พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,780 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในละเมิดจากการก่อสร้างอาคารที่สร้างความเสียหายต่ออาคารเช่า และขอบเขตความรับผิดของผู้เช่าตามสัญญาเช่า
อาคารที่ได้รับความเสียหายเป็นของ ส. ระหว่างเกิดเหตุได้ให้ บ. และ อ. เป็นผู้เช่า บ. และ อ. จึงเป็นผู้ทรงสิทธิการเช่ามีสิทธิที่จะใช้หรือได้รับประโยชน์ในอาคารที่เช่าตามสัญญาเช่า การที่จำเลยที่ 2 ดำเนินการก่อสร้างอาคารชุดที่พักอาศัยเป็นเหตุให้อาคารของ ส. ดังกล่าวโยกไหวและแตกร้าวเสียหายย่อมกระทบต่อสิทธิที่จะใช้หรือได้รับประโยชน์ในอาคารของ บ. และ อ. ผู้ทรงสิทธิการเช่า บ. และ อ. จึงเป็นผู้เสียหายที่ถูกกระทำละเมิด ส่วนโจทก์ที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์กับ ส. เจ้าของอาคารแต่อย่างไร การที่โจทก์ที่ 1 เข้ามาใช้อาคารดังกล่าวก็โดยอาศัยสิทธิการเช่าของ บ. และ อ. จึงเป็นเพียงบริวารของ บ. และ อ. เท่านั้น ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่ไม่ได้ใช้อาคารจากจำเลยทั้งสอง
ตามสัญญาเช่ากำหนดให้ผู้เช่าต้องรักษาซ่อมแซมสถานที่เช่ารวมทั้งสิ่งตกแต่งและเครื่องอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยตลอดระยะเวลาเช่าด้วยทุนทรัพย์ของผู้เช่าเองนั้น หมายถึงการบำรุงรักษาตามปกติและซ่อมแซมเล็กน้อยเท่านั้น มิได้กำหนดให้ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องซ่อมแซมใหญ่แต่อย่างใด เมื่อได้ความว่าอาคารที่เช่าเสียหายมากยากที่จะซ่อมแซมให้กลับคืนดีได้ ต้องรื้อถอนและปลูกสร้างขึ้นใหม่และถึงแม้ว่าจะต้องทำการซ่อมแซมโครงสร้างของอาคารกับฐานรากบางส่วนและทำการหล่อเสาเพิ่มขึ้นรวมทั้งซ่อมแซมโครงอาคารภายนอก ส่วนความเสียหายภายในซึ่งมีมากได้รื้อออกแล้วก่อขึ้นใหม่ตามที่โจทก์ที่ 2 ฎีกาก็ตาม ความเสียหายดังกล่าวก็เป็นกรณีร้ายแรงต้องซ่อมแซมใหญ่ซึ่งไม่ใช่หน้าที่และความรับผิดของผู้เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 553 หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่าที่จะต้องจัดการซ่อมแซมทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อให้โจทก์ที่ 2 ได้ใช้และได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ในการเช่า การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อ ส. เจ้าของอาคารที่โจทก์ที่ 2 เช่า แม้ ส. จะมีระเบียบปฏิบัติว่า ผู้เช่าจะต้องเป็นผู้ปลูกสร้างอาคารยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. แล้ว ส. จึงจะให้สิทธิในการเช่า ซึ่งทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างอาคารขึ้นใหม่ ก็เป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์ที่ 2 สมัครใจเข้าทำนิติกรรมผูกนิติสัมพันธ์กับ ส. มิใช่เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์ที่ 2 ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายส่วนนี้จากจำเลยทั้งสอง
ตามสัญญาเช่ากำหนดให้ผู้เช่าต้องรักษาซ่อมแซมสถานที่เช่ารวมทั้งสิ่งตกแต่งและเครื่องอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยตลอดระยะเวลาเช่าด้วยทุนทรัพย์ของผู้เช่าเองนั้น หมายถึงการบำรุงรักษาตามปกติและซ่อมแซมเล็กน้อยเท่านั้น มิได้กำหนดให้ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องซ่อมแซมใหญ่แต่อย่างใด เมื่อได้ความว่าอาคารที่เช่าเสียหายมากยากที่จะซ่อมแซมให้กลับคืนดีได้ ต้องรื้อถอนและปลูกสร้างขึ้นใหม่และถึงแม้ว่าจะต้องทำการซ่อมแซมโครงสร้างของอาคารกับฐานรากบางส่วนและทำการหล่อเสาเพิ่มขึ้นรวมทั้งซ่อมแซมโครงอาคารภายนอก ส่วนความเสียหายภายในซึ่งมีมากได้รื้อออกแล้วก่อขึ้นใหม่ตามที่โจทก์ที่ 2 ฎีกาก็ตาม ความเสียหายดังกล่าวก็เป็นกรณีร้ายแรงต้องซ่อมแซมใหญ่ซึ่งไม่ใช่หน้าที่และความรับผิดของผู้เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 553 หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้ให้เช่าที่จะต้องจัดการซ่อมแซมทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อให้โจทก์ที่ 2 