คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลดอัตราภาษี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1899/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดอัตราภาษีสินค้าที่นอนและหมอนที่ผลิตจากฟองน้ำเทียม ไม่เข้าข่ายตามบัญชี 1 หมวด 5(10) หรือหมวด 9
สินค้าที่นอนและหมอนของโจทก์ซึ่งผลิตจากฟองน้ำเทียม ไม่ใช่สินค้าอื่น ๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ เฉพาะที่ผลิตจากพลาสติกตามบัญชี 1 หมวด 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรา และยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517เพราะสินค้าที่นอนและหมอนกฎหมายได้บัญญัติไว้แล้วในบัญชีที่ 2หมวด 2 เพียงแต่กฎหมายในขณะพิพาทประสงค์ลดภาษีเฉพาะที่นอนและหมอนที่ยัดปุยนุ่นหรือปุยจากต้นไม้อย่างอื่น ดังนั้นสินค้าของโจทก์จึงไม่อยู่ในบัญชีใด ๆ ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ฟองน้ำเทียมตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวย่อมหมายถึงฟองน้ำเทียมโดยตัวเอง หาได้มีความหมายรวมถึงสิ่งของที่ผลิตเป็นสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นโดยใช้ฟองน้ำเทียมเป็นส่วนประกอบด้วยไม่ เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นว่าผู้ผลิตฟองน้ำเทียมซึ่งถือเป็นผู้ผลิตสินค้าอันจะต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตอยู่แล้ว เมื่อโจทก์นำฟ้องน้ำเทียมมาผลิตสินค้าเป็นที่นอนและหมอน ย่อมเห็นได้ชัดว่าโจทก์ย่อมไม่ใช่ผู้ผลิตฟองน้ำเทียมซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3338/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การจัดประเภทกระดาษคราฟท์เพื่อลดอัตราภาษี การพิจารณาคุณลักษณะกระดาษคราฟท์และวัตถุดิบ
กระดาษคราฟทหรือกระดาษคราฟทที่ทำเป็นลูกฟูกก็คือ กระดาษสีน้ำตาลที่มีความเหนียวมากกว่ากระดาษธรรมดาที่ใช้พิมพ์หนังสือหรือใช้ทำสมุดทั้งนี้เพราะกระดาษ คราฟทเป็นกระดาษที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ทำกล่อง ผิวกล่อง ถุงหลายชั้นหรือชั้นเดียว หรือใช้เป็นกระดาษสำหรับห่อสิ่งของหรือสินค้า ผลการตรวจสอบกระดาษตัวอย่างที่โจทก์ผลิตระบุว่า กระดาษที่โจทก์ผลิตเป็นกระดาษสำหรับทำผิวกล่อง (คือกระดาษคราฟทหรือกระดาษเหนียว) ตามที่กล่าวไว้ในมาตรฐานเลขที่มอก.170-2519 แต่มีคุณภาพด้านความเหนียวของกระดาษตัวอย่างต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานเท่านั้น มิได้ปฏิเสธว่ามิใช่กระดาษคราฟท ดังนี้ต้องถือว่ากระดาษที่โจทก์ผลิตเป็นกระดาษคราฟทหรือกระดาษคราฟทที่ทำเป็นลูกฟูกดังที่กำหนดไว้ในบัญชีที่ 3 หมวด 5 สินค้าอื่น ๆ (1) ท้ายพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 โจทก์จึงได้ลดภาษีการค้าลงเหลือร้อยละ 1.5 ของรายรับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลดอัตราภาษีเครื่องจักรเกษตรและอุปกรณ์: พิจารณาจากสภาพการใช้งานและวัตถุประสงค์
