พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารสิทธิด้วยการลบข้อความชำระหนี้ และการแสดงพยานหลักฐานเท็จต่อศาล มีความผิดตามกฎหมายอาญา
(1) เมื่อปรากฏว่า สัญญากู้เงินซึ่งเป็นเอกสารสิทธินั้น มีเรื่องที่แท้จริงรวมกันอยู่ 2 เรื่อง คือ มีหนังสือสัญญากู้เงิน 1 มีบันทึกการชำระหนี้เงินกู้รายนี้บางส่วน 1 แต่จำเลยได้ลบบันทึกนั้นออกก็เพื่อให้โจทก์หรือศาลหลงเชื่อว่า เอกสารสิทธิมีหนังสือสัญญากู้เงินเพียงเรื่องเดียวซึ่งแสดงว่าไม่เคยผ่อนชำระหนี้กันเลย การกระทำเช่นนี้เป็นการตัดทอนหรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในเอกสาที่แท้จริง เป็นผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264
(2) แม้จำเลยจะยังมิได้นำสืบ แต่ได้แสดงพยานหลักฐานเท็จต่อศาลแล้ว โดยส่งเอกสาร(หมาย จ.1) ซึ่งเดิมมีอยู่ 2 หลักฐาน แต่จำเลยส่งแสดงว่ามีหลักฐานเดียวย่อมเป็นการแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาลตามมาตรา 180 แล้ว
(3) การปลอมเอกสารซึ่งอยู่ในความยึดถือของจำเลยนั้น ย่อมมีโอกาสทำได้ในที่ลับ เป็นการยากที่จะมีประจักษ์พยาน ฉะนั้น พยานประพฤติเหตุบ่งว่าจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารไม่ผิดตัว ก็ฟังลงโทษจำเลยได้
(4) เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้นำพยานสืบแก้ฟ้องโจทก์แล้ว ยังอ้างผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมเพื่อตรวจพิสูจน์เอกสารที่โจทก์อ้างไว้ว่ามีรอยลอยอากรแสตมป์ และมีรอยลบข้อความบางประการออกหรือไม่ ซึ่งข้อความที่จะนำสืบพยานผู้เชี่ยวชาญนี้ พยานจำเลยไม่ได้เบิกความมาก่อนเลย และโจทก์ก็ไม่รู้ว่าจำเลยจะนำสืบประเด็นเช่นนี้ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจให้โจทก์นำสืบแก้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 89 วรรค 3
หมายเหตุ หมายเลข(1) วินิจฉัย โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2508
(2) แม้จำเลยจะยังมิได้นำสืบ แต่ได้แสดงพยานหลักฐานเท็จต่อศาลแล้ว โดยส่งเอกสาร(หมาย จ.1) ซึ่งเดิมมีอยู่ 2 หลักฐาน แต่จำเลยส่งแสดงว่ามีหลักฐานเดียวย่อมเป็นการแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จต่อศาลตามมาตรา 180 แล้ว
(3) การปลอมเอกสารซึ่งอยู่ในความยึดถือของจำเลยนั้น ย่อมมีโอกาสทำได้ในที่ลับ เป็นการยากที่จะมีประจักษ์พยาน ฉะนั้น พยานประพฤติเหตุบ่งว่าจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารไม่ผิดตัว ก็ฟังลงโทษจำเลยได้
(4) เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้นำพยานสืบแก้ฟ้องโจทก์แล้ว ยังอ้างผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมเพื่อตรวจพิสูจน์เอกสารที่โจทก์อ้างไว้ว่ามีรอยลอยอากรแสตมป์ และมีรอยลบข้อความบางประการออกหรือไม่ ซึ่งข้อความที่จะนำสืบพยานผู้เชี่ยวชาญนี้ พยานจำเลยไม่ได้เบิกความมาก่อนเลย และโจทก์ก็ไม่รู้ว่าจำเลยจะนำสืบประเด็นเช่นนี้ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจให้โจทก์นำสืบแก้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 89 วรรค 3
หมายเหตุ หมายเลข(1) วินิจฉัย โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2508