ได้ใช้และได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ในการเช่า การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อ ส. เจ้าของอาคารที่โจทก์ที่ 2 เช่า แม้ ส. จะมีระเบียบปฏิบัติว่า ผู้เช่าจะต้องเป็นผู้ปลูกสร้างอาคารยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. แล้ว ส. จึงจะให้สิทธิในการเช่า ซึ่งทำให้โจทก์ที่ 2 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างอาคารขึ้นใหม่ ก็เป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์ที่ 2 สมัครใจเข้าทำนิติกรรมผูกนิติสัมพันธ์กับ ส. มิใช่เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์ที่ 2 ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายส่วนนี้จากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าครบกำหนด-ละเมิด: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย & การลดเบี้ยปรับ
สัญญาเช่าอาคารทั้งสองฉบับครบกำหนดเวลาเช่าตามที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว สัญญาเช่าย่อมระงับลง โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่ามีหน้าที่ต้องส่งคืนอาคารที่เช่าแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่า การที่จำเลยไม่ยอมส่งคืนอาคารที่เช่า เป็นการผิดสัญญาเช่าและการที่จำเลยยังครอบครองอาคารที่เช่าต่อไปโดยโจทก์ไม่ยินยอมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ทั้งฐานผิดสัญญาและฐานละเมิด เพียงแต่เมื่อใช้สิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับฐานผิดสัญญาแล้วโจทก์ไม่อาจใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดได้ เพราะเป็นค่าเสียหายมูลกรณีเดียวกัน
สัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 10 ข้อ 1 วรรคสองระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดหรือสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดก็ตาม "ผู้เช่า" ต้องส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" ทันที ในกรณีที่ "ผู้เช่า" ไม่สามารถส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" "ผู้เช่า" ยินยอมชำระค่าปรับให้แก่ "ผู้ให้เช่า" วันละ 2,000 บาท นับแต่วันครบกำหนดส่งมอบจนถึงวันที่ได้ส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นข้อตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่ผู้เช่าผิดสัญญาไม่สามารถส่งมอบอาคารที่เช่าคืนให้แก่ผู้ให้เช่าในทันที โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าข้อ 1 วรรคสอง ได้ แต่เบี้ยปรับที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
สัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 11 ข้อ 8 วรรคสอง ระบุว่า เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม "ผู้เช่า" จะต้องย้ายออกไปจากที่เช่าทันที ถ้าไม่ขนย้ายออกไปยอมให้ค่าเสียหายค่าปรับเป็นเงินวันละ 2,000 บาท แก่ "ผู้ให้เช่า" ทุกวันจนกว่าจะขนย้ายออกไป ซึ่งระบุเงื่อนไขในการยอมให้ค่าเสียหายเฉพาะกรณีมีการบอกเลิกสัญญาเช่าเท่านั้น แตกต่างจากสัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 10 แต่แม้จะเป็นกรณีที่สัญญาเช่าสิ้นสุดหรือระงับลงเพราะครบกำหนดเวลาเช่าไม่เข้าเงื่อนไขที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาเช่า แต่โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานละเมิดได้ซึ่งโจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องและนำสืบถึงจำนวนค่าเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดแล้ว ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง
สัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 10 ข้อ 1 วรรคสองระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดหรือสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดก็ตาม "ผู้เช่า" ต้องส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" ทันที ในกรณีที่ "ผู้เช่า" ไม่สามารถส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" "ผู้เช่า" ยินยอมชำระค่าปรับให้แก่ "ผู้ให้เช่า" วันละ 2,000 บาท นับแต่วันครบกำหนดส่งมอบจนถึงวันที่ได้ส่งมอบสถานที่เช่าคืนให้แก่ "ผู้ให้เช่า" เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นข้อตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีที่ผู้เช่าผิดสัญญาไม่สามารถส่งมอบอาคารที่เช่าคืนให้แก่ผู้ให้เช่าในทันที โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าข้อ 1 วรรคสอง ได้ แต่เบี้ยปรับที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
สัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 11 ข้อ 8 วรรคสอง ระบุว่า เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม "ผู้เช่า" จะต้องย้ายออกไปจากที่เช่าทันที ถ้าไม่ขนย้ายออกไปยอมให้ค่าเสียหายค่าปรับเป็นเงินวันละ 2,000 บาท แก่ "ผู้ให้เช่า" ทุกวันจนกว่าจะขนย้ายออกไป ซึ่งระบุเงื่อนไขในการยอมให้ค่าเสียหายเฉพาะกรณีมีการบอกเลิกสัญญาเช่าเท่านั้น แตกต่างจากสัญญาเช่าอาคารห้องเลขที่ 10 แต่แม้จะเป็นกรณีที่สัญญาเช่าสิ้นสุดหรือระงับลงเพราะครบกำหนดเวลาเช่าไม่เข้าเงื่อนไขที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาเช่า แต่โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานละเมิดได้ซึ่งโจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องและนำสืบถึงจำนวนค่าเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดแล้ว ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องทุกข์แจ้งความและขอบเขตความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ การทำซ้ำ vs. การเผยแพร่
เจตนารมณ์ของกฎหมายในการร้องทุกข์ก็เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทราบว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและประสงค์จะให้มีการนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ร. ผู้รับมอบอำนาจช่วงจากผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และต่อมาได้นำเจ้าพนักงานตำรวจค้นร้านที่เกิดเหตุและจับจำเลยส่งพนักงานสอบสวน จากนั้น ร. จึงได้ร้องทุกข์อีกครั้ง โดยการร้องทุกข์ครั้งหลังมีข้อความระบุถึงตัวผู้กระทำผิดและลักษณะของความผิดชัดเจนถือได้ว่าคดีนี้มีการร้องทุกข์โดยชอบและทำให้การสอบสวนในเวลาต่อมาชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทดนตรีกรรม สิ่งบันทึกเสียง และโสตทัศนวัสดุของผู้เสียหายโดยนำเอางานซึ่งมีลิขสิทธิ์ตามฟ้องไปบรรจุในเครื่องอ่านข้อมูล แล้วแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาภาพและเสียง แพร่ภาพ เนื้อร้อง และทำนองทางจอมอนิเตอร์ และแพร่เสียงทางลำโพงสำหรับลูกค้า ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27, 28, 29 และ 69 แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทำซ้ำซึ่งงานดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ หรือสิ่งบันทึกเสียง ซึ่งไม่ใช่เรื่องการกระทำผิดเกี่ยวกับการแพร่งานดังกล่าวต่อสาธารณชน เพราะงานที่ถูกบรรจุในเครื่องอ่านข้อมูลนั้นเป็นงานที่ถูกทำซ้ำขึ้นใหม่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น การเผยแพร่งานที่บรรจุไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต่อสาธารณชนจึงไม่ใช่ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (2), 28 (2) และไม่อาจถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์ที่จะขอให้ลงโทษจำเลยในเรื่องการเผยแพร่งานซึ่งได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรด้วยการเผยแพร่ต่อสาธารณชน อันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (3) ด้วย เพราะโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายตรานี้ไว้ในคำฟ้องแต่อย่างใด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์ประเภทดนตรีกรรม สิ่งบันทึกเสียง และโสตทัศนวัสดุของผู้เสียหายโดยนำเอางานซึ่งมีลิขสิทธิ์ตามฟ้องไปบรรจุในเครื่องอ่านข้อมูล แล้วแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาภาพและเสียง แพร่ภาพ เนื้อร้อง