พบผลลัพธ์ทั้งหมด 149 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7971/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องทุกข์คดีละเมิดลิขสิทธิ์ต้องชัดเจนถึงการกระทำความผิดและพยานหลักฐานต้องสอดคล้องกัน
หนังสือขอแจ้งความร้องทุกข์กรณีมีการละเมิดลิขสิทธิ์มีข้อความปรากฏอยู่ว่า "... บริษัท อ. ได้รับความเสียหาย โดยปรากฏพบผู้กระทำความผิดดังกล่าว ณ สถานที่ดังนี้... (7) อำเภอกุยบุรี... จึงขอร้องทุกข์ต่อท่านเพื่อโปรดจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจไปทำการสอบสวน ตรวจค้น จับกุมผู้กระทำความผิดดังกล่าวข้างต้น เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย..." ข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นแล้วว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายได้กล่าวหาว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น ลักษณะแห่งความผิด พฤติการณ์ที่ความผิดนั้นได้กระทำลง ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม และโจทก์ร่วมมีความประสงค์ที่จะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 123 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7057/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจเทป/วีซีดีโดยไม่ขออนุญาต และละเมิดลิขสิทธิ์ แม้เป็นผู้เยาว์ก็มีความผิด
การที่จำเลยมีอายุ 19 ปี กระทำการขายหรือเสนอเพื่อขายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ จำเลยจึงมีหน้าที่ที่จะขอใบอนุญาตประกอบกิจการจากนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ มาตรา 7 (1) แม้จำเลยจะเป็นผู้เยาว์ แต่เมื่อจำเลยจำหน่ายแผ่นวีซีดีภาพยนตร์ในลักษณะทำเป็นธุรกิจโดยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6894/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้นและจับกุมคดีละเมิดลิขสิทธิ์ในที่สาธารณสถาน ชอบด้วยกฎหมายแม้ไม่มีหมายค้นหากมีเหตุอันควรสงสัย
หนังสือร้องทุกข์ของโจทก์ร่วมซึ่งมีข้อความว่า มีการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมที่บริเวณศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ขอแจ้งความร้องทุกข์เพื่อให้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ถือได้ว่าเป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) แล้วไม่จำเป็นต้องระบุชื่อหรือรูปพรรณของผู้กระทำความผิด
ร้านที่เกิดเหตุเป็นร้านจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเล่นเกมต่างๆ และแผ่นเกม ย่อมเป็นสถานที่ที่เชื้อเชิญให้ประชาชนทั่วไปสามารถเดินเข้าไปดูและเลือกซื้อสินค้าได้ นับเป็นที่สาธารณสถานซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ เมื่อสิบตำรวจ ส. เป็นผู้ทำการตรวจค้น แผ่นซีดีเกมอยู่ในตะกร้าซึ่งอยู่ในตู้สามารถมองเห็นได้ โดยแผ่นซีดีเกมของกลางดังกล่าวละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม มีลักษณะภายนอกของแผ่นซีดีของกลางต่างจากของโจทก์ร่วมอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นกรณีของการค้นในที่สาธารณสถานโดยเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าร้านที่เกิดเหตุมีสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิด ไม่จำเป็นต้องมีหมายค้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 ทั้งเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจสามารถจับจำเลยได้ตามมาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 80 วรรคหนึ่ง การค้นและจับจึงชอบด้วยกฎหมาย
ร้านที่เกิดเหตุเป็นร้านจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเล่นเกมต่างๆ และแผ่นเกม ย่อมเป็นสถานที่ที่เชื้อเชิญให้ประชาชนทั่วไปสามารถเดินเข้าไปดูและเลือกซื้อสินค้าได้ นับเป็นที่สาธารณสถานซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ เมื่อสิบตำรวจ ส. เป็นผู้ทำการตรวจค้น แผ่นซีดีเกมอยู่ในตะกร้าซึ่งอยู่ในตู้สามารถมองเห็นได้ โดยแผ่นซีดีเกมของกลางดังกล่าวละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม มีลักษณะภายนอกของแผ่นซีดีของกลางต่างจากของโจทก์ร่วมอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นกรณีของการค้นในที่สาธารณสถานโดยเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมีเหตุอันควรสงสัยว่าร้านที่เกิดเหตุมีสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิด ไม่จำเป็นต้องมีหมายค้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 93 ทั้งเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจสามารถจับจำเลยได้ตามมาตรา 78 (1) ประกอบมาตรา 80 วรรคหนึ่ง การค้นและจับจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6795/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องมีหลักฐานการมอบอำนาจต่อเนื่องครบถ้วนทุกทอด
