนลดในอัตราร้อยละ 15สำหรับการโอนลูกหนี้การค้านั้น โจทก์คิดคำนวณจากสถิติการเก็บหนี้จากลูกหนี้การค้าย้อนหลังเป็นเวลาหลายปีจึงเป็นอัตราที่สมควรส่วนที่โจทก์ให้ส่วนลดในอัตราร้อยละ 2.5 สำหรับทั้งการโอนลูกหนี้การค้าและลูกหนี้ตามตั๋วแลกเงินเพื่อชดเชยการที่หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระนั้น โจทก์กำหนดขึ้นโดยคิดคำนวณจากระยะเวลาโดยเฉลี่ยของหนี้ที่โอนทั้งหมดว่าจะถึงกำหนดชำระภายใน 2 เดือนนับแต่วันฟ้อง จึงกำหนดอัตราร้อยละ 2.5 ต่อระยะเวลา 2 เดือนซึ่งก็คืออัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั่นเอง ถือได้ว่าเป็นอัตราที่สมควรเช่นกัน จะถือว่าเป็นการโอนทรัพย์สินต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควรมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4551/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินเพิ่มเติมของศุลกากร, การส่งแจ้งประเมิน, และสิทธิลดหย่อนภาษี
หลังจากจำเลยยื่นใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าและได้ชำระภาษีอากรครบถ้วนแล้ว ถ้าความปรากฏชัดแจ้งในภายหลังว่ารายการที่ยื่นเสียภาษีอากรไว้ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินของกรมศุลกากรมีอำนาจประเมินเพิ่มเติมได้ โดยไม่จำต้องดำเนินการ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 19และ 20
ภาษีการค้าส่วนที่ประเมินเพิ่ม จำเลยไม่ได้ชำระหรือวางเงินเป็นประกัน ย่อมไม่มีสิทธิได้รับการลดภาษีร้อยละ 2 ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78เอกาทศ
เมื่อได้แจ้งการประเมินทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่จดทะเบียนไว้กับกรมทะเบียนการค้า และผู้ที่อยู่ในสำนักงานดังกล่าวซึ่งมิใช่กรรมการผู้จัดการของจำเลยเป็นผู้รับแทนก็ตาม ถือว่าการส่งแบบแจ้งการประเมินภาษีอากรชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 8 แล้ว
ภาษีการค้าส่วนที่ประเมินเพิ่ม จำเลยไม่ได้ชำระหรือวางเงินเป็นประกัน ย่อมไม่มีสิทธิได้รับการลดภาษีร้อยละ 2 ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78เอกาทศ
เมื่อได้แจ้งการประเมินทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่จดทะเบียนไว้กับกรมทะเบียนการค้า และผู้ที่อยู่ในสำนักงานดังกล่าวซึ่งมิใช่กรรมการผู้จัดการของจำเลยเป็นผู้รับแทนก็ตาม ถือว่าการส่งแบบแจ้งการประเมินภาษีอากรชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 8 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การลดหย่อนค่าภาษีสำหรับเครื่องจักรกลที่ใช้ในอุตสาหกรรม
ตามคำฟ้องของโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงแล้วว่า ที่ดินที่โจทก์ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดมีเนื้อที่ 4,090.99ตารางเมตร สำหรับปี พ.ศ. 2528 และ พ.ศ. 2529 กับมีเนื้อที่3,870.05 ตารางเมตร สำหรับปี พ.