คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลวงสาธารณชน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกัน แม้มีคำ 'กุ๊ก' เหมือนกัน ศาลไม่ถือว่าเป็นการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแม้มีอักษรภาษาไทยคำว่า กุ๊ก และอักษรภาษาอังกฤษว่า COOK เป็นส่วนประกอบเหมือนกันก็ตาม แต่ของโจทก์ส่วนที่เป็นตัวอักษรส่วนใหญ่คำพยางค์เดียวว่า กุ๊ก หรือ COOK หรือใช้คำอักษรไทยและอังกฤษดังกล่าวด้วยกัน โดยเขียนอักษรอังกฤษว่า COOK อยู่เหนือคำว่า กุ๊ก ส่วนเครื่องหมายที่เป็นรูปก็มีเพียงรูปการ์ตูนในลักษณะขวดคล้ายพ่อครัวสวมหมวกพ่อครัวเท่านั้น และมีเครื่องหมายการค้าคำว่ากุ๊กพรีเมียม หรือ COOKPREMIUM ด้วย แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้คำสามพยางค์ว่า กุ๊กห้าดาว หรือ FIVESTARSCOOK และมีรูปชามช้อนส้อม หมวกพ่อครัว และดาว 5 ดวง ประกอบรวมกับตัวอักษรดังกล่าวโดยคำภาษาอังกฤษว่า FIVESTARSCOOK อยู่ใต้คำอักษรไทย ซึ่งแตกต่างจากของโจทก์หลายประการจนสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายแต่อย่างใด
แม้จำเลยมีคำว่า กุ๊ก และคำว่า COOK เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นคำเดียวกับคำที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่คำว่า กุ๊กเป็นคำสามัญทั่ว ๆ ไป ไม่ทำให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะใช้คำดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวและหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าวได้ การที่จำเลยนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยให้แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนสังเกตเห็นได้ชัดยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อลวงสาธารณชน และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้กับสินค้าน้ำมันพืช ส่วนของจำเลยใช้กับสินค้าพริกไทยป่น ซอสต่าง ๆเต้าเจี้ยว และเครื่องกระป๋อง ไม่มีสินค้าน้ำมันพืช จึงไม่ทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4434/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงและความลวงสาธารณชน รวมถึงสิทธิในการคัดค้านการจดทะเบียน
โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "กรีนนัทโกลด์ Greennut Gold" และ "GOLD NUT โกลด์นัท" จำเลยที่ 1 คัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และจำเลยที่ 2 มีคำสั่งปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2534 และนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "กรีนแอนด์ โกลด์ Green & Gold" ที่จำเลยที่ 1 ฟ้องขอให้เพิกถอนเมื่อวันที่ 20เมษายน 2533 ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 อันเป็นวันที่พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มีผลบังคับ ดังนั้น การวินิจฉัยคดีจึงอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่นั้น หากเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำก็ต้องพิจารณาคำในเครื่องหมายการค้านั้นทั้งหมด สำเนียงเรียกขาน ตลอดจนจำพวก และชนิดของสินค้าที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้นประกอบเข้าด้วยกันว่าอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่
โจทก์ตั้งโรงงานผลิตถั่วลันเตากรอบ ถั่วลิสง และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและกองควบคุมอาหาร กระทรวงสาธารณสุข โจทก์ผลิตสินค้าประเภทถั่วลันเตามานาน 8 ปี วางขายและจำหน่ายทั่วประเทศ ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "GOLD" มานาน 10 ปี และจดทะเบียนในประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2512 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 42 ชนิดสินค้ากาแฟ กาแฟสกัดน้ำเชื้อกาแฟ ชา และชาสกัด สินค้าของโจทก์ที่ผลิตมีแต่ถั่วลันเตากรอบ ส่วนสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นกาแฟสำเร็จรูปชนิดเกล็ดและกาแฟสำเร็จรูปที่สกัดแคฟเฟอีนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 แตกต่างกันหลายประการกล่าวคือ เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มีเฉพาะภาษาอังกฤษ เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีสำเนียงเรียกขานว่า โกลด์นัท และกรีนนัทโกลด์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 อ่านว่า โกลด์ เครื่องหมายการค้าทั้งสองของโจทก์มี 2 พยางค์ และ 3 พยางค์ ตามลำดับ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีพยางค์เดียว และสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่าเป็นถั่วลันเตากรอบกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกาแฟเห็นได้ชัดว่าแตกต่างกันมาก แม้จะจัดอยู่ในสินค้าจำพวกเดียวกันก็ตามจำเลยที่ 1 จดทะเบียนคำว่า"GOLD" มาตั้งแต่ปี 2512 แต่จำเลยที่ 1 ไม่เคยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า"GOLD" กับสินค้ากาแฟที่จำเลยที่ 1 ผลิต นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "GOLD BLEND" และ "โกลด์เบลนด์" กับสินค้ากาแฟและใช้ในลักษณะเป็นรุ่นหรือชนิดของสินค้ากาแฟประกอบกับเครื่องหมายการค้าอักษรประดิษฐ์ "NESCAFE" หรือ "เนสกาแฟ" เท่านั้น การเรียกขานสินค้าของโจทก์ อาจเรียกว่า "ถั่วกรีนนัทโกลด์" หรือ "ถั่วโกลด์นัท" ส่วนสินค้าของจำเลยที่ 1 อาจเรียกว่า "เนสกาแฟโกลด์เบลนด์" เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 แตกต่างกันหลายประการเช่นนี้ เครื่องหมายารค้าคำว่า "GOLD NUT โกลด์นัท" และ "กรีนนัท โกลด์ Greennut Gold"ของโจทก์ จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "GOLD"ของจำเลยที่ 1 จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "กรีน แอนด์ โกลด์"Green & Gold" ของโจทก์ กับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "GOLD""GOLD BLEND" และ "โกลด์ เบลนด์" ของจำเลยที่ 1 ไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนหรือหลงผิดได้ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะได้รับการจดทะเบียนภายหลังเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1แต่โจทก์มิได้นำเอาเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มาเลียนแบบแล้วนำไปขอจดทะเบียน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า"กรีน แอนด์ โกลด์ Green & Gold" ของโจทก์ดีกว่าโจทก์ผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "กรีน แอนด์ โกลด์ Green & Gold" ของโจทก์ได้
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 คำว่า"GOLD" คำว่า "โกลด์ เบลนด์" และคำว่า "GOLD BLEND" ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 42 มาตั้งแต่ก่อนวันที่ โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "GOLD NUT โกลด์นัท" และคำว่า"กรีนนัท โกลด์ Greennut Gold" สำหรับสินค้าจำพวกที่ 42 และเมื่อจำเลยที่ 1 ทราบว่าโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวซึ่งมีคำว่า"GOLD" เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ด้วย และขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกัน จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์ดังกล่าวซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่า เป็นการกระทบถึงสิทธิของตนได้ ตามที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 มาตรา 22 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นการที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ในฐานะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ชอบที่จะพิจารณาคำขอของโจทก์และคำคัดค้านของจำเลยที่ 1แล้วให้คำวินิจฉัยโดยมีคำสั่งรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามมาตรา 22 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เดียวกันได้ ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าที่จำเลยที่ 2 ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์โดยเห็นว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนนั้นเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบการกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายและไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5422/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากเป็นการลวงสาธารณชนและมีเจตนาเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น
จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎบินเมื่อวันที่18มีนาคม2534นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้วเห็นควรรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมีคำสั่งให้โฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยและโจทก์ได้ยื่นคำคัดค้านลงวันที่4ตุลาคม2534ถือได้ว่านายทะเบียนได้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยก่อนวันที่14กุมภาพันธ์2535ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มีผลใช้บังคับกรณีจึงต้องด้วยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มาตรา119(2)ซึ่งบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474ต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุด โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎเป็นการแอบอ้างเครื่องหมายการค้าของโจทก์และลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่สุจริตเมื่อโจทก์ยื่นคำคัดค้านนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ยกคำคัดค้านของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยโจทก์ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474โจทก์มีอำนาจฟ้อง เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปมงกุฎในลักษณะประดิษฐ์ห้ายอดมีปีกประกอบทั้งด้านซ้ายและขวาและมีอักษรไทยประดิษฐ์คำว่า"ตรามงกุฎบิน"อยู่ข้างล่างทั้งหมดอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัสสองชั้นทึบยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวก1รายการสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปมงกุฎในลักษณะประดิษฐ์ห้ายอดอยู่ในกรอบวงกลมสองชั้นโดยมีอักษรไทยคำว่าSIAMCITYCEMENTCO.,LTD.วางอยู่ระหว่างวงกลมชั้นนอกและชั้นในยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวก17ชนิดสินค้าปูนซีเมนต์เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์มีสาระสำคัญอยู่ที่มงกุฎห้ายอดประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกขานว่าตรามงกุฎแม้จะมีข้อแตกต่างอยู่บ้างตรงที่รูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีรูปปีกอยู่ข้างมงกุฎทั้งสองด้านก็เป็นเพียงส่วนประกอบที่ไม่สำคัญมากนักส่วนอักษรไทยคำว่าตรามงกุฎบินก็มีขนาดเล็กไม่ใช่ลักษณะเด่นไม่เป็นสาระสำคัญแก่การสังเกตประกอบกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่าสินค้าน้ำยาเคมีใช้ผสมปูนซีเมนต์นั้นเป็นของจำเลยแม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวก1ต่างกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวก17แต่ก็เป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์นอกจากนี้โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎมานานจำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนมาแล้ว20ปีจำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้และจำเลยเคยใช้เครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีของโจทก์กับสินค้าของจำเลยจนถูกฟ้องในข้อหาเลียนเครื่องหมายการค้าและถูกศาลลงโทษไปแล้วเมื่อได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปนกอินทรีรูปเพชรและรูปสิงโตใช้กับสินค้าปูนซีเมนต์ก็ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปนกอินทรีเพชรมีปีกและสิงโตคู่เหยียบลูกโลกใช้กับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับของโจทก์เป็นคู่ๆโดยมุ่งหมายที่จะอาศัยแอบอ้างชื่อเสียงจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนกับสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจำเลยจึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: การลวงสาธารณชนด้วยเครื่องหมายที่คล้ายคลึงกัน และสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่แข็งแกร่งกว่า
โจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าจำเลยได้ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า Mark&Spencer โจทก์เพิ่งทราบเมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าปฎิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์หลังจากนั้นโจทก์ขอให้จำเลยโอนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์หรือให้จำเลยถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแต่จำเลยปฎิเสธการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ขอจดทะเบียนโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง เครื่องหมายการค้าของโจทก์คืออักษรโรมันคำว่าMARKS&SPENCER ส่วนของจำเลยคือคำว่า Mark&Spencerต่างประกอบด้วยอักษรโรมันตัวเดียวกันคงแตกต่างกันเฉพาะเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันแบบตัวพิมพ์ใหญ่และมีตัว"S"ท้ายคำว่า MARK ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันแบบตัวเขียนและไม่มีตัว"S"ท้ายคำว่า