รถแทรกเตอร์และสินค้าเครื่องอะไหล่ที่โจทก์สั่งจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จะเป็นเครื่องจักร ส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักรใช้ในการเกษตรและการอุตสาหกรรมหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งจะต้องพิจารณาจากสภาพของวัตถุสินค้านั้นๆ ตลอดจนข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์สั่งรถแทรกเตอร์และสินค้านั้นมาจำหน่ายให้แก่ผู้ใด และผู้ซื้อซื้อไปใช้ในกิจการอย่างใด
รถแทรกเตอร์ขนาดเล็กเหมาะสมแก่งานไร่นาขนาดย่อม ผลิตขึ้นสำหรับใช้ในการทำไร่ไถนา มีที่นั่งเดียวสำหรับผู้ขับ ไม่มีสภาพเป็นยานพาหนะ โจทก์สั่งมาจำหน่ายแก่ชาวไร่ และเคยขายให้แก่ทางราชการนำไปใช้ในการทำไร่ แสดงว่าเป็นเครื่องจักรที่ผลิตขึ้นสำหรับใช้ในการเกษตรโดยแท้ แต่เพื่อใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง จึงอาจเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ได้ตามความต้องการเช่นจานไถ เครื่องคราดนาหากจะมีผู้นำรถแทรกเตอร์นี้ไปดัดแปลงใช้ในกิจการอื่นบ้าง ก็หาทำให้เปลี่ยนสภาพจากเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตรเป็นอื่นไปไม่ จึงได้รับการลดอัตรารัษฎากร โดยเสียภาษีการค้าในอัตราเพียงร้อยละ 3 ของรายรับ
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรใช้ในการเกษตรและการอุตสาหกรรม ที่โจทก์สั่งเข้ามาสำรองไว้เพื่อจำหน่ายแก่ผู้ซื้อเครื่องจักรของโจทก์ไปใช้ในกรณีที่ส่วนประกอบและอุปกรณ์ ซึ่งใช้อยู่เดิมสึกหรอหรือชำรุดเสียหาย อยู่ในข่ายที่จะได้ลดอัตรารัษฎากรเช่นเดียวกับตัวเครื่องจักร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลดอัตราภาษีเครื่องจักรทางการเกษตรและส่วนประกอบ: ปัญหาการตีความสภาพสินค้าและวัตถุประสงค์การใช้งาน
รถแทรกเตอร์และสินค้าเครื่องอะไหล่ที่โจทก์สั่งจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จะเป็นเครื่องจักร. ส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักรใช้ในการเกษตรและการอุตสาหกรรมหรือไม่.เป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งจะต้องพิจารณาจากสภาพของวัตถุสินค้านั้นๆ ตลอดจนข้อเท็จจริงที่ว่า.โจทก์สั่งรถแทรกเตอร์และสินค้านั้นมาจำหน่ายให้แก่ผู้ใด และผู้ซื้อซื้อไปใช้ในกิจการอย่างใด.
รถแทรกเตอร์ขนาดเล็กเหมาะสมแก่งานไร่นาขนาดย่อม ผลิตขึ้นสำหรับใช้ในการทำไร่ไถนา มีที่นั่งเดียวสำหรับผู้ขับ.ไม่มีสภาพเป็นยานพาหนะ. โจทก์สั่งมาจำหน่ายแก่ชาวไร่ และเคยขายให้แก่ทางราชการนำไปใช้ในการทำไร่. แสดงว่าเป็นเครื่องจักรที่ผลิตขึ้นสำหรับใช้ในการเกษตรโดยแท้ แต่เพื่อใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง. จึงอาจเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ได้ตามความต้องการเช่นจานไถ เครื่องคราดนาหากจะมีผู้นำรถแทรกเตอร์นี้ไปดัดแปลงใช้ในกิจการอื่นบ้าง. ก็หาทำให้เปลี่ยนสภาพจากเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตรเป็นอื่นไปไม่. จึงได้รับการลดอัตรารัษฎากร โดยเสียภาษีการค้าในอัตราเพียงร้อยละ 3 ของรายรับ.
