คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ละเมิดลูกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6198/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง แม้ไม่ได้ระบุชัดเจนในฟ้องก็ไม่ขาดสาระสำคัญ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยประกอบกิจการเดินรถโดยสารประจำทางปรับอากาศพนักงานประจำรถซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ผู้ใช้บริการรถดังกล่าวของจำเลยเป็นเหตุให้กระเป๋าสัมภาระของโจทก์ตกหายระหว่างทางทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยในฐานะนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ในการที่ลูกจ้างกระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยเป็นฟ้องที่แสดงสภาพแห่งข้อหาว่าลูกจ้างของจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลยถูกต้องสมบูรณ์แล้วแม้ไม่ได้ระบุข้อความว่าเป็นกระทำตามทางการที่จ้างของจำเลยไปด้วยก็ไม่เป็นฟ้องที่ขาดสาระสำคัญซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4998/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม - ความรับผิดนายจ้างต่อละเมิดลูกจ้าง - ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินจำนวน 77,000 บาท แก่โจทก์ที่ 1 ใช้เงินจำนวน 150,000 บาท แก่โจทก์ที่ 2 ใช้เงินจำนวน50,000 บาท แก่โจทก์ที่ 3 พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ศาลอุทธรณ์-พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 โจทก์ทั้งสามฎีกาขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์ทั้งสามตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสามจึงแยกกันตามความรับผิดที่ขอให้จำเลยที่ 1 ชำระแก่โจทก์แต่ละคน ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีจำนวนไม่เกินรายละ200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของโจทก์ทั้งสามในปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 หรือไม่นั้น ข้ออ้างเป็นปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ทั้งสามย่อมต้องอาศัยข้อเท็จจริงเพื่อการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายการเถียงข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาเพื่อสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของโจทก์ทั้งสาม จึงมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และการพิพากษาเกินคำฟ้อง
ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์รับฟังมาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้แม้จะมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2และที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ เท่ากับศาลอุทธรณ์พิพากษากลับในส่วนนี้ คดีจึงไม่ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก เดิมศาลฎีกาจึงไม่จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2มีหน้าที่ขับรถยนต์คันเกิดเหตุซึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1ขับรถยนต์ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังเป็นเหตุให้รถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับเฉี่ยวชนรถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนี้ตามคำฟ้องดังกล่าวต้องฟังว่า โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดแต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นประเด็นแห่งคดีที่พึงกระทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยไม่อาศัยคำฟ้องไม่ได้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกและวินิจฉัยในปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3954/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง และสิทธิไล่เบี้ยของนายจ้างต่อลูกจ้างผู้กระทำละเมิด
แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วยกันในคดีก่อนก็ต้องถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลในคดีก่อน คำพิพากษาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1คดีนี้ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ในคดีก่อนจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย จำเลยที่ 1สามารถต่อสู้คดีได้เต็มที่ รวมทั้งยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียก อ.เข้าเป็นจำเลยร่วม และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว จำเลยที่ 1ก็มีสิทธิยื่นฎีกาได้ การที่โจทก์ไม่ขอให้ศาลหมายเรียก อ.เข้ามาเป็นจำเลยร่วมและไม่ฎีกาก็เป็นสิทธิของโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1ไม่ขอให้ศาลหมายเรียก อ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมและยื่นฎีกาเองทั้ง ๆ ที่ตนมีสิทธิกระทำได้ จะถือว่าโจทก์กระทำโดยไม่ชอบหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อ พ. และการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำตามหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น แต่โจทก์มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้เมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายไปแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง แม้ลูกจ้างจะออกนอกเส้นทางปฏิบัติหน้าที่
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ไปเบิกน้ำมันตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ในระหว่างนั้นได้ขับรถไปเพื่อซื้อยาให้คนงานของจำเลยที่ 2 จึงเกิดเหตุเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ที่ 1 กำลังขับอยู่ ดังนี้แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 1 ขับรถไปถึงยังสถานที่ที่เบิกน้ำมันแล้วจึงออกไปซื้อยาภายนอกสถานที่ดังกล่าว อันเป็นการผิดระเบียบของจำเลยที่ 2 และระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้กลับไปยังที่ทำการเดิมของจำเลยที่ 2 ก็ถือว่าจำเลยที่ 1 ยังอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่การงานในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง: โจทก์ต้องพิสูจน์ความสัมพันธ์และประมาทของลูกจ้าง
ศาลอาญาพิพากษาจำคุกจำเลยที่ 1 ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีแพ่งให้ร่วมรับผิดกับ จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้าง ข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ได้ความตามฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 2 ว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้ได้ความสมฟ้องจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3344/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง, ค่าเสียหายทางจิตใจ, และประเด็นการต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 นายจ้างร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ลูกจ้างซึ่งกระทำละเมิดในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ลอย ๆ ว่า ผลคดียังไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้กระทำความผิด เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 2รับหรือปฏิเสธฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จำเลยที่ 2 จึงไม่มีประเด็นนำสืบ และที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์มีส่วนผิดอยู่ด้วยก็มิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงไม่เป็นประเด็นและไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ค่าเจ็บปวดทนทุกข์ทรมานเป็นความเสียหายที่มิใช่ตัวเงินอย่างหนึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 446 ไม่เป็นการซ้ำซ้อนกับค่ารักษาพยาบาล ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้และค่าขาดการงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง: หลักการแทนกันและขอบเขตความรับผิด
ผู้ทำละเมิดเป็นพนักงานหรือคนงานของจำเลยที่ 1 ได้ ทำ ละเมิดในขณะปฏิบัติการงานของจำเลยที่ 1 ตาม หน้าที่ที่รับ มอบหมาย พนักงานหรือคนงานดังกล่าวถือ ได้ ว่าเป็นผู้แทนอื่น ๆ ของจำเลยที่ 1เมื่อก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ต้อง รับผิดใช้ ค่าสินไหมทดแทนตาม ที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 76 แม้พนักงานหรือคนงานผู้ทำละเมิดเป็นผู้อยู่ในบังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพนักงานหรือคนงานดังกล่าวต่าง ก็เป็นพนักงานหรือคนงานของจำเลยที่ 1 และต่างปฏิบัติหน้าที่ให้จำเลยที่ 1 ด้วย กัน จึงอยู่ในฐานะ นายงานกับคนงานเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีส่วนผิดในการออกคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานจนเกิดความเสียหายขึ้น จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงไม่ต้องร่วม รับผิดด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง และขอบเขตความรับผิดของจำเลยอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง
ผู้ทำละเมิดเป็นพนักงานหรือคนงานของจำเลยที่ 1 ได้ทำละเมิดในขณะปฏิบัติการงานของจำเลยที่ 1 ตามหน้าที่ที่รับมอบหมายพนักงานหรือคนงานดังกล่าวถือได้ว่าเป็นผู้แทนอื่น ๆ ของจำเลยที่ 1เมื่อก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 แม้พนักงานหรือคนงานผู้ทำละเมิดเป็นผู้อยู่ในบังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพนักงานหรือคนงานดังกล่าวต่างก็เป็นพนักงานหรือคนงานของจำเลยที่ 1 และต่างปฏิบัติหน้าที่ให้จำเลยที่ 1 ด้วยกัน จึงอยู่ในฐานะนายงานกับคนงานเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีส่วนผิดในการออกคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานจนเกิดความเสียหายขึ้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง และการซื้อสลากที่ถูกรางวัลโดยไม่มีเจตนาทุจริต
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 มีใจความว่าทำละเมิดโดยลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ในทางการที่จ้างได้ลักเอาสลากกินแบ่งที่โจทก์ส่งไปรษณียภัณฑ์ไป ขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แม้มิได้ระบุหมายเลขสลากกินแบ่งที่ถูกรางวัลไว้และมิได้ระบุว่าฉบับใดหายไป ก็เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งของซึ่งโจทก์อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ไม่จำต้องกล่าวมาในฟ้อง จึงหาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่
ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ผู้มีหน้าที่ในการจัดส่งไปรษณียภัณฑ์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลักสลากกินแบ่งของโจทก์ที่สอดมาในซองจดหมายไปรษณียภัณฑ์ลงทะเบียนของโจทก์ไปอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง ส่วนที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าไม่ควรต้องรับผิดหรือรับผิดใช้ค่าเสียหายก็ไม่เกิน 160 บาทตามไปรษณีย์นิเทศ พุทธศักราช 2520 ข้อ 539 นั้นข้อบังคับดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในกรณีไปรษณียภัณฑ์สูญหายไปเพราะความผิดในการขนส่งจะนำมาใช้บังคับในกรณีละเมิดหาได้ไม่
จำเลยที่ 2 มีอาชีพขายสลากกินแบ่งรัฐบาลอยู่ที่ซุ้มริมถนนราชดำเนินและรับซื้อสลากกินแบ่งที่มีผู้นำมาขาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้รู้จักกับผู้ที่นำสลากมาขายทั้งปรากฏว่าได้รับซื้อไว้โดยเปิดเผย กับได้นำสลากดังกล่าวไปขึ้นเงินต่อสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยตนเองโดยเปิดเผย จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 รับซื้อสลากไว้โดยทุจริตตามที่โจทก์ฟ้อง ถึงแม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ซื้อจากท้องตลาดก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์
of 3