Mark แม้แบบของตัวอักษรโรมันที่โจทก์และจำเลยนำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของฝ่ายตนจะแตกต่างกันดังกล่าวก็ตามแต่ตัวอักษรโรมันที่แต่ละฝ่ายนำมาเรียบเรียงเป็นเครื่องหมายการค้าของฝ่ายตนเป็นตัวเดียวกันทั้งเมื่ออ่านออกเสียงรวมกันทั้งคำหรือเรียกขานเครื่องหมายการค้าดังกล่าวก็อ่านออกเสียงหรือเรียกขานเหมือนกันคือ มาร์คส์หรือ มาร์คแอนด์สเปนเซอร์ อีกทั้งสินค้าของโจทก์มีจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยจะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้วพฤติการณ์เช่นนี้ย่อมบ่งบอกเจตนาของจำเลยผู้ประกอบธุรกิจการค้าได้ว่าจำเลยต้องการให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ใช้กับสินค้าจำพวกเครื่องหนังอันเป็นสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ที่ต่างประเทศก่อนแล้วอ่านหรือเรียกขานให้เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในทางการค้าของโจทก์โดยมุ่งประสงค์จะลวงให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า MARKS&SPENCERของโจทก์ดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลอกเลียนเครื่องหมายการค้า การลวงสาธารณชน และความสุจริตในการยื่นจดทะเบียน
ก่อนที่จำเลยที่1จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า MINMAXจำเลยที่1รู้อยู่ก่อนแล้วโดยการทักท้วงของ ม.ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าMICMAC ของโจทก์ที่ ม. เป็นผู้ดำเนินการจดทะเบียนให้ก่อนแล้วอย่างมากเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่1เคยเป็นพนักงานขายสินค้าของโจทก์มานาน10ปีและเคยเป็นผู้ดูแลการผลิตสินค้าของโจทก์จึงมีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยที่1ต้องการใช้ประสบการณ์ของจำเลยที่1ดังกล่าวมาผลิตสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์และพยายามจะใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1ให้ใกล้เคียงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้สาธารณชนที่เคยรู้จักคุณภาพหรือเคยใช้สินค้าของโจทก์สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยที่1เป็นสินค้าของโจทก์จำเลยที่1จึงขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริตมาแต่แรกแม้จำเลยที่1จะได้ความคิดเรื่องเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1จากการดูรายการข่าวพยากรณ์อากาศทางโทรทัศน์แล้วนำคำว่า MIN ซึ่งย่อมาจากคำว่า MINIMUM และคำว่า MAX ซึ่งย่อมาจากคำ MAXIMUM มารวมเป็นคำว่า MINMAXก็ตามเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่1ยื่นขอจดทะเบียนก็ยังเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดได้นับได้ว่าจำเลยที่1ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยโจทก์จึงชอบที่จะคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1และมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่1งดใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1ทั้งมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่2ซึ่งเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าระงับหรือเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1ได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1ใช้คำโรมัน2คำมาประกอบกันแล้วอ่านหรือเรียกขานว่า MINMAX ประกอบด้วยอักษรโรมัน6ตัวขึ้นต้นพยางค์แรกด้วยอักษร MI และลงท้ายพยางค์หลังด้วยอักษร MA เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่อ่านหรือเรียกขานว่า MICMAC ซึ่งโจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วตั้งแต่ปี2518เมื่อเปรียบเทียบตัวอักษรตัวต่อตัวแล้วจะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกันมากถึงขนาดที่คนทั่วไปแม้จะสามารถอ่านอักษรโรมันได้แต่ถ้าไม่ได้สังเกตให้ดีแล้วจะต้องเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าอันเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนที่ไม่สามารถอ่านหรือไม่รู้จักตัวอักษรโรมันด้วยแล้วจะไม่สามารถแยกข้อแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยที่1พยางค์แรกคือคือว่า MIC และ MIN จะออกเสียงอ่านหรือเรียกขานเป็น "มิค" กับ "มิน" เพี้ยนกันเล็กน้อยส่วนพยางค์หลังคือคือว่า MAC และ MAX จะออกเสียงอ่านหรือเรียกขานเป็น "แม็ก" หรือ "แม็กซ์" เหมือนกันแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร M ประดิษฐ์ประกอบอยู่ด้วยก็เป็นข้อแตกต่างปลีกย่อยมิใช่สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่1เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1จึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันจะเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าต่างกันชัดเจน แม้มีรูปกระทิงเป็นสาระสำคัญ ไม่ถือว่าลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปประดิษฐ์คล้ายกระทิง2 ตัว ยืนซ้อนเหลื่อมกันอยู่โดยต่างหันหน้าไปทางเดียวกันทางซ้ายมือ และมีอักษรไทยคำว่า กระทิงคู่ อยู่ใต้รูปดังกล่าว โดยรูปกระทิงและอักษรไทยทั้งหมดอยู่ภายในกรอบรูปคล้ายโล่ซึ่งมีพื้นทึบ ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แบ่งออกได้ 3 แบบ คือ แบบที่ 1 เป็นรูปกระทิงตัวเดียวหันหน้าไปทางขวามืออยู่ในลักษณะก้มหัว งอขาหน้า ทำท่าขวิด แบบที่ 2 เป็นกระทิง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากันโดยต่างอยู่ในลักษณะก้มหัว งอขาหน้า ทำท่าขวิดต่อสู้กัน และแบบที่ 3 เป็นรูปกระทิงสีแดง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากันโดยต่างอยู่ในลักษณะก้มหัว งอขาหน้าทำท่าขวิดต่อสู้กันเช่นเดียวกับแบบที่ 2 แต่มีวงกลมสีแดงล้อมรอบกลางลำตัวของกระทิงทั้งสอง และมีอักษรไทยสีแดงคำว่าง กระทิงแดง อยู่ใต้รูปกระทิงทั้งสองด้วยลักษณะของรูปกระทิงของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์จึงแตกต่างกันอย่างชัดแจ้ง ดังนั้นแม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์ต่างมีรูปกระทิงเป็นสาระสำคัญก็ตาม เครื่องหมายการค้าของจำเลยก็ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้มีรูปกระทิงเป็นสาระสำคัญ
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปกระทิง 2 ตัวยืนซ้อนเหลื่อมกันอยู่โดยต่างหันหน้าไปทางเดียวกันทางซ้ายมือและมีอักษรไทยคำว่า กระทิงคู่ อยู่ใต้รูปโดยรูปกระทิงและอักษรไทยทั้งหมดอยู่ภายในกรอบรูปคล้ายโล่ซึ่งมีพื้นทึบ ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ แบบที่ 1 เป็นรูปกระทิงตัวเดียวหันหน้าไปทางขวามืออยู่ในลักษณะก้มหัวงอขาหน้า ทำท่าขวิดแบบที่ 3 เป็นกระทิง 2 ตัวหันหน้าเข้าหากันโดยต่างอยู่ในลักษณะก้มหัว งอขาหน้า ทำท่าขวิดต่อสู้กัน และแบบที่ 2เป็นรูปกระทิงสีแดง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากันโดยต่างอยู่ในลักษณะก้มหัว งอขาหน้า ทำท่าขวิดต่อสู้กันเช่นเดียวกับแบบที่ 2 แต่มีวงกลมสีแดงล้อมรอบกลางลำตัวของกระทิงทั้งสองและมีอักษรไทยสีแดงคำว่า กระทิงแดง อยู่ใต้รูปกระทิงทั้งสองด้วย แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่างมีรูปกระทิงเป็นสาระสำคัญก็ตาม แต่เมื่อรูปกระทิงแตกต่างกันอย่างชัดเจนจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าที่มีรูปกระทิงเป็นองค์ประกอบสำคัญ เพื่อวินิจฉัยการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปประดิษฐ์คล้ายกระทิง2ตัวยืนซ้อนเหลื่อมกันอยู่โดยต่างหันหน้าไปทางเดียวกันทางซ้ายมือและมีอักษรไทยคำว่ากระทิงคู่อยู่ใต้รูปดังกล่าวโดยรูปกระทิงและอักษรไทยทั้งหมดอยู่ภายในกรอบรูปคล้ายโล่ซึ่งมีพื้นทึบส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แบ่งออกได้3แบบคือแบบที่1เป็นรูปกระทิงตัวเดียวหันหน้าไปทางขวามืออยู่ในลักษณะก้มหัวงอขาหน้าทำท่าขวิดแบบที่2เป็นกระทิง2ตัวหันหน้าเข้าหากันโดยต่างอยู่ในลักษณะก้มหัวงดขาหน้าทำท่าขวิดต่อสู้กันและแบบที่3เป็นรูปกระทิงสีแดง2ตัวหันหน้าเข้าหากันโดยต่างอยู่ในลักษณะก้มหัวงอขาหน้าทำท่าขวิดต่อสู้กันเช่นเดียวกับแบบที่2แต่มีวงกลมสีแดงล้อมรอบกลางลำตัวของกระทิงทั้งสองและมีอักษรไทยสีแดงดำว่ากระทิงแดงอยู่ใต้รูปกระทิงทั้งสองด้วยลักษณะของรูปกระทิงของเครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์จึงแตกต่างกันอย่างชัดแจ้งดังนั้นแม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์ต่างมีรูปกระทิงเป็นสาระสำคัญก็ตามเครื่องหมายการค้าของจำเลยก็ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันจนอาจทำให้เกิดความสับสนและหลงผิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวกเมื่อ พ.ศ.2520 คือ อักษรโรมันกับอักษรภาษาไทยคำว่าCOOK กับ กุ๊ก โจทก์ได้ผลิตสินค้าน้ำมันพืชที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจำหน่ายและโฆษณาสินค้านั้นจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายของสาธารณชน ส่วนเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยที่ยื่นขอจดทะเบียนเมื่อ พ.