ศ. 2531 เพียงแต่โจทก์อ้างว่าที่ดินที่โจทก์ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนสำนักงานขายควรมีเนื้อที่เพียง 324.56 ตารางเมตร ที่เหลือนอกนั้นเป็นที่ดินที่โจทก์ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอื่น ดังนั้นตามข้อเท็จจริงดังกล่าว โจทก์ย่อมมีหน้าที่จะต้องชำระค่าภาษีปีละครั้งตามค่ารายปีของที่ดินที่โจทก์ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนสำนักงานขาย และที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอื่นทั้งหมดในอัตราร้อยละ12.5 ต่อปีตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 8 และพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2475 มาตรา 5 และเมื่อโจทก์มิได้กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าค่ารายปีของที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนสำนักงานขาย และที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอื่นนั้น มีอัตราแตกต่างกัน อันจะทำให้การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1นำจำนวนที่ดินทั้งหมดมารวมคิดค่ารายปีในอัตราเดียวกันเป็นการไม่ถูกต้อง ดังนั้นการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1คิดค่ารายปีจากจำนวนที่ดินที่โจทก์ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดรวมกันในอัตราเดียวกัน แล้วประเมินค่าภาษีในอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 13เจ้าของโรงเรือนจะได้รับประโยชน์ลดค่ารายปีลงเหลือเพียงหนึ่งในสามก่อนคำนวณภาษีโรงเรือนก็ต่อเมื่อเจ้าของโรงเรือนได้ติดตั้งเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าในโรงเรือนและเป็นส่วนควบอันสำคัญเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรม โมบายออฟฟิศมีเพียงแผงสวิตซ์ สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องจักรผสมคอนกรีตติดตั้งอยู่เท่านั้น แต่การผลิตคอนกรีตผสมเสร็จอันเป็นอุตสาหกรรมของโจทก์ ความสำคัญอยู่ที่เครื่องจักรผสมคอนกรีต เมื่อเครื่องจักรผสมคอนกรีตอันเป็นส่วนที่มีลักษณะสำคัญเพื่อดำเนินการอุตสาหกรรมของโจทก์นั้น มิได้ติดตั้งในโมบายออฟฟิศลำพังแต่แผงสวิตซ์ สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องจักรผสมคอนกรีตจึงมิใช่ส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมของโจทก์ ตามความหมายของพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 13 ไม่มีสิทธิได้ลดค่ารายปีสำหรับเสียภาษีโรงเรือนลงเหลือหนึ่งในสามก่อนคำนวณภาษี ที่วางเครื่องจักรผสมคอนกรีต มีสภาพเป็นเพียงสิ่งปลูกสร้างที่เป็นฐานติดตรึงกับพื้นดินโดยมีเครื่องจักรผสมคอนกรีตติดตั้งเป็นส่วนควบอยู่ตอนบนเท่านั้น ไม่ได้มีสภาพเป็นโรงเรือนสำหรับให้เครื่องจักรผสมคอนกรีตได้ติดตั้งเป็นส่วนควบเข้าด้วย จึงไม่เป็นโรงเรือนซึ่งติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมของโจทก์ ไม่มีสิทธิได้ลดค่ารายปีสำหรับเสียภาษีโรงเรือนลงเหลือหนึ่งในสามก่อนคำนวณภาษี ห้องปั๊มลมมีสภาพของห้องทั้งสี่ด้านและด้านบนทำด้วยแผ่นเหล็กมีรูปลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ครอบเครื่องปั๊มลมไว้มุมฝาทั้งสี่ด้านมีขาเหล็กยึดติดกับพื้นคอนกรีตมีประตูทางเข้า1 บาน ภายในห้องมีเครื่องปั๊มลมอันเป็นเครื่องจักรกลไกที่สนับสนุนการทำงานของเครื่องจักรผสมคอนกรีตติดตั้งอยู่กับพื้นคอนกรีตจึงเป็นเพียงสิ่งปลูกสร้างสำหรับคุ้มกันเครื่องปั๊มลมเท่านั้นไม่ได้มีสภาพเป็นที่สำหรับอยู่หรือไว้สิ่งของคล้ายโรงเรือน ถือไม่ได้ว่าเป็นโรงเรือนซึ่งติดตั้งส่วนควบที่สำคัญอันมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อดำเนินการอุตสาหกรรมของโจทก์ ไม่มีสิทธิได้ลดค่ารายปีสำหรับเสียภาษีโรงเรือนลงเหลือหนึ่งในสามก่อนคำนวณภาษี สายพานลำเลียงปูนซีเมนต์มีสภาพเป็นสายพาน*ลำเลียงแขวนอยู่บนคานเหล็กซึ่งมีขาตั้งเป็นเหล็กติดตรึง อยู่ กับพื้นคอนกรีตในที่โล่งไม่มีฝาหรือหลังคาคลุม จึงมีสภาพเป็นเพียงสิ่งปลูกสร้างไม่ได้มีสภาพเป็นโรงเรือนซึ่งติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมของโจทก์ไม่มีสิทธิได้ลดค่ารายปีสำหรับเสียภาษีโรงเรือนลงเหลือหนึ่งในสามก่อนคำนวณภาษี โรงคุมสายพาน ลำเลียงปูนซีเมนต์ มีสภาพเป็นโรงขนาดสูงใหญ่มีฝาสองด้าน มีหลังคาคลุม เป็นพื้นที่ขนาด 10.0x12 เมตรโครงสร้างเป็นเหล็กติดตรึง กับพื้นคอนกรีตอย่างมั่นคงแข็งแรงมีคานเหล็กพร้อมขาตั้งเหล็กที่ติดตรึง อยู่ กับพื้นคอนกรีตภายในโรงอย่างมั่นคงแข็งแรงเช่นกัน ใช้เป็นที่แขวนสายพาน ลำเลียงปูนซีเมนต์ด้วยรอกร้อยโซ่ มีมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับขับเคลื่อนล้อในการลำเลียงปูนซีเมนต์บรรจุถุงจากเรือสู่รถยนต์บรรทุกเพื่อนำไปยังถังเก็บสำหรับใช้ส่งเข้าเครื่องจักรผสมคอนกรีตในการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จจำหน่าย คาน รอกโซ่ สายพาน ลำเลียงและมอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมล้อประกอบกันสามารถใช้เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการส่งถ่ายแรงได้ จึงเป็นเครื่องจักรกลที่สำคัญเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นโรงเรือนซึ่งติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมของโจทก์ขึ้นในโรงเรือนนั้น ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 มาตรา 13 จึงเป็นโรงเรือนที่ต้องลดค่ารายปีสำหรับเสียภาษีโรงเรือนลงเหลือเพียงหนึ่งในสามก่อนคำนวณภาษี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การพิจารณาโรงเรือนที่มีเครื่องจักรกลไกและการลดหย่อนภาษี
โจทก์ยอมรับในคำฟ้องว่า ที่ดินที่โจทก์ใช้ต่อเนื่องกับ โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดมีเนื้อที่ 4,090.99 ตารางเมตร สำหรับปี พ.ศ. 2528และ พ.ศ. 2529 กับมีเนื้อที่ 3,870.05 ตารางเมตร สำหรับปี พ.ศ. 2531เพียงแต่อ้างว่าที่ดินที่โจทก์ใช้ ต่อเนื่องกับโรงเรือนสำนักงานขาย ควรมีเนื้อที่เพียง 324.56 เมตร ที่เหลือนอกนั้นเป็นที่ดินที่โจทก์ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนและ สิ่งปลูกสร้างอื่น แต่มิได้กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าค่ารายปีของที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนสำนักงานขายและที่ใช้ต่อเนื่อง กับโรงเรือน และสิ่งปลูกสร้างอื่นนั้นมีอัตราแตกต่างกัน โจทก์ย่อมมี หน้าที่จะ ต้องชำระค่าภาษีปีละครั้งตามค่ารายปีของที่ดินที่ใช้ ต่อเนื่องกับโรงเรือนสำนักงานขาย และที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน และสิ่งปลูกสร้างอื่นทั้งหมดในอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี ตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 มาตรา 8พระราชบัญญัติ ญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 13 บัญญัติว่า"ถ้าเจ้าของโรงเรือนใดติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะ เป็นเครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าเพื่อ ใช้ดำเนินการอุตสาหกรรม...