และทำนองทางจอมอนิเตอร์ และแพร่เสียงทางลำโพงสำหรับลูกค้า ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27, 28, 29 และ 69 แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทำซ้ำซึ่งงานดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ หรือสิ่งบันทึกเสียง ซึ่งไม่ใช่เรื่องการกระทำผิดเกี่ยวกับการแพร่งานดังกล่าวต่อสาธารณชน เพราะงานที่ถูกบรรจุในเครื่องอ่านข้อมูลนั้นเป็นงานที่ถูกทำซ้ำขึ้นใหม่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น การเผยแพร่งานที่บรรจุไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต่อสาธารณชนจึงไม่ใช่ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (2), 28 (2) และไม่อาจถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์ที่จะขอให้ลงโทษจำเลยในเรื่องการเผยแพร่งานซึ่งได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรด้วยการเผยแพร่ต่อสาธารณชน อันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (3) ด้วย เพราะโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายตรานี้ไว้ในคำฟ้องแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7872/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์แพร่เสียงแพร่ภาพเพื่อการค้า โดยการติดตั้งอุปกรณ์และถ่ายทอดสัญญาณในอาคารพักอาศัย
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณ รับเสียงและภาพ ภาพยนตร์รายการโทรทัศน์ของโจทก์ร่วม แล้วแพร่หรือถ่ายทอดสัญญาณนั้นผ่านสายรับสัญญาณไปยังห้องพักที่จำเลยให้บริการ อันเป็นการจัดทำงานแพร่เสียงแพร่ภาพภาพยนตร์รายการโทรทัศน์ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยมิได้รับอนุญาต และเมื่อจำเลยจัดทำเพื่อให้ผู้เช่าห้องพักในอาคารที่พักของตนได้รับชมโดยผู้เช่าต้องเสียค่าเช่าซึ่งรวมถึงบริการสัญญาณเสียงและภาพตามฟ้อง จึงเป็นการกระทำความผิดเพื่อการค้า
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อเนื่องโดยมีเจตนาเดียวคือเพื่อให้ผู้เช่าห้องพักของตนได้รับฟังและรับชมรายการโทรทัศน์ที่เป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ซึ่งตราบใดที่จำเลยยังคงแพร่เสียงแพร่ภาพก็ยังเป็นการกระทำความผิดฐานนี้ การกระทำความผิดทั้งสองวันตามฟ้องจึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว หาใช่หลายกรรมต่างกันดังฟ้องไม่
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อเนื่องโดยมีเจตนาเดียวคือเพื่อให้ผู้เช่าห้องพักของตนได้รับฟังและรับชมรายการโทรทัศน์ที่เป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ซึ่งตราบใดที่จำเลยยังคงแพร่เสียงแพร่ภาพก็ยังเป็นการกระทำความผิดฐานนี้ การกระทำความผิดทั้งสองวันตามฟ้องจึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว หาใช่หลายกรรมต่างกันดังฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7317/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของคำฟ้องและหลักความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยที่ 4 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 4 รับประกันภัยไว้คันดังกล่าวไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง โดยขับรถยนต์คันดังกล่าวไปด้วยความเร็วสูง ทำให้รถยนต์คันดังกล่าวเสียหลักพุ่งชนการ์ดเรล เสา และราวบันไดของโจทก์เสียหาย และมีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 4 ร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6974/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุความคดีละเมิดช่วงวันหยุดราชการ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องภายในกำหนด
เหตุละเมิดเกิดวันที่ 17 กรกฎาคม 2542 เมื่อนับเวลา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ประกอบมาตรา 193/5 วันครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันละเมิดคือ วันที่ 17 กรกฎาคม 2543 ตรงกับวันเข้าพรรษาเป็นวันหยุดราชการประจำปี และวันที่ 18 กรกฎาคม 2543 เป็นวันหยุดชดเชยวันอาสาฬหบูชาวันหยุดราชการประจำปี ศาลหยุดทำการ ตามมาตรา 193/8 ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา โจทก์จึงมีสิทธิที่จะยื่นคำฟ้องคดีนี้ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการได้
อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง การนับอายุความจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 5 ตั้งแต่มาตรา 193/1 ถึงมาตรา 193/8 ด้วย
อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง การนับอายุความจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 5 ตั้งแต่มาตรา 193/1 ถึงมาตรา 193/8 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5792/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินหลังจัดหาประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน และการละเมิดจากการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทต่อเนื่องจากผู้ครอบครองเดิมที่ครอบครองมาก่อนใช้ ป.ที่ดิน โดยมิได้มาซึ่งสิทธิครอบครองโดยชอบแม้ว่าเดิมที่ดินพิพาทจะเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (1) ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการตาม ป.ที่ดิน มาตรา 10 และมาตรา 11 จนได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยที่ 1 ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1334 จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ อย่างไรก็ตาม แม้จำเลยที่ 1 จะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ก็ตาม แต่โจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์โดยปลูกสร้างอาคารและปลูกต้นไม้และพืชผลต่อเนื่องจากผู้ครอบครองเดิมโดยสุจริตตลอดมาตั้งแต่ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1336 เรียกร้องให้โจทก์รื้อถอนอาคารและเก็บเกี่ยวพืชผลขนย้ายออกไปจากที่ดินพิพาท แต่โจทก์เพิกเฉยนั้น ก็มีผลเพียงถือว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 ซึ่งชอบที่จำเลยที่ 1 จะต้องใช้สิทธิฟ้องขับไล่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 เพื่อที่ว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ชนะคดีแล้วจะได้ดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลตามขั้นตอนของกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296 ทวิ, 296 ตรี, 296 จัตวา, 296 เบญจ 296 ฉ และมาตรา 296 สัตต แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งต่อไป จำเลยที่ 1 หามีสิทธิที่จะใช้อำนาจโดยพลการเข้าดำเนินการรื้อถอนเพื่อขับไล่โจทก์ออกไปจากที่ดินพิพาทด้วยตนเองไม่ ดังนั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่เข้าไปรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและไถปรับหน้าดินทำให้พืชผลโจทก์เสียหาย ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5264/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง แม้ไม่ได้นำสืบซ้ำ หากจำเลยยอมรับ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 และขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ชนกับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ โดยมิได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าวของโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบในข้อนี้อีก แม้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 2 จะให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 มิได้เป็นนายจ้างหรือใช้จำเลยที่ 1 ให้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้าง แต่เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 3 ไปแล้ว คดีย่อมไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 อีกต่อไป การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5147/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง: ผู้เสียหายจากการกระทำละเมิดคือสหกรณ์ฯ มิใช่เจ้าของที่ดินจำนอง
