พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจเนื่องจากการละทิ้งหน้าที่ และอำนาจการสั่งการของผู้อำนวยการที่ถูกจำกัด
สัญญาจ้างผู้อำนวยการระหว่างจำเลยที่ 1 กับ พ. กำหนดว่า พ. มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบตามระเบียบข้อบังคับและกฎหมาย ภายใต้นโยบายและการควบคุมดูแลของคณะกรรมการจำเลยที่ 1 พ. ต้องปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการจำเลยที่ 1 ที่ยับยั้งหรือสั่งการเมื่อเห็นว่า พ. ปฏิบัติงานใด ๆ ขัดต่อกฎหมาย นโยบายหรือมติของคณะกรรมการ หรือเป็นไปในทางที่อาจทำให้เสียประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และในระหว่างอายุสัญญา คณะกรรมการของจำเลยที่ 1 จะพิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงานของ พ. ทุกปี ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ท้ายสัญญา คณะกรรมการของจำเลยที่ 1 จึงให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของ พ. ได้ เมื่อผลการปฏิบัติงานของ พ. ไม่เป็นที่พอใจของคณะกรรมการและคณะกรรมการเห็นว่าการปฏิบัติงานของ พ. เป็นไปในทางที่อาจทำให้จำเลยที่ 1 เสียประโยชน์ จึงสามารถยับยั้งการปฏิบัติหน้าที่ของ พ. ได้ และ พ. ต้องปฏิบัติตามไม่ว่าจะได้ทำผิดระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายหรือไม่
คณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้ พ. รับตำแหน่งที่ปรึกษาโดยให้การดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของ พ. มีผลเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติตำแหน่ง และแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำการแทน พ. ให้มีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการองค์การจำเลยที่ 1 โดย พ. ไม่ต้องรับผิดชอบในผลการดำเนินการตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2545 เป็นต้นไป ส่วนหนึ่งเป็นการยับยั้งการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการของ พ. อีกส่วนหนึ่งเป็นการให้ พ. ไปรับตำแหน่งที่ปรึกษาเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติ ซึ่งแยกต่างหากจากกัน ดังนั้น ไม่ว่ากระทรวงการคลังจะได้อนุมัติตำแหน่งที่ปรึกษาของ พ. แล้วหรือไม่ และจะได้มีการถอดถอน พ. ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการหรือไม่ พ. ก็ไม่อาจทำหน้าที่ผู้อำนวยการต่อไปได้ จึงเป็นกรณีที่ผู้อำนวยการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ซึ่ง พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 24 บัญญัติให้รองผู้อำนวยการเป็นผู้ทำการแทน แม้ขณะที่ พ. ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้จะมีจำเลยที่ 2 เป็นรองผู้อำนวยการซึ่งมาตราดังกล่าวบัญญัติให้เป็นผู้ทำการแทนไว้แล้ว การที่คณะกรรมการมีมติและคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำการแทน พ. อีก ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ไม่มีฐานะเป็นผู้ทำการแทน พ. เพราะมติและคำสั่งของคณะกรรมการเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจกระทำการแทน
จำเลยที่ 2 ออกคำสั่ง อ.ส.ค. ที่ 102/2545 ให้โจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่ ณ สำนักงาน อ.ส.ค. ภาคเหนือตอนล่าง โจทก์ได้โต้แย้งเฉพาะเรื่องตำแหน่งที่ให้โจทก์ไปดำรงโดยมิได้กล่าวถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ออกคำสั่ง ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่า พ. ไม่มีอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการของจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อ พ. สั่งการให้โจทก์ไปช่วยปฏิบัติงานที่สำนักงาน อ.ส.ค. กรุงเทพมหานครในวันที่ 28 พ.ค. 2545 ภายหลังจากที่โจทก์ได้โต้แย้งคำสั่ง อ.ส.ค. ที่ 102/2545 และจำเลยที่ 2 ได้แก้ไขข้อผิดพลาดในคำสั่งดังกล่าวด้วยการออกคำสั่ง อ.ส.ค. ที่ 107/2545 แล้วโจทก์จะอ้างว่าโจทก์เชื่อโดยสุจริตว่า พ. ยังมีอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการของจำเลยที่ 1 และโจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของ พ. ไม่ได้ การที่โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งของ พ. และไม่เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง อ.ส.ค. ที่ 107/2545 จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่การงานเกินกว่า 7 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรซึ่งการละทิ้งหน้าที่การงานโดยไม่มีเหตุอันสมควรของพนักงานรัฐวิสาหกิจ แม้เพียง 3 วันทำงานติดต่อกัน ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์พนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ข้อ 46 (4) ก็กำหนดให้รัฐวิสาหกิจไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย การละทิ้งหน้าที่การงานเกินกว่า 7 วันโดย ไม่มีเหตุอันสมควรของโจทก์จึงเป็นความผิดร้ายแรง จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
2/2
คณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้ พ. รับตำแหน่งที่ปรึกษาโดยให้การดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของ พ. มีผลเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติตำแหน่ง และแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำการแทน พ. ให้มีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการองค์การจำเลยที่ 1 โดย พ. ไม่ต้องรับผิดชอบในผลการดำเนินการตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2545 เป็นต้นไป ส่วนหนึ่งเป็นการยับยั้งการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการของ พ. อีกส่วนหนึ่งเป็นการให้ พ. ไปรับตำแหน่งที่ปรึกษาเมื่อกระทรวงการคลังอนุมัติ ซึ่งแยกต่างหากจากกัน ดังนั้น ไม่ว่ากระทรวงการคลังจะได้อนุมัติตำแหน่งที่ปรึกษาของ พ. แล้วหรือไม่ และจะได้มีการถอดถอน พ. ออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการหรือไม่ พ. ก็ไม่อาจทำหน้าที่ผู้อำนวยการต่อไปได้ จึงเป็นกรณีที่ผู้อำนวยการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ซึ่ง พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 24 บัญญัติให้รองผู้อำนวยการเป็นผู้ทำการแทน แม้ขณะที่ พ. ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้จะมีจำเลยที่ 2 เป็นรองผู้อำนวยการซึ่งมาตราดังกล่าวบัญญัติให้เป็นผู้ทำการแทนไว้แล้ว การที่คณะกรรมการมีมติและคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำการแทน พ. อีก ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ไม่มีฐานะเป็นผู้ทำการแทน พ. เพราะมติและคำสั่งของคณะกรรมการเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจกระทำการแทน
จำเลยที่ 2 ออกคำสั่ง อ.ส.ค. ที่ 102/2545 ให้โจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่ ณ สำนักงาน อ.ส.ค. ภาคเหนือตอนล่าง โจทก์ได้โต้แย้งเฉพาะเรื่องตำแหน่งที่ให้โจทก์ไปดำรงโดยมิได้กล่าวถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ออกคำสั่ง ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่า พ. ไม่มีอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการของจำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อ พ. สั่งการให้โจทก์ไปช่วยปฏิบัติงานที่สำนักงาน อ.ส.ค. กรุงเทพมหานครในวันที่ 28 พ.ค. 2545 ภายหลังจากที่โจทก์ได้โต้แย้งคำสั่ง อ.ส.ค. ที่ 102/2545 และจำเลยที่ 2 ได้แก้ไขข้อผิดพลาดในคำสั่งดังกล่าวด้วยการออกคำสั่ง อ.ส.ค. ที่ 107/2545 แล้วโจทก์จะอ้างว่าโจทก์เชื่อโดยสุจริตว่า พ. ยังมีอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการของจำเลยที่ 1 และโจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของ พ. ไม่ได้ การที่โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งของ พ. และไม่เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง อ.ส.ค. ที่ 107/2545 จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่การงานเกินกว่า 7 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรซึ่งการละทิ้งหน้าที่การงานโดยไม่มีเหตุอันสมควรของพนักงานรัฐวิสาหกิจ แม้เพียง 3 วันทำงานติดต่อกัน ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์พนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ข้อ 46 (4) ก็กำหนดให้รัฐวิสาหกิจไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย การละทิ้งหน้าที่การงานเกินกว่า 7 วันโดย ไม่มีเหตุอันสมควรของโจทก์จึงเป็นความผิดร้ายแรง จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
2/2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753-3756/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งย้ายงานชอบด้วยกฎหมาย การเลิกจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อลูกจ้างละทิ้งหน้าที่
ก่อนที่จำเลยจะออกคำสั่งให้โจทก์ทั้งสี่ไปปฏิบัติงานที่สาขาโพนพิสัย จำเลยได้เสนอทางเลือกให้โจทก์ทั้งสี่ก่อนแล้วคือให้ไปทำงานกับบริษัทที่รับซื้อกิจการและรับโอนพนักงานของจำเลยที่กรุงเทพมหานครทั้งหมดโดยให้โจทก์ได้รับตำแหน่งเดิม รายได้เท่าเดิม และปฏิบัติงานอยู่สถานที่เดิม หรือย้ายไปประจำที่สาขาโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นกิจการเพียงแห่งเดียวของจำเลยที่เหลืออยู่ หรือลาออกจากบริษัทจำเลย แต่โจทก์ทั้งสี่ไม่เลือกทางใดทางหนึ่ง จำเลยจึงมีความจำเป็นต้องสั่งให้โจทก์ทั้งสี่ไปทำงานที่สาขาอำเภอโพนพิสัยในตำแหน่งเดิม อัตราเงินเดือนเดิม คำสั่งของจำเลยดังกล่าวมิได้เป็นการเลือกปฏิบัติหรือแกล้งโจทก์ทั้งสี่ เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่ยอมไปทำงานตามคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (5) และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากละทิ้งหน้าที่ แม้ไปทำงานที่เดิม ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิในการเลิกจ้างและค่าจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยในตำแหน่งพนักงานขับรถ โดยบางครั้งทำงานที่สำนักงานใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร บางครั้งต้องปฏิบัติงานในโครงการก่อสร้างตามคำสั่งของจำเลยในจังหวัดใกล้เคียง ต่อมาวันที่ 3 มกราคม 2543 จำเลยได้ออกคำสั่งให้โจทก์ไปทำงานที่โครงการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดนครอินทร์ จังหวัดนนทบุรี เมื่อจำเลยสามารถย้ายโจทก์ไปปฏิบัติงานโครงการก่อสร้างจังหวัดใกล้เคียงได้ การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ไปทำงานที่โครงการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดนครอินทร์ จังหวัดนนทบุรี จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ไม่ยอมไปทำงานในวันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม 2543 แม้โจทก์จะยังคงไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ระหว่างเวลาดังกล่าวทุกวันก็ตาม ก็เป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (5)