ศ.2532 ในสินค้าจำพวก 42 ทั้งจำพวกก็เป็นอักษรโรมันและอักษรภาษาไทยเช่นเดียวกันคือ คำว่า COOK MATE กับ กุ๊คเมทโดยจำเลยไม่เคยผลิตน้ำมันพืชออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ดังนี้เครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างเป็นเครื่องหมายประเภทคำ มีอักษรโรมันคำว่า COOKซ้ำกันและเขียนด้วยตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่อย่างเดียวกัน แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะเขียนด้วยอักษรภาษาไทยว่า กุ๊ก ส่วนของจำเลยเขียนว่า กุ๊ค แต่การ-ออกเสียงในภาษาไทยทั้งสองคำก็ไม่ต่างกัน เครื่องหมายการค้าทั้งสองคำจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่การอ่านออกเสียงหรือสำเนียงเรียกขานคำว่า COOK เป็นหลักเพราะเรียกขานและจดจำได้ง่าย การใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนที่พบเห็นสินค้าซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยสับสนหรือหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ได้ เพราะสินค้าของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าจำพวกเดียวกัน เครื่องหมายการค้าคำว่า COOK MATE และ กุ๊คเมท ของจำเลยจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า COOK และ กุ๊ก ของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 16 นายทะเบียนจึงไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยได้ การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณและความแพร่หลายในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต โจทก์ชอบที่จะขอให้ห้ามจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนหรือเข้าเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่าCOOK MATE และ กุ๊คเมท ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 873/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้เกิดความสับสนและเป็นการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในสินค้าจำพวก42ทั้งจำพวกเมื่อพ.ศ.2520คือ อักษรโรมันกับอักษรภาษาไทยคำว่าCOOK กับกุ๊ก โจทก์ได้ผลิตสินค้าน้ำมันพืชที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจำหน่ายและโฆษณาสินค้านั้นจนเป็นที่รู้จัดแพ่งหลายของสาธารณชนส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ยื่นขอจดทะเบียนเมื่อพ.ศ.2532ในสินค้าจำพวก42ทั้งจำพวกก็เป็นอักษรโรมันและอักษรภาษาไทยเช่นเดียวกันคือคำว่าCOOKMATE กับกุ๊คเมท โดยจำเลยไม่เคยผลิตน้ำมันพืชออกจำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวดังนี้เครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำมีอักษรโรมันคำว่าCOOK ซ้ำกันและเขียนด้วยอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่อย่างเดียวกันแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะเขียนด้วยอักษรภาษาไทยว่ากุ๊ก ส่วนของจำเลยเขียนว่ากุ๊คแต่การออกเสียงในภาษาไทยทั้งสองคำก็ไม่ต่างกันเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำจึงมีสาระสำคัญอยู่ที่การอ่านออกเสียงหรือสำเนียงเรียกขานคำว่าCOOK เป็นหลักเพราะเรียกขานและจดจำได้ง่ายการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนที่พบเห็นสินค้าซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยสับสนหรือหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ได้เพราะสินค้าของโจทก์และจำเลยเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันเครื่องหมายการค้าคำว่าCOOKMATE และกุ๊คเมท ของจำเลยจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่าCOOK และกุ๊ก ของCOOKที่ได้จดทะเบียนไว้จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา16นายทะเบียนจึงไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยได้การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำโดยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อเสียงเกียรติคุณและความแพร่หลายในเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตโจทก์ชอบที่จะขอให้ห้ามจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนหรือเข้าเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่าCOOKMATE และกุ๊คเมท ได้
of 6