โจทก์ฟ้องว่า เดิมที่ดินมีโฉนดเนื้อที่ดิน 29 ไร่ 2 งาน 13 ตารางวา เป็นของโจทก์ โจทก์ได้นำที่ดินดังกล่าวไปจำนองเป็นประกันหนี้ ส. สามีโจทก์ต่อสหกรณ์การเกษตร ต่อมาสหกรณ์การเกษตรได้ยื่นฟ้อง ส. เป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องโจทก์เป็นจำเลยที่ 2 ต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้ มิฉะนั้นให้บังคับที่ดินที่จำนองและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าว จำเลยซึ่งเป็นประธานกรรมการสหกรณ์การเกษตรได้ซื้อที่ดินในฐานะส่วนตัวแล้วใส่ชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยปราศจากอำนาจที่สหกรณ์การเกษตรให้จำเลยเข้าประมูลสู้ราคาหรือซื้อทรัพย์สินในการขายทอดตลาดและทำนิติกรรมรับโอนที่ดินแทนสหกรณ์การเกษตร แต่จำเลยกลับกระทำขัดต่อหนังสือมอบอำนาจที่ทางสหกรณ์การเกษตรให้อำนาจไว้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและผิดต่อข้อบังคับของสหกรณ์การเกษตร ส่อไปในทางทุจริต และต่อมาจำเลยและบริวารได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินแปลงดังกล่าวอีกด้วย ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินเป็นของสหกรณ์การเกษตร และห้ามจำเลยเข้ายุ่งเกี่ยวในที่ดินต่อไป ซึ่งหากจำเลยได้ทำการละเมิดจริง ผู้ที่ได้รับความเสียหายหรือถูกโต้แย้งสิทธิคือสหกรณ์การเกษตร มิใช่โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4997/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในวัตถุแห่งนิติกรรม-อายุความ-ละเมิด: ศาลปรับข้อเท็จจริงตามฟ้องได้-สิทธิติดตามทรัพย์สินไม่มีอายุความ
ในวันนัดจดทะเบียนขายฝากที่ดิน โจทก์ให้จำเลยที่ 1 พาโจทก์ไปดูที่ดินที่จะขายฝาก จำเลยที่ 1 กลับชี้ให้โจทก์ดูที่ดินของผู้อื่นซึ่งอยู่ติดถนนลาดยางแปลงเดียวกับที่จำเลยที่ 2 เคยพาบุคคลอื่นไปดู ซึ่งมิใช่ที่ดินของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มีส่วนร่วมกับจำเลยที่ 2 หลอกลวงโจทก์ให้รับซื้อฝากที่ดินต่อโจทก์ ทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 เป็นเพียงนายหน้าของจำเลยที่ 1 หรือเป็นผู้ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 แล้วนำไปขายต่อให้แก่โจทก์ และไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์หวังผลกำไรจากการรับซื้อฝากที่ดินหรือไม่ เพราะมิใช่สาระสำคัญที่จะทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป การที่โจทก์หลงเชื่อและรับฝากที่ดินไว้จากจำเลยที่ 1 โดยเข้าใจว่าเป็นที่ดินแปลงที่อยู่ติดถนนลาดยางตามที่จำเลยที่ 1 นำชี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และเป็นกรณีที่โจทก์แสดงเจตนารับซื้อฝากที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดยสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม อันเป็นสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 มีผลเท่ากับการขายฝากที่ดินมิได้เกิดมีขึ้น และไม่ก่อสิทธิใด ๆ แก่จำเลยที่ 1 ที่จะยึดถือเอาเงินของโจทก์ไว้ได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
โจทก์ตั้งเรื่องฟ้องจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองสมคบกันหลอกลวงโจทก์โดยนำชี้และอ้างว่าที่ดินของผู้อื่นซึ่งอยู่ติดถนนลาดยางเป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 โจทก์หลงเชื่อ จึงรับซื้อฝากและมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง ความจริงแล้วที่ดินโฉนดดังกล่าวอยู่ห่างไกลถนนและมีราคาต่ำกว่าที่โจทก์รับซื้อฝากไว้มากหากโจทก์ทราบความจริงจะไม่รับซื้อฝาก การบรรยายฟ้องดังกล่าวเป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงในลักษณะเล่าเรื่องให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงเข้ากับตัวบทกฎหมายเพื่อวินิจฉัยคดี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงและฟังว่าโจทก์แสดงเจตนารับซื้อฝากที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 157 ก็ดี หรือศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยข้อเท็จจริงและฟังว่าโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 ก็ดี จึงเป็นการปรับข้อเท็จจริงที่ได้ความเข้ากับตัวบทกฎหมายเพื่อวินิจฉัยถึงสิทธิของคู่ความแต่ละฝ่าย ซึ่งหากจำเลยทั้งสองมิได้หลอกลวงโจทก์และโจทก์มิได้แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดแล้ว จำเลยทั้งสองก็ไม่ต้องรับผิดคืนเงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง กรณีมิใช่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกฟ้องหรือพิพากษาเกินไปกว่าคำฟ้อง