แม้โจทก์จะมีหนังสือมอบอำนาจของบริษัท จ. ผู้เสียหาย มาเป็นหลักฐานว่าผู้เสียหายมอบอำนาจทอดที่ 1 ให้ ค. เป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทนและให้มีอำนาจมอบอำนาจช่วงในทอดที่ 2 ให้บริษัท พ. ดำเนินคดีแทน กับระบุให้บริษัท พ. มอบอำนาจช่วงในทอดที่ 3 ให้บุคคลอื่นดำเนินคดีแทนได้ กับมีหนังสือมอบอำนาจของบริษัท พ. มาเป็นหลักฐานว่าบริษัท พ. ได้มอบอำนาจในทอดที่ 3 ให้ ณ. ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแทนผู้เสียหายได้ก็ตาม แต่โจทก์ไม่มีหลักฐานการมอบอำนาจในทอดที่ 2 จาก ค. ว่า ค. ได้มอบอำนาจให้บริษัท พ. หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดดำเนินคดีนี้แทนผู้เสียหาย แม้โจทก์จะมี ณ. มาให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวนว่า ตนได้รับมอบอำนาจจากบริษัท พ. ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจาก ค. ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงพยานหลักฐานของผู้มอบอำนาจในทอดที่ 3 เท่านั้นไม่ใช่หลักฐานการมอบอำนาจในทอดที่ 2 จึงรับฟังไม่ได้ว่า ค. ได้มอบอำนาจในทอดที่ 2 ให้แก่บริษัท พ. ดำเนินคดีนี้แทน ดังนั้น ณ. ซึ่งได้รับมอบอำนาจช่วงจากบริษัท พ. จึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์แทนผู้เสียหาย การสอบสวนคดีนี้จึงไม่ชอบ อันเป็นผลให้การฟ้องคดีของโจทก์ไม่ชอบไปด้วยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง, 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์งานแพร่เสียงแพร่ภาพเพื่อการค้า ข้อสันนิษฐานเรื่องลิขสิทธิ์ และอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 62 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า งานที่มีการฟ้องร้องในคดีนั้นเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ และโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เว้นแต่จำเลยจะโต้แย้งว่าไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ซึ่งข้อสันนิษฐานดังกล่าวเป็นเพียงข้อสันนิษฐานในข้อเท็จจริงที่ศาลจะรับฟัง เว้นแต่จะปรากฏข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่น ดังนั้น แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ แต่หากข้อเท็จจริงในสำนวนคดีนี้ปรากฏต่อศาลเองว่างานที่ฟ้องร้องกันนี้มิใช่งานอันมีลิขสิทธิ์ที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย และเป็นกรณีที่โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อให้ลงโทษทางอาญา ศาลย่อมมีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยรับสัญญาณภาพและเสียงของโจทก์ร่วมที่ส่งสัญญาณไปตามสายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง จากนั้นใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อกับสายสัญญาณเคเบิ้ลเข้าเครื่องถอดรหัสสัญญาณไปพ่วงต่อเข้ากับเครื่องรับโทรทัศน์ของจำเลย แล้วขยายสัญญาณโทรทัศน์แยกและต่อสัญญาณแพร่เสียงแพร่ภาพไปยังห้องเช่าต่าง ๆ ของผู้พักอาศัยในอาคารของจำเลย โดยจำเลยได้รับผลประโยชน์จากค่าเช่าห้องพักและค่าบริการจากผู้เช่าเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วมทั้งสอง ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการจัดทำงานแพร่ภาพแพร่เสียงอีกทอดหนึ่ง ซึ่งงานแพร่เสียงแพร่ภาพดังกล่าวเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสอง เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเพื่อการค้า จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 29 ประกอบมาตรา 69 วรรคสอง
จำเลยรับสัญญาณภาพและเสียงของโจทก์ร่วมที่ส่งสัญญาณไปตามสายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง จากนั้นใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อกับสายสัญญาณเคเบิ้ลเข้าเครื่องถอดรหัสสัญญาณไปพ่วงต่อเข้ากับเครื่องรับโทรทัศน์ของจำเลย แล้วขยายสัญญาณโทรทัศน์แยกและต่อสัญญาณแพร่เสียงแพร่ภาพไปยังห้องเช่าต่าง ๆ ของผู้พักอาศัยในอาคารของจำเลย โดยจำเลยได้รับผลประโยชน์จากค่าเช่าห้องพักและค่าบริการจากผู้เช่าเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ร่วมทั้งสอง ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการจัดทำงานแพร่ภาพแพร่เสียงอีกทอดหนึ่ง ซึ่งงานแพร่เสียงแพร่ภาพดังกล่าวเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสอง เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำเพื่อการค้า จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 29 ประกอบมาตรา 69 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5259/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่ายในงานปฏิทิน: การกำหนดค่าเสียหายและขอบเขตความรับผิดของผู้รับจ้าง
ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีต้องพิเคราะห์จากคำฟ้องและคำให้การ มิใช่จากข้อเท็จจริงและการนำสืบพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา แม้จำเลยทั้งสองจะได้ถามค้านพยานโจทก์ไว้ว่าลูกจ้างโจทก์เป็นผู้ทำหนังสือชื่อผลไม้พิพาทจนเป็นเหตุให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องด้วยเหตุผลว่าลูกจ้างโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์งาน ลูกจ้างโจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้ให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างให้ลูกจ้างสร้างสรรค์งาน ลิขสิทธิ์จึงเป็นของลูกจ้าง โดยจำเลยที่ 2 ให้การเพียงว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากโจทก์เป็นนิติบุคคลโดยสถานภาพของโจทก์ไม่สามารถมีความคิดริเริ่มได้ โจทก์จึงไม่อาจสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ได้ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์เป็นนิติบุคคลไม่สามารถสร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ด้วยตนเองได้หรือไม่ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะลูกจ้างโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์งาน ลูกจ้างโจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท และมิใช่ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์เป็นนิติบุคคล แต่โจทก์ก็มีผู้แทนนิติบุคคลเป็นผู้ทำการแทนนิติบุคคล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคลและมาตรา 67 บัญญัติว่านิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น ประกอบกับ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 8 วรรคสอง ก็บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย ถ้าผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล นิติบุคคลนั้นต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจึงเป็นผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ได้ โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ได้ โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ได้ โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์งานด้วยตนเองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 18 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นผู้ทำหรือก่อให้เกิดหนังสือชื่อผลไม้ชุดที่ 1 ด้วยตนเอง โดยใช้ความรู้ความสามารถในฐานะสำนักพิมพ์สร้างสรรค์งานด้วยการทุ่มเทความรู้ วิจารณญาณ ฝีมือ แรงงาน โดยขั้นตอนถ่ายรูปผลไม้ต้องคัดสรรผลไม้ที่มีผลสมบูรณ์จากจังหวัดระยองและจันทบุรีมาทำความสะอาด จัดวางตำแหน่งผลไม้จากนั้นมีทีมงานช่างถ่ายภาพรูปลงในฟิล์มใหญ่แล้วนำภาพไปสแกนโดยระบบคอมพิวเตอร์เสร็จแล้วมีข้อมูลอธิบายเกี่ยวกับผลไม้ประกอบรูปผลไม้ จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะในการจัดทำหนังสือผลไม้ชุดที่ 1 แล้วภาพถ่ายรูปผลไม้จึงเป็นงานศิลปกรรมประเภทงานภาพถ่าย ส่วนข้อมูลอธิบายผลไม้เป็นงานวรรณกรรมประเภทสร้างสรรค์อันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 6 โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดหาหรือออกแบบรูปผลไม้โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเข้าไปสั่งการให้จำเลยที่ 2 ทำซ้ำหรือดัดแปลงรูปภาพผลไม้จากหนังสือของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงมิได้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
ภาพผลไม้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคม 2545 ของปฏิทินที่จำเลยที่ 2 ทำขึ้นเป็นการทำซ้ำและดัดแปลงมาจากหนังสือผลไม้ชุดที่ 1 จึงละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพถ่ายของโจทก์ ส่วนข้อมูลอธิบายผลไม้อันเป็นงานวรรณกรรมของโจทก์เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลในปฏิทินกับในหนังสือแล้วแตกต่างกัน จำเลยที่ 2 จึงมิได้ละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์
โจทก์จัดทำหนังสือชื่อผลไม้ชุดที่ 1 แล้วยังพิมพ์งานปฏิทินชุดผลไม้ให้แก่ลูกค้าต่างประเทศ การที่จำเลยที่ 2 นำไปดัดแปลงย่อมทำให้โจทก์ขาดรายได้ การที่จำเลยที่ 2 แจกจ่ายให้ลูกค้าแม้จะมิได้ขายก็ก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่โจทก์และมิใช่เป็นการใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือบุคคลในครอบครัวกับไม่เข้าข้อยกเว้นกรณีอื่นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 32 วรรคสอง ทั้งยังขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 32 วรรคแรก การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ตามมาตรา 27 (1)
