พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ย่อมลบล้างผล และต้องยื่นคำขอใหม่ตามกฎหมาย
จำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในระหว่างสอบสวนผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งอนุญาตจำหน่ายจากบัญชีเจ้าหนี้ ต่อมาศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าได้ถอนคำขอรับชำระหนี้ด้วยความหลงผิดว่าจะเป็นทางให้ลูกหนี้พ้นจากการถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ จึงขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รายงานมายังศาลชั้นต้นว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งที่สั่งไปโดยชอบได้ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอให้ศาลสั่งให้ผู้ร้องกลับคืนสู่ฐานะเจ้าหนี้ตามเดิม ดังนี้ หามีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งของตนที่ได้สั่งไปโดยชอบไม่ คงร้องขอให้ศาลมีคำสั่งได้เฉพาะที่เกี่ยวกับการใดที่เป็นปัญหาในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 143 และศาลจะสั่งเพิกถอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ก็ไม่ได้เพราะการที่ผู้ร้องยื่นคำขอถอนคำขอรับชำระหนี้ก็ดี คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่สั่งอนุญาตให้ถอนได้ก็ดี ไม่เป็นการผิดระเบียบ หรือกฎหมายแต่อย่างใด เมื่อผู้ร้องถอนคำขอรับชำระหนี้ไปแล้ว ย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำขอ และทำให้ผู้ร้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม เสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำขอรับชำระหนี้เลย หากผู้ร้องประสงค์จะขอรับชำระหนี้ ก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 91 จะขอให้เพิกถอนคำสั่งคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้ซึ่งได้สั่งไปโดยชอบแล้วหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งของนิติบุคคลอาคารชุด: การบังคับภาระจำยอมและการลบล้างผลทางกฎหมายจากการทิ้งคำร้อง
จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีหมายเลขแดงที่ 2572/2550 ของศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 1 แม้จะเป็นผู้ร้องในคดีดังกล่าว แต่เมื่อคดีดังกล่าวศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะจำเลยที่ 1 ทิ้งคำร้องขอ จึงย่อมมีผลเป็นการลบล้างผลแห่งการยื่นคำร้องขอ รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาภายหลังการยื่นคำร้องขอนั้น ทำให้จำเลยที่ 1 กลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนมิได้มีการยื่นคำร้องขอเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 คดีดังกล่าวยังมิได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 หาได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดไว้เฉพาะตามมาตรา 33 วรรคสอง ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางตามมติของเจ้าของร่วมเท่านั้น แต่นิติบุคคลอาคารชุดยังมีอำนาจตามมาตรา 39 ซึ่งบัญญัติว่า "นิติบุคคลอาคารชุดอาจใช้สิทธิของเจ้าของร่วมครอบไปถึงทรัพย์ส่วนกลางทั้งหมดในการต่อสู้บุคคลภายนอก... เพื่อประโยชน์ของเจ้าของร่วมทั้งหมดได้" เมื่อเจ้าของห้องชุดในอาคารชุด เป็นเจ้าของร่วมในที่ดินอันเป็นที่ตั้งอาคารชุด ทั้งนี้ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น หากเจ้าของร่วมมีสิทธิฟ้องบังคับภาระจำยอมเอาจากที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ย่อมมีอำนาจใช้สิทธินั้นได้ตามบทบัญญัติมาตรา 39 ดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้องแย้ง
การเป็นตัวแทนของจำเลยทั้งสองเป็นผลของกฎหมาย กล่าวคือจำเลยที่ 1 มีอำนาจตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 39 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 36 (3) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่จำต้องตั้งตัวแทนตามบทกฎหมายในเรื่องนิติกรรมสัญญาอีก จำเลยทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องแย้ง
ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 หาได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุดไว้เฉพาะตามมาตรา 33 วรรคสอง ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางตามมติของเจ้าของร่วมเท่านั้น แต่นิติบุคคลอาคารชุดยังมีอำนาจตามมาตรา 39 ซึ่งบัญญัติว่า "นิติบุคคลอาคารชุดอาจใช้สิทธิของเจ้าของร่วมครอบไปถึงทรัพย์ส่วนกลางทั้งหมดในการต่อสู้บุคคลภายนอก... เพื่อประโยชน์ของเจ้าของร่วมทั้งหมดได้" เมื่อเจ้าของห้องชุดในอาคารชุด เป็นเจ้าของร่วมในที่ดินอันเป็นที่ตั้งอาคารชุด ทั้งนี้ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น หากเจ้าของร่วมมีสิทธิฟ้องบังคับภาระจำยอมเอาจากที่ดินของโจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ย่อมมีอำนาจใช้สิทธินั้นได้ตามบทบัญญัติมาตรา 39 ดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้องแย้ง
การเป็นตัวแทนของจำเลยทั้งสองเป็นผลของกฎหมาย กล่าวคือจำเลยที่ 1 มีอำนาจตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 39 ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 36 (3) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ดังนั้น จึงไม่จำต้องตั้งตัวแทนตามบทกฎหมายในเรื่องนิติกรรมสัญญาอีก จำเลยทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องแย้ง