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม 2543 โดยเลิกจ้างโจทก์นับตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2543 เป็นต้นไปก็ตาม แต่สิทธิในการเลิกจ้างของนายจ้างในกรณีที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรจะเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่ล่วงพ้นในวันที่สามไปแล้ว นายจ้างย่อมไม่อาจจะให้การเลิกจ้างมีผลย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างเริ่มละทิ้งหน้าที่ เมื่อในระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม 2543 โจทก์ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยทุกวัน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลาดังกล่าว
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม 2543 โดยเลิกจ้างโจทก์นับตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2543 เป็นต้นไปก็ตาม แต่สิทธิในการเลิกจ้างของนายจ้างในกรณีที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรจะเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่ล่วงพ้นในวันที่สามไปแล้ว นายจ้างย่อมไม่อาจจะให้การเลิกจ้างมีผลย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างเริ่มละทิ้งหน้าที่ เมื่อในระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม 2543 โจทก์ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยทุกวัน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากละทิ้งหน้าที่ และสิทธิในการได้รับค่าจ้างในช่วงเวลาที่ยังไม่ได้เลิกจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยทำหน้าที่ขับรถในสำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร จำเลยสามารถย้ายโจทก์ไปปฏิบัติงานโครงการก่อสร้างที่จังหวัดใกล้เคียงได้ การที่จำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ไปทำงานที่โครงการก่อสร้างสะพานที่จังหวัดนนทบุรี เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ไม่ยอมไปทำงานที่โครงการก่อสร้างสะพานในวันที่ 3 ถึงวันที่ 7 มกราคม 2543 แม้โจทก์ยังคงไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ในระหว่างเวลาดังกล่าวทุกวัน ก็เป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(5)
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่มากกว่าสามวันตั้งแต่วันที่3 มกราคม 2543 เป็นต้นไป แต่สิทธิในการเลิกจ้างของนายจ้างเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ล่วงพ้นในวันที่สามไปแล้ว และนายจ้างย่อมไม่อาจจะให้การเลิกจ้างมีผลย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างเริ่มละทิ้งหน้าที่ได้ เมื่อในระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม 2543 โจทก์ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยทุกวัน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลาดังกล่าว
จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่มากกว่าสามวันตั้งแต่วันที่3 มกราคม 2543 เป็นต้นไป แต่สิทธิในการเลิกจ้างของนายจ้างเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ล่วงพ้นในวันที่สามไปแล้ว และนายจ้างย่อมไม่อาจจะให้การเลิกจ้างมีผลย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างเริ่มละทิ้งหน้าที่ได้ เมื่อในระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม 2543 โจทก์ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยทุกวัน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีละทิ้งหน้าที่: สิทธิการเลิกจ้างและค่าจ้างระหว่างช่วงเวลาที่ยังไม่ได้เลิกจ้าง
โจทก์ทำหน้าที่เป็นพนักงานขับรถของจำเลยที่ 1 ซึ่งประจำอยู่สำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 สามารถย้ายโจทก์ไปปฏิบัติงานในโครงการก่อสร้างจังหวัดใกล้เคียงได้ ดังนั้น คำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์ไปทำงานในโครงการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำจังหวัดนนทบุรี จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ไม่ยอมไปทำงานที่โครงการดังกล่าวแม้จะยังคงไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ทุกวัน ย่อมเป็นการละทิ้งหน้าที่สามวันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119(5)
สิทธิในการเลิกจ้างของนายจ้างในกรณีที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรจะเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่ล่วงพ้นในวันที่สามไปแล้ว และนายจ้างย่อมไม่อาจให้การเลิกจ้างมีผลย้อนหลังนับแต่วันที่ลูกจ้างเริ่มละทิ้งหน้าที่ ฉะนั้น การที่โจทก์ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1ทุกวัน ระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลาดังกล่าว