ขึ้นในโรงเรือนนั้น ๆ ในการประเมิน ท่านให้ลดค่ารายปีลงเหลือหนึ่งในสาม..." ดังนี้ เครื่องจักรกลไก เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้าที่ติดตั้งนั้น ต้องติดตั้ง ในโรงเรือน และเป็นส่วนควบ อันสำคัญ โมบายออฟฟิศ มีเพียง แผงสวิตซ์ สำหรับควบคุมการทำงาน ของเครื่องจักรผสมคอนกรีตติดตั้ง อยู่เท่านั้น แต่การผลิตคอนกรีตผสมเสร็จเพื่อจำหน่ายอันเป็น อุตสาหกรรมของโจทก์ ความสำคัญอยู่ที่เครื่องจักรผสมคอนกรีต ซึ่งมิได้ติดตั้งในโมบายออฟฟิศ ลำพังแต่แผงสวิตช์สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องจักรผสมคอนกรีตจึงมิใช่ส่วนควบที่สำคัญ มี ลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมของ โจทก์ตามความหมายของบทกฎหมายดังกล่าว ที่วางเครื่องจักรผสมคอนกรีต มีสภาพเป็นเพียงสิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นฐานติดตรึง กับพื้นดินโดยมีเครื่องจักรผสมคอนกรีตติดตั้ง เป็นส่วนควบอยู่ ตอนบนเท่านั้น หาได้มีสภาพเป็นโรงเรือนสำหรับ ให้เครื่องจักร ผสมคอนกรีตติดตั้งเป็นส่วนควบเข้าด้วยไม่ จึงไม่เป็น โรงเรือนซึ่งติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไก เพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมของโจทก์ ห้องปั๊มลม มีผนังของห้องทั้งสี่ด้านและด้านบนทำด้วยแผ่นเหล็กมีรูปลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ครอบเครื่องปั๊มลมไว้มุมฝาทั้งสี่ด้านมีขาเหล็กยึดกับพื้นคอนกรีต มีประตูทางเข้า 1 บาน ภายในห้องมีเครื่องปั๊มลมอันเป็นเครื่องจักรกลไกที่ สนับสนุนการทำงานของเครื่องจักรผสมคอนกรีตติดตั้งอยู่กับ พื้นคอนกรีต ห้องปั๊มลมจึงเป็นเพียง สิ่งปลูกสร้างสำหรับคุ้มกัน เครื่องปั๊มลมเท่านั้น หาได้มีสภาพเป็นที่สำหรับอยู่หรือไว้สิ่งของคล้ายโรงเรือนไม่ ถือไม่ได้ว่าเป็นโรงเรือนซึ่งติดตั้ง ส่วนควบที่สำคัญอันมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อดำเนินการ อุตสาหกรรม ของ โจทก์ สายพานลำเลียงปูนซิเมนต์มีสภาพเป็นสายพานลำเลียง แขวนอยู่บนคานเหล็กซึ่งมีขาตั้งเป็นเหล็กติดตรึงอยู่ กับพื้นคอนกรีต ในที่โล่ง ไม่มีฝาหรือหลังคาคลุม จึงมีสภาพเป็นเพียง สิ่งปลูกสร้าง หาได้มีสภาพ เป็นโรงเรือนซึ่งติดตั้งส่วนควบที่สำคัญ มีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมของ โจทก์ไม่ โรงคุมสายพานลำเลียงปูนซีเมนต์ มีสภาพเป็นโรงขนาดสูงใหญ่มีฝาสองด้าน มีหลังคาคลุม โครงสร้างเป็นเหล็กติดตรึง กับ พื้นคอนกรีตอย่างมั่งคงแข็งแรงมีคานเหล็กพร้อมขาตั้งเหล็กที่ติดตรึง อยู่ กับ พื้นคอนกรีตภายในโรงอย่างมั่นคงแข็งแรงเช่นกัน คานเหล็กดังกล่าวใช้เป็นที่แขวนสายพานลำเลียงปูนซีเมนต์ ด้วยรอก ร้อยโซ่ มีมอเตอร์ ไฟฟ้าสำหรับขับเคลื่อนล้อในการลำเลียง ปูนซีเมนต์บรรจุถุงจากเรือสู่รถยนต์บรรทุกเพื่อนำไปยังถังเก็บ สำหรับใช้ส่งเข้าเครื่องจักรผสมคอนกรีตใน การผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ จำหน่าย คาน รอก โซ่ สายพานลำเลียงและ มอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมล้อ ดังกล่าวประกอบกันสามารถใช้เป็นเครื่องมืออำนาจความสะดวกในการ ส่งถ่ายแรงได้ จึงเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรม ของโจทก์ เมื่อโรงคุมสายพานได้ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะ เป็นเครื่องจักรกลไกดังกล่าว จึงถือได้ว่าเป็นโรงเรือนซึ่ง ติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลไกเพื่อใช้ ดำเนินการ อุตสาหกรรมของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3818/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยพิจารณาค่ารายปี, การลดหย่อนภาษีจากเครื่องจักรกล, และการยกเว้นภาษีจากโรงเรือนปิด
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินกฎหมายให้ประเมินจากค่ารายปีกรณีไม่อาจทราบค่ารายปีได้จากค่าเช่าที่สมควรให้เช่าในปีหนึ่ง ๆจึงต้องประเมินโดยนำค่ารายปีของปีที่ล่วงมาถัดจากปีที่ต้องเสียภาษีขึ้นไปมาเป็นหลักในการคำนวณ มิใช่นำเอาค่ารายปีที่ล่วงมาแล้วหลายปีมาเป็นหลักในการประเมิน โจทก์ติดตั้งเครื่องจักรกลเป็นส่วนควบสำคัญของอาคารเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรม จึงมีสิทธิได้ลดค่ารายปีเหลือหนึ่งในสามและโรงเรือนที่ปิดตลอดปีย่อมได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 แม้จะเป็นผู้ชี้ขาดการประเมินก็เป็นเรื่องที่ชี้ขาดไปตามอำนาจหน้าที่ มิได้ชี้ขาดโดยแกล้งให้โจทก์ต้องรับผิดค่าภาษีต่อจำเลยที่ 1 และมิใช่ผู้ที่รับเงินภาษีไว้ จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะให้จำเลยที่ 2ร่วมคืนเงินค่าภาษีให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3650/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและส่วนควบที่ติดตั้งในโรงงานอุตสาหกรรม การพิจารณาค่าเช่าที่สมควร และการลดหย่อนภาษี
พระราชบัญญัติ ญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8กำหนดให้ผู้รับประเมินชำระค่าภาษีตามค่ารายปีของทรัพย์สินคือโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ นั้น ค่ารายปีที่โจทก์ยอมให้กำหนด เป็นค่ารายปีเฉพาะส่วนของโรงเรือน หาใช่รวมถึงค่ารายปีของที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนไม่.....เมื่อที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องนี้โจทก์มิได้ให้เช่า การที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดค่ารายปีของที่ดินส่วนนี้ เทียบเคียงกับอัตราการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ในการทำสวน จึงเป็นอัตราที่ที่ดินนี้สมควรจะให้เช่าได้ โจทก์ลดค่าเช่าท่าเทียบเรือโดยไม่ปรากฏว่าเหตุใดจึงต้องลดค่าเช่า จึงเป็นกรณีที่มีเหตุอันบ่งให้เห็นว่าค่าเช่าที่โจทก์ลดให้แล้ว มิใช่จำนวนเงินอันสมควรให้เช่าได้ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจแก้หรือคำนวณค่ารายปีเสียใหม่ตามค่าเช่าเดิมที่โจทก์เคยให้เช่า ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 8 วรรคสอง ค่ารายปีของโรงเรือน 7 รายการ พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดขึ้นโดยเทียบเคียงกับค่าเช่าของอาคารคลังสินค้าตามรายการที่ 1แต่เมื่อลักษณะสภาพและประโยชน์การใช้ไม่เหมือนกันไม่อาจบ่งให้เห็นว่าโรงเรือน 7 รายการนี้มีคุณค่าสูงกว่าโรงเรือนตามรายการที่ 1แม้พนักงานเจ้าหน้าที่จะกำหนดค่าเช่าต่อตารางเมตรน้อยกว่าก็ยังไม่อาจบ่งให้เห็นว่าเป็นค่าเช่าที่สมควรจะให้เช่าได้ ต้องนำค่ารายปีที่ล่วงแล้วมาเป็นหลักสำหรับการคำนวณค่าภาษีตามมาตรา 18 และการที่โจทก์ยอมให้เพิ่มค่ารายปีสูงขึ้นอีกร้อยละ 2.5 ตามดัชนีราคาผู้บริโภคของปี 2529 แม้จะไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้นำดัชนีราคาผู้บริโภคดังกล่าวมาคำนวณเพิ่มค่ารายปี แต่ดัชนีดังกล่าวก็เป็นเครื่องชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจที่สูงขึ้นอย่างหนึ่ง อันสมควรที่ทรัพย์สินดังกล่าวจะได้ค่าเช่าเพิ่มมากขึ้นในเมื่อจำเลยมิได้สืบให้เห็นถึงเหตุที่จะได้ค่าเช่ามากกว่านั้น เมื่อการเพิ่มค่ารายปีของโจทก์ เป็นการเพิ่มให้มากขึ้นกว่าค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วที่เป็นหลักในการคำนวณตามมาตรา 18 ทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีมากขึ้นข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่าไม่อาจนำค่ารายปีของอาคารคลังสินค้าตามรายการที่ 1 มาเปรียบเทียบและสมควรเพิ่มค่ารายปีจากค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วในอัตราร้อยละ 2.5 ตามดัชนีราคาผู้บริโภคของปี2529 จึงรับฟังได้ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดค่ารายปีของโรงเรือนอีก4 รายการ โดยเทียบเคียงกับค่าเช่าของอาคารคลังสินค้าตามรายการที่ 1 ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกัน แม้อาคารที่นำมาเทียบเคียงจะมีลักษณะสภาพและการใช้ประโยชน์ไม่เหมือนกัน แต่ก็พอจะใช้อาศัยเทียบเคียงได้ โรงเรือนทั้งสี่รายการดังกล่าวมีราคาต่อตารางเมตรสูงกว่าอาคารคลังสินค้ามาก เมื่ออาคารคลังสินค้าให้เช่าได้ตารางเมตรละ 55 บาท ต่อเดือน ก็เป็นเหตุอันบ่งให้เห็นว่าค่าเช่าที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้โรงเรือน 4 รายการนี้ ให้เช่าได้ตารางเมตรละ 45 บาท ต่อเดือนเป็นค่าเช่าที่สมควรจะให้เช่าได้ ส่วนค่ารายปีของอาคารไซโลตามรายการที่ 8 พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดเท่าค่ารายปีที่ล่วงมาแล้ว โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าโรงเรือนหลังนี้ไม่อาจให้เช่าอันจะได้ค่าเช่าตามค่ารายปีที่ล่วงแล้ว ทั้งมิได้โต้แย้งการกรอกค่ารายปีในช่องค่ารายปีที่ล่วงแล้วในแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษี การที่โจทก์เพิ่มค่ารายปี ปี 2529 ของโรงเรือนทั้งห้ารายการนี้สูงขึ้นจากค่ารายปีเมื่อปี 2525 อัตราร้อยละ 26.32 ตามภาวะค่าครองชีพและภาวะเศรษฐกิจของประเทศ แต่ค่ารายปีของปี 2525มิใช่ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้ว (พ.ศ. 2528) ตามความหมายในพระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 18 จึงไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้กำหนดค่ารายปีตามที่โจทก์อ้าง โรงเรือนทั้งห้ารายการ โจทก์ได้ติดตั้งเครื่องจักรอันเป็นส่วนควบที่สำคัญมาตั้งแต่ปี 2522 พนักงานเจ้าหน้าที่กรอกค่ารายปีของปีล่วงแล้วในแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีของโจทก์โดยมิได้ระบุว่าเป็นค่ารายปีเฉพาะโรงเรือน จึงต้องหมายรวมถึงค่ารายปีของส่วนควบดังกล่าวด้วย ค่ารายปีของปี 2529 ที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดขึ้นจึงเป็นค่ารายปีของทรัพย์สินรวมทั้งส่วนควบ ต้องลดลงเหลือหนึ่งในสาม