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรใช้ในการเกษตรและการอุตสาหกรรม.ที่โจทก์สั่งเข้ามาสำรองไว้เพื่อจำหน่ายแก่ผู้ซื้อเครื่องจักรของโจทก์ไปใช้ในกรณีที่ส่วนประกอบและอุปกรณ์. ซึ่งใช้อยู่เดิมสึกหรอหรือชำรุดเสียหาย อยู่ในข่ายที่จะได้ลดอัตรารัษฎากรเช่นเดียวกับตัวเครื่องจักร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา: การลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้ทำให้สัญญาเปลี่ยนเป็นแยกคิดภาษี หากไม่ได้ระบุไว้ในสัญญา
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541 จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบรวม 3 รายการ จำนวน 40,499,000 บาท ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 3,681,727.27 บาท ตลอดจนภาษีอากรอื่นๆ และค่าใช้จ่ายทั้งปวงด้วยแล้วโดยถือราคาเหมารวมเป็นเกณฑ์ กำหนดการจ่ายเงินเป็นงวดๆ ซึ่งขณะนั้นกรมสรรพากรจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10 ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 353) พ.ศ.2542 ปรับปรุงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากเดิมซึ่งจัดเก็บในอัตราร้อยละ 10 ลดลงเป็นอัตราร้อยละ 7 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2542 เป็นต้นไป โจทก์ทำงานแล้วเสร็จและส่งมอบงานให้จำเลยเป็นงวดๆ จำเลยได้รับมอบงานและชำระค่าจ้างให้โจทก์ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีผลบังคับใช้จนกระทั่งรับมอบงานเรียบร้อยโดยคำนวณหักภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราร้อยละ 7 และจำเลยไม่ได้ชำระค่าส่วนต่างของภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน ร้อยละ 3 เป็นเงิน 366,838.65 บาท ให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่า สัญญาว่าจ้างที่โจทก์และจำเลยตกลงกันมีข้อความว่า "ค่าจ้างและการจ่ายเงิน (สำหรับสัญญาที่เป็นราคาเหมารวม) ผู้ว่าจ้างตกลงจ่ายและผู้รับจ้างตกลงรับเงินค่าจ้างจำนวน 40,499,000 บาท (สี่สิบล้านสี่แสนเก้าหมื่นเก้าพันบาทถ้วน) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 3,681,727.27 บาท (สามล้านหกแสนแปดหมื่นหนึ่งพันเจ็ดร้อยยี่สิบเจ็ดบาทยี่สิบเจ็ดสตางค์) ตลอดจนภาษีอากรอื่นๆ และค่าใช้จ่ายทั้งปวงด้วยแล้ว โดยถือราคาเหมารวมเป็นเกณฑ์และกำหนดการจ่ายเงินเป็นงวดๆ ดังนี้...ฯลฯ...เห็นได้ชัดว่าโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาได้ตกลงให้การจ้างครั้งนี้เป็นสัญญาที่เป็นราคาเหมารวมซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มในขณะนั้นจำนวน 3,681,727.27 บาท ตลอดจนภาษีอากรอื่นๆ และค่าใช้จ่ายทั้งปวงด้วยแล้ว หาได้มีข้อความให้แยกคิดคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มต่างหากจากจำนวนเงินค่ารับเหมาทั้งหมดไม่ การที่สัญญามีข้อความระบุค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 3,681,727.27 บาท ไว้ด้วยเป็นเพียงกำหนดรายละเอียดไว้เท่านั้น หามีผลทำให้สัญญาจ้างเหมาราคารวมดังกล่าวกลับกลายเป็นสัญญาที่แยกความรับผิดเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มออกไปต่างหากไม่ นอกจากนั้นข้อความในข้อ 4 ยังได้กำหนดให้ถือราคาเหมารวมเป็นเกณฑ์และกำหนดการจ่ายเงินเป็นงวดๆ อีกด้วย อันเป็นการแสดงชี้ให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่าคู่สัญญามีเจตนาที่จะทำสัญญาให้เป็นสัญญาจ้างเหมารวมภาษีมูลค่าเพิ่มตลอดจนภาษีอากรอื่นๆ และค่าใช้จ่ายทั้งปวงด้วย หากโจทก์และจำเลยมีเจตนาที่จะแยกภาษีมูลค่าเพิ่มออกจากราคาเหมารวมก็ชอบที่จะระบุไว้ในสัญญาให้ชัดแจ้งว่าไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย จำเลยจึงต้องชำระเงินส่วนต่างของภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 366,838.65 บาท แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องรวมกำไรสุทธิจากทุกกิจการ
โจทก์เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โจทก์ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนโดยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิจากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 31 โจทก์ประกอบกิจการทั้งที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน เมื่อมี พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 387) พ.ศ.2544 และ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 475) พ.ศ.2551 ให้ลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับภาษีจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจากอัตราปกติร้อยละ 30 คงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อใช้สิทธิลดอัตราภาษีตาม พ.ร.ฎ.ทั้งสองฉบับดังกล่าว ต้องนำกำไรสุทธิจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมารวมคำนวณด้วย การที่โจทก์นำกำไรสุทธิเฉพาะกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอัตราภาษีที่ได้ลดลงเหลือร้อยละ 25 เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท โดยไม่นำกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมารวมคำนวณด้วยจึงไม่ถูกต้อง