สิทธิในการเลิกจ้างของนายจ้างในกรณีที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรจะเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่ล่วงพ้นในวันที่สามไปแล้ว และนายจ้างย่อมไม่อาจให้การเลิกจ้างมีผลย้อนหลังนับแต่วันที่ลูกจ้างเริ่มละทิ้งหน้าที่ ฉะนั้น การที่โจทก์ไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1ทุกวัน ระหว่างวันที่ 3 ถึงวันที่ 8 มกราคม โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับค่าจ้างในระหว่างเวลาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่งานเพื่อทำธุรกิจส่วนตัวถือเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ยื่นใบลาขออนุญาตหยุดงานเป็นเวลา 4 วัน ติดต่อกัน แต่เมื่อจำเลยไม่อนุญาต โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องมาทำงานให้แก่จำเลยในวันและเวลาทำงานปกติตามที่จำเลยมอบหมาย เมื่อโจทก์ไม่มาทำงานแต่กลับเดินทางไปประเทศกัมพูชาเพื่อหาช่องทางทำธุรกิจซึ่งเป็นเหตุส่วนตัวของโจทก์ จึงถือว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาหยุดโดยไม่ได้รับอนุญาตและการละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างถือเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยมีหน้าที่ทำงานในวันทำงานและเวลาทำงานปกติตามที่จำเลยมอบหมาย แม้โจทก์จะยื่นใบลาต่อจำเลยขออนุญาตหยุดงานในวันที่ 9 ถึง11 ตุลาคม 2543 แต่เมื่อจำเลยไม่อนุญาตโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องมาทำงานในวันและเวลาทำงานดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่มาทำงาน แต่กลับเดินทางไปประเทศกัมพูชา เพื่อหาช่องทางทำธุรกิจซึ่งเป็นเหตุส่วนตัวของโจทก์ จึงถือว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 119(5) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556-2557/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เล่นเกม คอมพิวเตอร์ระหว่างทำงาน ไม่ถือเป็นการทุจริตหรือฝ่าฝืนร้ายแรง
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(1) นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(1) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า"ทุจริต" ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ระหว่างเวลาทำงานเพียงชั่วขณะไม่ทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์เพิ่ม แม้การกระทำของโจทก์เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานไปบ้างและเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทน ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายทั้งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ก็มิได้ระบุว่าการละทิ้งหน้าที่หรือหลีกเลี่ยงการทำงานเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
โจทก์เป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่โจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ระหว่างเวลาทำงานเพียงชั่วขณะไม่ทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์เพิ่ม แม้การกระทำของโจทก์เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานไปบ้างและเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทน ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายทั้งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ก็มิได้ระบุว่าการละทิ้งหน้าที่หรือหลีกเลี่ยงการทำงานเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6879/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุม กรณีลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ ศาลยืนคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของจำเลยอันเป็นพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งตามมาตรา 124 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เมื่อพิจารณาคำฟ้องประกอบกับสำเนาคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเอกสารท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องแล้ว พอถือได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่า ค. และ ง. ลูกจ้างไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 14 ถึง 16 ตุลาคม 2542 ซึ่งเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายจ้างกำหนดวันหยุดตามประเพณีและการเลิกจ้างลูกจ้างที่ละทิ้งหน้าที่
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 9 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้อำนาจนายจ้างที่จะกำหนดวันหยุดตามประเพณีได้เองปีละไม่น้อยกว่าสิบสามวัน โดยไม่ต้องไปทำความตกลงกับลูกจ้าง จึงมิใช่เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 18, 20 จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างสามารถกำหนด วันหยุดตามประเพณีได้ตามกฎหมาย
จำเลยออกประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้ไม่มีวันที่ประกาศใช้และไม่มี ลายมือชื่อกรรมการผู้จัดการหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยก็ไม่ทำให้ประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณี ตกเป็นโมฆะเนื่องจากกฎหมายมิได้กำหนดแบบไว้ ประกาศดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลย ให้ต้องปฏิบัติตาม
จำเลยออกประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้ไม่มีวันที่ประกาศใช้และไม่มี ลายมือชื่อกรรมการผู้จัดการหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยก็ไม่ทำให้ประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณี ตกเป็นโมฆะเนื่องจากกฎหมายมิได้กำหนดแบบไว้ ประกาศดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลย ให้ต้องปฏิบัติตาม