โจทก์เป็นนิติบุคคล แต่โจทก์ก็มีผู้แทนนิติบุคคลเป็นผู้ทำการแทนนิติบุคคล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคลและมาตรา 67 บัญญัติว่านิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น ประกอบกับ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 8 วรรคสอง ก็บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย ถ้าผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล นิติบุคคลนั้นต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจึงเป็นผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ได้ โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ได้ โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์งานลิขสิทธิ์ได้ โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์เป็นผู้สร้างสรรค์งานด้วยตนเองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 18 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นผู้ทำหรือก่อให้เกิดหนังสือชื่อผลไม้ชุดที่ 1 ด้วยตนเอง โดยใช้ความรู้ความสามารถในฐานะสำนักพิมพ์สร้างสรรค์งานด้วยการทุ่มเทความรู้ วิจารณญาณ ฝีมือ แรงงาน โดยขั้นตอนถ่ายรูปผลไม้ต้องคัดสรรผลไม้ที่มีผลสมบูรณ์จากจังหวัดระยองและจันทบุรีมาทำความสะอาด จัดวางตำแหน่งผลไม้จากนั้นมีทีมงานช่างถ่ายภาพรูปลงในฟิล์มใหญ่แล้วนำภาพไปสแกนโดยระบบคอมพิวเตอร์เสร็จแล้วมีข้อมูลอธิบายเกี่ยวกับผลไม้ประกอบรูปผลไม้ จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะในการจัดทำหนังสือผลไม้ชุดที่ 1 แล้วภาพถ่ายรูปผลไม้จึงเป็นงานศิลปกรรมประเภทงานภาพถ่าย ส่วนข้อมูลอธิบายผลไม้เป็นงานวรรณกรรมประเภทสร้างสรรค์อันมีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 6 โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดหาหรือออกแบบรูปผลไม้โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเข้าไปสั่งการให้จำเลยที่ 2 ทำซ้ำหรือดัดแปลงรูปภาพผลไม้จากหนังสือของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงมิได้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
ภาพผลไม้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคม 2545 ของปฏิทินที่จำเลยที่ 2 ทำขึ้นเป็นการทำซ้ำและดัดแปลงมาจากหนังสือผลไม้ชุดที่ 1 จึงละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพถ่ายของโจทก์ ส่วนข้อมูลอธิบายผลไม้อันเป็นงานวรรณกรรมของโจทก์เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลในปฏิทินกับในหนังสือแล้วแตกต่างกัน จำเลยที่ 2 จึงมิได้ละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์
โจทก์จัดทำหนังสือชื่อผลไม้ชุดที่ 1 แล้วยังพิมพ์งานปฏิทินชุดผลไม้ให้แก่ลูกค้าต่างประเทศ การที่จำเลยที่ 2 นำไปดัดแปลงย่อมทำให้โจทก์ขาดรายได้ การที่จำเลยที่ 2 แจกจ่ายให้ลูกค้าแม้จะมิได้ขายก็ก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่โจทก์และมิใช่เป็นการใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือบุคคลในครอบครัวกับไม่เข้าข้อยกเว้นกรณีอื่นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 32 วรรคสอง ทั้งยังขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 32 วรรคแรก การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ตามมาตรา 27 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4310/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความร้องทุกข์ในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ต้องชัดเจนถึงเจตนาให้ลงโทษ จำเป็นต้องมีคำร้องทุกข์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าเป็นความผิดอันยอมความได้ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 66 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ก็ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ แม้ในรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานระบุไว้ว่า "นาย ศ. อายุ 26 ปี... ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท อาร์ เอส ให้แจ้งร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์วีซีดีภาพยนตร์... เพื่อดำเนินคดีต่อไป" ก็ไม่ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์ โดยถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) เพราะมิได้ชัดแจ้งว่าเป็นการแจ้งความโดยเจตนา จะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ เป็นเหตุให้การสอบสวนในความผิดฐานนี้ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4077/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: ผู้เสียหายต้องแสดงเจตนาการกระทำความผิดของผู้กระทำ การชักจูงให้กระทำความผิดทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
พยานหลักฐานโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาแต่แรกที่จะขายแผ่นซีดีภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย กรณีเป็นเรื่องที่ผู้แทนผู้เสียหายชักจูงใจหรือก่อให้จำเลยกระทำผิด จึงไม่อาจถือได้ว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย การแจ้งความร้องทุกข์จึงไม่ชอบ ทำให้การสอบสวนไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดี ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4077/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: การล่อซื้อที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย & การชักจูงให้กระทำผิด
จำเลยไม่มีเจตนาแต่แรกที่จะขายแผ่นซีดีภาพยนตร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย แต่เป็นกรณีที่ฝ่ายผู้เสียหายได้ชักจูงใจหรือก่อให้จำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย การแจ้งความร้องทุกข์จึงไม่ใช่การแจ้งความร้องทุกข์ตามกฎหมาย ทำให้การสอบสวนไม่ชอบและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3741/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์ขั้นรอง: การให้เช่าวีดีโอซีดีที่ละเมิดลิขสิทธิ์ แม้ไม่มีข้อห้าม ก็ถือเป็นความผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ขั้นรองโดยนำงานที่ทำขึ้นละเมิดลิขสิทธิ์ออกให้เช่าหรือเสนอให้เช่าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1) ซึ่งมีองค์ประกอบความผิด คือ
(1) มีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 31 (1) ถึง (4) ซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่า จำเลยนำออกให้เช่าหรือเสนอให้เช่า
(2) ต้องเป็นการกระทำต่องานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยให้เช่าหรือเสนอให้เช่าวีดีโอซีดีภาพยนตร์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ แม้โจทก์จะมิได้ระบุชื่อผู้ทำขึ้นก็ถือว่าครบองค์ประกอบแล้ว เพราะโจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยทำซึ่งวีดีโอซีดีภาพยนตร์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 28 (1) แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 31
(3) ผู้กระทำรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นวีดีโอซีดีดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ส่วนจำเลยจะรู้หรือไม่อย่างไรเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา
(4) เป็นการกระทำเพื่อหากำไร ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่า การนำออกให้เช่าหรือเสนอให้เช่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า โจทก์จึงบรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 (1)
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 15 (3) บัญญัติให้สิทธิแต่ผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ในการให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานของโสตทัศนวัสดุและภาพยนตร์ และมาตรา 28 (3) บัญญัติว่า การให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เห็นได้ว่า บทกฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้การให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานแม้จะเป็นของแท้หรือชอบด้วยกฎหมายยังต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน ดังนั้น เมื่อวีดีโอซีดีของกลางเป็นของที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์และจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ยังนำออกให้เช่าเพื่อหากำไรในทางการค้า จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 (1)
(1) มีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 31 (1) ถึง (4) ซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่า จำเลยนำออกให้เช่าหรือเสนอให้เช่า
(2) ต้องเป็นการกระทำต่องานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยให้เช่าหรือเสนอให้เช่าวีดีโอซีดีภาพยนตร์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ แม้โจทก์จะมิได้ระบุชื่อผู้ทำขึ้นก็ถือว่าครบองค์ประกอบแล้ว เพราะโจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยทำซึ่งวีดีโอซีดีภาพยนตร์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 28 (1) แต่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 31
(3) ผู้กระทำรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าแผ่นวีดีโอซีดีดังกล่าวเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ส่วนจำเลยจะรู้หรือไม่อย่างไรเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา
(4) เป็นการกระทำเพื่อหากำไร ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่า การนำออกให้เช่าหรือเสนอให้เช่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า โจทก์จึงบรรยายฟ้องครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 (1)
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 15 (3) บัญญัติให้สิทธิแต่ผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ในการให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานของโสตทัศนวัสดุและภาพยนตร์ และมาตรา 28 (3) บัญญัติว่า การให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เห็นได้ว่า บทกฎหมายดังกล่าวบัญญัติให้การให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานแม้จะเป็นของแท้หรือชอบด้วยกฎหมายยังต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน ดังนั้น เมื่อวีดีโอซีดีของกลางเป็นของที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์และจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ยังนำออกให้เช่าเพื่อหากำไรในทางการค้า จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 (1)