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงโจทก์ให้รับซื้อฝากที่ดินของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์หลงเชื่อและเสียเงินให้แก่จำเลยทั้งสองไป 1,500,000 บาท และมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ 1,500,000 บาท เท่ากับราคาที่ดินที่ซื้อฝากซึ่งโจทก์ได้มอบให้แก่จำเลยทั้งสองไปนั้น มิใช่คำฟ้องในเรื่องละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี เพียงอย่างเดียว แต่มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของโจทก์คืนจากจำเลยทั้งสองผู้ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ด้วย ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้ ส่วนดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นค่าเสียหายนั้นคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในความผิดฐานฉ้อโกง โจทก์ฟ้องคดีในระหว่างที่คดีอาญายังไม่เด็ดขาด จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสอง
โจทก์ตั้งเรื่องฟ้องจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองสมคบกันหลอกลวงโจทก์โดยนำชี้และอ้างว่าที่ดินของผู้อื่นซึ่งอยู่ติดถนนลาดยางเป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 โจทก์หลงเชื่อ จึงรับซื้อฝากและมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสอง ความจริงแล้วที่ดินโฉนดดังกล่าวอยู่ห่างไกลถนนและมีราคาต่ำกว่าที่โจทก์รับซื้อฝากไว้มากหากโจทก์ทราบความจริงจะไม่รับซื้อฝาก การบรรยายฟ้องดังกล่าวเป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงในลักษณะเล่าเรื่องให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงเข้ากับตัวบทกฎหมายเพื่อวินิจฉัยคดี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงและฟังว่าโจทก์แสดงเจตนารับซื้อฝากที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินตกเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 157 ก็ดี หรือศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยข้อเท็จจริงและฟังว่าโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 ก็ดี จึงเป็นการปรับข้อเท็จจริงที่ได้ความเข้ากับตัวบทกฎหมายเพื่อวินิจฉัยถึงสิทธิของคู่ความแต่ละฝ่าย ซึ่งหากจำเลยทั้งสองมิได้หลอกลวงโจทก์และโจทก์มิได้แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดแล้ว จำเลยทั้งสองก็ไม่ต้องรับผิดคืนเงินให้แก่โจทก์ตามฟ้อง กรณีมิใช่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกฟ้องหรือพิพากษาเกินไปกว่าคำฟ้อง
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงโจทก์ให้รับซื้อฝากที่ดินของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์หลงเชื่อและเสียเงินให้แก่จำเลยทั้งสองไป 1,500,000 บาท และมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้เงินแก่โจทก์ 1,500,000 บาท เท่ากับราคาที่ดินที่ซื้อฝากซึ่งโจทก์ได้มอบให้แก่จำเลยทั้งสองไปนั้น มิใช่คำฟ้องในเรื่องละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี เพียงอย่างเดียว แต่มีลักษณะเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของโจทก์คืนจากจำเลยทั้งสองผู้ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ด้วย ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้ ส่วนดอกเบี้ยของเงินดังกล่าวซึ่งถือว่าเป็นค่าเสียหายนั้นคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในความผิดฐานฉ้อโกง โจทก์ฟ้องคดีในระหว่างที่คดีอาญายังไม่เด็ดขาด จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสอง